มุ่งสู่ผู้นำที่มีศักยภาพสูงตามแนวคิดการพัฒนานักบริหารระดับสูง


 

                 การให้ความสำคัญกับผู้นำในการพัฒนาองค์การ ต่างได้รับการเห็นพ้องต้องกันในความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพให้ไปสู่ผู้นำที่มีศักยภาพสูง  Towards High Potential Leaders สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. ได้ดำเนินโครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง:ผู้บริหารส่วนราชการ (นบส.๒) เป็นมุมมองให้เรียนรู้ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้เป็นอย่างดี สาระสำคัญมีดังนี้

 

แยกส่วนเพื่อให้ชัดเจน

 

 

หมายเลขบันทึก: 329666เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2010 06:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

อาจารย์คะ การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐยุคใหม่ ภาคเอกชนเขาเพิ่มสมรรถนะ 5 ข้อนี้มานานแล้ว เช่น โรงพยาบาล ธนาคารพาณิชย์ แต่ดูเหมือนว่าสมรรถนะทางจริยธรรม ยังขาดๆหล่นๆอยู่ ถ้าภาครัฐต้องการแซงหน้าภาคเอกชน ต้องเน้นคุณธรรมจริยธรรมข้าราชการให้มากกว่านี้อีกค่ะ อาจารย์เห็นด้วยมั๊ยคะ?

สมรรถนะ 5 ข้อ จริยธรรม เป็นตัวที่บริหารยากที่สุดในองค์กร เพราะมนุษย์มองคุณธรรมความดีต่างกัน และไม่เท่ากัน

จะใช้วิธีไหนสอนเด็กให้รู้จักคุณธรรมจริยธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่นี้ดีคะ?

เห็นด้วยครับคุณดวงใจ

การสอนเด็กให้มีคุณธรรมฯต้องเริ่มจากพฤติกรรมแบบอย่างของพ่อแม่ ครอบครัวเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดครับ ตัวอย่างดีมีค่ากว่าคำสอน

สวัสดีค่ะอาจารย์

อาจารย์คะ คนที่มาดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง จะต้องได้มาจากการสรรหาแต่งตั้ง แต่ก้อไม่มีใครรู้ หรือวัดได้ว่าผู้บริหารคนนี้มีสมรรถนะที่เหมาะสม สมบูรณ์ แล้วจะนำมาซึ่งในการบริหารทรัพยากรให้มีคุณภาพได้หรือ ..คะ

ข้อความ "ตัวอย่างดีมีค่ากว่าคำสอน" ไม่ต้องอรรถาธิบายใดๆอีกแล้ว เป็นข้อความที่เข้าใจอย่างยั่งยืน อย่างถ่องแท้ และอย่างถาวร ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ แต่ครูก็ทำได้เพียงแค่สอนนักเรียน ว่าโตไปแล้วมีครอบครัวให้รักครอบครัว รักลูก

อย่าทอดทิ้ง

ครูอุ๋ย หายไปไหนหลายวัน ณ เวลาเดียวกันเรากำลังโพสต์ข้อความถึงอาจารย์ ห่างกัน 6วินาที ใจตรงกันนะเนี่ย++++

วันนี้ อ.ดิศกุล ไม่ว่างครับพี่น้อง คอยดูงานใน web นะครับ

ท่านฝากกระจายข่าวมา ครับ

คุณสุริยาครับ

การสรรหาผู้บริหารระดับสูงหากใช้การประเมินสมรรถนะอย่างจริงจัง และประเมินด้านคุณธรรมได้ด้วย จะได้ผู้บริหารที่มีศักยภาพตามมา แต่ก็มีปัญหาในการปฏิบัติเพราะพอเข้าสู่ระดับสูงการเมืองมักจะมาข้องเกี่ยว ครับ

อ.ค่ะอาจจะนอกเรื่องไปหน่อยนะค่ะ

หนูอยากทราบว่า ถ้าสมมุติว่าเราอยู่ในสถานการณ์ที่เพื่อนร่วมงานมีความคิดไม่ตรงกัน

(ต่างกันโดยสิ้นเชิง) เราควรทำอย่างไรค่ะในฐานะที่เราเป็นผู้บริหาร

คุณ narutai ครับ

กรณีนี้ผู้บริหารต้องมีความเป็นกลางอย่างเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ต้องมีหลักการในการทำงานที่ยอมรับได้ทั้งสองฝ่ายโดยอิงประโยชน์แก่หน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ บางครั้งเราไม่สามารถทำให้คนถูกใจกันทั้งหมดแต่หากเราทำโดยคำนึงถึงประโยชน์องค์การไม่ได้อิงประโยชน์ผู้บริหารหรืออิงประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ไม่ต้องมีอะไรต้องกังวลครับ

อาจารย์เนื้อหาดูได้แค่ครึ่งเดียวนะค่ะ แต่หนูก็ยังไม่เข้าใจสมรรถนะสักเท่าไหร่ อาจารย์ช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยนะคะ ของคุณคะ

คุณกัลยาครับ เครื่องคอมพิวเตอร์บางเครื่องประสบปัญหาดูได้ครึ่งเดียว แต่ทั่งไปสามารถเลื่อนดูได้ทั้งหน้าครับ

ในการนี้ผมได้ทำภาพเพิ่มแบบให้ดูได้ชัดเจนขึ้นเพิ่มเติมให้แล้วครับ

เป็นปัญหาเดียวกันเลยค่ะ เครื่องคอม.ที่โรงเรียนสามารถเลื่อนอ่านได้ครบทุกข้อความ แต่เครื่องคอม.ส่วนตัว ปัญหาเดียวกับกัลยาค่ะ

อยากให้อาจารย์อธิบายในห้องอีกครั้งคะมองทีละครึ่งไม่เข้าใจเลยคะ

อาจารย์ค่ะ

เห็นด้วยกับคุณเตือนใจนะคะ อยากให้อาจารย์ทบทวนในห้องอีกสักครั้งค่ะ

ผู้บริหารได้ผ่านการอบรมมาทั้งหมดแล้ว แต่ทำไมการบริหารงานถึงไม่ก้าวหน้าหรือล้มเหลวได้

ok ครับ จะอธิบายเพิ่มในชั้นเรียนครับ

โครงการดี ทันสมัย วิสัยทัศน์เยี่ยม เปี่ยมด้วยความสามารถ ฉลาดล้ำเลิศ บริหารงานได้ประเสริฐแน่

แต่.......แพ้....นักการเมือง.....นี่คือประเทศไทยครับ...เป็นอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว...จริง ๆ เลย

ผู้บริหารนั้นก่อนเข้ารับตำแหน่งก็มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในหลักทฤษฎี แต่พอเข้รับตำแหน่งแล้วมักลืมตัว ลืมตน มัวเมาในอำนาจ ไม่บริหารงานตามหลักการ ทฤษฎี ตามหลักวิชาการ แต่บริหารแบบหลักกู ทำให้องค์กร ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ไม่ลำดับความสำคัญก่อนหลังของงาน ไม่กำหนดเป้าหมายของงาน สรุปคือ ทำงานตามใจตนเอง

ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่ตอบให้หนู เป็นความคิดที่ดีมากเลยค่ะ

หนูตอบอาจารย์ช้าหน่อย แต่ว่าหนูเข้ามาอ่านแล้วนะค่ะ

ช่วงนี้ยุ่งสุดๆค่ะ (แก้ตัวไปนิดไม่ว่ากันนะค่ะ)

การส่งเสริมคุณธรรมเป็นงานที่สำคัญ ในสังคมต้องการคนดีมีคุณภาพ ในระบบการศึกษา หากต้องการสังคมของคนดีในอนาคตต้องปลูกฝังตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยปลูกฝังในเรื่องความมีวินัย เคารพ อดทน ผ่านการฝึกฝนปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ทำจนเป็นนิสัย

เรียก กิจวัตร 10 ได้แก่ ตื่นนอนเก็บที่นอน(ฝึกความเป็นระเบียบ) ไหว้พ่อแม่ ญาต ครู(ฝึกความเคารพ) ..... ช่วยเหลืองานบ้าน (ฝึกความอดทน) ...สนใจบทฝึก ติดต่อครูณัฐนะคะ ยินดีช่วยเหลือตะ

ok ครับ ฝึกเด็กให้ดี สนใจติดต่อที่ครูณัฐ ครับ

ผ่านมาเจอครับ ดีมากครับ ท่านผอ.ดร. ขอร่วมสนทนาจะได้ไหมครับแม้ไม่ได้เรียนด้วย แต่เป็นประโยชน์ในการบริหาร การทำงานมากครับ ตอนนี้ผมอยู่ กศน.เดชอุดมครับมีโอกาสมาทางนี้ช่วยแนะนำด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท