นโยบายรัฐบาล - เรียนฟรี 15 ปี


การจัดการศึกษา

นโยบายเรียนฟรี  15  ปี    

 

ความเป็นมาของนโยบาย

ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550  มาตรา  49   ได้บัญญัติว่า   “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บ  ค่าใช้จ่าย”  และ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.2545  มาตรา 10  วรรค1  บัญญัติว่า “การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบกับคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีได้กำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการตามเจตนารมณ์ดังกล่าวในปีแรกโดยกำหนดไว้ในข้อ 1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชนข้อ 1.3.1ว่า “ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกสถานศึกษา จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อชดเชยรายการต่าง ๆ ที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากผู้ปกครอง” อีกทั้งนโยบายของรัฐด้านการศึกษาข้อ 3.1.4 กำหนดว่า “จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายพร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทาการศึกษาให้แก่ประชาชนในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส   ทั้งผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพ  ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน”  

กระทรวง  ศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการตามเจตนารมณ์ดังกล่าวข้างต้น โดยจัดทำโครงการดำเนินงานตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการ ศึกษาอย่างเต็มตามศักยภาพ

 

1.  สาระสำคัญของนโยบาย

สาระสำคัญของนโยบาย                                                                                             

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าเล่าเรียน (เพิ่มเติมสำหรับการศึกษาของเอกชน) หนังสือเรียนอุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามแผนงานเสริมสร้างรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงด้านสังคม โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสีย

ค่าใช้จ่าย 15 ปี สำหรับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

ค่าหนังสือเรียน                                                     4,203,370,800 บาท

ค่าอุปกรณ์การเรียน                                              1,531,983,800  บาท

ค่าเครื่องแบบนักเรียน                                          3,158,678,100  บาท

ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน                             2,117,506,400 บาท

รวมทั้งสิ้น                                                            11,011,539,100 บาท

 

ซึ่งในแต่ละรายการมีรายละเอียด ดังนี้

 (1)    หนังสือเรียน   หนังสือเรียนมีรายละเอียดดังนี้

1. ระดับก่อนประถมศึกษา ใช้หนังสือเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

2. ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ใช้หนังสือเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระ

ทุกระดับชั้นโดยมีอัตราค่าหนังสือดังนี้

 

-  ระดับก่อนประถมศึกษา            เฉลี่ยคนละ           200         บาท/คน/ปี           

-  ระดับชั้นประถมศึกษา             เฉลี่ยคนละ           450         บาท/คน/ปี           

-  ระดับชั้นมัธยมศึกตอนต้น        เฉลี่ยคนละ           622         บาท/คน/ปี

-  ระดับชั้นมัธยมศึกตอนปลาย     เฉลี่ยคนละ           910         บาท/คน/ปี

-  ระดับอาชีวศึกษา                   เฉลี่ยคนละ           910         บาท/คน/ปี

 

(2)    อุปกรณ์การเรียน   อุปกรณ์การเรียนที่จำเป็นสำหรับนักเรียน ประกอบด้วย

แบบฝึกหัดกลุ่มสาระการเรียนรู้(ระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) สมุด ปากกา ดินสอยางลบ ไม้บรรทัด เครื่องมือเรขาคณิต วัสดุฝึก ICT (CD) สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และกระดาษ A4 สีเทียน ดินน้ำมันไร้สารพิษ สำหรับผู้เรียนระดับก่อประถมศึกษาในอัตรา ดังนี้

 

-  ระดับก่อนประถมศึกษา          เฉลี่ยคนละ           100         บาท/คน/ปี           

-  ระดับชั้นประถมศึกษา            เฉลี่ยคนละ           195         บาท/คน/ปี           

-  ระดับชั้นมัธยมศึกตอนต้น       เฉลี่ยคนละ           210         บาท/คน/ปี

-  ระดับชั้นมัธยมศึกตอนปลาย    เฉลี่ยคนละ           230         บาท/คน/ปี

-  ระดับอาชีวศึกษา                  เฉลี่ยคนละ           230         บาท/คน/ปี

 

(3)    เครื่องแบบนักเรียน   เครื่องแบบนักเรียน ประกอบด้วย เสื้อ/กางเกง/กระโปรง

คนละ 2 ชุด/ปี ในอัตราดังนี้

 

-  ระดับก่อนประถมศึกษา         เฉลี่ยคนละ           150         บาท/คน/ปี           

-  ระดับชั้นประถมศึกษา           เฉลี่ยคนละ           180         บาท/คน/ปี           

-  ระดับชั้นมัธยมศึกตอนต้น      เฉลี่ยคนละ           225         บาท/คน/ปี

-  ระดับชั้นมัธยมศึกตอนปลาย   เฉลี่ยคนละ           250         บาท/คน/ปี

-  ระดับอาชีวศึกษา                 เฉลี่ยคนละ           250         บาท/คน/ปี

 

 2    ผลที่เกิดขึ้น  ตามของนโยบายเรียนฟรี 15 ปี

ผลที่เกิดขึ้น คือ  ผลที่เกิดขึ้นทั้งด้านโรงเรียนเองผู้ปกครองและนักเรียนขาดความรู้

ความเข้าใจในรายละเอียดการดำเนินงาน  สับสนเรื่องความสัมพันธ์ของการจัดสรรงบประมาณ   แนวทางการปฏิบัติของนโยบายในการดำเนินงานไม่ชัดเจน   แต่ละโรงเรียนดำเนินการไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน  และนักเรียนบางคนที่มีอุปกรณ์ที่นโยบายได้กำหนดให้นั้นนักเรียนได้มีอยู่แล้วก็เกิดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ  มีผู้ปกครองบางโรงเรียนที่มีการร้องเรียนและได้มีข่าวออกมาทางสื่อต่างๆ เกิดการร้องเรียนในหลายๆด้าน  เช่น  การที่โรงเรียนถูกฟ้องร้องเนื่องจากมีการผูกขาดกับร้านค้าร้านใดร้านหนึ่งเพียงร้านเดียว และมีทั้งเรื่องร้องเรียนและเสียงตัดพ้อต่อว่าจากประชาชนที่เบาจนรัฐที่ออกนโยบายไม่ได้ยิน นโยบายที่ออกมาทำทีเหมือนว่าจะดีกว่าที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เอาเข้าจริง มันก็แค่นโยบายที่ประกาศออกมาเพื่อให้ดูหวือหวาเรียกคะแนนเสียงเพียงเท่านั้น นโยบายนี้จึงไม่เป็นไปตามเป้าหมายเท่าที่ควร

 

3   ปัญหาอุปสรรค  ที่สำคัญ

 ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ  คือ

3.1         แนวทางการปฏิบัติในการดำเนินงานไม่ชัดเจน  แต่ละโรงเรียนดำเนินการไม่เป็นแนวทางเดียวกัน 

3.2         ครูผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานขาดความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดการดำเนินงานสับสนเรื่องความสัมพันธ์ของการจัดสรรงบประมาณ  ข้อมูลจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริง นักเรียน    เพิ่ม – ลด  และการย้ายของนักเรียน  การบริหารเงินตามงบประมาณที่ได้รับ

3.3         การโอนเงินให้โรงเรียนควรดำเนินการโดยเร็ว  เนื่องจากโรงเรียนต้องรีบดำเนินการ

3.4         การดำเนินการตามนโยบายมีขั้นตอนที่ละเอียดมาก  ครูต้องใช้เวลาในการสอนมาดำเนินการทำให้ครูสอนได้ไม่เต็มที่

3.5         สำนักพิมพ์  พิมพ์หนังสือไม่ทันกับความต้องการทำให้ผู้ขายส่งหนังสือไม่ทันตามสัญญา

3.6         การส่งมอบหนังสือล่าช้ากว่ากำหนด  หนังสือบางรายการ  สำนักพิมพ์ไม่พิมพ์จำหน่ายแล้วหรือพิมพ์แต่ ไม่ทันปีการศึกษา 2552

3.7    หนังสือขององค์การค้าคุรุสภา  กรมวิชาการของกระทรวงศึกษาธิการราคาแพงกว่าสำนักพิมพ์อื่น

3.8    ราคาปกหนังสือมีราคาแพง  และราคาปกไม่เหมือนกันทั้งที่เป็นหนังสือชนิดเดียวกัน

3.9   การคิดราคาหนังสือล่าช้าเพราะราคาจากสำนักพิมพ์ไม่คงที่

3.10   ประมาณแต่ละส่วนน้อยเกินไปทำให้การจัดซื้อและการดำเนินการไม่เป็นไปตามความต้องการของครูและนักเรียน

3.11  นักเรียนที่ย้ายโรงเรียนมาหลังจัดซื้อหนังสือแล้ว    นักเรียนจะไม่มีหนังสือที่จะใช้เรียน

3.12  การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างควรให้โรงเรียนมีอิสระไม่ควรมีข้อผูกมัดกับส่วนลด  20 %

3.13  นักเรียนบางคนมีเครื่องแบบนักเรียนเพียงพอแล้วทำให้นำเงินที่ได้ไปซื้ออย่างอื่นไม่ได้

3.14  งบประมาณค่าอุปกรณ์การเรียนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการในการจัดซื้อโดยเฉพาะแบบฝึกหัด

3.15  นักเรียนส่งหลักฐานการจ่ายเงินล่าช้า

3.16  การโอนเงินขาดไปไม่ตรงกับยอดจำนวนนักเรียนที่แจ้ง กรณีนักเรียนย้ายเข้า – ออก การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องหนังสือเรียน  เครื่องแบบนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน ยังไม่ชัดเจน     

  4    วิเคราะห์นโยบายเรียนฟรี  15  ปี  และให้ข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว

4.1      สถานศึกษาจะต้องศึกษาแนวทางการดำเนินงานฯ  และปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด  ซึ่งจะต้องคำนึงถึงระเบียบ  กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย

4.2      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสถานศึกษาถึงขั้นตอนและรายละเอียดในการดำเนินงานที่ถูกต้องและชัดเจน  เพื่อให้สถานศึกษาดำเนินงานได้อย่างถูกต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

4.3      สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนเช่น การจัดซื้อ  อุปกรณ์การเรียน  ควรระบุให้ชัดเจนว่าจะสามารถซื้อรายการใดได้ เพื่อให้ผู้ปกครอง/นักเรียนจะได้ดำเนินการจัดซื้อได้อย่างถูกต้อง  ตรงตามนโยบายที่กำหนด

4.4      การซักซ้อมความเข้าใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการปฏิบัติงานที่เกิดความล่าช้าทำให้เกิดความสับสนระหว่างผู้ปกครองกับผู้บริหารในการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว

 

 **********************************

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 328886เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2010 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้า ม.๑ ปีนี้ จ่ายไป 5,295.- เบิกได้ 2,145.- เป็นโชคดีของผมและลูก ถ้าผมมีอาชีพเข็นผักในตลาด คงไม่ต้องจ่าย และลูกไม่ได้เรียน

ประถมได้กินข้าวฟรี วันละ ๒๐ ทำไมมัธยมไม่ได้กินครับทั้งๆที่เขากำำลังเติบโตต้องการอาหารที่มากกว่า น่าจะได้กินเหมือน ฝากผู้ใหญ่ในบ้านเมืองดูแลด้วยครับ ถ้าไม่ได้กินควรใช้ชื่อโครงการอื่นไม่ควรใช้เรียนฟรี ๑๕ ปี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท