บทเรียนGNHการสัมมนา "ภูฐาน ดินแดนแห่งความสุขในสังคมโลกยุคใหม่"


ถึงแม้ว่าหนทางนี้ยังอีกยาวไกลกว่าจะถึงซึ่งจุดหมายปลายทาง แต่เรื่องการสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาหรือ "ตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น"ด้วยตัวของชุมชนเองนั้นเป็นเรื่องที่ขบวนชุมชนเดินมาถูกทางแล้ว

วันเสาร์ที่ 30 ม.ค.53 วันหยุดสบายๆวันหนึ่งผมได้เข้าร่วมการสัมมนา "ภูฐาน ดินแดนแห่งความสุขในสังคมโลกยุคใหม่"จัดขึ้นที่ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์จุฬาฯ งานนี้จัดขึ้นโดยคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯร่วมกับSchool for Wellbeing และสำนักพิมพ์สวนเงินมีมา

                 

เรื่อง “ความสุขมวลรวม”นี้ในพักหลังผมมีเรื่องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในหลายมิติ  เลยทำให้สนใจติดตามเรียนรู้โดยเฉพาะเมื่อทราบข่าวว่าจะมีการจัดเวทีในเรื่องนี้ และมีวิทยากรจากต้นตำหรับอย่าง “ภูฐาน” ผมจึงย่อมไม่พลาดที่จะเข้าร่วมเวทีที่ดีๆอย่างนี้

                   

ในเรื่อง“ความสุขมวลรวม”นี้หลังจากได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้า ได้ทดลองการปฏิบัติการร่วมกับชุมชนในหลายพื้นที่แล้วทำให้นึกถึงคำพูดของอ.ไพบูลย์ที่เคยแลกเปลี่ยนกับแกนนำชุมชนที่ตำบลบ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เมื่อครั้งที่ท่านลงไปเยี่ยมชุมชนที่ตำบลบ้านเลือกเมื่อ 24 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า  ถึงแม้ว่าหนทางนี้ยังอีกยาวไกลกว่าจะถึงซึ่งจุดหมายปลายทาง แต่เรื่องการสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาหรือ "ตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น"ด้วยตัวชุมชนเองนั้นเป็นเรื่องที่ขบวนชุมชนได้เดินมาถูกทางแล้ว

                        

                     

          บรรยากาศของ"ภูฐาน ดินแดนแห่งความสุขในสังคมโลกยุคใหม่"วันนั้น เป็นบรรยากาศแห่งความสุขจริงๆที่สัมผัสได้เลยครับ กับการได้เพลิดเพลินในการแสดงดนตรีและเพลงพื้นบ้านภูฐานที่มีชื่อเสียงโด่งดัง  โดยจิมมี ดรุกปา(คนนี้เปรียบกับ จรัญ  มโนเพชร บ้านเรา)แถมยังได้เต้นรำพื้นบ้านกับทีมงานจากภูฐานอีกด้วย รวมทั้งมีการแสดง "ลำนำ ในดินแดนแห่งความสุข"(คล้ายอ่านบทกวี)งานนี้กำกับการแสดงโดยผู้กำกับคุณภาพคับแก้ว รัศมี เผ่าเหลืองทอง

 

                      

                      

       สำหรับการเสวนา "ความสุขมวลรวมประชาชาติ(GNH):โลกจะตื่นสู่ความฝันของภูฐานได้จริงหรือ"มีวิทยากรเช่น ดาโช คินเลย์ ดอร์จิ:ปลัดกระทรวงการสื่อสารและคมนาคม   เป็ก ดอร์จิ:ผู้อำนวยการศูนย์ภูฐานเพื่อประชาธิปไตยฯ แต่น่าเสียดายด้วยตลอดรายการเป็นการสัมมนาภาคภาษาอังกฤษผมเลยดำน้ำฟังไปหลายอึกเลยที่เดียว

                         

ความสุขเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนาร่วมกัน และเป็นไปได้ว่าจะเป็นสิ่งสูงสุดที่เราต้องการ  ขณะที่เราต้องการสิ่งอื่นๆเพียงเพื่อเป็นวิถีไปสู่การเพิ่มความสุขเท่านั้น  ข้าพเจ้าจึงขอถืออภิสิทธิ์ที่จะกล่าวว่าความสุขมวลรวมประชาชาติ  เป็นวัตถุประสงค์การพัฒนาของภูฎานที่ไม่อาจระบุปริมาณ.....แวดวงวิชาการมิได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการมองดูความสุข  ซึ่งเป็นระบบการให้คุณค่าเบื้องต้นของมนุษย์  สิ่งนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งในตัว  กล่าวคือเมื่อเป้าหมายเบื้องต้นของการพัฒนาคือความสุข  แต่เป้าหมายที่แท้จริงนี้ก็ทำให้การวิเคราะห์ของเราล้มเหลวเพราะนักวิชาการมักมองกันว่ามันเป็นเรื่องจิตวิสัย.....เราต้องตั้งหลักการและคำถามทางจริยธรรมเกี่ยวกับความสุขขึ้นมาใหม่  ให้เป็นข้อเสนอและระบบของการให้คุณค่าซึ่งสามารถใช้ได้โดยทั่วไป...เป็นเป้าหมายที่มนุษยชาติทั้งหลายได้ร่วมกันกำหนดขึ้นโดยพื้นฐาน”    

สุนทรพจน์  ของท่าน  เลียงโป  จิกมี  วาย  ธินเลย์

ประธานคณะรัฐมนตรี คณะรัฐบาลหลวงแห่งประเทศภูฐาน

แสดงต่อที่ประชุมสหัสวรรษเพื่อเอเชียและแปชิฟิก

 เมื่อวันที่ 30  ตุลาคม - 1  พฤศจิกายน  2541

  กรุงโซล  ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

(แปลโดย  เจษณี  สุขจิรัตติกาล)  

 

(เจสัน ดอร์จิ;นางฟ้าน้อยจากภูฐาน....นางฟ้าน้อยแห่งความสุข)

ตอนต่อไปผมตั้งใจว่าจะได้บันทึกการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และประสบการณ์จากที่ได้เข้าร่วมสัมมนา"ภูฐาน ดินแดนแห่งความสุขในสังคมโลกยุคใหม่"ในครั้งนี้และจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนประสบการณ์การนำหลักการปรัชญา “ความสุขมวลรวมประชาชาติ(GNH)” แล้วเราจะใช้ภาวะผู้นำของชุมชนท้องถิ่นขับเคลื่อนสู่การเสริมสร้าง “ความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น” ในสังคมบ้านเรานั้นควรจะเป็นอย่างไร

ผมกำลังสนใจในเรื่องนี้อยู่พอดีครับ การพัฒนาภาวะผู้นำของชุมชนท้องถิ่นในขับเคลื่อนการเสริมสร้าง “ความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น”ซึ่งเรื่องนี้ผมมีงานวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้พื้นที่ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรีเป็นพื้นที่กรณีศึกษาครับ

                     

  (เป็ก ดอร์จิ:ผู้อำนวยการศูนย์ภูฐานเพื่อประชาธิปไตยฯหน้าตาคล้ายคนบ้านเรามาก)

การไปร่วมงานในครั้งนี้มีอีกอย่างหนึ่งที่ผมชอบครับ

ผมได้หนังสือ “เรื่องราวในดินแดนแห่งความสุข”ของ ดาโช คินเลย์ ดอร์จิ

ในหนังสือเล่มนี้เขาได้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆของเขาตั้งแต่วัยเด็ก  วัยหนุ่มสาวยุคแสวงหา  จนถึงวัยทำงาน

ในวัยหนุ่มสาว จนถึงวัยทำงานในฐานะคนทำงานด้านสื่อทำให้เขาได้มีโอกาสได้เดินทางไปในหลายประเทศ

หน้าสุดท้ายในหนังสือเล่มนี้น่าสนใจครับ

“...ผมไปเยี่ยมชาวนาวัย 72 ปีที่เมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของฮอลแลนด์  เขาภูมิใจในความสำเร็จด้านการเกษตรของฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นสูง ทำให้เขาได้ผลผลิตมากกว่าที่เขาเคยทำได้ในสมัยที่เขายังหนุ่มๆหลายพันเท่า

เขาชี้ว่า  ทุกวันนี้ชุมชนที่ทำการเกษตรมีความมั่งคั่ง แต่ภรรยาวัย 72 ปีเช่นเดียวกับเขากลับโหยหาความอบอุ่นของมนุษย์ที่เคยมีในยุคพัฒนาน้อยกว่านี้

“อย่างเช่น  ถ้าใครเกิดเจ็บป่วย เราจะไปเยี่ยมกันและกัน นำชากับขนมเค้กไปเยี่ยมคนไข้แล้วพูดคุยกันนานๆ”

เธอย้อนนึกถึงความหลัง

“แต่เดี๋ยวนี้เรากินยาที่นางพยาบาลซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้นำมาให้กิน”

ผมคิดว่าผมเข้าใจ  เธอหมายความว่าอย่างไร

และได้เวลาที่ผมจะกลับบ้านผม(ภูฏาน)ได้แล้ว

..................................

แม้หนังสือเล่มจะเล็กๆครับ แต่อ่านแล้วประทับใจมากครับ....

 

หมายเลขบันทึก: 333077เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2010 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ "ภูฐาน ดินแดนแห่งความสุขในสังคมโลกยุคใหม่"
  • ขอบคุณบันทึกดี ๆ ทำให้ได้เรียนรู้อะไรมากมายทีเดียวค่ะ

สวัสดีครับคุณบุษราP

  • "ภูฏาน"หรือ "ภูฐาน" เป็นประเทศที่น่าที่คนไทยเราจะได้ลปรร.อย่างยิ่ง
  • ปรัชญาและอุดมการณ์ "ความสุขมวลรวม"น่าสนใจมาก
  • ผมสนใจติดตามประเด็นนี้อยู่พอดีครับ

ขอบคุณครับ

  • การนำหลักการปรัชญา “ความสุขมวลรวมประชาชาติ(GNH)” สู่การเสริมสร้าง “ความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น”ในสังคมบ้านเรานั้นเป็นอย่างไร
  • ประเด็นนี้ตรงกับ mission ของ พอช. เลยนะคะ
  • แนวทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่น่าสนใจติดตามมากค่ะ
  • แล้วจะแวะมาเรียนรู้ใหม่ค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วสัมผัสได้ถึงความสุขค่ะ

จะคอยติดตามตอนต่อไปนะคะ

สวัสดีครับอ.ศิลา(ณี)P

การนำหลักการปรัชญา “ความสุขมวลรวมประชาชาติ(GNH)” โดยใช้ภาวะผู้นำของชุมชนท้องถิ่นสู่การเสริมสร้าง “ความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น”ในสังคมบ้านเรานั้นเป็นอย่างไร

อ.ศิลาครับนี่เป็นโจทย์ที่ผมใช้ทำการศึกษาวิจัยด้วยครับ โดยใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการค้นหาคำตอบร่วมกับชุมชน  ผมทิ้งค้างมานาน...จนเกือบจะยอมแพ้แล้วครับ  แต่ตอนนี้มีแรงฮึดแล้วคิดว่าภายใน 2 เดือนนี้น่าจะปิดเล่มได้แล้วครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณมณีวรรณP

เรื่องความสุขมวลรวมสำหรับคนหนองคายอาจจะถือว่าเป็นการ "เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน"ครับ

ด้วยหนองคายเคยเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับนานาชาติในเรื่องนี้มาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 25550 การประชุมนานาชาติเรื่องความสุขมวลรวมมีการจัดมา 4 ครั้งแล้วครับ เท่าที่ผมทราบ

  • ครั้งที่ 1  การประชุมนานาชาติ เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ  ณ เมืองธิมปู ประเทศภูฎาน ได้จัดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 หัวข้อการประชุมคือ “การนำแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติมาปฏิบัติจริง”  
  • ครั้งที่ 2 ณ เมืองโนวาสกอตเซีย ประเทศแคนาดา เมื่อเดือนมิถุนายน 2548 หัวข้อการประชุมคือ “คิดใหม่เกี่ยวกับการพัฒนา : จากวิถีท้องถิ่นสู่ความอยู่ดีมีสุขของโลก” โดยมีผู้แทนจากประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมทั้ง 2 ครั้ง
  •  ครั้งที่ 3ของการจัดการประชุมนานาชาติ เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ จัดขึ้นในประเทศไทย ในหัวข้อการประชุม คือ “สู่การปรับเปลี่ยนระดับโลก : โลกทัศน์ที่นำมาซึ่งความแตกต่าง” (The 3rd International Conference on Gross National Happiness “Towards Global Transformation : WORLDVIEWS MAKE A DIFFERENCE”) ระหว่างวันที่ 22-28 พฤศจิกายน 2550 ณ จังหวัดหนองคายและกรุงเทพมหานคร ครับ(ในสมัยที่ท่านอ. ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ )
  • นอกจากนี้ยังมีการจัดการประชุมนานาชาติ เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติBusan OECD World Forum in October 2009 งานนี้จัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีเมื่อปี 2552ที่ผ่านมา

มาบอกเล่าเอามะพร้าวห้าว "ความสุขมวลรวม" มาขายสวนกับคนหนองคายครับ

 

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณค่ะ
  • สรุปด้วยรูปภาพที่มีความหมายมากนะคะ
  • นางฟ้าแห่งความสุขจริง ๆค่ะ
  • เชิญชมห้องเรียนร่ำรวย..แต่คนยากจนค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/krukimgtk/333131

พี่สุเทพครับ GNH เกิดได้ทุกที่จริงๆ จะพยายามสราง GNH ครับ

ชุมชนเป็นมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนา จึงเห็นว่าการเพิ่มศักยภาพของชุมชนไปสู่การเชื่อมโยงการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน  เป็นการสร้างรากฐานการพัฒนาสู่เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตและการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น  พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  จึงได้จัดกิจกรรมแหล่งเรียนรู้อยู่กับธรรมชาติ “ห้องเรียนร้อยไร่”

    

  • ไปแวะเยี่ยมโรงเรียนแห่งความสุขมาแล้วครับ
  • ดีจังเลยชื่นใจจริงๆกับการริเริ่มที่ดีๆและมีพลัง
  • ยินดีด้วยครับ กับความสุขที่สร้างได้และความสุขที่ได้ร่วมกันสร้างครับ

ขอบคุณครับครูคิม

สวัสดีครับP

ความสุขเกิดได้ทุกๆที่ เกิดได้ทุกๆเมื่อและเกิดได้กับทุกๆคน

  • เรื่องนี้ดูน่าจะเป็นเรื่องง่ายๆใครๆก็ทำได้
  • มีตำราวิชาการหรือครูบาอาจารย์บอกไว้มากมาย
  • แต่สิ่งที่ทำได้ทันทีคือสาธุๆ
  • และยิ่งเป็นความสุขมวลรวม ซึ่งเป็นความสุขร่วมของทุกๆคนหรือความสุขของสาธารณะจะไม่ยิ่งยากกว่าหรือหมูแดงอวกาศ
  • แต่......แม้หนทางจะมืดมิด  หนทางจะทุระกันดารและยังอีกยาวไกล ขอแต่มีดาวเหนือแห่งศรัทธานำทางเราก็จะฝ่าฟันดั้นด้น 
  • คุ้นๆใครนะเคยบอกไว้

                          

มาเยี่ยมชมชมรมคนสร้างความสุขให้มวลชนค่ะ !
                                                      
                                               

สวัสดีค่ะท่านเทพฯ 

ภูฏาน เป็นตัวอย่างดินแดนแห่งความสุข และคุณภาพชีวิตนะคะ

ถ้าเป้าหมายของบ้านเราคือ คุณภาพชีวิตที่วัดจากความสุขปัจเจกชน อัตลักษณ์ของชุมชน และวิถีพอเพียงอย่างยั่งยืน คงไม่ไกลเกินเอื้อม ใช่ไหมคะ

ไว้จะมาเรียนรู้ใหม่ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับพี่สุเทพ

เรื่องนี้โดนใจผมจริงครับ

ผมนึกย้อนกับไปตอนเป็นเด็ก

แม้เราจะยากจน แต่ก็ร่ำรวยน้ำใจ

น้ำใจในชนบทยังหาได้ครับผมว่า

"คนเชียงใหม่ ก่อนจากกัน เขาจะอวยพร ว่า "อยู่อุ่นกินหวาน"

"คนภาคกลาง บอก อยู่เย็นเป็นสุข"

คนสมัยก่อนเขาใจความสุข เป็นเป้าหมายการพัฒนาชุมชนดีนะครับพี่

สวัสดีครับคุณครูP

ชมรมคนสร้างความสุขร่วมกับชุมชนท้องถิ่นครับ

  • ไม่ได้แวะมาบ้านมาทักทายตอบ
  • เป็นชมรมคนสร้างความสุขร่วมกับชุมชนท้องถิ่นครับ เป็นความสุขร่วมกัน ร่วมกันก่อร่วมกันสร้างครับ
  • ขอบคุณครับ

             

      เป้าหมายของบ้านเราคือ คุณภาพชีวิตที่วัดจากความสุขปัจเจกชน อัตลักษณ์ของชุมชน และวิถีพอเพียงอย่างยั่งยืน คงไม่ไกลเกินเอื้อม

สวัสดีครับคุณปูP

  • ดูใกล้ตา ใกล้ใจ แต่ไกลตีนครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ และมีความสุขกับทุก ๆ วันนะค่ะ

  •              

          ดาโช คินเลย์ ดอร์จิ:ปลัดกระทรวงการสื่อสารและคมนาคม  

           ผู้แต่งหนังสือ “เรื่องราวในดินแดนแห่งความสุข”ครับ

    ผมนึกย้อนกับไปตอนเป็นเด็ก

    แม้เราจะยากจน แต่ก็ร่ำรวยน้ำใจ

    น้ำใจในชนบทยังหาได้ครับผมว่า

    "คนเชียงใหม่ ก่อนจากกัน เขาจะอวยพร ว่า "อยู่อุ่นกินหวาน"

    "คนภาคกลาง บอก อยู่เย็นเป็นสุข"

    คนสมัยก่อนใจเขาอยู่ที่ความสุข

     สวัสดีฝน P

    อ่านเมนท์ของฝนทำให้ย้อนผมกลับไปอ่าน“เรื่องราวในดินแดนแห่งความสุข”

    ของ ดาโช คินเลย์ ดอร์จิ อีกครั้ง ในหน้าสุดท้ายคล้ายๆความเห็นของฝนเลยทีเดียว

    ในหนังสือ “เรื่องราวในดินแดนแห่งความสุข”ของ ดาโช คินเลย์ ดอร์จิ

    เขาได้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆของเขาตั้งแต่วัยเด็ก  วัยหนุ่มสาวยุคแสวงหา  จนถึงวัยทำงาน

    ในวัยหนุ่มสาว จนถึงวัยทำงานในฐานะคนทำงานด้านสื่อทำให้เขาได้มีโอกาสได้เดินทางไปในหลายประเทศ

    หน้าสุดท้ายในหนังสือเล่มนี้น่าสนใจครับ

    “...ผมไปเยี่ยมชาวนาวัย 72 ปีที่เมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของฮอลแลนด์

    เขาภูมิใจในความสำเร็จด้านการเกษตรของฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นสูง

    ทำให้เขาได้ผลผลิตมากกว่าที่เขาเคยทำได้ในสมัยที่เขายังหนุ่มๆหลายพันเท่า

    เขาชี้ว่า  ทุกวันนี้ชุมชนที่ทำการเกษตรมีความมั่งคั่ง แต่ภรรยาวัย 72 ปีเช่นเดียวกับเขากลับโหยหาความอบอุ่นของมนุษย์

    ที่เคยมีในยุคพัฒนาน้อยกว่านี้

    อย่างเช่น  ถ้าใครเกิดเจ็บป่วย เราจะไปเยี่ยมกันและกัน นำชากับขนมเค้กไปเยี่ยมคนไข้

    แล้วพูดคุยกันนานๆ

    เธอย้อนนึกถึงความหลัง

    แต่เดี๋ยวนี้เรากินยาที่นางพยาบาลซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้นำมาให้กิน”

    ผมคิดว่าผมเข้าใจ  เธอหมายความว่าอย่างไร

    และได้เวลาที่ผมจะกลับบ้านผม(ภูฏาน)ได้แล้ว

    ..................................

    หนังสือเล่มเล็กๆครับ อ่านแล้วประทับใจมากครับ....

    เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากเล่มหนึ่ง                                                                                                                                                            

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท