มีลูกช่วยลดความดัน(เลือด) [EN]


การศึกษาใหม่พบ คนที่มีลูกมีความดันเลือดต่ำกว่าคนที่ไม่มีลูก ซึ่งอาจช่วยให้อายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพมากขึ้นด้วย [ Telegraph ]

...

การศึกษาใหม่ พบ การมีลูก (parenthood = ความเป็นแม่เป็นพ่อ) ให้ผลดีกับสุขภาพคล้ายๆ กับการออกแรง-ออกกำลัง หรือการไม่กินเกลือมากเกิน (cutting out salt; cut out = clip out = ตัดออกบางส่วน) [ longdo ]

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริแกม ยัง, ยูทาห์ US, ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ 200 คน ในจำนวนนี้ 70% มีลูก, ให้กลุ่มตัวอย่างติดเครื่องวัดความดันเลือด 24 ชั่วโมง และให้กลับไปบ้าน-ทำงานแบบเดิมๆ

...

ความดันเลือด หรือความดันโลหิตของคนเรามี 2 ค่าได้แก่ ตัวบนกับตัวล่าง, ตัวบนหรือค่าที่สูงกว่าวัดตอนหัวใจบีบตัว ตัวล่างหรือค่าที่ต่ำกว่าวัดตอนหัวใจคลายตัว

ช่วงที่หัวใจบีบตัวหรือปั๊มพ์ (pump) เลือด... แรงดันในหลอดเลือดแดงจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่หัวใจหดตัว... แรงดันในหลอดเลือดแดงจะลดลงในช่วงที่หัวใจคลายตัว

...

ค่าความดัน เลือดปกติอยู่ในช่วง 120/80-140/90, ความดันเลือดของคนบางคน โดยเฉพาะคนที่ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ ทำให้ระบบหัวใจ-หลอดเลือดดีกว่าคนทั่วไป อาจมีค่าต่ำกว่านี้ (และมีีชีพจรช้าลงทั้งๆ ที่แข็งแรงดีร่วมด้วย)

ความดันเลือดในคนที่แขนเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางแขนเล็ก)... ไม่ว่าจะเป็นจากกระดูกเล็ก-กล้ามเนื้อน้อย-ไขมันน้อย จะวัดได้ต่ำกว่าจริงเล็กน้อย, เรื่องนี้เป็นไปตามกฏแรงดัน (Poisseuille's law) ที่ว่า แรงดันในท่อทรงกลมแปรตามรัศมียกกำลังสี่ [ gsu.edu ]

...

ท่อที่มีขนาดใหญ่กว่าจะวัดแรงดันได้สูงกว่าฉันใด แขนที่ใหญ่กว่าจะวัดแรงดันได้สูงกว่าฉันนั้น

เรื่องนี้มีส่วนทำให้ค่าความดันเลือดของแขนข้างซ้ายต่างจากข้างขวาเล็ก น้อย... ส่วนใหญ่แขนข้างที่ถนัดมักจะมีค่าความดันเลือดที่วัดได้สูงกว่า เนื่องจากแขนที่ใช้งานมากโตกว่าแขนที่ใช้งานน้อย

...

ผลการศึกษาพบว่า การมีลูกช่วยให้ความดันเลือดลดลงดังต่อไปนี้

(1). ความดัน เลือดตัวบน (systolic blood pressure / BP) ของคุณพ่อต่ำกว่าคนที่ไม่มีลูก (non-parents) = 4.5 หน่วย, ความดันเลือดตัวล่าง (diastolic blood pressure / BP) ต่ำกว่า = 3 หน่วย

(2). ความดันเลือดตัวบน (systolic blood pressure / BP) ของคุณแม่ต่ำกว่าคนที่ไม่มีลูก (non-parents) = 12 หน่วย, ความดันเลือดตัวล่าง (diastolic blood pressure / BP) ต่ำกว่า = 7 หน่วย

...

กลไกที่เป็นไปได้ คือ คนที่มีลูกมีโอกาสออกแรง-ออกกำลังมากกว่า, อาหารดีกับสุขภาพมากกว่า, และน่าจะมีปัจจัยอื่นๆ โดยเฉพาะสุขภาพจิตดีกว่า

ตัวอย่าง เช่น มีความสุขมากกว่า, รู้สึก "พอเพียง (fulfilled)" กับชีวิตมากกว่า (ความสมหวังในชีวิต) มากกว่า, มีจุดมุ่งหมายในชีวิต (purpose) ดีกว่า ฯลฯ

...

อ.จูเลียนน์ โฮลต์-ลุนสทาด ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา หัวหน้าคณะวิจัยกกล่าวว่า การมีลูกมักจะนำไปสู่การทะเลาะ หรือโต้เถียงกันเป็นประจำ (daily hassles) ก็จริง, 

ทว่า... ผลของการได้พูดคุย โต้ตอบ สอบถามอะไรต่อมิอะไรกันก็ทำให้เกิดการเรียนรู้ และนำไปสู่สุขภาพที่ดีขึ้นได้ เช่น นำไปสู่การใส่ใจว่า ควรจะให้ลูกกินอาหารอะไรที่ดีกับสุขภาพ, จะออกแรง-ออกกำลังอย่างไร, จะนอนอย่างไร ฯลฯ

...

อ.โฮลต์กล่าวเตือนว่า การศึกษานี้ไม่ได้หมายความว่า การมีลูกมากๆ หรือลูกดกจะทำให้ความดันเลือดลดลงมากขึ้น

ต้นฉบับกล่าวว่า "The findings are simply tied to parenthood, no matter the number of children or employment status."

...

แปลว่า "ผลการศึกษา (findings) แปลตรงๆ ว่า การเป็นแม่เป็นพ่อ (parenthood) ดี, ไม่สำคัญว่า จะมีจำนวนลูกกี่คน หรือภาวะการมีงานทำ-ตกงาน (employment; employ = ว่าจ้าง จ้างงาน; employment = การจ้างงาน มักจะหมายถึงการมีงานทำ)

ความดันเลือดที่ต่ำกว่ามีแนวโน้มจะดีกับสุขภาพมากกว่า... การศึกษานี้บอกนัยว่า การมีลูกดีกับสุขภาพคุณแม่มากกว่าคุณพ่อ, ถ้าคุณพ่ออยากให้สุขภาพดีขึ้นคงต้องช่วยคุณแม่เลี้ยงลูก-ทำงานบ้าน-หรือวิ่ง เล่นกับลูกบ้าง... ความดันเลือดจะได้ลดลงมากหน่อย

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Children 'may lower parents' blood pressure' find researchers' = "(คณะนักวิจัยพบ) เด็กๆ (= ลูกๆ) อาจช่วยลดความดันเลือดคุณแม่คุณพ่อ"

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

@ [ parent ] > [ แพ้ - เหร่น - t ] > http://www.thefreedictionary.com/parent > noun = แม่หรือพ่อ ผู้ปกครอง

...

ขอให้สังเกตว่า 'parent' ออกเสียง "แพ้" เป็นคำแรก, คุณธรรมอย่างหนึ่งของคุณแม่คุณพ่อ คือ มีขันติหรือความอดทน

และบางทีอาจต้องแกล้งแพ้ให้ เป็น อย่าดันทุรังทำทุกอย่างเพื่อให้ชนะคนอื่นในครอบครัวเสมอไป แล้วจะได้ชัยชนะหรือมิตรภาพในระยะยาว เช่น เล่นกีฬาหรือแข่งอะไรกับลูกๆ ควรหัดแกล้งแพ้เป็นพักๆ แล้วจะทำให้สนุกขึ้น ฯลฯ

...

@ [ parenthood ] > [ แพ้ - เหร่น - หูด ] > http://www.thefreedictionary.com/parenthood > noun = ความเป็นแม่ ความเป็นพ่อ

# Parenthood is the state of being parent. = ความเป็นแม่เป็นพ่อเป็นภาวะแห่งความเป็นแม่หรือพ่อ. ตัวอย่างนี้ฟังดูแปลก ทว่า... ใช้บ่อยในพจนานุกรมหรือการนิยาม (ให้ความหมาย แปล) ศัพท์ หมายถึงการทำหน้าที่-คุณธรรมของคุณแม่คุณพ่อ.

...

@ [ hassle ] > [ แฮ้ส - เสิ่ว - L; ตัวสะกด 'L' ออกเสียงกลางๆ ระหว่างตัว "ว" กับ "ล"; ขอให้ฟังเสียงเจ้าของภาษาจากลิ้งค์ แล้วออกเสียงตามให้ได้ 3 รอบ ] > http://www.thefreedictionary.com/hassle > noun, verb = trouble, fight, argument = (การ) ถกเถียง ทะเลาะ วิวาท

# Travelling with children is such a hassle. = การเดินทางไปกับเด็กๆ มีแต่เรื่องทะเลาะกัน (เป็นธรรมชาติของเด็กๆ).

# We don't like people hassling us. = เราไม่ชอบให้ผู้คน (คนอื่น) มาหาเรื่อง (กับเรา).

...

@ [ employ ] > [ เอ่ม - พล่อย ] > http://www.thefreedictionary.com/employ > verb = ว่าจ้าง จ้างงาน

# We agreed to employ them. = เราตกลงที่จะจ้างพวกเขา (พวกเขา) ให้ทำงาน. = เรารับพวกเขา (พวกเธอ) เข้าทำงาน.

...

@ [ employment ] > [ เอ่ม - พล้อย - เหม่น - t ] > http://www.thefreedictionary.com/employment > noun =การจ้างงาน

# Employment makes people earn money. = การจ้างงานทำให้ผู้คน (ประชาชน) ได้รับ (earn = gain = ได้รับ) เงิน (มีเงินใ้ช้จากการทำงาน).

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • Thank Telegraph > Children 'may lower parents' blood pressure' find researchers. January 15, 2010. / Source > Annals of Behavioral Medicine. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 18 มกราคม 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 330532เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท