เรียนรู้หนี้สินชาวนา-บัญชีฟาร์ม


บัญชีฟาร์ม

ประโยชน์ของบัญชีแสดงรายได้และรายจ่ายฟาร์ม

เป็นการบันทึกและสรุปถึงรายได้และรายจ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นเงินสดและไม่เป็นเงินสดของหน่วยธุรกิจฟาร์มที่เกิดขึ้นจากการดำำเนินธุรกิจฟาร์มในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ประโยชน์ของบัญชีแสดงรายได้และรายจ่ายฟาร์ม
1) สามารถนำมาใช้วิเคราะห์แสดงความสามารถในการทำกำไรของหน่วยธุรกิจฟาร์มนั้น
2) สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ประสิทธิภาพและความมั่นคงทางด้านการเงินของหน่วยธุรกิจฟาร์ม
3) สามารถนำมาใช้ประกอบการคำนวณและจัดเตรียมทำบัญชีแสดงการหมุนเวียนเงินสดของหน่วยธุรกิจฟาร์ม
 4) สามารถช่วยในการวิเคราะห์และวินิจฉัยจุดอ่อนและจุดแข็งของหน่วยธุรกิจฟาร์มในการดำเนินกิจการต่างๆของฟาร์ม
บัญชีแสดงรายได้และรายจ่ายมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ
 1) ส่วนที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับรายได้
1.1) รายได้ที่เป็นเงินสด เช่น การขายผลผลิตของกิจการต่างๆของฟาร์ม รายได้จากการขายทรัพย์สินทุนของฟาร์ม ฯลฯ
1.2) รายได้ที่ไม่เป็นเงินสด เช่น มูลค่าของผลผลิตที่ผลิตในฟาร์มแล้วนำำมาบริโภคในครัวเรือน มูลค่าที่เพิ่มขึ้นของทรัพย์สินหรือปัจจัยการผลิตคงเหลือ (change in inventory)
เมื่อรวมรายได้ที่เป็นเงินสดและรายได้ที่ไม่เป็นเงินสดเข้าด้วยกัน จะได้รายได้เบื้องต้น (gross farm income)

2) ส่วนที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับต้นทุน
2.1) ต้นทุนผันแปร (variable costs) เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าแรงงาน ค่าปุุ๋๋ย ค่าน้ำมัน ฯลฯ
2.2) ต้นทุนคงที่ (fixed costs) เช่น ค่าเสียโอกาสการใช้ที่ดิน ค่าเสื่อม ค่าเสียโอกาสของเงินทุนระยะปานกลางและระยะยาว ฯลฯ
เมื่อรวมต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่เข้าด้วยกัน จะได้ต้นทุนทั้งหมด (Total costs)

 

เช่น 
ฟาร์มรักดีมีการบันทึกรายได้และรายจ่ายของฟาร์มในรอบปี 2547 โดยมีรายการต่าง ๆ โดยสรุปดังต่อไปนี้ 
1) ขายข้าว 10,000 บาท ขายข้าวโพด 15,000 บาท ขายสุกร 30,000 บาท
2) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ 1,200 บาท ลูกสุกร 6,000 บาท ปุ๋ย 8,000 บาท
3) ใช้แรงงานครัวเรือน 120 วันทำงาน ใช้แรงงานจ้าง 32 วันทำงาน และใช้แรงงานแลกเปลี่ยนอีก 30 วันทำงาน ค่าจ้างแรงงานวันละ 100 บาท 
3) ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร 1,000 บาท ค่าอาหารสุกร 14,000 บาท ค่าน้ำมัน 600 บาท
4) ค่าภาษีที่ดิน เป็นเงิน 300 บาท และค่าดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นเป็นเงิน 600 บาท
5) ค่าเสื่อมโรงเรือนและอุปกรณ์ทั้งหมดมูลค่า 6,000 บาท
6) ผลิตผลในฟาร์มที่นำมาบริโภคทั้งหมดมูลค่า 3,500 บาท
7) ข้าวในยุ้งข้าวเมื่อ 1 ม.ค. มีมูลค่า 7,000 บาท และเมื่อ 31 ธ.ค.มีมูลค่า 9,000 บาท
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จงคำนวณหา รายได้เหนือต้นทุนเงินสด รายได้เหนือต้นทุนผันแปร และรายได้เหนือต้นทุนทั้งหมดของฟาร์มรักดี

ซึ่งจากที่ดูแล้วประโยชน์ในการจดบันทึกร่ายรับร่ายจ่ายฟาร์มนั้นมีความสำคัญมากเพราะทำให้เราสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ ล่วงหน้าได้ แล้วเรายังรู้อีกว่าการทำฟาร์มมีปัญหาส่วนใด ขาดทุน หรือ มีกำไร จากด้านใด สามารถลดต้นทุนด้านใด


 



 

หมายเลขบันทึก: 329302เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2010 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาทักทาย
  • เรียนกับพี่ตุ้มใช่ไหมครับวิชานี้

ใช่แล้วครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท