โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยครูสุภาภรณ์


      ภาพเคลื่อนไหวภาพเคลื่อนไหว

      วันที่  24 ธันวาคม 2552  คณะครูโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)  สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา  ได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการสอน  สำหรับครูพี่เลี้ยงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน  จัดโดยฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  คณะคุรุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

  

การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

ความหมายและขั้นตอน

ของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

            การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  หมายถึง  กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงเกี่ยวกับการเรียนการสอน  ด้วยวิธีการที่มีระบบเชื่อถือได้  เพื่อนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน   ผู้ทำการวิจัยส่วนมากเป็นครูผู้สอน  ซึ่งเป็นผู้รู้สถานการณ์ของชั้นเรียนและระบบโรงเรียนของตนดีที่สุด  และเมื่อได้ผลการวิจัยแล้ว  ครูเป็นผู้นำผลการวิจัยนั้นไปใช้แก้ปัญหา  หรือได้รูปแบบการเรียนการสอน  การแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของครู  การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนนี้  มักจะเรียกว่า  “การวิจัยในชั้นเรียน”  

 

     ขั้นตอนของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

  1.  การวิเคราะห์ผลการเรียนการสอนเพื่อกำหนดประเด็นปัญหา

       1.1  การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนทั้งในชั้นเรียน

               และนอกชั้นเรียน  เช่น  ความสนใจในการเรียน  การทำ

               งานกลุ่ม ความรับผิดชอบ  การตอบข้อซักถามต่าง ๆ ของ

               ครู  เป็นต้น

       1.2  การตรวจสอบผลการเรียน  เช่น  การตรวจสอบการผ่าน

               จุดประสงค์   การคำนวณคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบและ

               พิจารณาคะแนนของนักเรียนแต่ละคนเทียบกับคะแนน

              เฉลี่ย  หรือทดสอบนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อวินิจฉัย

             จุดอ่อนหรือสิ่งที่นักเรียนคนนั้นไม่เข้าใจหรือทำไม่ได้

  

  2.  ศึกษาทฤษฎี  หลักการเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียน

       การสอน  เทคนิควิธีสอน  เพื่อหาแนวทางต่าง ๆ  ของการ

       แก้ปัญหา

       2.1 ปรึกษา  อภิปราย  ร่วมกับครูคนอื่น ๆ

       2.2 ศึกษาคู่มือครู  เพื่อดูรายละเอียดว่าอาจจะมีกิจกรรม /

              วิธีการอื่นที่ยังไม่เคยนำมาใช้

       2.3 อ่าน  ศึกษาผลงานวิชาการของครูคนอื่น ๆ

       2.4 ศึกษาค้นคว้าตำราเกี่ยวกับทฤษฎี  หลักการสอน  เทคนิควิธี

              การสอนหรืออื่น ๆ

                                                                                   

  3.  ลือกและกำหนดรายละเอียดของวิธีการ / กิจกรรม / สื่อที่จะใช้

      แก้ปัญหา  หรือพัฒนาการเรียนการสอน

              หลังจากศึกษาทฤษฎี  หลักการต่าง ๆ แล้วควรพิจารณาว่า  แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียและความเป็นไปได้ (ความเหมาะสม)  ในสภาพของชั้นเรียนเพียงใด   แล้วจึงตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่ดีที่สุด

   

  4.  จัดทำแผนการเรียนรู้และสร้างสื่อการเรียนการสอน

             เมื่อครูเลือกและกำหนดรายละเอียดของวิธีการ / สื่อที่จะใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้แล้ว  ครูก็นำวิธีการเหล่านั้นมาเขียนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้อย่างละเอียด  มีขั้นตอนการสอน  การใช้สื่อ  และการวัดผลอย่างชัดเจน

 

  5.  ทดลองสอน

                                                                           ภาพเคลื่อนไหว

  6.  วิเคราะห์ผลหลังการทดลองสอนและการนำเสนอผล

       ตัวอย่าง

       ตารางที่ 1 ผลการสอบก่อนและหลังการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของ

                      นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)


ระยะเวลา      จำนวน   คะแนน   คะแนน   คะแนน  ค่าเฉลี่ย   ค่าความเบี่ยงเบน

                  นักเรียน     เต็ม      ต่ำสุด     สูงสุด                        มาตรฐาน

ก่อนสอบ         40         50          5          30       21.5             8.3

หลังสอบ         40         50         20         45       40.2             9.7


จากตารางที่ 1 แสดงว่า  ก่อนสอนนักเรียนสอบวิชาคณิตศาสตร์  ได้คะแนน 

                     เฉลี่ย  21.5  คะแนนหลังสอนสอบได้คะแนน  40.2 คะแนน

ภาพเคลื่อนไหว

  7.  รายงานผลการเผยแพร่

        บทที่ 1  บทนำ

                     -  บอกความเป็นมา  ความสำคัญ  ความจำเป็น  และ

                         ปัญหาที่ต้องทำผลงานทางวิชาการนี้

                     -  บอกจุดประสงค์ในการสร้างผลงานทางวิชาการนี้

         บทที่ 2   หลักการในการสร้าง

                      -  ศึกษาค้นคว้าหลักในการทำทำผลงานทางวิชาการ

                          จากเอกสารต่าง ๆ  นำมาเสนอ

         บทที่ 3   วิธีดำเนินการ

                       -  คำอธิบายวิธีดำเนินการสร้าง  หรือจัดทำผลงานทาง

                          วิชาการนี้ว่า  ทำอย่างไร  มีขั้นตอนอย่างไร  การนำ

                        ไปทดลองใช้หาประสิทธิภาพและการปรับปรุงแก้ไข

        บทที่ 4  ผลการดำเนินการหรือผลการนำไปใช้  รวมทั้งการ

                     เผยแพร่

        บทที่ 5  สรุป  อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ

            บรรณานุกรม

            ภาคผนวก

                           -  แผนการจัดการเรียนรู้

                           -  เครื่องมือวัดผล

                           -  รูปภาพแสดงสื่อ / กิจกรรม  

                                                                             

      

 

 

P

ครูสุภาภรณ์

ครูสุภาภรณ์ พลเจริญชัย

โรงเรียนเทศบาล4(เพาะชำ)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  คณะคุรุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 

 

 

หมายเลขบันทึก: 329327เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2010 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นความรู้ที่ดีมากครับอ่านเข้าใจง่าย อยากให้คุณครูทุกท่านนำไปใช้ จะเกิดประโยชน์มาก

ผอ.ศักดิ์เดช

ขอขอบคุณ ผอ.ศักดิ์เดช ค่ะ ที่เข้ามาเยี่ยมชม

                              

ผอ . อนุชิต สรีสง่า รร. เเม่ตุงติง เชียงใหม่

ทฤษฎียังไม่ครอบครุมเนื้อหาเท่าไหร่นะครับ ... เเต่ก็ถือว่าพัฒนาขึ้นเยอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท