nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

การรวมกลุ่มของข้าราชการ [1]


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติให้บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชนหรือหมู่คณะอื่น และระบุว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

         วันนี้ข้าราชการจำนวนหนึ่งคงจะทราบกันแล้วว่า กฎหมายได้เปิดช่องให้สามารถที่จะรวมกลุ่มกันเพื่อสิทธิของเหล่าสมาชิกได้แล้ว ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติให้บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชนหรือหมู่คณะอื่น และระบุว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป แต่ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551  ได้บัญญัติให้ ข้าราชการพลเรือนสามัญ มีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่ได้บัญญัติไว้ และสำนักงาน ก.พ. ได้ยกร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการรวมกลุ่มข้าราชการพลเรือนสามัญ และเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าวไปแล้ว แต่ผลเป็นอย่างไรยังไม่ทราบ

สาระสำคัญของ พ.ร.ฎ. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการรวมกลุ่มข้าราชการพลเรือนสามัญ

         1.  ความหมายของ “สหภาพข้าราชการ” หมายถึง คณะหรือกลุ่มข้าราชการที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สิทธิร่วมกันในการคุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการ

        2.  กำหนดให้ข้าราชการทุกคนมีสิทธิรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นสหภาพข้าราชการ หรือเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพข้าราชการได้ ข้าราชการบางประเภท และการดำเนินกิจกรรมบางอย่างของสหภาพข้าราชการ อาจถูกจำกัดหรือสั่งห้ามจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาได้ เนื่องจากตำแหน่งหรือหน้าที่ของข้าราชการประเภทนั้น หรือด้วยเหตุผลเพื่อประโยชน์ของการจัดทำบริการสาธารณะอย่างต่อเนื่องหรือประสิทธิภาพของการให้บริการแก่สาธารณะหรือการรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชน

       3.  ข้าราชการจะไม่ถูกกีดกันหรือได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติงาน อันเนื่องจากการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพข้าราชการหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามปรกติของสหภาพข้าราชการหรือองค์กรอื่นใดทางด้านการรวมกลุ่มของข้าราชการ และจะต้องไม่นำเรื่องการเข้าร่วมหรือกำหนดให้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพข้าราชการมาเป็นเงื่อนไขในการบรรจุแต่งตั้ง การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง การให้เงินเดือน หรือการให้ประโยชน์อื่นหรือความก้าวหน้าของข้าราชการ

      4.  การดำเนินกิจกรรมของสหภาพข้าราชการต้องอยู่ภายใต้หลักวิชาชีพของข้าราชการ วินัยและการรักษาวินัย และหน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ต้องไม่มีการหยุดงานประท้วง ละทิ้งหน้าที่รบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือกระทำการอันมีผลต่อการให้บริการสาธารณะหยุดลงหรือช้าลงหรือให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการไม่ได้รับบริการจากหน่วยงานของรัฐ

      5.  ห้ามสหภาพข้าราชการและสมาชิกสนับสนุนพรรคการเมืองหรือการแบ่งฝักฝ่ายทางการเมือง

หมายเลขบันทึก: 328048เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2010 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณข้อมูลดีดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท