วิจารณ์ตัวละครเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์


 วิจารณ์ตัวละครเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

๑.  พระเจ้าอชาตศัตรู

           ๑.๑ ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรของพระองค์ ดังฉันท์ที่ว่า

                 แว่นแคว้นมคธนครรา-                  ชคฤห์ฐานบูรี

สืบราชวัตวิธทวี                                              ทศธรรมจรรยา

                เลื่องหล้ามหาอุตตมลาภ                คุณภาพพระเมตตา

แผ่เพียงชนกกรุณอา                                     ทรบุตรธิดาตน

             ๑.๒ ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง  บ้านเมืองได้รับการทำนุบำรุงจนกระทั่งมีแสนยานุภาพ ประชาชนสุขสงบ มีมหรสพให้บันเทิง เช่น

                หอรบจะรับริปุผิรอ                        รณท้อหทัยหมาย

มุ่งยุทธย่อมชิวมลาย                                    และประลาตมิอาจทน

               พร้อมพรั่งสะพรึบพหลรณ            พยุห์พลทหารชาญ

อำมาตย์และราชบริวาร                                วุฒิเสวกากร

              เนืองแน่นขนัดอัศวพา                     หนชาติกุญชร

ชาญศึกสมรรถสุรสมร                                  ชยเพิกริปูภินท์

              กลางวันอนันตคณนา                      นรคลาคละไลเนือง

กลางคืนมหุสสวะประเทือง                            ดุริยศัพทดีดสี

              บรรสานผสมสรนินาท                     พิณพาทย์และเภรี

แซ่โสตสดับเสนาะฤดี                                    อุระล้ำระเริงใจ

              ๑.๓ ทรงมีพระราชดำริจะแผ่พระบรมเดชานุภาพ  โดยจะกรีธาทัพไปตีแคว้นวัชชี  ดังนี้

             สมัยหนึ่งจึ่งผู้ภูมิบาล                       ทรงจินตนาการ

จะแผ่อำนาจอาณา

            ให้ราบปราบเพื่อเกื้อปรา-                 กฎไผทไพศา

 ลรัฐจังหวัดวัชชี

            ๑.๔ ทรงมีความรอบคอบ  เมื่อทรงทราบว่าคณะกษัตริย์ลิจฉวียึดมั่นในสามัคคีธรรมจึงทรงมีพระราชดำริว่า

            ศึกใหญ่ใคร่จะพยายาม                     รบเร้าเอาตาม

กำลังก็หนักนักหนา

           จำจักหักด้วยปัญญา                            รอก่อนผ่อนหา

อุบายทำลายมูลความ

และทรงปรึกษาหารือกับวัสสการพราหมณ์  ซึ่งวัสสการพราหมณ์กราบทูลถึงวิธีการและดำเนินการจนสำเร็จ

 

๒. วัสสการพราหมณ์

       วัสสการพราหมณ์เป็นปุโรหิตแห่งแคว้นมคธ เป็นผู้เฉลียวฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์  ดังคำประพันธ์ที่ว่า

             อันอัครปุโรหิตาจารย์                    พราหมณ์นามวัสสการ

ฉลาดเฉลียวเชี่ยวชิน

             กลเวทโกวิทจิตจินต์                      สำแดงแจ้งศิล

ปศาสตร์ก็จบสบสรรพ์

ลักษณะนิสัยของวัสสการพราหมณ์

        ๒.๑ รักชาติบ้านเมือง ยอมเสียสละเพื่อประเทศชาติ  เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงปรึกษากับวัสสการพราหมณ์เรื่องที่จะทรงแผ่พระบรมเดชานุภาพเอาเมืองวัชชีไว้ในครอบครองและวัสสการพราหมณ์กราบทูลกลอุบายและวิธีการนั้น  วัสสการพราหมณ์จะต้องกราบทูลขัดแย้งพระราชดำริของพระเจ้าอชาตศัตรูทำให้ถูกลงพระราชอาญาอย่างหนัก  แต่วัสสการพราหมณ์ก็ยอมรับ  ทั้งนี้เพื่อจะได้ไปอาศัยอยู่ที่แคว้นวัชชีและดำเนินอุบายทำลายความสามัคคีได้สะดวก ดังฉันท์ที่ว่า

              ไป่เห็นกะเจ็บแสบ                     ชิวแทบจะทำลาย

 มอบสัตย์สมรรถหมาย                           มนมั่นมิหวั่นไหว

              หวังแผนเพื่อแผ่นดิน                ผิถวิลสะดวกใด

เกื้อกิจสฤษฎ์ไป                                      บมิเลี่ยงละเบี่ยงเบือน

           ๒.๒ จงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรู  ดังฉันท์ที่พรรณนาไว้ตอนวัสสการพราหมณ์ต้องโทษดังนี้

            โดยเต็มกตัญญู                           กตเวทิตาครัน

ใหญ่ยิ่งและยากอัน                                 นรอื่นจะอาจทน

            หยั่งชอบนิยมเชื่อ                        สละเนื้อและเลือดตน

ยอมรับทุเรศผล                                       ขรการณ์พะพานกาย

           ไป่เห็นกะเจ็บแสบ                         ชิวแทบจะทำลาย

มอบสัตย์สมรรถหมาย                            มนมั่นมิหวั่นไหว

          ๒.๓ วัสสการพราหมณ์เป็นคนเฉลียวฉลาด มีไหวพริบและรอบคอบในการดำเนินกลอุบายด้วยความเฉียบแหลมลึกซึ้ง รู้การควรทำและไม่ควรทำ รอจังหวะและโอกาส  การดำเนินงานจึงมีขั้นตอน  มีระยะเวลา  นับว่าเป็นคนมีแผนงาน ใจเย็น ดำเนินงานด้วยความรอบคอบ มีสติ เป็นคุณลักษณะที่ทำให้วัสสการพราหมณ์ดำเนินกลอุบายจนสำเร็จผล  เห็นได้ชัดเจนในขณะที่วัสสการพราหมณ์เข้าเฝ้าฯกษัตริย์ลิจฉวีและได้กล่าวสรรเสริญน้ำพระราชหฤทัยกษัตริย์ลิจฉวีทำให้เกิดความพอพระราชหฤทัย

             เปรียบปานมหรรณพนที              ทะนุที่ประทังความ

ร้อนกายกระหายอุทกยาม                        นรหากประสบเห็น

             เอิบอิ่มกระหยิ่มหทยคราว           ระอุผ่าวก็ผ่อนเย็น

ยังอุณหมุญจนะและเป็น                           สุขปีติดีใจ

            วัชชีบวรนครสรร                           พจะขันจะเข้มแขง

รี้พลสกลพิริยแรง                                     รณการกล้าหาญ

            มาคธไผทรฐนิกร                          พลอ่อนบชำนาญ

ทั้งสิ้นจะสู้สมรราญ                                   ริปุนั้นไฉนไหว

           ดั่งอินทโคปกะผวา                         มุหฝ่าณกองไฟ

หิ่งห้อยสิแข่งสุริยะไหน                             จะมิน่าชิวาลาญ

          ๒.๔ มีความรอบคอบ  แม้ว่าวัสสการพราหมณ์จะรู้ชัดว่าบรรดากษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคีกันแล้ว  แต่ด้วยความรอบคอบก็ลองตีกลองเรียกประชุม  บรรดากษัตริย์ลิจฉวีก็ไม่เสด็จมาประชุมกันเลย

            วัชชีภูมีผอง                                   สดับกลองกระหึมขาน

ทุกไท้ไป่เอาภาร                                        ณกิจเพื่อเสด็จไป

            ต่างทรงรับสั่งว่า                            จะเรียกหาประชุมไย

เราใช่คนใหญ่ใจ                                        ก็ขลาดกลัวบกล้าหาญ

          ๒.๕ ความเพียร  วัสสการพราหมณ์ใช้เวลา ๓ ปีในการดำเนินการเพื่อให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกสามัคคีกันซึ่งนับว่าต้องใช้ความเพียรอย่างมาก

             ครั้นล่วงสามปีประมาณมา             สหกรณประดา

ลิจฉวีรา                                                      ชทั้งหลาย

             สามัคคีธรรมทำลาย                      มิตรภิทนะกระจาย  

สรรพเสื่อมหายน์                                        ก็เป็นไป

๓ กษัตริย์ลิจฉวี      

     ๓.๑  ทรงตั้งมั่นในธรรม  กษัตริย์ลิจฉวีล้วนทรงยึดมั่นในอปริหานิยธรรม (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม) ๗ ประการ ได้แก่

           หนึ่ง  เมื่อมีราชกิจใด                       ปรึกษากันไปบ่วายบ่หน่ายชุมนุม

          สอง  ย่อมพร้อมเลิกพร้อมประชุม    พร้อมพรักพรรคคุม

ประกอบณกิจควรทำ

          สาม  นั้นถือมั่นในสัม                         มาจารีตจำ

ประพฤติมิตัดดัดแปลง

          สี่  ใครเป็นใหญ่ได้แจง                      โอวาทศาสน์แสดง

ก็ยอมและน้อมบูชา

          ห้า  นั้นอันบุตรภริยา                          แห่งใครไป่ปรา-

รภประทุษข่มเหง

          หก  ที่เจดีย์คนเกรง                           มิย่ำยำเยง

ก็เซ่นก็สรวงบวงพลี

         เจ็ด  พระอรหันต์อันมี                         ในรัฐวัชชี

ก็คุ้มก็ครองป้องกัน

          ๓.๒ ขาดวิจารณญาณ  ทรงเชื่อพระโอรสของพระองค์ที่ทูลเรื่องราวซึ่งวัสสการพราหมณ์ยุแหย่โดยไม่ทรงพิจารณา เช่น

          ต่างองค์นำความมิงามทูล                   พระชนกอดิศูร

แห่ง ธ โดยมูล                                               ปวัตติ์ความ

          แตกร้าวก้าวร้ายก็ป้ายปาม                 ลุวรบิดรลาม

ทีละน้อยตาม                                                 ณเหตุผล

          ๓.๓. ทิฐิเกินเหตุ  แม้เมื่อบ้านเมืองกำลังจะถูกศัตรูรุกราน เช่น

            ศัพทอุโฆษ                                        ประลุโสตท้าว

ลิจฉวีด้าว                                                      ขณะทรงฟัง

ต่างธก็เฉย                                                    และละเลยดัง

ไท้มิอินัง                                                        ธุระกับใคร

           ต่างก็บคลา                                        ณสภาคาร

แม้พระทวาร                                                 บุรทั่วไป

รอบทิศด้าน                                                  และทวารใด

เห็นนรไหน                                                   สิจะปิดมี

หมายเลขบันทึก: 329717เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2010 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอบคุณมากเลยยนะคะ

ขอบคุณมากเลยนะค่ะคุณครู ได้ความรู้เยอะเลย^^

สวัสดีค่ะ เกด  AM  และ Ico32  KoNgEz

   ยินดีมากค่ะที่ได้ต้อนรับอีกครั้ง  หากยังไม่เข้าใจ  อยากให้ครูอธิบายเพิ่มเติมเรื่องใดอีกก็เขียนบอกได้เลยค่ะ

เราชอบมากเลยแปลดีมากขอบคุณคับครู

แล้ว  โอรสของ กษัตริย์ลิจฉวี อะครับ ครู 

ขอบคุนมากนะค๊

น่าจะมีอิกคนนะ พระกุมารโอรสของกษัตริย์ลิจฉวี อ่ะคะ่ !!~

ขอบคุณมากเลยค่ะ แต่อยากได้แง่คิดด้านคุณธรรมและปัญญาของพระกุมารโอรสของกษัตริย์ลิจฉวีด้วยต่ะ ได้ไหมค่ะครู ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

อยากบอกคุณครูว่าขอบคุณมากๆเลยครับ สำหรับบางคนโพสท์ของคุณครูพวกนี้ก็มีค่ามากมาย ยิ่งก่อนสอบช่วยให้แม่นเนื้อหาขึ้นเยอะ ในหนังสือแบบเรียนบางทีเขียนเยอะไปจนจับไม่ถูก ขอบคุณจริงๆครับ

ขอบพระคุณมากๆค่ะคุณครูคำกลอนช่างเพราะสะเทือนใจจริงๆค่ะเข้าใจได้ลึกซึ้งเพิ่มมากขึ้นเลยค่ะกราบขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

กราบขอบพระคุณมากครับ คุณครู ผมได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยความเคารพ ผมมีขอสังเกตุเกี่ยวกับตัวละคร

วัสสการพราหมณ์ ดังต่อไปนี้ 

วัสสการพราหมณ์ . เป็นพรามหมณ์ หรือ เป็น แม่ทัพ ด้่านการทหาร

วัสสการพราหมณ์ . ขาดคุณสมบัติของความเป็นพราหมณ์ เพราะขาดศิล
3 วัสสการพราหมณ์ . เกิดอยู่ในช่วงที่ พระพุทธเจ้ายังมีชีวิต หากเป็นพราหมณ์ที่มีชื้อเสียงตามคำกล่าว ทำไมถึง    

                   มีความคิดที่ไม่เหมือน พราหมณ์ เลย    

       ผมเพียงแค่สงสัย นะครับ ด้วยความเคารพ หากไม่สมควรผมขอน้อมรับด้วยความจริงใจ

อยากได้แง่คิดด้านคุณธรรมและปัญญาของพระกุมารโอรสของกษัตริย์ลิจฉวีด้วยต่ะ

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆนะคะ : )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท