คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการจัดหลักประกันสุขภาพของคนไร้สัญชาติในประเทศไทย


 กลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการไม่มีหลักประกันสุขภาพในประเทศไทยคือใคร

เมื่อพูดถึงคนต่างด้าว ภาพเเรกที่ปรากฎขึ้นมา ถ้าไม่ใช่  “ฝรั่ง” “เกาหลี-ญี่ปุ่น” ที่เป็นนักท่องเที่ยว หรือทำงานในประเทศไทย อีกด้านหนึ่งก็คือคนต่างด้าวที่อพยพเข้ามา ทำงานจากประเทศเพื่อนบ้าน คนต่างด้าวที่เรามักมองไม่เห็น ก็คือคนที่พูดภาษาไทยเหมือนคนไทย แต่อาจมีสำเนียงท้องถิ่น  หน้าตาไม่บ่งบอกความเป็น "ต่างด้าว" อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาช้านาน เพียงเเต่เขาไม่มีสัญชาติไทยเท่านั้น

นางเจรียง เอี่ยมละออ: คนไทยตกสำรวจ เกิดแถวอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี หนีออกจากบ้านเพราะแม่ตายและพ่อมีเมียใหม่ เมื่ออายุ 15 กลับมาปากเกร็ดอีกครั้ง ทั้งพ่อและพี่สาวย้ายไปอยู่ที่อื่นหมดแล้ว ขณะนั้นเธอได้ขอทำบัตรประชาชนไว้ แต่มีปัญหา และไม่ได้ติดตามอย่างใด พออายุ 27 ปี จึงแต่งงานมีครอบครัว ลูกๆทุกคนมีบัตรประชาชน เหมือนกับคนไทยทั่วไป แต่เจรียงยังไม่มีบัตรประชาชนจนอายุ 50 ปี

              เจรียงป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก โรคที่สามารถรักษาเเละตรวจอาการได้แต่เนิ่นๆ ถ้าเพียงเธอสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพผู้มีรายได้น้อย หรือบัตรทองได้ ลูกๆ พยายาม ติดต่อทำบัตรประชาชน เพื่อให้แม่ได้ใช้บัตร 30 บาท แต่เจ้าหน้าที่ให้ตามพี่น้องท้อเดียวกัน มาพิสูจน์ แต่พ่อก็เสียไปแล้ว และไม่สามารถติดต่อพี่สาวได้ ในที่สุด นางเจรียงก็เสียชีวิต

เด็กหญิงศรีออน ปู่สม: “ต่างด้าว” ในประเทศไทย ประเทศแรก และสุดท้ายที่มีจุดเกาะเกี่ยว

             

คนเหล่านี้เสียภาษีให้ประเทศไทยหรือไม่

                   ในการดำรงชีวิตอยู่ในประเทศไทย คนเหล่านี้ต้องเสียภาษีทางตรง และทางอ้อม เช่นเดียวกับคนไทย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซื้อสินค้าเเละบริการ หากทำงานมีรายได้ ในระดับที่ต้องเสียภาษีเงินได้ ก็ต้องเสียภาษีเงินได้ 

การให้หลักประกันสุขภาพ เช่น บัตรทอง จะทำให้ “ต่างด้าว” ทะลักเข้ามาใช้บริการ สาธารณสุขในประเทศไทยมากขึ้นหรือไม่

                   ผู้ไม่มีสัญชาติไทยทั้งสองกรณีนี้ ไม่ได้มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน แต่อาศัยอยู่ใน ประเทศไทยเป็นเวลานาน ตั้งเเต่รุ่นพ่อเเม่-ลูก เป็นอย่างน้อย การให้หลักประกันสุขภาพ บุคคล กลุ่มนี้ จึงไม่เกี่ยวข้องกับการทะลักเข้ามาของเเรงงานข้ามชาติ  สัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา หรือแรงงานต่างด้าว ซึ่งีหลัก ประกันสุขภาพของกลุ่มแรงงานต่างด้าวรองรับอยู่โดยเฉพาะ เเละในอนาคตแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่จะเข้าสู่ระบบประกันสังคม อนึ่ง การเเก้ปัญหา แรงงานข้ามชาติ เข้ามาใช้บริการสาธารณสุขไทย ขณะนี้ ใช้งบประมาณที่เก็บจากค่าตรวจ สุขภาพและทำบัตรประกันสุขภาพ/ ประกันสังคม

ในขณะที่ผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือคนต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทย เพราะมี จุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทย เช่น อาศัยในประเทศไทยมาเป็นเวลานานกว่าสิบๆ ปี เกิดใน ประเทศไทย จากบิดามารดาที่ได้รับสิทธิอาศัยถาวร หรือชั่วคราว  ขณะนี้ไม่มีหลักประกัน สุขภาพใดๆ รองรับ และไม่มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อรองรับโรงพยาบาลที่ให้บริการ

              การให้การหลักประกันสุขภาพแก่ประชากรกลุมนี้ ซึ่งส่วนใหญ่มีหลักฐานทางทะเบียน ราษฎร บันทึกการอยู่อาศัยชัดเจน  จึงไม่ใช่เเละไม่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ และไม่เป็น สาเหตุให้เกิดการทะลักเข้ามาใช้บริการ เพราะพวกเขาอาศัยอยู่ในประเทศไทยอยู่เเล้ว และ ระบบลงทะเบียนผู้ป่วย สามารถแยกคนต่างด้าวที่อยู่ในระบบราษฎรไทยที่ได้รับสิทธิอาศัยถาวร จากแรงงานข้ามชาติได้อย่างชัดเจน โดยดูจากเลขประจำตัวประชาชนตัวแรก

 

เหลืออีกสองข้อ แปะไว้ก่อน             

หลักประกันสุขภาพ คือหลักประกันของ คน “สัญชาติ” ไทย เท่านั้น หรือ?

 

ทางเลือกอื่นๆในการจัดการ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 329562เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2010 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เเรงงาสนต่างด้าวที่ถูกจับจะถูกผลักดันกลับประเทศของตนอย่างน้อยกี่เดือนคะ

คุณจันทร์หมายถึงยังไงครับ

แรงงานต่างด้าวที่ถูกผลักดันกลับประเทศแล้วกี่เดือนถึงจะกลับมาได้ใช่ไหมครับ

จริง ๆ มันไม่มีกำหนดหรอกครับ จะกลับไปแล้วเข้ามาเลยก็ได้ แต่ไม่ถูกกฎหมายนะครับ คือ ผมอยากให้ลองถามให้ชัดอีกหน่อยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท