พบคนไข้แพร่เชื้อดื้อยาMRSA [EN]


การศึกษา ใหม่จากยุโรปพบ เชื้อดื้อยา MRSA ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อฝีหนอง ปอดบวม และการติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงได้ กระจายโดยคนไข้ ไม่ใช่หมอหรือพยาบาล [ BBC ]

...

[ BBC ]

ภาพที่ 1: เชื้อดื้อยา MRSA จากกล้องจุลทรรศน์อีเล็คตรอนดูสวยราวกับส้มผ่าซีก เชื้อนี้เวลา้ย้อมในจานเพาะเชื้อจะมีสีเหลืองทองสวยงาม ทำให้มีเชื่อว่า 'Staphylococcus aureus ('aureus' = ทองคำ สีทอง) [ BBC ]

เรื่องของเชื้อดื้อยา MRSA ก็คล้ายๆ กับเรื่องอีกหลายๆ เรื่องในชีวิตที่ว่า "ความงามกับความเป็นพิษนั้นมักมาคู่กันเป็นพักๆ"

...

[wiki]

ภาพที่ 2: ภาพเชื้อดื้อยา 'MRSA' จากกล้องจุลทรรศน์ ดูสวยงาม ไร้พิษสง [ wikipedia ]

...

[wiki]

ภาพที่ 3: ภาพเชื้อดื้อยา 'MRSA' ทำให้เกิดฝีหลายหัว แตกออกมาพร้อมกัน เนื่องจากเชื้อนี้เป็นเืชื้อประเภท "กินเก่ง-กินจุ" ทำให้เนื้อเยื่อดีๆ กลายเป็นฝีหนองอย่างรวดเร็ว [ wikipedia ]

...

ก่อนหน้านี้ เชื่อกันว่า โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแพร่กระจายโดยบุคลากรทางการแพทย์ เช่น หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ฯลฯ ทำให้ต้องเน้นการล้างมือด้วยสบู่ ถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และอาจต้องทำการเพาะเชื้อว่า เจ้าหน้าที่คนใดเป็นพาหะหรือไม่ (เช่น เพาะจากในโพรงจมูก ฯลฯ)

การศึกษาใหม่ทำโดยการตรวจสอบรหัสพันธุกรรม (DNA) ในกลุ่มประเทศยุโรปพร้อมกัน 26 ประเทศ โดยนำข้อมูลทางพันธุกรรมไปจับคู่กับแผนที่ยุโรป

...

เป้าหมายสำคัญของการศึกษานี้ คือ การตรวจสอบว่า เชื้อดื้อยา MRSA แพร่กระจายไปได้อย่างไร เชื้อนี้ดื้่อต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้กันทั่วไป

ทำให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นจากรายละไม่กี่ ร้อยกี่พันบาท ไปสู่หลักหมื่นหลักแสนบาท แถมยังทำให้คนไข้จำนวนมากเสียชีวิต หรือพิการจากการติดเชื้อ

...

ตัวอย่างเช่น เชื้อนี้ทำให้ข้ออักเสบติดเชื้อ ซึ่งตามมาด้วยข้อพิการ, ทำให้ตาอักเสบติดเชื้อ และตามมาด้วยตาบอด-ตาเสื่อมสภาพได้ ฯลฯ

อ.ฮาโจ กรุนต์มันน์ และคณจากศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยโกรนิงเงน เนเธอร์แลนด์ ทำการศึกษาตัวอย่างเชื้อ หารหัสทางพันธุกรรม (DNA) พร้อมกัน 450 แห่งทั่้วยุโรป

...

ผลการศึกษาพบว่า ต้นตอสำคัญที่ำทำให้เกิดการระบาดของเชื้อดื้อยา MRSA คือ คนไข้-ไม่ใช่หมอ

ยุคนี้เป็นยุคที่คนจำนวนมาก โดยเฉพาะสื่อมวลชนชอบโทษหมอ อะไรๆ ก็โทษหมอ-พยาบาล-เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ซึ่ง (หมอ ฯลฯ) ควรใช้ยา "ทำใจ" ให้มาก

...

แม้แต่คน ไข้เบาหวานที่หมอแนะนำว่า มื้อหนึ่งให้กินลำไยได้ 2-3 ลูก แต่ซัดลำไยไปทีละ 2-3 กิโลฯ แล้วน้ำตาลในเลือดสูง, ไตเสื่อม-ตาเสื่อมก็ชอบโทษหมอว่า ไตเสื่อมเพราะยาบ้าง เพราะหมอไม่เก่งบ้าง แต่ไม่โทษตัวเองเลย (แม้แต่น้อย โดยปราศจากหิริ-โอตตัปปะ หรือความละลาย-เกรงกลัวต่อบาป)

การศึกษานี้พบว่า ตัวการแพร่เชื้อดื้อยา MRSA คือ คนไข้ที่เข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาล โดยเฉพาะรายที่ย้ายโรงพยาบาลไปเรื่อยๆ เป็นส่วนใหญ่, ส่วนน้อยเกิดจากการหมุนเวียนของเชื้อดื้อยาในชุมชน หรือนอกโรงพยาบาล

...

การหมุนเวียน ของเชื้อดื้อยานอกโรงพยาบาลพบได้ในหลายกรณี เช่น เชื้อไปสะสมที่น้องหมา-แมว แล้วทำให้คนที่ไปเล่นด้วยติดเชื้อเป็นพักๆ, คนที่เป็นกุ้งยิง หรือเป็นฝีหนองซ้ำซาก ฯลฯ

เชื้อดื้อยา MRSA มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สะสม-ซุ่มเงียบได้ในชุมชน เช่น สะสมพอกพูนในโพรงจมูก หมอนหรือของใช้ (วิธีป้องกันวิธีหนึ่ง คือ ใช้หมอนใยสังเคราะห์ ซักทั้งบ้านทุกเดือน และตากแดดบ่อยๆ) ฯลฯ ได้โดยไม่ทำให้เกิดอาการ และแพร่ออกมา (ผ่านมือที่แคะจมูก-ป้ายจมูก) ทำให้คนอื่นติดเชื้อได้เป็นพักๆ

...

ต้นฉบับตอนหนึ่งกล่าวไว้ดีคือ "MRSA appears to be spread by patients who ping-pong around between hospitals. These are often frail or elderly people with on-going health problems." [ BBC ]

แปลว่า "MRSA แพร่กระจายโดยคนไข้ (ภาษาอังกฤษ = 'patient' ซึ่งแปลว่า อดทน มีขันติได้ด้วย เนื่องจากคุณธรรมของคนไข้ คือ ต้องมีความอดทน มีขันติ)

...

คนไ้ข้ที่พบเป็นพาหะแพร่เชื้อได้บ่อย คือ คนไข้อ่อนแอ-เป็นโรคเรื้อรัง (frail = แบบบาง อ่อนแอ ขี้โรค ป่วยบ่อย) หรือคนสูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ

อ.กรุนต์มันน์แนะนำว่า ต่อไปอาจต้องมีการตรวจคัดกรองว่า คนไข้ที่เป็นโรคเรื้อรัง สูงอายุ หรืออยู่ตามสถานเีลี้ยงคนชราเป็นพาหะแพร่เชื้อดื้อยา MRSA หรือไม่ เพื่อให้คนไข้ส่วนใหญ่ปลอดภัย

...

ศ.ริเชิร์ด เจมส์ ผู้อำนวยการศูนย์โรคติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพ มหาวิทยาลัยนอททิงแฮม UK กล่าวว่า การวิจัยนี้เป็น 'tour de force' หรือเป็นการวิจัยที่ทำพร้อมกันทั่วยุโรป

สำนวนนี้เป็นสำนวนเล่นคำ เลียนแบบ 'Tour de France' หรือ "ตู๊ - เด๊อ - ฝร่อง" / "ตู้ - เ่ด่อ - แฟร่น - s" = การแข่งขันจักรยานทางไกล 3,500 กม. ผ่านฝรั่งเศสและประเทศใกล้เคียง ใช้เวลาแข่งประมาณ 3 สัปดาห์ มีคนจากทั่วโลกเข้าร่วมในการแข่งขัน [ dictionary.reference ] ; [ answers ] ; [ forvo ]

...

คำ 'tour' ออกเสียง "ทั่ว" ในภาษาอังกฤษ และออกเสียง "ตู้" หรือ "ตู๊" ในภาษาฝรั่งเศส, คำ 'France' ออกเสียง "ฟร่าน - s" ในภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ, "แฟร่น - s" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน, หรือ "ฝร่อง" ในภาษาฝรั่งเศส

ภาษาอังกฤษหลายๆ คำจะดู "หรู" ขึ้น ถ้าออกเสียงแบบฝรั่งเศส

...

เชื้อดื้อยา MRSA พบในชุมชนนอกโรงพยาบาล แต่พบน้อยกว่าในโรงพยาบาล,  การศึกษานี้บอกเป็นนัยว่า ให้หมอ-พยาบาล-เจ้าหน้าที่ล้างมือด้วยสบู่ ถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์อย่างเดียวไม่พอ ต้องขอให้คนไข้และญาติ-คนที่ไปเยี่ยมล้างมือด้วย จึงจะปลอดภัย

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'MRSA 'spread by patients moving between hospitals'' = "เชื้อดื้อยา MRSA แพร่กระจายโดยการส่งต่อคนไข้ระหว่างโรงพยาบาล"

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

@ [ hospital ] > [ ฮ้อส - ปี - เติ่ล - L ] > http://www.thefreedictionary.com/hospital > noun = โรงพยาบาล, คำนี้มาจากภาษาละติน แปลว่า "สำหรับแขก (guests)"

...

@ [ hospitality ] > [ ฮ้อส - พี - ท้าล - ลี - ถี่ ] อังกฤษแบบอเมริกัน หรือ [ ฮ้อส - พี - ทาลhttp://www.merriam-webster.com/dictionary/Hospitality หรือ http://www.forvo.com/word/hospitality/ > noun = การต้อนรับด้วยความยินดี การต้อนรับขับสู้ - ลี - ถี่ ] อังกฤษแบบอังกฤษ >

ขอให้สังเกตว่า ศัพท์ 'hospital' & 'hospitality' มีความหมายใกล้เคียงกัน คือ โรงพยาบาลควรเป็นสถานที่ที่ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยเมตตาหรือกรุณา,

...

การโฆษณาประชาสัมพันธ์โรงแรม หรือการท่องเที่ยวมักจะใช้คำ 'hospitality' บ่อย คือ ถ้าเป็นโรงแรมก็ต้องต้อนรับผู้มาเยือนให้ดี, โรงพยาบาลก็เช่นกัน

ประเทศที่มี 'hospitality' ดีมักจะเป็นประเทศที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง

...

@ [ patient ] > [ เพ้ - เฉิ่น - t ] > http://www.thefreedictionary.com/patient > noun = คนไข้

@ [ patient ] > [ เพ้ - เฉิ่น - t ] > http://www.thefreedictionary.com/patient > adjective = ซึ่งอดทน มีขันติ มีความอดกลั้น

...

ขอให้สังเกตว่า คนไข้ที่ดีควรมีคุณธรรม คือ ความอดทน-อดกลั้น-ขันติ เนื่องจากคำ 'patient' แปลว่า คนไข้ก็ได้ แปลว่า ความอดทน-อดกลั้น-ขันติก็ได้เช่นกัน

ประเทศที่มีสุขภาพดี คือ โรงพยาบาลควรมี 'hospitality' และคนไข้ก็ต้องมี 'patience' เช่นกัน

...

@ [ patience ] > [ เพ้ - เฉิ่น - s ] > http://www.thefreedictionary.com/patience
> noun = ความอดทน-อดกลั้น-ขันติ ('patient' = adjective; 'patience' = noun)

... 

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • Thank BBC > MRSA 'spread by patients moving between hospitals'. January 12, 2010. / Source > PLoS Medicine.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 13 มกราคม 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 330468เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท