แผ่นดินไหว


แผ่นดินไหว


   แผ่นดินไหวในเฮติ เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศไปราว 25 กิโลเมตร (หรือ 16 ไมล์) โดยแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 16:53:09 ตามเวลาท้องถิ่น [1] ของวันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 หรือตรงกับเวลา 04.53 นาฬิกา ในเช้าวันพุธที่ 13 มกราคม ตามเวลาประเทศไทย[2] แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์)[3] องค์กรสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (The United States Geological Survey) ได้ตรวจสอบบันทึกและพบอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีก 14 ครั้ง ซึ่งมีความแรงอยู่ที่ประมาณ 5 - 8 ริกเตอร์ หน่วยงานกาชาดสากลได้กล่าวว่ามีคนกว่า 3 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ และมีคนเสียชีวิตกว่า 500,000 คน ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของเฮติ เป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด ซึ่งมีสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ถล่มเป็นซากปรักหักพังนับไม่ถ้วน ซึ่งรวมถึงทำเนียบประธานาธิบดีที่พังถล่มลงมาด้วย

ไฟล์:2010 haiti shake map.jpg

     แผ่นดินไหวมีความต่างกันที่ขนาด แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ชายฝั่งเกาะสุมาตรา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 มีความรุนแรงขนาด 9.0 ตาม

มาตราริกเตอร์ และนับเป็นแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดเป็นอันดับที่ 4 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 (พ.ศ. 2443) ขนาดของความรุนแรงครั้งนี้ เทียบได้กับการระเบิดของ TNT ขนาดพันล้านตัน ในทางกลับกันถ้าเป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาด 2.0 ตามมาตราริกเตอร์แล้ว มนุษย์เราแทบไม่รู้สึกด้วยซ้ำไปว่ามีการเกิดแผ่นดินไหว มาตราริกเตอร์มีความสามารถในการที่จะจัดการกับความรุนแรงของแผ่นดินไหวขนาดต่างๆ ทั้งน้อยมากๆ ไปจนรุนแรงเสียหายมากได้ มาตราริกเตอร์นั้น ไม่ได้มีมาตรส่วนแบบเส้นตรงหรือลิเนียร์สเกล แต่หากเป็นแบบมาตราส่วนแบบลอกกาลิทึม เมื่อความกว้างหรือแอมปลิจูดของคลื่นเพิ่ม 10 เท่า จะทำให้มาตรวัดตามมาตราริกเตอร์เพิ่มขึ้น 1 หน่วย เช่น จาก 6.0 ไปเป็น 7.0 เป็นต้น และจากการเพิ่มขึ้นความรุนแรงแผ่นดินไหว 1 หน่วยมาตราริกเตอร์นั้นพลังงานที่ปล่อยออกมาจะเพิ่มขึ้นประมาณ 30 เท่า ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่ความรุนแรง 7.5 ตามมาตราริกเตอร์ จะปล่อยพลังงาน 30 เท่าของพลังงานที่ปล่อยออกมาเมื่อแผ่นดินไหวที่ 6.5 ตามมาตราริกเตอร์ และ ที่ 7.5 ก็จะปล่อยพลังงาน 900 เท่าของพลังงานที่ปล่อยออกมาเมื่อแผ่นดินไหวมีความรุนแรงที่ 5.5 ตามมาคราริกเตอร์

ภาพแผ่นดินไหว



 











     แผ่นดินไหวคือปฏิกิริยาการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ที่เกิดขึ้นจากการปลดปล่อยพลังงานอย่างรวดเร็ว จริงที่ว่ามีอีกหลายสาเหตุในโลกนี้ที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวสะเทือน ไม่ว่าจะเป็น การระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ (atomic bomb) หรือ การระเบิดของภูเขาไฟ เป็นต้น แต่สาเหตุที่ว่ามานี้ นับว่าทำให้แผ่นดินไหวสะเทือนอ่อนมาก และเกิดไม่บ่อย เมื่อเทียบกับเหตุจากการที่โลกปล่อยพลังงานอย่างรวดเร็ว และสาเหตุนี้มาจากการ เคลื่อนไหว ของแผ่นเปลือกโลก บริเวณที่เป็นรอยร้าวขนาดใหญ่ของแผ่นเปลือกโลกที่เรียกว่า รอยเลื่อน (faults) แรงการขยับตัวของเปลือกโลกต้องใช้พลังงานมหาศาล ด้วยพลังงานนี้เองที่ทำให้แผ่นดินไหว พลังงานนี้จะแผ่กระจายออกจากจุดศูนย์กลางกำเนิดพลังงาน(focus) ไปในทุกทิศทาง แบบเดียวกับคลื่น (wave) ที่เกิดจากการที่เราโยนก้อนหินสัก ก้อนลงในในสระน้ำที่มีน้ำนิ่งๆ ซึ่งจะเห็นคลื่นน้ำกระจายออกจากจุดที่ก้อนหินกระทบผิวน้ำในสระ คลื่นแผ่นดินไหว (seismic wave) เกิดแบบเดียวกันนี้ พลังงานที่เกิดขึ้นจะมีมากที่สุด ณ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว (focus) และจะลดความรุนแรงลงเมื่อไกลจุดศูนย์กลางออกไป อย่างไรก็ดี การที่จะตรวจจับและบันทึกแผ่นดินไหวนั้นต้องใช้เครื่องมือที่มีความไวสูงมาก

    ขนาด (Magnitude) เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น " ริคเตอร์"

ตัวเลขริกเตอร์ จัดอยู่ในระดับ ผลกระทบ อัตราการเกิดทั่วโลก

1.9 ลงไป

Micro

ไม่มี

8,000 ครั้ง/วัน

2.0-2.9

Minor

คนทั่วไปมักไม่รู้สึก แต่ก็สามารถรู้สึกได้บ้าง และตรวจจับได้ง่าย

1,000 ครั้ง/วัน

3.0-3.9

Minor

คนส่วนใหญ่รู้สึกได้ และบางครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง

49,000 ครั้ง/ปี

4.0-4.9

Light

ข้าวของในบ้านสั่นไหวชัดเจน สามารถสร้างความเสียหายได้ปานกลาง

6,200 ครั้ง/ปี

5.0-5.9

Moderate

สร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง แต่กับสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงนั้นไม่มีปัญหา

800 ครั้ง/ปี

6.0-6.9

Strong

สร้างความเสียหายที่ค่อนข้างรุนแรงได้ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร

120 ครั้ง/ปี

7.0-7.9

Major

สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในบริเวณกว้างกว่า

18 ครั้ง/ปี

8.0-8.9

Great

สร้างความเสียหายรุนแรงได้ในรัศมีเป็นร้อยกิโลเมตร

1 ครั้ง/ปี

9.0-9.9

Great

'ล้างผลาญ' ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีเป็นพันกิโลเมตร

1 ครั้ง/20 ปี

10.0 ขึ้นไป

Epic

ไม่เคยเกิด จึงไม่มีบันทึกความเสียหายไว้

0

ขนาด

ความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง

1-2.9

เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้ง รู้สึกเวียน ศีรษะ

3-3.9

เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน

4-4.9

เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว

5-5.9

เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่

6-6.9

เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย

7.0 ขึ้นไป

เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

คำสำคัญ (Tags): #แผ่นดินไหว
หมายเลขบันทึก: 331004เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2010 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ 
  • แวะมาทักทายและมาเป็นกำลังใจให้เป็นคนแรกเลยค่ะ สบายดีนะค่ะ
  • ขอให้มีความสุขกับสิ่งดี ๆ ในทุกวันค่ะ
  • .....สวัสดีค่ะ....หนุ่มนาสวรรค์...

    ๐ สิ่งที่เกิดขึ้นถ้ามันเกิดขึ้นใกล้ตัวเรา เราก็เศร้าเหมือนกันนะ

    ๐ และนี่แหละคือสิ่งที่ ธรรมชาติเตือนมนุษย์ ว่า ต้องทำยังไงต่อไปกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    ๐ ถ้ายังไม่ช่วยกัน สิ่งๆนี่คงเกิดขึ้นกับเราแน่

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท