ไทย-ลาว-กัมพูชากับเขื่อนแม่โขง


แผนการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ตามแม่น้ำโขง อาจเป็นภัยคุกคามต่อสัตว์น้ำหลายพันธุ์

18/01/2010
 

แผนการที่ จะสร้างเขื่อน สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำหลายแห่ง ตามแม่น้ำโขง สามารถเป็นภัยคุกคามต่อสัตว์น้ำหลายพันธุ์ ซึ่งกำลังตกอยู่ในอันตรายว่า จะสูญพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงได้

...

ในหมู่ประชากร สี่สิบล้านคน ที่อาศัยอยู่ตามฝั่งแม่น้ำโขง ราวร้อยละ66 เลี้ยงชีพด้วยการจับปลาจากแม่น้ำโขง คิดเป็นเงินแล้วตกราวปีละ สองพันห้าร้อยล้านเหรียญสหรัฐ

แต่กัมพูชา ลาว และประเทศไทยมีแผนจะสร้างเขื่อน 11แห่งตามแม่น้ำโขงและเขื่อน 9 แห่งในจำนวนนั้น อยู่ในเขตลาวหรือติดกับเขตลาว

...

ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการประมงเกรงว่า เขื่อนเหล่านั้นจะทำให้ปลาที่อยู่ตามธรรมชาติ ในแม่น้ำโขงมีจำนวนลดลงไป และจะเป็นภัยคุกคามสัตว์น้ำ ที่กำลังตกอยู่ในอันตรายว่าจะสูญพันธุ์

ซึ่งรวมทั้งปลาโลมาหัวบาตรที่กะประมาณกันว่า เหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยตัวนั้น ได้เพราะเขื่อนจะไปสะกัดกั้น การย้ายถิ่นที่อยู่ของปลานั่นเอง

...

คุณเจอเรมี เบิร์ดประธานของคณะกรรมการลุ่มน้ำโขง ซึ่งทำหน้าที่จัดการทรัพยากรของแม่น้ำโขง ระหว่างกัมพูชา ลาว ประเทศไทย และเวียดนามกล่าวว่า

สัตว์น้ำบางชนิดจะสูญพันธุ์ไปอย่างแน่นอน ถ้ามีการสร้างเขื่อนตามแผนการที่กำหนดไว้

...

และว่า การนำข้อดีข้อเสีย ของการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ มาทำให้เกิดความสมดุลกัน นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถ ของบรรดาประเทศ ที่อยู่ในย่านลุ่มน้ำโขงอย่างใหญ่หลวงที่สุด

คุณเจอเรมี เบิร์ดกล่าวไว้ตอนนี้ว่า "เรากำลังพูดเกี่ยวกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ ของประชาชนนับล้านๆ คน แต่ขณะเดียวกัน เราก็พูดถึงกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ ซึ่งมีวิสัยว่า จะเป็นแหล่งทรัพยากรที่ใหญ่โตมหาศาล

...

ซึ่งนอกจากจะ ทำให้ประเทศมีรายได้ จากการขายกระแสไฟฟ้าให้ต่างประเทศแล้ว ยังทำให้ประเทศสามารถนำรายได้ดังกล่าว ไปลงทุนทำโครงการพัฒนาอื่นๆ และช่วยเหลือประเทศต่างๆ ให้สามารถดำเนินการ

เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในด้านการลดภาวะยากจน และจุดมุ่งหมายด้านการพัฒนาอื่นๆ ของประเทศเหล่านั้น"  

...                                                                       

บรรดาเขื่อน ที่กั้นแม่น้ำสายต่างๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง กำลังส่งผลกระทบต่อประชากรตามบริเวณเหล่านั้น และทำให้ปลาไม่สามารถย้ายถิ่นที่อยู่ได้

ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงกล่าว ว่า การสร้างเขื่อนตามลำน้ำโขง จะบีบบังคับให้ชาวประมงหันไปพึ่งการจับปลา จากบ่อเลี้ยงปลามากขึ้น เพื่อชดเชย กับการที่พวกเขาจับปลาที่อยู่ตามธรรมชาติไม่ได้

...

ที่นครเวียงจันทน์ มีบ่อเลี้ยงปลาขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ทางแม่น้ำโขงในเขตลาว ปลาหมอเทศซึ่งถูกขัง อยู่ในกระชังพากันว่ายขึ้นมาสู่ผิวน้ำ ขณะที่มีการโปรยอาหารลงไปในน้ำ

คุณสุชาติ อิงธรรมจิต เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการคนหนึ่ง ของโครงการประมงแห่งคณะกรรมการลุ่มน้ำโขงกล่าวว่า บ่อเลี้ยงปลาสามารถผลิตปลา มาสนองความต้องการได้อย่างพอเพียง

...

คุณสุชาติกล่าว ไว้ตอนนี้ว่า "ปลาที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ราคาแพงกว่าปลาที่เลี้ยงในบ่อ แต่ปัญหามีอยู่ว่า ปลาที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาตินั้น มีให้จับเป็นหน้าๆ ไป แต่ปลาหมอเทศเหล่านี้ คุณหาซื้อได้ในตลาดตลอดทั้งปี"          

ขณะที่พระอาทิตย์กำลังจะลับขอบ ฟ้า ทางย่านแม่น้ำโขง ชาวประมงก็พากันออกไปหาปลากัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการประมงคิดว่า การสร้างเขื่อนกั้นตามลำน้ำโขง จะทำให้ชาวประมง ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีหาปลาแบบเดิมๆ ของพวกเขาแน่ๆ

...

[ ขอขอบพระคุณ "VOAnews ภาคภาษาไทย" ] 

...

เรื่องนี้คน ไทยควรศึกษาให้รู้เขารู้เรา และเข้าใจลาวซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่ดีกับไทยมากที่สุด (ลาวมีรายได้น้อยมาก และวางแผนจะทำรายได้จากพลังงานไฟฟ้า) ตามสมควรต่อไป

ทว่า... งานนี้พี่กัมฯ (กัมพูชา) กับพี่เีวียดฯ (เวียดนาม) คงจะบ่นเรื่องแม่โขงแห้งแน่ๆ เลย

...

หมายเลขบันทึก: 330535เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท