AnthroCat-Thailand
นาย ปรัชญาณินทร์ วงศ์อทิติกุล

ไฟฟ้าเป็นพลังงานสะอาดจริงหรือ


พลังงานใดก็ตามที่จะได้รับการยกย่องให้เป็น “พลังงานสะอาด ไร้มลพิษ” แล้วละก็ ควรจะเป็น "พลังงานสะอาดจริง ๆ” เท่านั้น ทั้งที่มาของพลังงาน และระหว่างการกำเนิดขึ้นของผลผลิตพลังงานระหว่างกระบวนการผลิต และหลังการผลิต ซึ่งผมคิดว่า แหล่งกำเนิดพลังงานที่สะอาดจริง ๆ ได้แก่ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ 3 แหล่งพลังงานนี้เท่านั้นครับที่จะก่อให้เกิด “ผลผลิตพลังงาน” ที่สะอาดจริง ๆ เพราะ ก่อนนำมาใช้ ก็ไม่ได้ทำลายอะไร ด้วยสภาวะธรรมชาติของพลังงานก็สะอาด และเป็นคุณแก่มนุษย์ แก่โลก อยู่แล้ว

สังคมโลกกำลังให้ความสำคัญกับ พลังงานสะอาด (Cleaned Energy) เพราะโลกเรากำลังประสบกับภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการบริโภคทรัพยากรของมนุษย์ (ก็ เรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายนี่แหละครับ) มาอย่างยาวนาน สะสมมาเป็นหลายต่อหลายศตวรรษ จนมีอุบัติการของ “ภาวะเรือนกระจก (Green House Effects)” ขึ้น

โลกอยู่ใน ถุงใส คล้ายกับอุปกรณ์เครื่องเล่นชนิดใหม่ที่มีลักษณะกลมใหญ่ กลวงกลาง ใส มองทะลุได้ ทำด้วยวัสดุปิโตรเคมีที่มีความยืดหยุ่นสูงทนทาน และที่สำคัญ กำลังได้รับความสนใจจากเด็กเล็กเด็กใหญ่กันอยู่ในขณะนี้

จะว่ากันไปแล้ว “พลังงานสะอาด” ที่ว่าถึงกันนี้ ก็คงจะหนีไปไม่พ้น จากการมุ่งหมายถึง “พลังงานไฟฟ้า” ที่ถูกนำมาเป็นนวัตกรรมแหล่งพลังงานในเครื่องจักรกลต่าง ๆ เช่น รถยนต์ เพื่อทดทนการบริโภคน้ำมัน ตามที่มีผลการวิจัยว่า น้ำมันเชื้อเพลิงมีคุณสมบัติที่ดีในการเผาผลาญเป็นจุดกำเนิดพลังงานความร้อนสูง เร็ว แต่มีคุณสมบัติที่เลวร้ายในการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbonmonoxide: CO) ทำลายล้างบรรยากาศโลก นอกจากนี้ยังต้องกล่าวถึง สารคลอโรฟลูโอคาร์บอน  (Chlorofluorocarbon : CFC) ซึ่งเป็นสารประกอบที่เกิดจากคลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) และ คาร์บอน (C) ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของน้ำยาทำความเย็นสำหรับเครื่องปรับอากาศทั้งในเคหะสถานหรือในรถยนต์ และอุตสาหกรรมผลิตโฟม ก็เป็นอีกหนึ่งตัวการสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน (ปัจจุบันมีการผลิตน้ำยาทำความเย็นที่ปลอดสาร CFC ออกมาจำหน่ายได้แล้ว (บุญของโลก และของมนุษย์โลก)

ด้วยความที่ทุกคนเชื่อว่า "พลังงานไฟฟ้า" เป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อมลภาวะ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลังการใช้ แต่กระทบต่อจำนวนเงินในกระเป๋า (ฮา) แต่เราคงจะลืมนึกไปว่า ในประเทศไทยเรานี้ การผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายออกไปเป็นพลังงานสำคัญในการบริโภคในชีวิตประจำวันนั้น มีเชื้อเพลิงสำหรับการผลิต คือ “น้ำมัน” นะครับ

ดังนั้น การจะให้มองว่าพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานที่บริสุทธิ์สะอาดพันล้านเปอร์เซ็นต์นั้น น่าจะคิดกันใหม่สักนิด เพราะอย่างไรก็ตามในกระบวนการผลิตไฟฟ้าที่มีน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้านี้ ได้ปล่อยมลพิษออกมาเช่นกัน (บางท่านอาจจะเสริมว่า ไม่ใช่เฉพาะน้ำมันเท่านั้นนะที่เป็นเชื้อเพลิง ยังมี ถ่านหิน ด้วย ดังที่โรงงานผลิตไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง นั่นไง – ใช่ แล้วครับ นี่ก็ปล่อยมลพิษเหมือนกัน ทั้งก๊าซ ทั้งเขม่าควัน)

มาจุดนี้ เราจะให้นิยามคำว่า “บริสุทธิ์ สะอาด” กันอีกหรือเปล่า

ในทัศนะของผมเห็นว่า พลังงานใดก็ตามที่จะได้รับการยกย่องให้เป็น “พลังงานสะอาด ไร้มลพิษ” แล้วละก็ ควรจะเป็น "พลังงานสะอาดจริง ๆ” เท่านั้น ทั้งที่มาของพลังงาน และระหว่างการกำเนิดขึ้นของผลผลิตพลังงานระหว่างกระบวนการผลิต และหลังการผลิต  ซึ่งผมคิดว่า แหล่งกำเนิดพลังงานที่สะอาดจริง ๆ ได้แก่ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ 3 แหล่งพลังงานนี้เท่านั้นครับที่จะก่อให้เกิด “ผลผลิตพลังงาน” ที่สะอาดจริง ๆ เพราะ ก่อนนำมาใช้ ก็ไม่ได้ทำลายอะไร ด้วยสภาวะธรรมชาติของพลังงานก็สะอาด และเป็นคุณแก่มนุษย์ แก่โลก อยู่แล้ว

ประเทศไทย อาจจะมีแรงลม และแรงน้ำ ที่ไม่เพียงพอในการลงทุนผลิตไฟฟ้า ให้เพียงพอต่อการบริโภคได้ แต่ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีแสงแดดแรงกล้า เหลือกินเหลือใช้ แล้วเหตุใดจึงไม่มีการพัฒนาระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานชนิดนี้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ (ปัจจุบันหมู่บ้านชาวเขาบนพื้นที่สูง ใช้พลังงานไฟฟ้าจากชุดกำเนิดพลังงานไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ จำได้ว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้บุกเบิกติดตั้งให้แก่พวกเขาเป็นสถาบันแรก) เท่าที่ทราบจากการติดตามข่าวด้านเทคโนโลยีของประเทศ เข้าใจว่า การลงทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ต้นทุน (Cost) สูงมาก จุดคุ้มทุนอยู่ไกลออกไป แต่ถ้ามองโดยยึด คำว่า “พลังงานสะอาด” “พลังงานบริสุทธิ์” และ “อนาคตคน อนาคตโลก”

ผมว่าอย่างไรก็คุ้มค่าในการลงทุน หรือถ้า พลังงานแสงอาทิตย์ไม่พอ สร้างแหล่งผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานเพื่อนแท้ต่อมนุษย์ ที่เหลืออีก 2 แห่ง ควบคู่กันไป ผลผลิตพลังงานประเภทไฟฟ้าก็น่าจะพอสำหรับการจำหน่ายเพื่อการบริโภคของประชาชนในประเทศได้

แต่คงไม่พอขายให้ต่างประเทศอย่างเช่นทุกวันนี้

หมายเลขบันทึก: 333181เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 01:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 00:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท