สถานการณ์ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในกรุงเทพมหานคร


มาตรการและแนวคิดทัศนคติของการทำงานในครั้งนี้ จะต้องได้รับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์กันมาตั้งแต่แรก ตามที่องค์กรเอกชนทุกองค์กรเรียกร้องมาโดยตลอด นั่นคือ การทำงานครั้งนี้ สนามหลวงต้องสวยงามขึ้น แต่คนต้องอยู่ได้ ไม่ทำลายระบบเยียวยาสังคมที่สนามหลวงทำหน้าที่อยู่อย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในกรุงเทพมหานคร

หลังจาก ที่ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เริ่มทำงานกับ คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน คนเร่ร่อนไร้บ้าน ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธาณะ มาตั้งแต่ปี 2547 อย่างเต็มตัว ก็ ได้ มีการซุ่มเก็บข้อมูลเชิงปริมาณของ เขาเหล่านั้น ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยไม่นำเสนอภาพรวมทั้งหมดให้สังคมได้รับทราบ เกรงว่าจะตกใจกันเสียเปล่า ๆ เพราะ เราพบว่า ในทุกถนนของกรุงเทพมหานคร จะมี เขาเหล่านั้นใช้ชีวิต อย่างน้อยที่สุด 2 คน ในกรุงเทพมหานคร มีถนนอย่างน้อย 136 ชื่อถนน เฉพาะ อยู่บนถนน ในปัจจุบัน มีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอย่างน้อย 272 คน ยังไม่รวม สวนสาธารณะ ที่มีอีกเกือบทุกเขต โดยที่แต่ละสวนก็จะมี ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อย่างน้อยสวนละ 10 คน ยังไม่รวมสวนใหญ่ ๆ อย่างสวนลุมพินี สวนรมณีนารถ ที่จะมีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะมากกว่า 20 คน และที่สำคัญที่สุด คือ สนามหลวง ที่ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2553 อาสาสมัครของอิสรชน เดินแจงนับ ได้ ราว ๆ 900 คน โดยสรุป ตัวเลขกลม ๆ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครจะมีมากกว่า 2,000 คนอย่างแน่นอน

หากจำแนกตามสภาพปัญหาที่พอจะประมวลออกมาได้ ก็จะแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ ผู้ประสบปัญหาจากนโยบายของรัฐ ผู้ประสบปัญหาครอบครัวและ กลุ่ม ผู้ป่วยด้วยโรคทางสมองที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม ผู้วิกลจริต และ ผู้ป่วยโรคสองเสื่อม ในกลุ่มของผู้ที่ประสบปัญหาจากนโยบายของรัฐจะได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความมั่นคง ปัญหาทางการเมือง เป็นต้น

หลังจากคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร มีนโยบายปรับปรุงภูมิทัศน์ท้องสนามหลวงฯและออกมาตรการกวาดล้างขอทาน ออกมาสำทับ ในห้วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน ก็เสมือนเจตนาจะกวาดล้างคนด้วยการกดทับซ้ำอีกครั้งไม่ต่างจากเดิมที่เคยเป็นมา อันเนื่องมาจาก คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครแต่ละชุดที่ผ่านมา จะเป็นคนชั้นกลางขึ้นไปทุกคณะ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงใช้วิธีมองเพื่อแก้ปัญหาแบบผลักดันในรูปแบบต่าง ๆ แล้วแต่กลวิธีที่จะเลือกใช้ ซึ่งในครั้งนี้ ออกจะดูแยบยลมากกว่าครั้งก่อน ๆ หากภาคประชาชนไม่เท่าทัน ก็จะตกเป็นเครื่องมือในการ ไล่ปัญหาให้พ้นตัวเหมือนเดิม ๆ

กลุ่มแรก ๆ ที่จะออกมาทั้งสนับสนุนทั้งต่อต้านก็เห็นจะไม่พ้น ประชาชนที่ อยู่ในย่านสามแพร่ง ที่จะออกมาแสดงอาการคัดค้าน การย้ายกลุ่มผู้ค้าจากสนามหลวง กลุ่มชาวบ้านที่ขาดความเข้าใจคนเร่ร่อนในที่ดินตามจุดต่างๆ ที่กรุงเทพมหานครจัดเตรียมไว้ ก็จะออกมาคัดค้านเพียงเพราะมีทัศนคติที่กดทับกันเองของพลเมืองที่ได้รับการสั่งสมมาจากระบอบการปกครองที่แบ่งชนชั้น ยังไม่รวมถึงการต่อต้านจากกลุ่มผู้เสียประโยชน์ในการทำมาหากินในท้องสนามหลวงกลุ่มต่าง ๆ ทั้งแผงลอย ขายข้าวนก ขายอาหารเป็นต้น

มาตรการและแนวคิดทัศนคติของการทำงานในครั้งนี้ จะต้องได้รับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์กันมาตั้งแต่แรก ตามที่องค์กรเอกชนทุกองค์กรเรียกร้องมาโดยตลอด นั่นคือ การทำงานครั้งนี้ สนามหลวงต้องสวยงามขึ้น แต่คนต้องอยู่ได้ ไม่ทำลายระบบเยียวยาสังคมที่สนามหลวงทำหน้าที่อยู่อย่างต่อเนื่อง

เราจะผลักดัน คนที่มีจำนวนมากกว่า 2,000 คน ออกนอกเขตกรุงเทพมหานคร ?? แล้ว ผลักภาระไปให้ เพื่อบ้านจังหวัดใกล้เคียงแบบเดิม ๆ ที่ไม่เคยแก้ไขได้อย่างจริงจังแบบเดิม ๆ อย่างนั้นหรือ ทำไม การแก้ไขปัญหาต้องหาข้อสรุปเพียงคำตอบเดียวในการแก้ไขปัญหา ทำไมไม่สร้างทางเลือกให้สังคมมาก ๆ แล้ว ทางเลือกเหล่านั้น จะโดนเลือกเอง ตามจริตและบุคลิกที่เหมาะสมของแต่ละคนแต่ละปัญหา ไม่ใช่คิดแทนแล้ว สรุปจบ อย่างที่ คุณกำลังทำอยู่อย่างที่เห็น เพราะ เรื่องนี้ เรื่องของคน ไม่ใช่เรื่องของช้าง ที่ชอบเอามาคุยเขื่องจนน่ารำคาญมากขึ้นทุกที

หมายเลขบันทึก: 333177เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 00:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาตนำข้อมูลนี้ไปโพสท์ที่

http://www.budpage.com/forum/view.php?id=5706

ที่ลิงค์นี้ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท