ที-แทค
สรภัญญ์จีฬาฬ์ แก้วไวยุทธ์

การวางแผนเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคน


ความต้องการกำลังคน

การวางแผนเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคน (Manpower  Demand)

              @ การวางแผนเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนนี้ เป็นการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาการวางแผนโดยวิธีที่ยึดความต้องการของสังคม  ซึ่งมีจุดอ่อนที่ขาดความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการมีงานทำ

              @ วิธีการจะเริ่มต้นด้วยการศึกษาความต้องการบุคลากรที่จะเข้าทำงานในอนาคตโดยจำแนกปริมาณตามสาขาอาชีพและระดับวุฒิเป็นหลัก จากนั้นจะมีการคาดคะเนสัดส่วนปัจจุบันของกำลังคนที่ผ่านการศึกษาเทียบกับปริมาณที่จ้างงานทั้งหมดในแต่ละระดับและประเภทการศึกษาทั้งนี้  โดยอาศัยข้อมูลด้านประชากร และผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเข้ามาประกอบ ต่อไปจึงกำหนดอัตราเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมจำแนกตามสาขาแล้วลงท้ายด้วยการเปรียบเทียบปริมาณกำลังคนที่ต้องการในอนาคตกับกำลังคนที่มีอยู่   ผลต่างที่ได้รวมเข้าด้วยกำลังคนที่คาดว่าจะออกจากงานจะได้กำลังคนที่ต้องการเพิ่มในแต่ละปี

              @ วิธีการนี้แม้จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการมีงานทำดีขึ้น แต่ก็มีปัญหาหลายประการ นับแต่ความขาดแคลนข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้มาก นอกจากนั้นในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการเลือกศึกษาหาความรู้และหางานทำ จึงมีโอกาสของการไม่เป็นไปตามแผนได้มาก อีกทั้งนโยบายที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีของประเทศก็เป็นตัวแปรแทรกซ้อนที่สำคัญ หากเลือกใช้เทคโนโลยีประหยัดทุน  (labor  intensive  technology)  ย่อมต้องการกำลังคนมาก แต่หากใช้เทคโนโลยีประหยัดแรงงาน  (capital  intensive   technology)  ย่อมต้องการกำลังคนน้อย หากไม่นำตัวแปรนี้เข้าไปในรูปแบบการวางแผนนั้นด้วย ความคลาดเคลื่อนจะมีได้สูงมาก อย่างไรก็ตามก็เป็นวิธีการวางแผนการศึกษาวิธีหนึ่งที่ยังใช้ประโยชน์กันมาก โดยที่พยายามปรับเปลี่ยนวิธีการคิดไปบ้าง โดยเฉพาะการนำวิธีการเชิงคุณภาพเข้ามาใช้ประกอบด้วย

              @ ความหมายการวางแผนกำลังคน  แบ่งออกได้ดังนี้

  1. การวางแผนความต้องการกำลังคน  หมายถึง  การคาดคะเนล่วงหน้าถึงความต้องการกำลังคนในองค์การว่าต้องการกำลังคนจำนวนเท่าใด
  2. การวางแผนจัดหากำลังคน  หมายถึง  การเตรียมการสรรหาและคัดเลือกบุคคลว่าจะมีวิธีการอย่างไร
  3. การวางแผนพัฒนา และการใช้กำลังคน  หมายถึง  การเตรียมการด้านการฝึกอบรมและการใช้กำลังคนที่มีอยู่ในหน่วยงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด
  4. การวางแผนวิจัยกำลังคน  หมายถึง การวางแผนการศึกษาวิจัยกำลังคน เพื่อวางมาตรฐานและโครงการปรับปรุง ในหน่วยงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด         

            @ การคาดประมาณความต้องการกำลังคน (Manpower Demand projection) 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

@ ขั้นตอนการวางแผนกำลังคน
    
1. ศึกษานโยบาย-แผนขององค์การ

      2. ตรวจสอบกำลังคน   

      3. พยากรณ์ความต้องการ (พิจารณาอนาคต)
      4. เตรียมจัดหาคนสำหรับอนาคต

@ หลักการวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนพิจารณาได้  2 ด้าน ดังนี้
      1. การวิเคราะห์ทางด้านคุณภาพ
      2. การวิเคราะห์ทางด้านปริมาณ
         2.1 วิเคราะห์ปริมาณ
         2.2 วิเคราะห์อัตรากำลังคน

http://www.nrru.ac.th/preelearning/pornsiri/index0555.html

หมายเลขบันทึก: 330994เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2010 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กำลังหาข้อมูลอยู่พอดี ขอบคุณมากครับผม

พยามทำความเข้าใจ ครับ

ตรงโจทย์เลยครับ

ขอบคุณสำหรับแนวทางการตอบคำถาม (อิอิอิ)

อยากได้ตัวอย่างการวางแผนของหน่วยงานอะไรก็ไก้มีไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท