เขื่อนจุฬาภรณ์


เขื่อนจุฬาภรณ์

 

เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนน้ำพรม ชัยภูมิ

    เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม)  ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งพระ สร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย บริเวณที่เรียกว่า ภูหยวก ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนหินถม แกนกลางเป็นดินเหนียวบดอัดทับแน่นด้วยหินและกรวด ตัวสันเขื่อนยาว 700 เมตร ความสูงจากฐานราก 70 เมตร กว้าง 8 เมตร เป็นลักษณะเขื่อนเอนกประสงค์ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  โดยใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและยังอำนวยประโยชน์ในด้านชลประทาน ช่วยระบายน้ำเพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้ง ในพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดอีกด้วย

 

                     

    

แผนที่แสดงที่ตั้งเขื่อนจุฬาภรณ์

                               ที่มา. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ความเป็นมา
    มีชื่อเรียกในสมัยก่อสร้างว่า "โครงการน้ำพรม" เป็นโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือสร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพายบริเวณที่เรียกว่า ภูหยวกในท้องที่ ี่ตำบลทุ่งพระอำเภอคอนสารจังหวัดชัยภูมิ  ในการก่อสร้างเบื้องต้น ได้เริ่มในปี 2511 จนกระทั่งแล้วเสร็จในปี 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราช ดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารและสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ไปทรงเปิดเขื่อน และโรงไฟฟ้า เมื่อ วันที่3  มิถุนายน 2516 พร้อมทั้งได้พระราชทาน พระนามสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ มาขนานนามเขื่อนว่า   " เขื่อนจุฬาภรณ์ "

สถานที่ท่องเที่ยวบริเวณเขื่อน

   โรงไฟฟ้า ตั้งอยู่อีกฟากหนึ่งของตัวเขื่อน ภายในโรงไฟฟ้าติดตั้งเครื่อง กำเนิดไฟฟ้าขนาด 20,000 กิโลวัตต์ จำนวน 2 ชุด

     พระพุทธสิริสัตตราชจำลอง (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) ประดิษฐานที่บริเวณหัวเขื่อนฝั่งซ้าย ตรงข้ามสวนเขื่อนจุฬาภรณ์
   สวนเขื่อนจุฬาภรณ์ ตกแต่งเป็นป่าอนุรักษ์ ในพื้นที่ประมาณ 41 ไร่ มีไม้ป่านานาชาติพร้อมศาลาพรมพิสมัยสำหรับนั่งพักผ่อน ทางเดินภายในสวนปูพื้นด้วยหินธรรมชาติ มีพืชโบราณ 325ล้านปี เป็นพืชตระกูลหญ้ามี 2 สายพันธุ์ คือ สามร้อยยอดและสนหางม้าหรือหญ้าถอดปล้อง
   ศาลาชมวิวหลุบควน เป็นจุดชมวิวอยู่ที่ระดับความสูง 800เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางมีสถานที่กางเต็นท์พักแรมและแคมป์ไฟบริเวณริมอ่างเก็บน้ำ
   สถานริมน้ำข้างพระตำหนัก มีบรรยากาศสงบร่มรื่น สามารถมองเห็นสันเขื่อนได้
บริเวณเขื่อนมีทิวทัศน์ที่งดงาม อากาศเย็นสบายตลอดปี จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ภายในบริเวณเขื่อนมีบ้านพัก ร้านอาหารไว้รับรองนักท่องเที่ยว เรือสำหรับให้ล่องชมอ่างเก็บน้ำ มีจุดชมวิวทิวทัศน์เหนือเขื่อน ศูนย์ทดลองพืชเมืองหนาว และหอดูดาว

แหล่งท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงกับเขื่อนจุฬาภรณ์

    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าในเขตอำเภอคอนสาร เกษตรสมบูรณ์ และหนองบัวแดง ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้น โดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง ได้มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
   ทุ่งกระมัง เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ใจกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว แหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์กินพืช มีเนื้อที่ 830 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2535โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ปล่อยสัตว์ป่าคืนถิ่นในบริเวณนี้ เช่น เก้ง กวาง กระจง และนกต่างๆ มีการจัดทำดินโป่งในบริเวณทุ่งกะมังเพื่อให้สัตว์มากินดินโป่งและเผาแปลงทุ่งหญ้าเพื่อให้เกิดหญ้าระบัดเป็นอาหารของเก้ง กวางในช่วงฤดูแล้ง บนยอดเนินเหนือบริเวณทุ่งกะมัง มีพระตำหนักที่ประทับอยู่เหนืออ่างน้ำ
   การเดินทางไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวใช้เส้นทางเดียวกับเขื่อนจุฬาภรณ์ ก่อนถึงเขื่อน 3 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายจากด่านตรวจ (ปางม่วง) ไปยังที่ทำการเขตฯ อีก 24 กิโลเมตร

คำสำคัญ (Tags): #เขื่อนจุฬาภรณ์
หมายเลขบันทึก: 330997เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2010 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เขื่อนจุฬาภรณ์

เป็นเขื่อนที่ใหญ่มาก..

เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ

แวะมาทักทาย คนบ้านเดียวกันค่ะ

คุณครูเคยไปยังคะ

น่าจะเ็บรูปมาฝากกันมั่งน๊า

เคยไปมาแล้วค่ะ สวยมาก อากาศดีมาก ขอบคุณนะคะที่เข้ามาเยี่ยมชม

เคยไปตั้งแต่สมัยสาว ๆ จ้ะ

เราเพื่อนพ้องน้องพี่ชาวหลักสูตรฯ มรพ.น่าจะไปจัดสัมมนาที่เขื่อนฯสักครั้งนะคะ บรรยากาศดี๊ดี

สนับสนุนอีกคนค่ะ เรื่องเที่ยว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท