ข้าวโป่งอีสาน


ข้าวโป่งอีสาน

โครงงานศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

 เรื่อง การทำข้าวโป่งอีสาน

ครูผู้สอน ครูศิริพร วีระชัยรัตนา

 รหัสวิชา ง40202

ชื่อวิชา การนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2552

โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

 

สมาชิกในกลุ่ม

1.นางสาว เสาวภา ชัยชะนะ ม.4/1เลขที่3

2.นางสาว จันทร์จิรา แสนป้อง ม.4/1 เลขที่ 7

3.นางสาว วรรริสา ป้องนาน ม.4/1 เลขที่ 41

4.นางสาว สุจารี จำปาขันธ์ ม.4/1 เลขที่ 43

5.นางสาว อาภาพร แขขุนทด ม.4/1 เลขที่ 45

 

ข้อมูลของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะศึกษา

วิธีการทำข้าวโป่งอีสาน

 

จุดประสงค์

1.เพื่อศึกษาวิธีการทำข้าวโป่งอีสาน

 

กิตติกรรมประกาศ

คณะผู้จัดทำขอขอบคุณคุณยายน้อย มะริกา ที่สอนวิธีการทำข้าวโป่งอีสาน ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงขั้นตอนสุดท้าย และอาจารย์ศิริพร วีระชัยรัตนา ที่ให้ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการทำโครงงานจนเสร็จสมบูรณ์ คณะผู้จัดทำขอบพระคุณไว้ ณ โอกาศนี้

 

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคอีสาน คือ การทำข้าวโป่งอีสาน หรือข้าวเกรียบ และเพื่อประกอบการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ ด้วยการนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

 

วิธีดำเนินการ

1. ตั้งหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา

2. สอบถามวิทยากรประจำหมู่บ้าน

 3.รวบรวมข้อมูล

4. ลงมือปฏิบัติ

5. สรุปผลงาน

 

อุปกรณ์การทำข้าวโป่งอีสาน

1.กะละมัง

2.ใบตอง

3.กระเบื่องหรือไม้แผ่นบางๆ

4.หม้อนึ่งข้าว

5.กระมวยนึ่งข้าว

 

ส่วนประกอบ

1.น้ำตาล

2.ข้าวเหนียวหรือข้าวเหนียวดำแช่น้ำประมาณ4-5ชั่วโมง

3.ไข่ไก่

4.ไข่ต้มเอาเฉพาะไข่แดง

5. น้ำมันพืช

 

วิธีทำ

1.นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำมานึ่งให้สุก แล้วนำมาเทลงในกระด้งแล้วคนไปมาให้ไอน้ำออก

                          

                                  

2.นำข้าวเหนียวที่ที่นึ่งสุกใหม่ไปโขลกให้ละเอียดด้วยครกมอง

 

      

3.พอข้าวเหนียวละเอียดพอประมาณใส่ไข่โขลกให้เข้ากันกับข้าวเหนียว

4.เติมน้ำตาลโขลกให้เข้ากับข้าวเหนียว

 

 

5.นำข้าวเหนียวที่ผสมกับน้ำตาลกับไข่เสร็จแล้วนำไปปั้นเป็นก้อนกลมๆพอประมาณ นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้มผสมให้เข้ากันแล้วทามือและทาแผ่นพลาสติกเพื่อไม่ให้แป้งติดกับแผ่นพลาสติก แล้วใช้ถุงพลาสติกที่ตัดไว้วางบนแผ่นกระเบื้องที่ทำความสะอาดเสร็จแล้ว นำข้าวเหนียวที่ปั้นไว้วางบนแผ่นพลาสติก

 

6.นำแผ่นถุงพลาสติกวางทับแล้วนำกระเบื้องวางทับอีกที แล้วกดให้แป้งกระจายออกเป็นแผ่นวงกลม

7.นำแป้งที่กดเป็นวงกลมวางบนเสื่อที่ทำความสะอาดแล้ว

8.ทำแบบนี้เรื่อยๆจนแป้งหมด

9.แล้วนำข้าวโป่งที่ทำเสร็จมาผึ่งแดดไว้ประมาณ3-4วันแล้วเก็บใส่กล่องปิดฝาให้สนิด

10.นำไปย่างไฟให้พองขึ้นพอเหลืองก็สามารถรับประทานได้

 

ประโยชน์

1. อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

 

ข้อเสนอแนะ

 1. สามารถเติมสีจากธรรมชาติ เช่น ขมิ้น อัญชัญ ใบเตย เป็นต้น ลงในขั้นตอนการแช่ข้าวเหนียวได้

 

ปัญหาและอุปสรรค

1. นึ่งข้าวเหนียวไม่สุก

 

คำสำคัญ (Tags): #ข้าวโป่งอีสาน
หมายเลขบันทึก: 328551เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2010 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณนะครับสำหรับข้อมูลต่างๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท