ต้นธารแห่งศรัธทา
นิติกรชำนาญการ นักวิชาการศุลกากรชำนาญการ (ปัจจุบัน) อรอนงค์ ต้นธารแห่งศรัธทา นิลธจิตรัตน์

การพิจารณากฎแหล่งกำเนิดสินค้า อาเซียน (CEPT AFTA ROO) ตามกฎข้อที่ 3 ก (2) ตอนที่ 1


(CEPT AFTA ROO) ตามกฎข้อที่ 3 ก (2)

  เรียบเรียงโดย นางสาวอรอนงค์ นิลธจิตรัตน์[1]

กฎแหล่งกำเนิดสินค้า CEPT- AFTA ศึกษาปัญหาการได้แหล่งกำเนิดสินค้า ตามกฎข้อ ที่ 3 ก 2

ก่อนจะกล่าวถึงกฎแหล่งกำเนิดสินค้า CEPT- AFTA ผู้ศึกษาจำเป็นต้องปูพื้นกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าตามหลักของ WTO ก่อน ดังนี้

1 หลักของกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า [2] 

   1.1 ประเภทของกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิด  แบ่งเป็น  2 ประเภท คือ(1)  กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่มีการให้สิทธิพิเศษทางการค้า และ(2) กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่ไม่มีการให้สิทธิพิเศษทางการค้า ซึ่งกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่ไม่มีการให้สิทธิพิเศษทางการค้าจะมีความเข้มงวดน้อยกว่ากฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่มีการให้สิทธิพิเศษทางการค้า  เช่น  ใช้หลักเกณฑ์มาตรฐานในการพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้าโดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขสัดส่วนการใช้วัตถุดิบด้วย ขณะที่กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีมีหลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้าที่เข้มงวด เช่น การกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบและให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเพียงพอของสินค้าถึงจะได้แหล่งกำเนิด

       1.2 หลักเกณฑ์กำหนดแหล่งกำเนิด  (การพิจารณากฎแหล่งกำเนิดสินค้า

หลักเกณฑ์ในการพิสูจน์แหล่งกำเนิดสินค้าสามารถแบ่งได้เป็น 4 เกณฑ์กว้างๆ ดังนี้

       1.2.1 กฎการใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained: WO) สินค้าใดจะผ่านกฎนี้ได้จะต้องผ่านกระบวนการผลิตในประเทศเดียวโดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศนั้นทั้งหมด เช่น ผักผลไม้ที่เก็บเกี่ยวได้ในประเทศใด ประเทศนั้นก็จะถือเป็นแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ส่วนมากการกำหนดเกณฑ์แบบ WO จะใช้กับสินค้าทางการเกษตร สัตว์มีชีวิต และสินแร่

1.2.2. กฎการแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation: ST) การพิจารณาว่าสินค้าใดถูกแปรสภาพไปอย่างเพียงพอสามารถดูได้จาก

            1.2.2.1) สินค้ามีการเปลี่ยนพิกัดทางศุลกากร ซึ่งมีทั้งหมด 5 ระดับ แต่ที่พบเห็นได้บ่อยมี 3 ระดับได้แก่ 

การเปลี่ยนตอน

(Change of Tariff Chapter: CC)

เช่น สับปะรดสด (ตอนที่ 8 ของพิกัดศุลกากร) เปลี่ยนเป็น น้ำสับปะรด (ตอนที่ 20)

การเปลี่ยนประเภท

(Change of Tariff Heading: CTH)

เช่น นำเข้า รังไหม (พิกัด 5001) มาสางเป็น ด้ายไหม (พิกัด 5004)

การเปลี่ยนประเภทพิกัดย่อย

(Change of Tariff Subheading: CTSH)

เช่น เยื้อไม้สนไม่ฟอก (พิกัด 4703.11) เปลี่ยนเป็น  เยื้อไม้สนฟอกแล้ว (พิกัด 4703.21)

นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนพิกัดอีก 2 ระดับ ได้แก่ การเปลี่ยนประเภทพิกัดที่แยกออกมา (Change of Tariff Split Heading: CTHS) และการเปลี่ยนประเภทพิกัดย่อยที่แยกออกมา (Change of Tariff Split Subheading: CTSHS) แต่ไม่พบเห็นบ่อยนัก

       1.2.2.2) สินค้าได้ผ่านกระบวนการผลิตที่ถือได้ว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญ ซึ่งหากกระบวนการผลิตที่สำคัญเกิดขึ้นในประเทศใด ประเทศนั้นจะถือเป็นแหล่งกำเนิดของสินค้าทันที ดังนั้น ในกรณี 2.1 และ 2.2 สัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศไม่มีผลต่อแหล่งกำเนิดสินค้า สำคัญเพียงว่าเมื่อนำวัตถุดิบเข้ามาทำการผลิตแล้วเกิดการแปรสภาพอย่างเพียงพอหรือไม่

 1. 3. กฎสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศ (Local Content: LC) เป็นการกำหนดอัตราส่วนร้อยละตามราคา น้ำหนัก หรือมาตรวัดอื่น ๆ ตามที่ได้ตกลงกัน โดยกำหนดอัตราส่วนสูงสุดของวัตถุดิบนำเข้า หรืออัตราส่วนต่ำสุดของวัตถุดิบภายในประเทศที่ใช้ในการผลิตสินค้าที่จะถือว่าประเทศนั้นๆเป็นแหล่งกำเนิด เช่น ใน AFTA ที่กำหนดว่า สินค้าจะมีแหล่งกำเนิดจากอาเซียนถ้ามีส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตมาจากประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างน้อยร้อยละ 40 และกระบวนการผลิตขั้นสุดท้ายเกิดขึ้นภายในประเทศที่ส่งออก หรือผลิตภัณฑ์ยางของไทยที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้ FTA ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) จะต้องผ่านกฎ CTSH และต้องใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (ความตกลง TAFTA อนุญาตให้นำวัตถุดิบที่นำเข้าจากออสเตรเลียมาคำนวณเป็นวัตถุดิบในประเทศไทยได้ หรือที่เรียกว่าหลัก Regional Value Content) เป็นสัดส่วนอย่างน้อยร้อยละ 40 ของน้ำหนักยางทั้งหมด เป็นต้น ทั้งนี้ ตามข้อตกลง WTO กฎสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎการแปรสภาพอย่างเพียงพอ (ST) ในหัวข้อที่ 2 ข้างต้น

 1.4 กฎการผลิตขั้นต่ำ (Minimal Operation/Process) อธิบายได้ว่า ประเทศที่นำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกต่อไป โดยก่อนส่งออกอาจมีการปรับสภาพสำหรับการขนส่งอย่างง่ายๆ เช่น บรรจุหีบห่อใหม่ ทำความสะอาด จำแนกเกรดสินค้า แบ่งประเภท หรือติดฉลาก จะไม่ถือว่าประเทศที่ทำกิจกรรมดังกล่าวเป็นแหล่งกำเนิดของสินค้า ทั้งนี้ จะพบเห็นหลักเกณฑ์ข้อนี้ได้อย่างชัดเจนในความตกลง FTA ไทย-อินเดีย

สินค้าบางประเภทหากผ่านเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งก็ถือว่าได้แหล่งกำเนิดสินค้าแล้ว แต่บางสินค้าจะต้องผ่านเกณฑ์มากกว่า 1 ข้อขึ้นไป นอกจากนี้ เกณฑ์ในความตกลง FTA แต่ละฉบับยังอาจมีความแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยได้อีก ซึ่งขึ้นอยู่กับประเทศที่ไทยทำ FTA และชนิดของสินค้าอีกด้วย

** ที่มา จากสื่ออิเล็คทรอนิกส์ รศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล กฎแหล่งกำเนิดสินค้า (ตอนที่ 1) บทความจากกรมการค้าต่างประเทศจากหนังสือ ซีรีย์เขตการค้าเสรี ของ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ**

อนึ่งความรู้เหล่านี้หาอ่านได้จาก ตำราวิชาการ หรือ บทความวิชาการ หรือเอกสารประกอบการบรรยายได้ด้งนี้

1    หนังสือ ของ Jhon H Jackson เรื่อง World Trade and the law GATT และอีกเล่มคือ world trade systemเป็นหนังสือที่ยอมรับกันทั่วโลกและนักวิชาการกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศนำมากล่าวอ้างในงานเขียนเสมอ

2  หนังสือของรองศาสตราจารย์ ทัชชมัย ฤกษะสุต เรื่องแกตต์ และองค์การค้าโลก

3 บทความและวิจัย ของอาจารย์ สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์

4 หนังสือของอาจารย์ โกศล ฉันทิกุล

5 กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย

          **หากเกี่ยวกับการเจรจาความตกลงการเปิดเสรีการค้าผู้ศึกษาขอแนะนำให้อ่านของ ดร.วิลาวรรณ        มังคละธนกุล ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นนักกฎหมายระหว่างประเทศที่เก่งมากคนหนึ่ง ในเวลานี้ ประกอบกับท่านเป็นอาจารย์สอนที่ดีมาก (โดยส่วนตัวผู้ศึกษาชอบศึกษาจากอาจารย์มาก อาจารย์เก่ง และเป็นผู้มีพระคุณกับผู้ศึกษาให้โอกาสผู้ศึกษาเสมอ**)

            2 กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากันของอาเซียน(Agreement on Common Effective Preferential Tariff – CEPT)

      2.1 ในการพิจารณาแหลงกำเนิดสินคาที่มีสิทธิไดรับสิทธิพิเศษภายใต้ CEPT- AFTA ให้ถือปฏิบัติตามกฎ ดังนี้  [3]

กฎขอที่ 1:  สินคาที่มีแหลงกําเนิดในประเทศอาเซียน หมายถึงสินคาที่นําเขามายังอาณาเขตของประเทศสมาชิกประเทศหนึ่งจากประเทศสมาชิกอีกประเทศหนึ่ง ในลักษณะที่เปนการตราสงโดยตรงจะมีสิทธิไดรับสิทธิพิเศษฯ ถามีคุณสมบัติตรงตามขอกําหนดในเรื่องแหลงกําเนิดฯ ภายใตเงื่อนไขขอใดขอหนึ่งดังนี้

1)  สินคาที่ผลิตขึ้นไดโดยใชวัตถุดิบของประเทศนั้นทั้งหมด หรือสินคาที่ไดจากในประเทศสมาชิกผูสงออกทั้งหมด ตามกฎขอที่ 2 หรือ

2)  สินคาที่ผลิตขึ้น หรือ ไดจากในประเทศสมาชิกผูสงออกโดยมิไดใชวัตถุดิบของประเทศนั้นทั้งหมด ทั้งนี้ สินคานั้นจะมีคุณสมบัติ ไดรับสิทธิพิเศษฯ ภายใตกฎขอ 3 หรือกฎขอ 4 • 

กฎขอที่ 2: Wholly Obtained Goods (WO) เกณฑ์สินคาที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบของประเทศนั้น หรือสินค้าที่ไดจากประเทศสมาชิกผู้สงออกตามความหมายของกฎขอ 1(ก) •

กฎขอที่ 3: สินคาที่ผลิตขึ้นหรือไดจากในประเทศสมาชิกผูสงออกโดยมิไดใชวัตถุดิบของประเทศนั้นทั้งหมด

1)  Direct Method  สินคาจะถือวามีแหลงกําเนิด  จากประเทศสมาชิกอาเซียน  หากวาสินคานั้นมีสัดสวนของวัตถุดิบที่มีแหลงกําเนิดจากประเทศสมาชิก  อยางนอยรอยละ 40

2)  Indirect Method สินค้าที่ผ่านการแปรสภาพและขั้นตอนการผลิตอันเป็นผลให้มูลค่ารวมของวัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือผลิตผลที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศนอกภาคีอาเซียน หรือจากแหล่งกำเนิดที่ไม่ปรากฏแน่ชัดที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าจะต้องไม่เกินร้อยละ 60 ของมูลคา F.O.B.  และการแปรสภาพการผลิตขั้นสุดท้ายต้องกระทำในอาณาเขตของประเทศสมาชิกผู้ส่งออก

สูตรในการคำนวณสัดส่วนวัตถุดิบของอาเซียน = มูลค่าของวัตถุดิบชิ้นส่วน หรือ ผลิตผลที่นำเข้าจากประเทศนอกภาคีอาเซียน +มูลคาของวัตถุดิบชิ้นส่วนหรือผลิตผลจากแหล่งกำเนิดที่ไม่ปรากฎ/มูลค่า  ส่ง ออก (ราคา F.O.B.)*100   60%

กฎข้อ 4: กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดแบบสะสม สินค้าที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามข้อกำหนดในเรื่องแหล่งกำเนิดฯ  ตามกฎข้อ 1และได้นำไปใช้ในประเทศสมาชิกหนึ่งเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ที่มีสิทธิได้รับสิทธิพิเศษฯ  ในอีกประเทศหนึ่ง  ให้ถือว่าสินค้านั้นมีแหล่งกำเนิดในประเทศสมาชิกที่ซึ่งการผลิตหรือการแปรสภาพของสินค้าสำเร็จรูปได้กระทำขึ้น  หากว่ามูลค่าวัตถุดิบของอาเซียนในสินค้านั้นรวมกันแล้ว ไม่น้อยกวาร้อยละ 40                               

หมายเหตุ:  วัตถุดิบที่นํามาสะสม  กอนนํามาสะสมจะตองมีคุณสมบัติไดแหลงกําเนิดในประเทศนั้น กอน จึงจะสามารถนําวัตถุดิบนั้นมาทําการสะสมได 

กฎขอที่ 5: การตราสงโดยตรง การตราสงสินคาในลักษณะตอไปนี้ ใหถือเปนการตราสงโดยตรงจากประเทศสมาชิกผูสงออก ไปยังประเทศสมาชิกผูนําเขา

1)  ถาสินคานั้น ถูกสงผานอาณาเขตของประเทศภาคีอาเซียนประเทศอื่น

2)  ถาสินคานั้นถูกสงโดยไมผานอาณาเขตของประเทศนอกภาคีอาเซียนใดเลย

3)  สินคาที่ถูกสงผานประเทศนอกภาคีอาเซียนประเทศหนึ่ง หรือมากกวา โดยจะมีการถายลําเรือ หรือเก็บรักษาไวชั่วคราวในประเทศนั้นๆ หรือไมก็ตาม ตองมีเงื่อนไขวา

(1) การสงผ่านนั้น สืบเนื่องจากเหตุผลทางภูมิศาสตร์ หรือโดยการพิจารณาที่เกี่ยวเนื่องกับข้อกำหนดทางด้านการขนส่งโดยเฉพาะ

(2) สินค้าไม่ถูกนำออกสู่การซื้อขาย หรือใช้บริโภคในประเทศ นั้น และ

(3) สินค้าต้องไม่ถูกกระทำการอันใดในประเทศนั้นมากไปกว่าการขนถ่ายสินค้าขึ้นและลง หรือการกระทาอันใดที่จำเป็นแก่การเก็บรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดีเท่านั้น

กฎขอ 6: การปฏิบัติตอหีบหอ ประกอบดวย

 1)  กรณีที่ประเทศสมาชิกมีขอปฏิบัติในการแยกตัวสินคาออกตางหากจากหีบหอ เพื่อวัตถุประสงคในการประเมินภาษีศุลกากร ประเทศสมาชิกนั้นอาจจะพิจารณาแหลงกําเนิดของหีบหอแยกตางหากจากตัวสินคา สําหรับสินคาที่นําเขาจากประเทศสมาชิกอื่นได

2)  กรณีไมมีขอปฏิบัติตามขอ 1ขางตน  ตองถือวาหีบหอเปนสวนรวมเดียวกันกับสินคาทั้งหมดและในกรณีนี้ จะไมมีการพิจารณาถือวาสวนใดสวนหนึ่งของหีบหอที่จําเปนสําหรับการขนสง หรือเก็บรักษา        สินคา นั้น เปนการนําเขาจากประเทศนอกอาเซียน

กฎขอ 7: หนังสือรับรองแหลงกําเนิด สินคาที่จะมีสิทธิขอรับสิทธิพิเศษฯ จะตองมีหนังสือรับรองแหลงกําเนิดสินคาที่ออกใหโดยหนวยราชการที่ไดรับมอบหมายจากประเทศสมาชิกผูสงออก และไดแจงใหสมาชิกอื่นทราบตามที่จะไดกําหนดไวในระเบียบการออกหนังสือรับรองแหลงกําเนิดสินคาที่จะไดจัดทําขึ้นและใหความเห็นชอบโดยที่ประชุมเจาหนาที่อาวุโสดานเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM)

กฎขอ 8:  การทบทวน กฎเหลานี้อาจมีการทบทวน  ตามความจําเปนเมื่อมีการรองขอจากประเทศสมาชิก  และอาจเปดใหมีการแกไขปรับปรุงตามที่จะไดมีการตกลงกันโดยคณะมนตรีของ AFTA

***ที่มา: เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “แหลงกําเนิดสินคาแบบสะสมของอาเซียน”สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง 23 พฤศจิกายน 2547 www.FTAMonitoring.org***

2.2เงื่อนไขของกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า [4]

สินค้าเกษตร : ให้ใช้เกณฑ์ Wholly-Obtained หรือ Single Country Local Content ร้อยละ 60 ถ้านำเข้าวัตถุดิบของไทยไปแปรรูปแล้วส่งกลับมาใหม่

สินค้าอุตสาหกรรม: ให้ใช้เกณฑ์ Wholly-Obtained หรือ Single Country Local Content ร้อยละ 40 เท่ากับ CEPT

2.3. คุณสมบัติของสินค้าส่งออกที่จะได้รับสิทธิลดภาษี CEPT [5]

(ก) เป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีรายการลดภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนผู้นำเข้า (ไม่จำเป็นต้องเป็นรายการเดียวกันในทุกประเทศสมาชิกอาเซียน)

(ข) มีคุณสมบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้า คือ จะต้องมีสัดส่วนของวัตถุดิบและต้นทุนในประเทศสมาชิก ( ASEAN Content ) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 เทียบกับราคา FOB ของสินค้าส่งออก

(ค) จะต้องใช้หลักเกณฑ์การขนส่งโดยตรงภายใต้ข้อตกลง CEPT

(ง)           มีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ D (Form D) ที่กรมการค้าต่างประเทศออกให้ไปแสดงต่อศุลกากรของประเทศอาเซียนผู้นำเข้า

          เมื่อทราบหลักการแล้ว เพื่อให้เข้าใจในการพิจารณากฎแหล่งกำเนิดข้อที่ 3 ก 2 มากขึ้น ผู้ศึกษาขอยกตัวอย่างดัง นนี้

 

3  ข้อเท็จจริง

             1. . สมมุติว่า มีกรณีกรมศุลกากร ตรวจสอบ บริษัท   ก. และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ ก. ทั้งหมด แล้วพบว่า ว่าการที่บริษัท ก สั่งซื้อวัตถุดิบ เพื่อนำมาผลิตเป็นเบาะนั่งภายในรถยนต์จากบริษัท ข (ประเทศไทย) จำกัด         (ผู้ผลิตชิ้นส่วนเบาะนั่งภายในรถยนต์ให้กับ บริษัท ก) นั้น ปรากฏว่า มีวัตถุดิบบางรายการสั่งแยกวัสดุมาประกอบเป็นเบาะรถยนต์ บางรายการ นั้น เป็นเบาะสำเร็จรูป บางรายการแค่มาประกอบกันก็ได้เป็นเบาะนั่งสำเร็จรูป และเมื่อนำเบาะนั่งภายในรถยนต์ดังกล่าวมาคำนวณ Local Contents ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 76 /2547 แแล้ว ปรากฏว่า รายการวัตถุดิบ (ของเบาะนั่งภายในรถยนต์) ดังกล่าว ขาดคุณสมบัติที่จะได้รับสิทธิทางภาษีเพราะ Local contents ไม่ถึง    40 % จึงไม่เป็นวัตถุดิบผลิตภายในประเทศที่ได้แหล่งกำเนิดสินค้าในประเทศผู้ส่งออก

                      2  บริษัท ก กล่าวอ้างว่า บริษัทฯ สามารถนำเบาะมาคำนวณเป็นต้นทุนวัตถุดิบภายในประเทศได้ เพราะบริษัทฯได้สั่งซื้อวัตถุดิบจาก บริษัท ข (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อนำมาผลิตเป็นเบาะนั่งภายในรถยนต์ ซึ่งเป็น  บริษัทฯ ประกอบการในประเทศไทยและประกอบการโดยได้รับอนุญาตจากสภาอุตสาหกรรมเบาะฯจึงได้ถิ่นกำเนิดสินค้า ตามกฎข้อที่ 3 (2) ตามความตกลง CEPT AFTA  ก็เท่ากับเป็นวัตถุดิบภายในประเทศ  บริษัท กฯ จึงไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถิ่นกำเนิดสินค้าอีก บริษัทสามารถนำเบาะมาคำนวณเป็นต้นทุนวัตถุดิบภายในประเทศได้  กรมศุลกากรปฏิบัติไม่ถูกต้องตามความตกลง CEPT AFTA และหลักการคำนวณตามข้อ 1.4.2 ในประกาศ  กรมฯที่ 76/2547 อีกทั้งการได้ถิ่นกำเนิดในวัตถุดิบดังกล่าว ก็มีแนวประชุมร่วมกัน มีหนังสือหารือกรมการค้าต่างประเทศ ว่า เมื่อมีใบอนุญาตก็ไม่ต้องพิสูจน์ถิ่นกำเนิดอีก นอกจากนี้ ข้อ17 OCP ก็กำหนดให้ส่งใบเสร็จ ส่งรายการวัตถุดิบ ตรวจสอบย้อนหลังได้ ซึ่งบริษัทก็ได้ดำเนินการตามข้อ 17 OCP แล้ว

         

4 ประเด็นข้อกฎหมายที่เป็นข้อพิพาทระหว่างกรมศุลกากรกับบริษัทก

1 ข้อ 3 ก [6] (2)  กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากันของอาเซียน Agreement on Common Effective Preferential Tariff – CEPT) กำหนดว่า

      RULE 3 Not Wholly Produced or Obtained

สินค้าที่ผลิตขึ้นหรือได้จากในประเทศสมาชิกผู้ส่งออกโดยมิได้ใช้วัตถุดิบของประเทศนั้นทั้งหมด

       (ii) Locally-procured materials  produced by established licensed manufacturers, in compliance with domestic regulations, will be deemed to have fulfilled the CEPT origin requirement; locally-procured materials from other sources will be subjected to the CEPT origin test for the purpose of origin determination. 

          วัตถุดิบที่หาได้จากในประเทศ ซึ่งผลิตโดยผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตตามกฎระเบียบภายในประเทศ จะถือว่าได้ถิ่นกำเนิดตามข้อกำหนดถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ส่วนวัตถุดิบที่หาได้จากในประเทศที่ได้มาจากแหล่งอื่น ๆ จะต้องผ่านการพิสูจน์ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้เงื่อนไขถิ่นกำเนิดของสินค้าที่มีสิทธิได้รับสิทธิพิเศษฯภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอันตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน   (ดูได้จากเอกสารแนบ 1 หน้า 11) [7]

          เมื่อพิจารณาจากตัวบทแล้ว ย่อมเห็นได้ว่า

สินค้าที่ผลิตขึ้นหรือได้จากในประเทศสมาชิกผู้ส่งออก โดยมิได้ใช้วัตถุดิบของประเทศนั้นทั้งหมด ทั้งนี้สินค้านั้นจะมีคุณสมบัติได้รับสิทธิพิเศษฯ ภายใต้กฎข้อ 3 ก 2 นั้น การจะได้แหล่งกำเนิดสินค้าหรือไม่นั้น ต้องแยกพิจารณาออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

 (1) กรณีการได้แหล่งกำเนิดสินค้าของวัตถุดิบที่จัดหาได้จากพื้นที่

(2)            กรณีการได้แหล่งกำเนิดสินค้าของตัววัตถุดิบที่ได้มาจากแหล่งอื่น ๆ  

ทั้งนี้สองเงื่อนไขดังกล่าว มีหลักการพิจารณาของแต่ละเงื่อนไขดังต่อไปนี้

 

กรณีที่ 1  หลักการได้แหล่งกำเนิดสินค้าของวัตถุดิบที่จัดหาได้จากพื้นที่

 การพิจารณาว่าวัตถุดิบที่จัดหาได้ในพื้นที่จะได้แหล่งกำเนิดสินค้าอาเซียนหรือไม่นั้นต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

          (1) ต้องเป็นวัตถุดิบที่หาได้จากในประเทศ(Locally-procured materials produced)

      (2) วัตถุดิบตาม (1) นั้น ต้องผลิตโดยผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาต (produced by established licensed manufacturers)

      (3) ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตตาม (2) นั้น ต้องเป็นไปตามกฎระเบียบภายในประเทศ (in compliance with domestic regulations)

**** หากองค์ประกอบครบ ตาม (1 ) (2)  และ 3 ย่อมถือว่าวัตถุดิบที่จัดหาได้ในพื้นที่ได้แหล่งกำเนิดสินค้า ****

 

กรณีที่ 2 หลักการได้แหล่งกำเนิดสินค้าของวัตถุดิบที่หาได้จากแหล่งอื่น ๆการพิจารณาว่าวัตถุดิบที่จัดหาได้จากแหล่งอื่นจะได้แหล่งกำเนิดสินค้าอาเซียนหรือไม่นั้นต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

(1)            เป็นวัตถุดิบที่หาได้จากแหล่งอื่นๆ

(2)            จะต้องผ่านการพิสูจน์ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้เงื่อนไขถิ่นกำเนิดสินค้าที่มีสิทธิได้รับสิทธิพิเศษฯภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอันตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน  CEPT-AFTA ROO

(3)            พิสูจน์ตาม (2) นั้น คือพิสูจน์คุณสมบัติของสินค้าส่งออกที่จะได้รับสิทธิลดภาษี CEPT

(4)            [8]คุณสมบัติของสินค้าส่งออกที่จะได้รับสิทธิลดภาษี CEPT มีดังนี้

   (ก)เป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีรายการลดภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนผู้นำเข้า (ไม่จำเป็นต้องเป็นรายการเดียวกันในทุกประเทศสมาชิกอาเซียน)

(ข)     มีคุณสมบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้า คือ จะต้องมีสัดส่วนของวัตถุดิบและต้นทุนในประเทศสมาชิก ( ASEAN Content ) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 เทียบกับราคา FOB ของสินค้าส่งออก

(ค)     จะต้องใช้หลักเกณฑ์การขนส่งโดยตรงภายใต้ข้อตกลง CEPT

 (ง) มีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ D (Form D) ที่กรมการค้าต่างประเทศออกให้ไปแสดงต่อศุลกากรของประเทศอาเซียนผู้นำเข้า

***อนึ่ง หากนำมาผลิตก็ต้องพิสูจน์อีกว่าผลิตอย่างง่ายหรืออย่างยาก***

 ข้อสรุป เมื่อพิจารณาจากตัวบทเบื้องต้นแล้วย่อมรุปได้ดังนี้

       การได้แหล่งกำเนิดสินค้า ตาม ข้อ 3 ก 2 นั้น แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

      1 หากเป็นวัตถุดิบที่หาได้จากในประเทศ และผลิตโดยผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาต ตามกฎระเบียบภายใน ย่อมถือว่าตัววัตถุดิบนั้นได้แหล่งกำเนิดสินค้าแล้ว

      2 หากเป็นวัตถุดิบที่จัดหาได้จากแหล่งอื่นจะต้องผ่านการพิสูจน์ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้เงื่อนไขกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าตามความตกลง CEPT-AFTA ROO

 


[1]  นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขากฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  

[2] รศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล กฎแหล่งกำเนิดสินค้า (ตอนที่ 1) บทความจากกรมการค้าต่างประเทศจากหนังสือ ซีรีย์เขตการค้าเสรี ของ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

[3] ที่มา: เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “แหลงกําเนิดสินคาแบบสะสมของอาเซียน”สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง 23 พฤศจิกายน 2547 www.FTAMonitoring.org

[4] สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการเป็นภาคีอาฟต้า ดร นิลสุวรรณ ลีลารัศมี เอกสารหมายเลข 2.5 หน้า 5

[5]  เรื่องเดียวกัน ดร นิลสุวรรณ ลีลารัศมี เอกสารหมายเลข 2.5 หน้า 3

[6] กฎข้อ 3สินค้าที่ผลิตขึ้นหรือได้จากในประเทศสมาชิกผู้ส่งออก   โดยมิได้ใช้วัตถุดิบของประเทศนั้นทั้งหมด

(ก)          (1) สินค้าจะถือว่ามีแหล่งกำเนิดจากประเทศสมาชิกอาเซียน ถ้าหากว่าสินค้านั้นมีสัดส่วนของวัตถุ                  ดิบที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศสมาชิกอย่างน้อยร้อยละ 40

                (2) วัตถุดิบที่ผลิตในประเทศโดยผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจะได้แหล่งกำเนิดสินค้า ขณะที่วัตถุดิบที่หาได้จากแหล่งอื่นจะต้องผ่านการตรวจสอบตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ CEPT

          (3) ภายใต้บังคับของความในอนุวรรค (1) ข้าต้น เพื่อวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติให้เกิดผลตาม                  บัญญัติในกฎข้อ 1(ข) สินค้าที่ผ่านการแปรสภาพและขั้นตอนการผลิตอันเป็นผลให้มูลค่ารวม      ของวัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือผลิตผลที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศนอกภาคีอาเซียนจากแหล่งกำเนิด      ที่ไม่ปรากฏแน่ชัดที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าจะต้องไม่เกินร้อยละ 60 ของมูลค่า เอฟ.โอ.บี ของสินค้านั้น และการแปรสภาพการผลิตขั้นสุดท้ายต้องกระทำในอาณาเขตของประเทศ  สมาชิกผู้ส่งออกเป็นคำแปลจาก Intranet กรมศุลกากร

[7] คัดลอกมาจากเอกสารแนบ 1  หน้า 11 ใน 6 เป็นเอกสารที่ประกอบด้วยตาราง 2 ช่อง อันได้แก่ช่องด้านที่เป็นภาษาอังกฤษ  ชื่อคอลัมน์ ว่า “Rules of Origin for the agreement on the  Common Effective Preferential Tariff scheme  for the ASEAN FREE TRADE AREA (CEPT –AFTA ROO)” และช่องที่เป็นภาษาไทย ชื่อคอลัมน์ ว่า กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT –AFTA ROO)” โดยเป็นเอกสารที่ผู้เขียนได้รับความเมตตามาจาก คุณ ธนพงษ์ ธนะโสภณ ที่กรุณาให้ผู้เขียนใช้ประกอบเป็นข้อมูลศึกษาเชิงวิชาการและเก็บไว้เป็นข้อมูลต่อยอดการศึกษากฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าเพราะผู้ศึกษาสนใจเรื่องดังกล่าว ผู้เขียนต้องขอขอบพระคุณพี่โอ๋เป็นอย่างมากทั้งที่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่คุณธนพงษ์เองก็ได้รับความเมตตามาจากคุณสมบูรณ์พงศ์ พุกกะเวส เช่นกัน 

[8]กล่าวอ้างแล้ว ในหน้าที่ เรื่องเดียวกัน ดร นิลสุวรรณ ลีลารัศมี เอกสารหมายเลข 2.5 หน้า 3

หมายเลขบันทึก: 327985เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2010 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท