จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ภารกิจมัสยิด คิดๆ ก็ล้ำลึกเสียจริง


 

เมื่อวานได้ฟังท่านอธิการบดีพูดถึงความต้องการของท่านที่จะให้ มัสยิดของมหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานครอบคลุมทุกบทบาทของมัสยิด และสามารถเป็นแบบอย่างให้กับการดำเนินงานของมัสยิดอื่นๆ ได้ต่อไปในอนาคต ฟังท่านพูดแล้ว ชวนให้นึกต่อครับว่า บทบาทของมัสยิดมันมีมิติที่มากกว่าการใช้เป็นสถานที่สำหรับการละหมาดร่วมกันเท่านั้น แต่มันยังมีภารกิจอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งสำหรับผมแล้ว ผมสัมผัสได้ถึงบทบาทมัสยิดในฐานะที่เป็นแหล่งของการเรียนรู้และกลไกในการจัดการความรู้ของชุมชนมุสลิมครับ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ผมสัมผัสได้จากการไปมัสยิดในมหาวิทยาลัยในช่วงเที่ยงและช่วงเย็น ถามว่าภายหลังจากการละหมาดแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้างสำหรับผม ภาพชัดๆ เลยครับคือ เกิดวงสนทนาเล็กๆ ในประเด็นที่ชวนให้คิดต่อ มันเกิดเป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเลยครับ แน่นอนครับ วงสนทนาในมัสยิดถูกจำกัดไว้ในสิ่งที่เป็นสาระจริงๆ ครับ ผมว่าขืนเอาเรื่องชาวบ้านมาพูดกันในมัสยิด บาปมันคงทวีคูณหลายเท่าตัวแน่ๆ ฮิฮิฮิ
ขอยกตัวอย่างในช่วงสองวันนี้ครับ ประเด็นความสนใจของผมคือ การเตรียมเอกสารและหลักฐานสำหรับการขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์หลายๆ ท่าน ซึ่งแน่นอนครับ หลังละหมาดคือที่ๆ เราเจอะเจอกันเพื่อถามว่า ขาดอะไรอีกบ้าง หรืออาจารย์หลายท่านๆ ก็ถามผมว่า อันนี้พอจะเอาไปเป็นหลักฐานได้แล้วยัง ความกระจ่ายชัดเกิดขึ้นหลังจากการพูดคุยกันช่วงเวลาสั้น ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
และเช่นเดียวกันครับในเวลาละหมาดยามพลบค่ำ (มัฆริบ) มันเกิดกลุ่มขึ้นมาเองครับหน้ามัสยิดโสร่ง (ถึงแม้ไม่บ่อยครั้งนัก) ส่วนใหญ่กลุ่มนี้สำหรับผมคือ การคุยกันเรื่องของงานวิจัย หรือการพัฒนาโจทย์วิจัยครับ เมื่อคืน อาจารย์ใหม่ท่านหนึ่ง เข้ามาขอคำปรึกษาผมหลังละหมาด ความจริงท่านก็ไม่รู้จักผมเป็นการส่วนตัวครับ ก่อนเริ่มคุย ท่านก็ถามผมก่อนว่า ใช่อาจารย์จารุวัจน์หรือเปล่า ฮิฮิ จากนั้นก็มีเพื่อนอาจารย์อีกท่านมาร่วมคุยว่า หัวข้ออะไรดีเหมาะสมที่จะเสนอขอทุนวิจัย ถามว่าคุยนานมัย อันนี้ตอบได้เลยครับ ใช้เวลาไม่นานมาก เพราะผมต้องรีบไปสอนการบ้านลูกอีก (ซึ่งไม่รู้เป็นงัย หลังๆ มาสอนผิดเป็นประจำ สงสัยให้ผมกลับไปเรียนอนุบาลใหม่ มีหวังผมตกซ้ำชั้นแน่ๆ ฮา) 
ที่ทำให้ผมคิดต่อไปคือ กระบวนการกลุ่มเพื่อการจัดการความรู้ เพื่อการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นที่มัสยิด เป็นผลจากแนวปฏิบัติในเรื่องของการละหมาดเป็นกลุ่ม (ญามาอะห์) และถ้ามองย้อนไปในสมัยท่านศาสนทูต (ซ.ล) ก็พบว่า ท่านให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก จึงเป็นคำตอบชัดๆ คำตอบหนึ่งครับคือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงานร่วมกันสามารถพัฒนาคนได้เป็นอย่างดี ถ้าละหมาดคนเดียว ผลพลอยได้อีกเยอะไม่เกิดขึ้นครับ วิทยปัญญาเหล่านี้แฝงอยู่ในหลักศาสนบัญญัติมากมายเกินกว่าที่มนุษย์จะคิดได้จริงๆ ดังนั้นเพียงแค่เราพยายามที่นำเอาแบบอย่างจากท่านศาสนทูต (ซ.ล) มาใช้ก็ย่อมเป็นเครื่องหมายการันตีถึงคุณภาพของงาน คุณภาพของคนได้อย่างไม่ต้องมีข้อสงสัยใดๆ อีก

เมื่อวานได้ฟังท่านอธิการบดีพูดถึงความต้องการของท่านที่จะให้ มัสยิดของมหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานครอบคลุมทุกบทบาทของมัสยิด และสามารถเป็นแบบอย่างให้กับการดำเนินงานของมัสยิดอื่นๆ ได้ต่อไปในอนาคต ฟังท่านพูดแล้ว ชวนให้นึกต่อครับว่า บทบาทของมัสยิดมันมีมิติที่มากกว่าการใช้เป็นสถานที่สำหรับการละหมาดร่วมกันเท่านั้น แต่มันยังมีภารกิจอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งสำหรับผมแล้ว ผมสัมผัสได้ถึงบทบาทมัสยิดในฐานะที่เป็นแหล่งของการเรียนรู้และกลไกในการจัดการความรู้ของชุมชนมุสลิมครับ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ผมสัมผัสได้จากการไปมัสยิดในมหาวิทยาลัยในช่วงเที่ยงและช่วงเย็น ถามว่าภายหลังจากการละหมาดแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้างสำหรับผม ภาพชัดๆ เลยครับคือ เกิดวงสนทนาเล็กๆ ในประเด็นที่ชวนให้คิดต่อ มันเกิดเป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเลยครับ แน่นอนครับ วงสนทนาในมัสยิดถูกจำกัดไว้ในสิ่งที่เป็นสาระจริงๆ ครับ ผมว่าขืนเอาเรื่องชาวบ้านมาพูดกันในมัสยิด บาปมันคงทวีคูณหลายเท่าตัวแน่ๆ ฮิฮิฮิ

ขอยกตัวอย่างในช่วงสองวันนี้ครับ ประเด็นความสนใจของผมคือ การเตรียมเอกสารและหลักฐานสำหรับการขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์หลายๆ ท่าน ซึ่งแน่นอนครับ หลังละหมาดคือที่ๆ เราเจอะเจอกันเพื่อถามว่า ขาดอะไรอีกบ้าง หรืออาจารย์หลายท่านๆ ก็ถามผมว่า อันนี้พอจะเอาไปเป็นหลักฐานได้แล้วยัง ความกระจ่ายชัดเกิดขึ้นหลังจากการพูดคุยกันช่วงเวลาสั้น ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย

และเช่นเดียวกันครับในเวลาละหมาดยามพลบค่ำ (มัฆริบ) มันเกิดกลุ่มขึ้นมาเองครับหน้ามัสยิดโสร่ง (ถึงแม้ไม่บ่อยครั้งนัก) ส่วนใหญ่กลุ่มนี้สำหรับผมคือ การคุยกันเรื่องของงานวิจัย หรือการพัฒนาโจทย์วิจัยครับ เมื่อคืน อาจารย์ใหม่ท่านหนึ่ง เข้ามาขอคำปรึกษาผมหลังละหมาด ความจริงท่านก็ไม่รู้จักผมเป็นการส่วนตัวครับ ก่อนเริ่มคุย ท่านก็ถามผมก่อนว่า ใช่อาจารย์จารุวัจน์หรือเปล่า ฮิฮิ จากนั้นก็มีเพื่อนอาจารย์อีกท่านมาร่วมคุยว่า หัวข้ออะไรดีเหมาะสมที่จะเสนอขอทุนวิจัย ถามว่าคุยนานมัย อันนี้ตอบได้เลยครับ ใช้เวลาไม่นานมาก เพราะผมต้องรีบไปสอนการบ้านลูกอีก (ซึ่งไม่รู้เป็นงัย หลังๆ มาสอนผิดเป็นประจำ สงสัยให้ผมกลับไปเรียนอนุบาลใหม่ มีหวังผมตกซ้ำชั้นแน่ๆ ฮา) 

ที่ทำให้ผมคิดต่อไปคือ กระบวนการกลุ่มเพื่อการจัดการความรู้ เพื่อการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นที่มัสยิด เป็นผลจากแนวปฏิบัติในเรื่องของการละหมาดเป็นกลุ่ม (ญามาอะห์) และถ้ามองย้อนไปในสมัยท่านศาสนทูต (ซ.ล) ก็พบว่า ท่านให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก จึงเป็นคำตอบชัดๆ คำตอบหนึ่งครับคือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงานร่วมกันสามารถพัฒนาคนได้เป็นอย่างดี ถ้าละหมาดคนเดียว ผลพลอยได้อีกเยอะไม่เกิดขึ้นครับ วิทยปัญญาเหล่านี้แฝงอยู่ในหลักศาสนบัญญัติมากมายเกินกว่าที่มนุษย์จะคิดได้จริงๆ ดังนั้นเพียงแค่เราพยายามที่นำเอาแบบอย่างจากท่านศาสนทูต (ซ.ล) มาใช้ก็ย่อมเป็นเครื่องหมายการันตีถึงคุณภาพของงาน คุณภาพของคนได้อย่างไม่ต้องมีข้อสงสัยใดๆ อีก

 

หมายเลขบันทึก: 329739เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2010 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกโอกาสนะคะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอบคุณครับ ครูคิม 

สร้างโอกาสการเรียนรู้และเพิ่มพูนศรัทธาครับให้เกิดได้ในทุกที่

งานเข้าครับวันนี้

ขอบคุณสำหรับบทความที่เล่าสู่กันฟังในมุมมองของ KM

แต่ที่ผมเองได้ไปดูมาเมื่อไม่กี่วันมานี้ คือ สิ่งที่อธิการบดี คาดหวังที่จะทำตามศาสนาอิสลาม คือ การละหมาด

และดีที่สุด คือ การละหมาดร่วมกัน

และดี่ที่สุดเป็นอย่างยิ่ง คือ ละหมาดต้นเวลา

ตามจริงแล้วในอิสลามได้ให้แนวทางการคุยกัน ปรึกษากัน ณ มัสยิด นั้นก็คือ การทำฮาลาเกาะฮฺ หมายถึง การอยู่ร่วมกัน ล้อมกันเป็นวงกลม แล้วสนทนากัน

แต่หลังๆเราเพิ่งจะมาทำกัน นั้นคือ ทำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วก็ไม่ได้คุยอะไรที่จะเสียสละไปกว่าการคุยเรื่องอนาคตตัวเอง บนพื้นฐานของข้อมูลผู้อื่น ก็ไม่ต่างอะไรกับการพูดเรื่องคนอื่นหรือตัวเอง ผลประโยช์นที่แท้จริงเราอยากให้มาจากอิสลาม เพื่ออัลลอฮฺเท่านั้น เสียสละเทิด ยังมีอะไรที่ยังไม่ทำเพื่อคนอื่น โดยไม่หวังอะไรอีกเยอะ

มัสยิด มอย. วันหนึ่งเข้าเวลาแล้ว แต่ยังหาคนอะซานไม่ได้เลย แล้วไม่มีใครถาม ไม่มีใครแย่งกัน เกิดอะไรขึ้น กับสิ่งเหล่านี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท