การจัดการความรู้


วงจรชีวิตการจัดการความรู้

รูปแบบพื้นฐานของ การจัดการความรู้ ของ Ellias M.Award & Hassan M.Ghzari หรือ วงจรชีวิตตามแนวความคิดของการจัดการความรู้**  ได้กำหนดไว้ ดังนี้

ตอนที่ 5:

จริยธรรม, กฎหมายและการจัดการตามประเด็น

 

ใครเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางความรู้ จริยธรรม และประเด็นกฎหมาย

การจัดการความรู้แนวชุมชนปฏิบัติ

/ระดับปฏิบัติ

วิธีหรือแนวทางการจัดการความรู้ที่จำเป็น

อื่นๆ

ตอนที่ 3:

ขั้นประมวลความรู้และลงมือปฏิบัติ

ตอนที่ 4:

ขั้นการใช้เครื่องมือและช่องทางต่างๆในการจัดการความรู้

การประมวลความรู้

ระบบการทดสอบและการแปรขบวน

การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้

การถ่ายทอดความรู้ในโลก E-World

การเรียนรู้

จากข้อมูล

การเก็บข้อมูล

“ขุมความรู้”

และการค้นหาความรู้ใหม่ๆ

การใช้เครื่องมือและช่องทางการจัดการความรู้

ตอนที่ 1:

ขั้นพื้นฐาน

ทำงานสบายและดีกว่าเดิม

เข้าใจความรู้

วงจรชีวิตการจัดการความรู้

ตอนที่ 2:

ขั้นสร้างและค้นหาความรู้

การสร้างความรู้

และก่อสร้างความรู้

การค้นหา

ความรู้ฝังลึก

ใช้วิธีการแสวงหาความรู้รูปแบบต่างๆ

lเอกสารอ้างอิง:

  1. วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ.สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.พิมพ์ครั้งที่ 3. 2549*
  2. Ellias M. Award & Hassan M.Ghaziri. Knowledge Management. New Jersey, Pearson Prentice Hall.

       2004, pp. Preface XIX, 3**

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 การ 

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)

การจัดการความรู้สำหรับนักปฏิบัติหรือชุมชนนักปฏิบัติ คือ เครื่องมือที่นำมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการ อันได้แก่ (1) การบรรลุเป้าหมายของงาน (2) การพัฒนาคน (3) การพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ (4) ความเป็นองค์กรหรือชุมชนวิชาการที่บุคลากรมีความเอื้ออาทรต่อกันในการทำงาน

เพื่อการบรรลุเป้าหมายของการจัดการความรู้ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการ คือ (1) กำหนดความรู้หลักที่มีความสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของสถาบันฯ (2) แสวงหาความรู้ที่ต้องการ (3) ปรับปรุงความรู้ให้เหมาะต่อการใช้ของตน (4) ประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจกรรมของตนเอง  (5) นำประสบการณ์จากการทำงานและการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน (6) จดบันทึกบทเรียนที่เป็นแก่นความรู้ไว้ใช้งาน พร้อมกับปรับปรุงให้เป็นชุดความรู้ของตนเองที่ลุ่มลึก เชื่อมโยง และครบถ้วน ซึ่งเหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

 

บุคลากรที่ทำหน้าที่จัดการความรู้ที่สำคัญขององค์กร

(1)  คุณเอื้อ (ระบบ) (Chief Knowledge Officer-CKO) เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร แสดงบทบาทกำหนดยุทธศาสตร์หรือเป้าหมาย เชื่อมโยง และเสริมพลัง (Empowerment) การจัดการความรู้ขององค์กร

(2)  คุณอำนวย (Knowledge Facilitator or Knowledge Activist or Knowledge Broker) เป็นผู้เสริมพลังความรู้ แสดงบทบาทหลักในการส่งเสริม-อำนวยความสะดวกให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้มีความรู้กับผู้ต้องการเรียนรู้และนำความรู้นั้นไปใช้

(3)  คุณกิจ (Knowledge Practitioner) เป็นผู้จัดการความรู้ตัวจริง ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ร้อยละ 90 โดยร่วมกำหนดเป้าหมาย ค้นหา (Capture) ดูดซับ (Absorb) ความรู้จากภายนอกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุผลสำเร็จตามที่ร่วมกันกำหนดไว้ จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันตีความประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อได้ความรู้ใหม่ (Knowledge Assets)

(4) คุณลิขิต (Knowledge Taker) ทำหน้าที่จดบันทึกกิจกรรมจัดการความรู้ ในตลาดนัดความรู้, Workshop, มหกรรมจัดการความรู้ จัดการความรู้ของกลุ่ม หน่วยงาน องค์กร เช่น การเล่าเรื่องเร้าพลัง (Storytelling) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกการประชุม แก่นความรู้ (Core Competence) โดยใช้ทักษะจับใจความบันทึกเรื่องเล่า สกัดประเด็น จัดหมวดหมู่ความรู้โดยใช้ซอฟท์แวร์ Mind Manager สำหรับ Mind Mapping ขึ้นฐานข้อมูลให้คุณกิจเข้าค้นหาได้ง่ายในอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต ติดตามการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคุณกิจทั้ง Face to Face (F2F) และผ่านไอที Block to Block (B2B) หรือผ่านไอทีรูปแบบอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

(5)  คุณประสาน (Network Manager) ทำหน้าที่ประสานเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงานหรือองค์กร ทำภารกิจจัดให้มีข้อตกลงเป้าหมายร่วม ยุทธศาสตร์ความรู้ (Knowledge Vision-KV) ของเครือข่ายว่าจะทำอะไรร่วมกัน เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร เตรียมเครือข่าย จัดหาผู้เชี่ยวชาญ จัดให้มีการติดตามประเมินผลความก้าวหน้า/การดำเนินงานของเครือข่าย จัดทำจดหมายข่าวกระตุ้นกิจกรรมของเครือข่าย เป็นเลขานุการคณะทำงานของเครือข่าย  เป็นต้น

(6)   คุณวิศาสตร์ (IT Wizard) คือ ผู้ออกแบบและจัดการดำเนินงานระบบ IT 

 

3. การเริ่มต้นจัดกระบวนการ การจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)

บุคลากร: (People=Workforce)

ขบวนการทำงานต่างๆ ขององค์กร: Organizational processes

ความรู้ ประสบการณ์ หลักวิชาการ ทุนปัญญาขององค์กรและเทคโนโลยี (IT) ที่จำเป็น

 

Knowledge

ความรู้

 

 

 

 

 

 

 

 

(1)                               ค้นหาทุนปัญญาขององค์กร (Intellectual Capital)

(2)                               วางแผนการดำเนินการเริ่มจากเล็กไปหาใหญ่ จากง่ายไปยาก

(3)                               นำทุนปัญญามาจัด ตลาดนัดความรู้ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

(4)                               นำทุนปัญญาในตัวคนมาสร้างคุณค่า/มูลค่าเพิ่ม

(5)                               พัฒนางานและเรียนรู้จากการทำกิจกรรมกลุ่มย่อย เช่น กิจกรรมวงจรการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle: QCC), กิจกรรม 5 ส., กิจกรรมพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement) เป็นต้น

(6)                               เรียนรู้และแสวงหาความรู้จากภายนอกองค์กร เช่น จัดกิจกรรมนำความสำเร็จมาเล่า (Storytelling), เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)

(7)                               สร้างนวัตกรรมแนวราบ (Horizontal innovative creation) อย่างเปิดเผยและพร้อมปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร เช่น นำความรู้จากการปฏิบัติเล็กๆ จำนวนมาก มาประกอบกันเข้าก่อให้เกิดคุณสมบัติพิเศษ ก่อผลที่คาดไม่ถึง เรียก Butterfly Effect  เป็นคุณสมบัติของระบบ Complex Adaptive System  ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้จากการเสริมพลัง (Empowerment) สร้างปณิธานร่วม (Common Purpose) ได้วัฒนธรรมการทำงานแนวราบและเปิดเผย (Corporate and transparent culture)

(8)                               สร้างความคึกคัก ตื่นตัว ตื่นเต้นทำให้การจัดการความรู้เป็นหัวข้อการสนทนา Talk of the town ซึ่งอาจมาจาก จัดประกวดชิงรางวัล ประกาศยกย่องการกระทำ ประกาศเป้าหมายที่มีผลประโยชน์โดยตรงต่อบุคลากร เช่น Balanced Score Card :BSC เป็นต้น

(9)                               ใช้ความสำเร็จเล็กๆ เป็นพลังขับเคลื่อน

(10)                         ดึงพลังภายนอกองค์กรมาขับเคลื่อน

(11)                         ดำเนินการในบางหน่วยงานเป็นกิจกรรมนำร่อง

 

4. ชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice : CoP)

                ชุมชนแนวปฏิบัติ เป็นเครื่องมือจัดการความรู้ที่ง่ายและมีพลังชิ้นหนึ่ง  ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนในองค์กร ก่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยจากการรวมกลุ่ม อาทิ “คนที่ถูกคอกัน” จัดการความรู้เพื่อให้บรรลุ วิสัยทัศน์ความรู้ ที่พัฒนามาจากธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม

                ยุทธศาสตร์ของการจัดการความรู้ชนิดนี้ เชื่อว่า มีสิ่งดีๆ อยู่แล้วทั้งในและนอกองค์กร คุณอำนวยหรือผู้เสริมพลังความรู้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคุณเอื้อหรือผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ดำเนินการแสวงหา “ชุมชน” ในองค์กรว่า มีใครเป็นสมาชิก มีอะไรเป็นสาระหรือเด่น (Domain) หรือความสนใจร่วมที่ยึดเหนี่ยวชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน  และตรงกับวิสัยทัศน์ความรู้ของการจัดการความรู้เพียงใด  จะเข้าไปส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมได้อย่างไรบ้าง เช่น อาจจัด  “ตลาดนัดชุมชนแนวปฏิบัติ”  เพื่อเพิ่มคุณค่า (Value) ของชุมชน ที่ถือเป็นทุนปัญญา “Intellectual Capital) โดยชวนสมาชิกชุมชนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาเล่าเรื่องความสำเร็จของแต่ละชุมชน ที่คิดว่ามีผลต่อวิสัยทัศน์ขององค์กร  คุณลิขิตช่วยสกัดความรู้จากเรื่องเล่า  อาจเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาให้ความรู้เกี่ยวกับชุมชนแนวปฏิบัติ ต่อด้วยทำการทบทวนหลังการปฏิบัติ (After Action Review : AAR) เพื่อหาทางสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้ชุมชน  คุณเอื้อและคุณอำนวย นำผลการประชุมมาคิดยุทธศาสตร์หนุนให้เกิด ชุมชนแนวปฏิบัติต่อไป

                ข้อควรคำนึง อย่าจัดตั้งชุมชนแนวปฏิบัติจากคำสั่งของผู้บริหาร ควรให้เกิดชุมชนแนวปฏิบัติอย่างเป็นธรรมชาติเอง ที่แกนนำและสมาชิกเข้าไปจัดการเพราะเห็นคุณค่าต่อองค์กร ชี้ทางพัฒนาชุมชนเข้มแข็งตามปณิธานของกลุ่มสมาชิกที่มีความสุข สนุก และภูมิใจกับผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกชุมชน  ที่มีการสื่อสาร เรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ หรืออาจจัดตลาดนัดความรู้เฉพาะเรื่อง โดยเชิญผู้ที่มีผลสำเร็จน่าชื่นชมมาเล่าเรื่องความสำเร็จของตน บันทึกขุมความรู้ ทำ AAR สรุปประเด็นจาก AAR แล้วถามความสมัครใจกันที่จะร่วมก่อตั้งชุมชนแนวปฏิบัติเพื่อดำเนินกิจกรรมของชมรมร่วมกันต่อไป* เป็นต้น

 

5.  รูปแบบพื้นฐานของ การจัดการความรู้ ของ Ellias M.Award & Hassan M.Ghzari หรือ วงจรชีวิตตามแนวความคิดของการจัดการความรู้**  ได้กำหนดไว้ ดังนี้

ตอนที่ 5:

จริยธรรม, กฎหมายและการจัดการตามประเด็น

 

ใครเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางความรู้ จริยธรรม และประเด็นกฎหมาย

การจัดการความรู้แนวชุมชนปฏิบัติ

/ระดับปฏิบัติ

วิธีหรือแนวทางการจัดการความรู้ที่จำเป็น

อื่นๆ

ตอนที่ 3:

ขั้นประมวลความรู้และลงมือปฏิบัติ

ตอนที่ 4:

ขั้นการใช้เครื่องมือและช่องทางต่างๆในการจัดการความรู้

การประมวลความรู้

ระบบการทดสอบและการแปรขบวน

การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้

การถ่ายทอดความรู้ในโลก E-World

การเรียนรู้

จากข้อมูล

การเก็บข้อมูล

“ขุมความรู้”

และการค้นหาความรู้ใหม่ๆ

การใช้เครื่องมือและช่องทางการจัดการความรู้

ตอนที่ 1:

ขั้นพื้นฐาน

ทำงานสบายและดีกว่าเดิม

เข้าใจความรู้

วงจรชีวิตการจัดการความรู้

ตอนที่ 2:

ขั้นสร้างและค้นหาความรู้

การสร้างความรู้

และก่อสร้างความรู้

การค้นหา

ความรู้ฝังลึก

ใช้วิธีการแสวงหาความรู้รูปแบบต่างๆ

lเอกสารอ้างอิง:

  1. วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ.สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.พิมพ์ครั้งที่ 3. 2549*
  2. Ellias M. Award & Hassan M.Ghaziri. Knowledge Management. New Jersey, Pearson Prentice Hall.

       2004, pp. Preface XIX, 3**

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการความรู้ (knowledge management: KM) มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ

1. บุคลากร (people = workforce)

2. ความรู้ ประสบการณ์ หลักวิชาการ ทุนทางปัญญาขององค์กรและเทคโนโลยี (IT) ที่จำเป็น

3. ขบวนการทำงานต่างๆ ขององค์กร (organizational processes)

เมื่อมีองค์ประกอบสำคัญเหล่านี้แล้ว ก็ขึ้นกับคนทุกส่วนขององค์กรแล้วละว่า จะใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนในองค์กรได้มากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้เพื่อค้นหาสิ่งเหล่านี้ให้เจอ คือ

1. ค้นหาทุนทางปัญญาขององค์กร (intellectual capital)

2. จะเริ่มต้นอย่างไร ก็ต้องเริ่มต้นจากการร่วมกันวางแผนการ เพื่อดำเนินการอาจเริ่มจากเรื่องเล็กๆ ไปหาเรื่องใหญ่ๆ เริ่มทำจากสิ่งที่คิดว่าง่ายๆ ไปหาสิ่งที่ยากขึ้นไปตามลำดับ

3. นำทุนทางปัญญาที่ค้นเจอแล้วนั้น มาเป็นเครื่องมือทางปัญญา (ข้อมูล) ในการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ขึ้นในองค์กร เช่น เกิดวิธีการทำงานใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิมฯ

4. นำทุนทางปัญญาในตัวคนมาสร้างมูลค่าเพิ่ม/คุณค่าเพิ่ม แต่องค์กรบางแห่งทำไม่ได้เนื่องจากตัวทุนทางปัญญาเอง ปิดกั้นตัวเอง ทำให้คนอื่นๆ (ผู้อาวุโสน้อยกว่า) เข้าถึงได้ยาก (เล่นตัว) ฉันเก่ง (เชี่ยวชาญแล้ว) ความรู้ที่มีจึงกลายเป็นความรู้ความเก่งในตัวคน (tacit knowledge) ไม่เป็นประโยชน์เท่าที่ควร เมื่อเจ้าของความรู้ตายไป ความรู้ก็หายไปด้วย คน สังคม ตลอดถึงตัวเจ้าของความรู้เองก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร ถ้าเจ้าของความรู้คิดเสียว่า จะทำความรู้ในคนให้เป็นความรู้ที่อธิบายได้หรือให้คนอื่นร่วมเรียนรู้ได้ (explicit knowledge) ก็จะเป็นคุณแก่คน สังคม และตัวเองเป็นอย่างยิ่ง จะคิดว่า ทำบุญ ก็ได้นะครับ ส่วนผู้อาวุโสน้อยกว่า ก็ให้เกียรติผู้อาวุโสหน่อยเถอะครับ ท่านจะได้มีกำลังใจทำประโยชน์แก่คน สังคม องค์กรและประเทศชาติเยอะๆ นะครับ

5. พัฒนางานและการเรียนรู้เริ่มจากกิจกรรมกลุ่มย่อยๆ เช่น กิจกรรม 5 ส. กิจกรรมวงจรควบคุมภาพ ที่เขาเรียกกันว่า quality control circle = QCC นั่นแหละ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (continuous quality improvement = CQI และกิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถทำร่วมกัน ก็ได้ครับ

6. เรียนรู้และแสวงหาความรู้จากภายนอกองค์กร เช่น ไปประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ หรือไปเรียนรู้อะไรที่ไหนมา ก็นำมาจัดวง (ล้อมวง) จัดเวทีคุยกัน บอกเล่าเรื่องที่คุณค่าปละประโยชน์เหล่านั้นแก่เพื่อนร่วมงาน (เพื่อนช่วยเพื่อน = peer assist) แต่น่าเสียดายว่า คนบางส่วนไม่ยอมไปประชุม สัมมนา ฯลฯ เพราะไม่อยากไปเรียนรู้ จดบันทึก ทำรายงานที่ไปประชุมมา เพื่อนำความรู้กลับมาสู่องค์กร ส่วนใหญ่กลับมาแล้วก็ไม่ได้นำอะไรมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับใครเลย ความรู้ที่ได้จึงเป็นความรู้ในคนเหมือนเดิม

7. สร้างนวัตกรรมแนวราบ (horizontal innovative creation) พูดง่ายแต่ทำยากเข้าไปใหญ่ เพราะคนในองค์กรต้องเปิดใจกว้าง และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ เช่น การนำความรู้และประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่กระจัดกระจายอยู่องค์กร ซึ่งถ้านำมารวมกันได้ก็จะกลายเป็นจำนวนมาก และกลายเป็นคุณสมบัติพิเศษๆ ขึ้นมาได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อคนและองค์กรอย่างคาดไม่ถึงก็ได้ ผู้รู้หลายท่านกล่าวว่า เป็นผลกระทบจากการบินของผีเสื้อ (butterfly effect) ซึ่งมีผลต่อสิ่งต่างๆ รอบข้างได้อย่างมากมาย เพราะทุกอย่างในจักรวาลนี้ มีความเกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น ดังคำกล่าวที่ว่า เด็ดดอกไม้ดอกเดียวกระเทือนไปทั่วจักรวาล สิ่งเล็กน้อยบางครั้งก็อาจกลายมาเป็นคุณสมบัติพิเศษขององระบบในองค์กรได้ (complex adaptive system) สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในองค์กรได้จากการช่วยกันเสริมพลัง (empowerment) ให้แก่กันและกัน ถ้าทำอย่างนี้บ่อยๆ ทุกคนในองค์กรก็จะมองความปรารถนาดีที่มีต่อกันในองค์กร ก็จะเกิดความไว้วางใจกัน ในบรรยากาศเช่นนี้ จะสร้างอะไรร่วมกันในองค์กรก็จะทำได้ง่าย เช่น การสร้างปณิธานหรือเป้าหมายร่วมกัน (common goal หรือ common purpose) ก็จะเกิดขึ้นได้ สิ่งที่ทำดีๆ เหล่านี้ก็จะเป็นที่ยอมรับกันในองค์กร เมื่อทุกคนยอมรับและปฏิบัติตามไปนานๆ ก็จะกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร การทำงานในแนวราบ คือ การทำงานร่วมกันและมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันก็จะเปิดตัวของมันขึ้นมาเอง (coporate and transparent culture) ผู้บริหารและผู้ร่วมงานก็ไม่ต้องเครียด เพราะคอยชี้คอยตาม เพราะเมื่อยรรยากาศการทำงาน งานก็จะเดิน คนก็จะแฮปปี้ แต่ถ้าบรรยากาศแย่ งานก็จะหยุด ขาดๆ เกินๆ คนก็จะไม่ไว้ใจกัน ตั้งแง่เข้าหากัน ผู้คนก็เครียดล้มตายไปทีละคนสองคน ลาออก ย้ายที่ทำงานกันไป ที่ทำงานก็จะวังเวงๆ ยังไงชอบกล ขออย่าหน่วยงานไหนเป็นอย่างนี้เลยครับ

          ถ้าพูดการจัดการความรู้ ก็ต้องพูดถึงแนวความคิดแบบฝรั่งๆ ดูบางก็น่าจะดี เพราะฝรั่งเขาชอบทำอะไรๆ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้ค่อนข้างดีกว่าคนเอเชีย (คนเอเชียทำดีเหมือนกันนะครับ แต่มักจะเอาคนเป็นตัวตั้ง คือ ถ้าทำแล้วคนที่เกี่ยวข้องมีความสุขก็ทำเถอะดี ไม่เหมือนฝรั่งทำอะไรมักจะทำเพื่อความรู้ คือ ยึดความรู้เป็นหลัก = knolwedge for sake of knolwedge ใครจะเป็นอย่างไรไม่สนใจ เช่น พวกถ่ายทำสารคดี มด ฝรั่งลงทุนตั้งกองถ่าย ตั้งกล้องถ่ายทำ จนรู้ไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวมด ซึ่งคนเอเชียอาจะมองว่า ถ่ายทำไปทำไม ไม่เห็นจะมีประโยชน์อะไรก้บชีวิตประจำวันของคนเลย แต่จริงๆ อาจมีประโยชน์ทางหนึ่งทางใดก็ได้ครับ) เช่น คุณแอลเลียส เอ็ม อะวาร์ดและคุณฮัสซัน เอ็ม กะซารี (Ellias M.Award & Hassan M.Ghzari) ได้ให้รูปแบบพื้นฐานของการจัดการความรู้ เรียกว่า วงจรชีวิตของการจัดการความรู้ หรือ วงจรชีวิตตามแนวคิดของการจัดการความรู้ ที่จะให้ประโยชน์ไว้เป็นขั้นๆ ดังนี้

 ขั้นที่ 1 ขั้นพื้นฐาน จะทำให้ทำงานได้สบายและดีกว่าเดิม เพราะมีความรู้มากขึ้น มีวงจรชีวิตของการจัดการความรู้ดีกว่าเดิม

ขั้นที่ 2 ขั้นการสร้างและค้นหาความรู้ โดยจะต้อง สร้างความรู้และค้นหาความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคนออกมาให้ได้ ซึ่งอาจใช้วิธีการแสวงหาความรู้ในรูปแบบต่างๆ เข้ามาช่วยก็ได้

ขั้นที่ 3 ขั้นตอนของการประมวลความรู้และนำความรู้ไปสู่การลงมือปฏิบัติ เพื่อดูความเหมาะสมที่จะใช้ความรู้ดีหรือไม่ เพื่อทดสอบว่าระบบนั้นมีความแปรผันมากน้อยแค่ไหน ต้องจัดให้มีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งโดยตรง เช่น ให้คำแนะนำ การสอนงาน และโดยอ้อมจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้กันในโลกของอีเวิลด์ (E-world)

ขั้นที่ 4 ขั้นการใช้เครื่องมือและช่องทางต่างๆ ในการจัดการความรู้ เช่น จัดบรรยากาศให้เรียนรู้ข้อมูลได้มากขึ้น มีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นไว้เป็น ขุมความรู้ และมีการค้นหาความรู้มาเพิ่มเติมไว้เสมอ ตลอดถึงใช้ช่องทางการจัดการความรู้ตามช่องทางต่างๆ ตามความจำเป็น

ขั้นที่ 5 ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายและมีความสำคัญมาก คือ ขั้นการใช้จริยธรรม ใช้กฎหมายและการจัดบริหารจัดความรู้ตามประเด็นต่างๆ เพื่อทำให้การจัดการความรู้มีระบบมากขึ้น ถึงขนาดรู้ได้ง่ายว่า ใครเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรูดีในสาขาวิชาต่างๆ เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิทางความรู้ ทางจริยธรรม และประเด็นทางกฎหมายต่างๆ สร้างการจัดการความรู้ตามประเด็นและกฎหมายต่างๆ เมื่อความประสงค์ที่จะหาวิธีการหรือแนวทางการจัดการความรู้ ก็รู้ได้ว่า จะจัดการและหาความรู้ที่จำเป็นได้จากไหนบ้าง

          เมื่อสามารถดำเนินการ การจัดการความรู้ได้ตามวงจรชีวิตการจัดการความรู้นี้แล้ว ฝรั่งสองคนที่กล่าวชื่อมาข้างต้นเชื่อว่า การจัดการความรู้ก็จะประสบความรู้ความสำเร็จได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าจะทดลองวิธีการใหม่ๆ ด็ ก็ไม่เลวเลยละครับ แสดงว่า ท่านเริ่มคิดและใช้วิธีการทำงานตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 327106เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2010 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

การจัดการความรู้ของ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสถาบันฯ มีนโยบายให้สถาบันฯ มีการดำเนินด้านการจัดการความรู้ในองค์กร ทั้งนี้เพื่อดำเนินการให้สถาบันฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ว่า สถาบันเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สาธารณสุขมูลฐานและสุขภาพชุมชน

เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามนโยบายดังกล่าว ท่านผู้อำนวยการจึงมอบหมายให้สำนักงานสนับสนุนการวิจัย และสำนักงานสนับสนุนการวิจัยได้มอบให้ผมเป็นผู้ประสานงานหลัก (Institute main coordinator for knowledge management) ในเรื่องนี้ จึงได้เริ่มต้นดำเนินการดังต่อไปนี้

1. จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อค้นหารูปแบบและกระบวนการ การจัดการความรู้ การจัดเวทีครั้งแรกจึงได้เริ่มขึ้น เมื่อวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2552 โดยจัดเวทีระหว่างเวลา 12.00 - 13.30 น. ณ ห้องประชุม 2106 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สถาบันฯ มีความสนใจเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวน 13 คน

ผลจากการแลกเปลี่ยนรู้ในเวที ผู้ร่วมเสวนาร่วมให้ความหมายของคำว่า การจัดการความรู้ วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ ประโยชน์และคุณค่าที่จะได้รับจากการจัดการความรู้ และดำเนินการจัดการความรู้ให้มีความเชื่อมโยงกับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญขององค์กร เช่น การบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษานานาชาติมหาบัณฑิต สาขา การบริหารสาธารณสุขมูลฐาน (Master of Primary Health Care Management degree program : MPHM = ศศ.ม.) ทั้งการบริหารหลักสูตรและนักศึกษา การเตรียมการเพื่อการทำงานในพื้นที่ (field study or field work) การวิเคราะห็ข้อมูล จัดให้เวทีเสวนาเป็นสถานที่นำความรู้และความสำเร็จของการทำงานจากการปฏิบัติ หรือ ความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) ที่มีอยู่ในตัวคนขององค์กรมาเล่าสู่กัน นำมาถ่ายทอดแก่คนในองค์กร เพื่อให้ความรู้ฝังลึกในตัวคนกลายเป็นความรู้ที่เรียนรู้ได้ (expliciat knowledge) ซึ่งอาจจัดในรูปแบบการเล่าเรื่อง (storytelling) ก็ได้ เป็นต้น

สารสำคัญของการเวทีเสวนาเพื่อ การจัดการความรู้ ครั้งนี้ ได้วางขอบเขตการจัดเวที การจัดการความรู้ไว้ ดังนี้

1. การหารูปแบบ การจัดการความรู้ ที่เหมาะสมกับองค์กร

2. การจัดการความรู้ที่ตรงกับความสนใจของบุคลากร

3. ดำเนินการจัดการความรู้ที่เอื้อต่อการเกิดขึ้นของ ชุมชนนักปฏิบัติ (community of practice: CoP)

4. จัดบรรยากาศ การจัดการความรู้ ให้เป็นกลุ่มวิชาการ กลุ่มวิจัย

5. จัดบรรยากาศ การจัดการความรู้ ที่เปิดโอกาสให้บุคลากรส่วนใหญ่ขององค์กรเข้าร่วมกิจกรรมได้ ทุกสำนักงานจึงต้องมีส่วนร่วม

6. อาจใช้กระบวนการฝึกอบรม โดยกำหนดหัวข้อ (topic) ต่างๆ เพื่อชักชวนให้กลุ่มต่างๆ ในองค์กรมีส่วนร่วม เช่น กลุ่ม 12 ราศี จัดเป็นเวทีของการสื่อสาร ส่วนเวทีเสวนาให้จัดเป็นเวทีวชาการ

7. ให้จัดเวทีเสวนาเป็นประจำทุกเดือน ในส่วนของนักศึกษานานาชาติ ให้มีการนำเสนอและเปิดโอกาสให้มีการสนทนา (discuss) เป็นเรื่องๆ ไป

8. ในส่วนของการวิจัย ให้ผู้วิจัยนำข้อมูลที่เก็บได้แล้วมาเล่าสู่กันฟัง จัดเป็นประเด็น (issue) และหัวข้อ (topic) ที่ชัดเจน น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง เช่น อาจารย์ของสถาบันฯ นำงานที่ยังทำไม่เสร็จมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเชิงกระบวนการ (process) ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการก็ได้

9. มีการจัดฝึกอบรมและการศึกษาตามความสนใจและเพิ่มความรู้ ศักยภาพ

10. สนับสนุนให้บุคลากรของสถาบันฯ มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพในการเผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารวิชาการ เป็นต้น

การเสวนาจัดการความรู้เรื่อง "การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วม" นำการเสวนาโดย อาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ และคณะผู้ร่วมวิจัย "โครงการเสริมพลังและพัฒนาเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพชุมชนร่วมใจต้านภัยบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน : สุขศึกษาชุมชนและการเรียนรู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง" วันจันทร์ ที่ 22 มิถุนายน 2552 ณ ห้องประชุม 2106 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

แพทย์หญิง สุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวนำเข้าสู่การเสวนาและเปิดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้

1. กระบวนการ การจัดการความรู้ (process of knowledge management: KM) ของสถาบันฯ

การจัดการความรู้ของสถาบันฯ ดำเนินการตาม แบบการประเมินตนเอง มหาวิทยาลัยมหิดล ในส่วนของ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ประจำปี 2552 เพื่อรองรับการประเมินจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพ ซึ่งประเด็นการจัดการความรู้เป็นเนื้อหาขององค์ประกอบ 1.4 ที่ประกอบไปด้วยหลักการ (principles) กระบวนการ (process) และผลลัพธ์ (results) ที่เกิดจากการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน คือ

1. การวางแผน (plan)

2. การดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นรูปธรรม (do)

3. การประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ (check)

4. การนำผลการดำเนินงานมาจัดทำมาตรฐานที่ปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอ (act)

5. มีการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (continuous improvement)

6. มีการพัฒนางานจนเกิดเป็นรูปแบบการทำงานแนวใหม่หรือนวัตกรรม (breakthrough/innovation)

7. ก่อเกิดความเป็นเลิศ (best practicek) จากพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2. การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วม

อาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ หัวหน้า "โครงการเสริมพลังและพัฒนาเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพชุมชนร่วมใจต้านภัยบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน : สุขศึกษาชุมชนและการเรียนรู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง" ร่วมกับคณะผู้วิจัยร่วม คือ อาจารย์ ณัฐพัชร์ ทองคำ นายเริงวิชญ์ นิลโคตร นายกานต์ จันทวงษ์ นายสนั่น ไชยเสน และนายศราวุธ ปรีชาเดช ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่เกิดจากการดำเนินการวิจัยอย่างมีส่วนร่วมกับกองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข และชมรมสร้างเสริมสุขภาพ 4 ภาค 8 จังหวัด คือ

ภาคเนือ : จังหวัดลำพูน และจังหวัดกำแพงเพชร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดบุรีรัมย์

ภาคกลาง : จังหวัดนครนายก และจังหวัดจันทบุรี

ภาคใต้ : จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล

ภายใต้การประสานงานและสนับสนุนงบประมาณดำเนินการของ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ (ศจย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รับบทเรียนจากเครือข่ายเรียนรู้และพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานและสุขภาพชุมชน กล่าวคือ

1. ประเด้น : เป็นประเด็นจากท้องถิ่น-ประเด็นร่วมของท้องถิ่น และผสมผสานประเด็นนโยบายสุขภาพ

2. เป้าหมาย : ครอบคลุมเป้าหมาย ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ของจังหวัดที่ดำเนินการ เน้นเครือข่ายปัจเจก เครือผู้นำจิตอาสา และการรวมกลุ่มจัดการการส่งเสริมและการสร้างเสริมสุขภาพในระบบสุขภาพปฐมภูมิ ประกอบด้วย ... องค์กรท้องถิ่น ชมรมสร้างสุขภาพ กลุ่มประชาคมอาสา และเครือข่ายปัจเจกในชุมชน สามารถยกระดับการดำเนินโครงการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตให้เข้มแข็ง และจัดองค์กรเพื่อบริหารจัดการการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามบรบทของท้องถิ่น

3. ผลที่ได้ : มีผลที่ได้จากการดำเนินโครงการ ดังนี้

3.1 กลุ่มและโครงการที่ดำเนินการอยู่ในชุมชน ของ สสส. และหน่วยงานต่างๆ ยกระดับการจัดการ มีแนวทางที่ชัดเจนดีขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น และสะท้อนการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น สนองตอบต่อปัญหาของท้องถิ่น และบูรณาการมิติต่างๆ ที่จำเป็นของชุมชนดีขึ้น

3.2 พัฒนาเครือข่ายผู้นำ เครือข่ายวิชาการ เครือข่ายวิทยากรกระบวนการ เครือข่ายถอดบทเรียน ดำเนินการสาธารณสุขมูลฐานและสุขภาพชุมชนในแนวทางใหม่ ได้พอเพียง

3.3 มีแหล่งเรียนรู้และปฏิบัติการวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง เหมาะสม ด้านการสร้างเสริมสุขภาพในบริบทของงานสาธารณสุขมูลฐาน และในระบบสุขภาพปฐมภูมิ

3.4 ได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาตนเองในการจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ สาธารณสุขมูลฐานและสุขภาพชุมชน

3.5 องค์ความรู้ สิ่งตีพิมพ์ สื่อ และนวัตกรรมการทำงานที่ใช้ได้จริงในชุมชน

3.6 การเคลื่อนไหวนโยบายและเวทีเรียนรู้สาธารณะ

4. รูปแบบการรณรงค์ภาวะปลอดบุหรี่ที่เกิดขึ้นและพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม

4.1 รูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ที่เกิดกระบวนการสื่อเสริมพลัง และแหล่งเรียนรู้ดีเลิศหรือ,มีวิธีการดำเนินโครงการที่ดีเลิศ (best practice)

4.2 เครือข่าย อสม.น้อย จังหวัดจันทบุรี

4.3 เครือข่ายคลื่นวิทยุสุขภาพ จังหวัดสตูลและจังหวัดลำพูน

4.4 เครือข่ายบูรณาการโรงเรียน-ท้องถิ่น จังหวัดนครนายก และจังหวัดกาฬสินธุ์

4.5 เครือข่ายจิตอาสา ละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

4.6 เครือข่ายเยาวชนจิตอาสาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น

ผลการดำเนินงานเหล่านี้ เกิดจากความร่วมมือ กระบวนการเรียนรู้เสริมพลัง กระบวนการประเมินการดำเนินงาน และรูปแบบของเครือข่ายที่ได้ ก่อให้เกิดกระบวนการของกลุ่มจัดการที่พัฒนาอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนตามบริบทของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น กล่าวคือ

1. มีแผนงาน (plan)

2. มีการดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นรูปธรรม (do)

3. มีการประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ (check)

4. มีการนำผลการดำเนินงานมาจัดทำโครงการอย่างสม่ำเสมอ

5. มีการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (continuous improvement)

6. มีการพัฒนางานจนเป็นรูปแบบการทำงานแนวใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ (breakthrough / innovation)

ครือข่ายต่างๆ ของท้องถิ่นเหล่านี้ เป็นแหล่งเรียนรู้หรือเครือข่ายชุมชนและการนิเทศงานชุมชน เป็นพื้นที่ตัวอย่างของการฝึกงาน/ศึกษาดูงาน / การถ่ายทอดความรู้ โดยการใช้สื่อท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในเชิงกระบวนการได้ส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม ได้แนวคิดในการปรับวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับพื้นที่ ได้วิธีการสื่อสารระหว่างบุคคล เกิดการเรียนรู้ในพื้นที่แบบออลไลน์ ได้วิธีการสรุป การถอดบทเรียนในเวที การทบทวนหลังจากการปฏิบัติการ และการระดมชุมชน เช่น การสำรวจชุมชนด้วยวิธีการที่เหมาะสมอื่นๆ ชุมชนเป็นห้องแล็บของสังคม (social lab) ที่บริหารจัดการเฉพาะเรื่อง เช่น การสัมภาษณ์เดี่ยวๆ การจัดการพูดคุยเป็นกลุ่ม เป็นต้น

การาจัดการความรู้เรื่อง "การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย : Routine to Research Development (R2R)" โดย ดร.บังอร เทพเทียน และนายเกรียงศักดิ์ ซื่อเสื่อม สำนักงานสนับสนุนการวิจัย ณ ห้องประชุม 2106 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา วันจันทร์ ที่ 27 กรกฎาคม 2552

แพทย์หญิง สุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสถาบันฯ นำเข้าสู่เวทีเสวนาและเปิดเวทีเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ดร. บังอร เทพเทียน นำเสวนาตามลำดับ ดังนี้

1. กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของสถาบันฯ ดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับเครือข่ายการเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวคือ การดำเนินงานของสำนักงานอธิการบดี คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น 2. ผลที่ได้จากการดำเนินโครงการ

2.1 หน่วยงานที่รับผิดชอบหรือดำเนินโครงการ ในเบื้องต้นได้หน่วยงานประมาณ 5 หน่วยงาน ที่สนใจเข้าร่วมกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยคือ 1) สำนักงานผู้อำนวยการ 2) สำนักงานสนับสนุนการวิจัย 3) สำนักงานสนับสนุนการบริการวิชาการ (ฝึกอบรม) 4) สำนักงานวิทยบริการ (IT) และ 5) สำนักงานสนับสนุนการศึกษา (PMHM)

2.2 ประเด็น/หัวข้อการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ระยะแรก มีดังนี้

- การให้บริการด้านธุรการที่มีประสิทธิภาพ โดย สำนักงานผู้อำนวยการ

- คู่มือการให้บริการด้านโสต สื่อในองค์กร โดย สำนักงานวิทยบริการ

- การสำรวจความพึงพอใจผู้ที่จบการศึกษา (นักศึกษา) หลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ สาขา การบริหารสาธารณสุขมูลฐาน และ คู่มือการปฏิบัติงานด้านการเงินและการบริหารจัดการทางการศึกษาของหลักสูตร การบริหารสาธารณสุขมูลฐาน โดย สำนักงานสนับสนุนการศึกษา

- การให้บริการวารสารสาธารณสุขมูลฐานและการพัฒนา โดย สำนักงานสนับสนุนการวิจัย

2.3 นโยบายการดำเนินงานวิจัยพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย

     มีนโยบายให้ทุกสำนักงานดำเนินการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยให้สอดคล้องและสนับสนุนยุทธศาสตร์การทำงานของสถาบันฯ คือ ให้ดำเนินการ 1) ค้นหา 2) สร้างองค์ความรู้ 3) ให้ทีมนักวิจัย (core team) ของสถาบันฯ เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย คอยให้ความช่วยเหลือในเรื่องระเบียบวิธีการวิจัย/วิชาการ การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานการวิจัยของสำนักงานต่างๆ สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการการศึกษาและการฝึกอบรม และการสัมมนาวิชาการประจำปีของสถาบันฯ

2.4 กระบวนการสนับสนุน

     1) ผู้อำนวยการสถาบันฯ เป็นที่ปรึกษา (resource person) แก่ผู้ทำวิจัยและนักวิจัยคอร์ทีม

     2) นักวิจัยคอร์ทีม ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ทำวิจัย ดังนี้

         (1) ดร.บังอร เทพเทียน เป็นประธานที่ปรึกษา/หัวหน้าคลินิคการวิจัย ดูแลการวิจัยในภาพรวม

         (2) นายเริงวิชญ์ นิลโคตร เป็นที่ปรึกษาของสำนักงานสนับสนุนการบริการวิชาการ (ฝึกอบรม)

         (3) นางสาวปรินดา ตาสี เป็นที่ปรึกษาของสำนักงานวิทยบริการ

         (4) นางสาวปราณี สุทธิสุคนธ์ เป็นที่ปรึกษาของสำนักงานสนับสนุนการศึกษา (MPHM)

         (5) นายเกรียงศักดิ์ ซื่อเลื่อม เป็นที่ปรึกษาของสำนักงานผู้อำนวยการ

         (6) นางสาวดุษณี ดำมี เป็นผู้ประสานงานหลักและให้ความช่วยเหลือการดำเนินงานวิจัยของผู้วิจัย

         สำนักงานต่างๆ มีบทบาทและหน้าที่ในการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คือ

         1) หัวหน้าสำนักงาน ให้ความช่วยเหลือในการนำงานประจำมาสู่การพัฒนาเป็นงานวิจัย

         2) จัดให้มีระบบการเสริมพลังสำหรับผู้ทำงานวิจัย R2R อย่างมีคุณภาพ เช่น การให้รางวัล เป็นต้น

         3) จัดลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานระยะแรก

             (1) ประชุมทำงานแผนการวิจัย/โครงการวิจัย

             (2) เสนอขออนุมัติโครงการวิจัยจากผู้อำนวยการสถาบันฯ

             (3) จัดตั้งทีมงานศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้าน R2R เช่น การไปร่วมประชุม ฝึกอบรม เพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาให้ความช่วยเหลือและพัฒนาทีมวิจัยขององค์กร

             (4) ลงมือดำเนินการวิจัย

             (5) จัดเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานวิจัย เป็นต้น

การเสวนาจัดการความรู้ เรื่อง "การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริหารจัดการ" โดย อาจารย์ นายแพทย์ จำรูญ มีขนอน อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล วันจันทร์ ที่ 17 สิงหาคม 2552 ณ ห้องประชุมบุญศิริ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

อาจารย์ นพ.จำรูญ มีขนอน กล่าวเปิดและนำเข้าสู่การเสวนาประจำเดือนสิงหาคม 2552การเสวนานี้ จัดขึ้นเพื่อเสริมพลังด้านการสร้างมาตรฐานคุณภาพ (QA) ด้านการบริหาร ในการจัดการความรู้ของสถาบันฯ ซึ่งเสริมให้บุคลากรด้านการบริหารขององค์กร สามารถร่วมปฏิบัติงานร่วมกันในบรรยากาศที่มีความรู้สึกสะดวก สบายและมีความสุข อาจารย์จำรูญ บอกว่า ได้เรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานมาในสายงานกระทรวงสาธารณสุข จากเริ่มต้นจนเกษียณในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้แลกเปลี่ยนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริหารจัดการ ในการเสวนาครั้งนี้ไว้ ดังนี้

1. มาตรฐานคุณภาพด้านการบริหาร องค์กรต้องมีวิสันทัศน์ร่วม (shared vision) มีตัวบ่อชี้หรือตัวชี้วัด (indicator) มีผู้นำหรือผู้บริหารแสดงบทบาทเป็นผู้กำหนดแนวทางและเป้าหมาย ให้ชัดเจน เพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่การปฏิบัติ

2. มีการชี้นำหรือให้คำปรึกษา (advice or counseling) ระบบบริหารจัดการจะดำเนินการได้อย่างมีพลังมากขึ้น เมื่อมีผู้บริหารเป็นผู้นำทาง นำไปในเส้นทางที่ถูกต้อง เหมาะสม ดังนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องมีวิธีการที่จะสามารถนำคนจำนวนมากในองค์กรมาทำอะไร (ภารกิจ) ร่วมกันได้ (ดี) ซึ่งถือว่า เป็นการบริหารจัดการอย่างหนึ่ง แต่ในกระบวนการทำงานนั้นๆ ต้องสร้างให้บรรยากาศการทำงานร่วมกันมีความสนุก สะดวก และสบาย เป็นสำคัญ

3. ใช้รูปแบบการทำงานแบบผสมผสานระหว่างการปกครอง การบริหารและการจัดการ  เพื่อสร้างการบริหารจัดการแบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (good governance) ดำเนินให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ (transparency and check) ที่ผู้ร่วมงานทุกคนรู้เห็นเหมือนยืนดูอยู่ใกล้ๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเรียนรู้จากการได้รับจากข้อมูล และการมีส่วนร่วม นั้นคือ การดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมที่เกิดจาก Participatory auditory มากกว่าการสั่งการ มีความรับผิดชอบสูง (responsiveness) สามารถตอบคำถามได้ทุกคำถาม ลักษณะการทำงานแบบนี้ บริษัทเอกชนหลายแห่งที่ประสบความสำเร็จใช้ดำเนินการมานานแล้ว เช่น เรื่อง การควบคุมคุณภาพ (quality control) ที่เป็นหลักการสร้างหลักประกันคุณภาพ (total efectiveness) ซึ่งสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความประหยัด (cost effectiveness) ด้วย เป็นกระบวนการทำงานที่ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดและได้เนื้องานมากที่สุด

4. ระบบการประกันคุณภาพ (quality assurance : QA) คือ ต้องมีกลไกที่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกคน คนที่ทำงานมาก ทำงานหนัก ต้องได้รับผลตอบแทนหรือค่าตอบแทนมากกว่าคนที่ทำงานน้อย ยกตัวอย่างเหมือนระบบในร่างกายของคน ที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัด 2009 (กลไกการหรือระบบการหายใจ) ที่ดีได้นั้น ทั้งปอด หัวใจและเส้นเลือด ต้องทำงานสอดคล้องประสานกันได้ดี ระบบการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมก็เช่นเดียวกัน ต้องจัดให้มีระบบในการควบคุม กำกับ ให้มีคุณภาพ และต้องใส่การป้อนเข้า input ทั้งกำลังคน กำลังเงิน และเครื่องมือในการพัฒนาผู้นำ การจัดทำแผนกลยุทธ์ ให้มีความพร้อมเหมือนกับการทำสงครามหรือการเดินเข้าสู่สงคราม ก็ต้องวางแผนก่อน เมื่อวางแผนแล้วก็ต้องทำให้ประสบความสำเร็จตามแผน เพราะถ้าไม่ทำให้สำเร็จตามแผน ก็อาจหมายถึง เกิดความเสียหาย ความพ่ายแพ้ หรือความตายก็ได้ การทำงานก็เชนเดียวกัน ไม่ใช่ทำงานเพื่อใช้เงินงบประมาณของแผ่นดินให้หมดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำให้งานสำเร็จด้วย คนที่ทำงานจึงอย่าคิดเพียงว่า ไม่จำเป็นต้องมีหรือใช้แผนกลยุทธ์ก็ได้ มีเงินเท่าไหร่ก็ใช้เสียให้หมดก็พอแล้ว เมื่อปีงบประมาณใหม่มาถึงเดี่ยวก็มีงบประมาณใหม่มาให้ทำเอง ถ้าคนทำงานคิดอย่างนี้ ก็น่าเสียดายงบประมาณที่เป็นภาษีของประชาชนที่ถูกใช้ไปอย่างสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

5. หลักฐาน/ข้อมูล (supporting document /information) อาจารย์  นพ.จำรูญ มีขนอน กล่าวถึงหลักฐานและข้อมูลว่า การที่จะดำเนินงานให้มี มาตรฐานคุณภาพการบริหาร ได้นั้น จำเป็นต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ตัวของมาตรฐานคุณภาพ ตัวบ่งชี้หรือตัวชี้วัด (indicator) และหลักฐานและข้อมูลที่จำเป็น ซึ่งมีความสำคัญตามลำดับ ดังต่อไปนี้

          องค์ประกอบที่ 1              องค์ประกอบที่ 2             องค์ประกอบที่ 3

             ภาวะผู้นำ                 การบริหารเชิงกลยุทธ์           ทรัพยากรบุคคล

(1) มาตรฐานคุณภาพ               (1) มาตรฐานคุณภาพ          (1) มาตรฐานคุณภาพ

ผู้นำกำหนดทิศทาง เป้าหมาย     มีระบบการศึกษา วิเคราะห์    มีการพัฒนาเสริมสร้าง

ทั้งระยะสั้นและระยะยาว            ปัจจัยต่างๆ เพือกำหนด       ศักยภาพและความก้าว

มีความรับผิดชอบต่อชุมชน         ทิศทาง เป้าหมายในการ       หน้าของบุคลากรทุกและสังคม มีการถ่ายทอดสู่         ทำแผนกลุทธ์ ให้มีความ       สายงานอย่างต่อเนื่อง

บุคลากรทุกระดับ                     สอดคล้องกับยุทธศาสตร์

                                           หลักของมหาวิทยาลัย

                                           และของชาติ

(2) ตัวบ่อชี้ (indicator)    (2) ตัวบ่อชี้ (indicator)    (3) ตัวบ่อชี้ (indicator)

ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่จะใช้        กำหนดแผนกลยุทธ์ให้        ร้อยละของบุคลากรที่ได้ในการขับเคลื่อนพันธกิจและ     เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์       รับการพัฒนาความรู้และเป็นตัวสะท้อนให้เป็นนโยบาย   ชาติ กำหนดปรัชญา/           ทักษะวิชาชีพทั้งในและและวัตถุประสงค์ของการ         ปณิธาน กระบวนการพัฒนา    ต่างประเทศ ร้อยละของบริหารแบบมีส่วนร่วม         กลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน    ของอาจารย์ประจำที่

                                        พร้อมตัวบ่งชี้ เพื่อวัดความ      เข้าร่วมประชุมวิชาการ

                                        สำเร็จให้ครบถ้วนทุกภารกิจ     หรือเสนอผลงาน

                                                                                วิชาการทั้งในและต่าง

                                                                                 ประเทศ 

(3) หลักฐาน/ข้อมูล            (3) หลักฐาน/ข้อมูล                (3) หลักฐาน/ข้อมูล 

มีเอกสารวิสัยทัศน์ พันธกิจ     มีผลการวิเคราะห์ SWOT         มีแผนพัฒนาบุคลากร

และเป้าหมายที่ชัดเจน          ขององค์กร ประกอบการทำ       แต่ละสายงาน มีราย

และมีการถ่ายทอดสู่             แผนกลยุทธ์ขององค์กร            งาน/โครงการ กิจกรรม

บุคลากรทุกระดับ มีเอกสาร    มีเอกสาร/หลักฐานที่แสดง        การพัฒนาบุคลากร มี

ยืนยันฯ เช่น มีบันทึก            ความสอดคล้องกับแผนงาน       การกำหนดลำดับขั้น

การประชุมคณะกรรมการ        มหาวิทยาลัยมหิดล                 ความก้าวหน้าของ

ชุดต่างๆ ตลอดถึง   

คณะทำงานกิจกรรมพิเศษ

ทุกคณะ ทุกครั้ง เป็นต้น   

การเสวนาจัดการความรู้ เรื่อง "บทเรียนชีวเกษม: การสร้างสุขภาวะทางปัญญา" วันจันทร์ ที่ 28 กันยายน 2552 ณ ห้องประชุม 2106 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

          คุณกานต์ จันทวงษ์ นำเข้าสู่การเสวนาในประเด็น โดยมีอาจารย์ (คำที่เครือข่ายชีวเกษมและมนัสเกษมส่วนใหญ่เรียก เพราะความรักและความเคารพ) ปรีชา ก้อนทอง ประธานสถาบันชีวเกษม ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเติมเต็มความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ซึ่งเป็นบทเรียน (lesson learned) และความรู้ฝังลึกที่มีอยู่ในตัวคน (tacit knowledge) ผ่านการปฏิบัติจริง นำมาเล่าเป็นเรื่อง (story telling) เพื่อสื่อสารให้กลายเป็นความรู้ที่คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ (explicit knowledge) ของสถาบันชีวเกษม ที่ได้ดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 นับเวลาได้ 10 ปีกว่าๆ แล้ว ตามที่พอจะสรุปเนื้อหาของการเสวนาได้ ดังนี้

1. โลกทัศน์ (World view) แบบชีวเกษม สมาชิกเครือข่ายชีวเกษมซึ่งเป็นกัลยาณมิตร มีความเชื่อและศรัทธาในแนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับการมีสุขภาพดีว่า หมายถึง การมีสุขภาวะของชีวิตที่เป็นปกติสุขสมบูรณ์ เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม (holistic health) ของชีวิตอย่างมีดุลยภาพ (balance) เช่น การมีอายุยืนยาวอย่างปกติสุข การดำรงชีวิตที่พอเพียง พอดี การได้อยู่ในสังคมที่มีความไว้วางใจกัน และการมีสติปัญญาครองชีวิตบรรลุถึงความสุข ดังนั้น ชีวเกษม จึงดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างสุขภาวะทางปัญญา ในรูปแบบของการสร้างเสริมสุขภาวะทางสาธารณะแบบชีวเกษม คือ การออกกำลังกาย (ที่พอดี) การฟื้นกำลังใจให้แก่ชีวิต ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาปัจเจกชน (individual) ให้มีสุขภาวะเพื่อไปสร้างเสริมสุขภาวะสาธารณะร่วมกัน โดยการพัฒนาชีวิตให้บรรลุถึงสุขภาวะผ่านกระบวนการ (มิติ) ทางปัญญา

2. กิจกรรมและการเคลื่อนไหว (activities and movement) ชีวเกษมจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว เพื่อขับเคลื่อนสุขภาพทั้งทางกายและทางใจ ดังนี้

          (1) สุขภาพทางกาย (physical health) ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การรำกระบองป้าบุญมี ในระยะแรกๆ ป้าบุญมีจะเดินทางมานำการออกกำลังกายด้วยตัวเอง เวลาต่อมาก็จะทำกันเอง การบริหารร่างด้วยโยคะ การรำมวยไท้เก็ก - จี้กง การทำกิจกรรมล้อมวงกินข้าวจับเข่าคุยกัน (การรับรู้สาระทุกข์-สุขดิบร่วมกัน) ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบมีผู้พร้อมที่จะให้ต่อผู้ใฝ่ใจที่จะรู้ ร่วมเคลื่อนไหวพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น

          (2) สุขภาพทางใจ (mental health and spiritual health) เริ่มจากการตั้งจิตปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข มีการฝึกฝนการเจริญจิตตภาวนา หรือเจริญสติภาวนา เพื่อการจำเริญสติและการทำกิจกรรมมนัสเกษม

          (3) การดูแล (สุขภาพ) ตัวเองและการเรียนรู้/การศึกษานอกห้องเรียน (self [health] care and learning /outdoor classroom) คือ การทำกิจกรรมทัศนศึกษาเกี่ยวกับวัดประวัติศาสตร์ มีการเรียนรู้/ศึกษาเรื่องอาหาร น้ำอาร์ซี น้ำฟักทอง อาหารจากชมรมผู้สูงอายุ มีการรณรงค์ของกลุ่มจิตอาสา จิตสาธารณะและผู้สูงอายุ เป็นต้น

3. การสร้างการเรียนรู้ สร้างพลังการเปลี่ยนแปลงสังคม (building learning and building social changing power) ดำเนินการสื่อสารกับสังคมผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ทีวีรายการโลกสีน้ำเงิน เคเบิ้ลทีวี ยูบีซี คอลัม (หนังสือพิมพ์) ลมหายใจสีเขียว รายการวิทยุและวิทยุชุมชน นิตยสารรายสัปดาห์ เครือข่ายวิทยากร ชมรมในหมู่บ้าน (เอกสารเผยแพร่) สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล วัด ชุมชน และสภาวัฒนธรรมอำเภอพุทธมณฑล เป็นต้น

4. ผลกระทบ (impact) และผลสืบเนื่อง (outcome) สมาชิกซึ่งเป็นกัลยาณมิตรที่เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพทั้งทางกาย ทางใจ ทางสังคมและสภาพแวดล้อม ตลอดถึงสติปัญญาดีขึ้น สมาชิกหลายคนกลายเป็นแกนนำสร้างเสริมสุขภาพสาธารณะในการอยู่ร่วมกัน ร่วมทุกข์-ร่วมสุขด้วยกัน ความมีน้ำใจ การเอาใจมาก่อนของกลุ่มคนที่เข้ามาร่วมกิจกรรม จึงก่อให้เกิดเครือข่ายต่างๆ ขึ้นมา เช่น เครือข่ายอาหารปลอดภัย ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ

5. ปัจจัยความสำเร็จ (successful factors) ชีวเกษมสามารถดำเนินกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จได้ เนื่องมาจากการอาศัยปัจจัยที่สำคัญ คือ การมีกัลยาณมิตร การเอาใจใส่ต่อกันและกันของกลุ่ม ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการจัดการแบบไม่จัดการ กล่าวคือ สมาชิกที่เป็นกัลยาณมิตรอาสาทำกิจกรรมตามความสนใจและความถนัดของตนเอง แบบจิตอาสา โดยใช้หลักพุทธธรรม คือ หลักแห่งปัญญาเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม จึงส่งผลให้สมาชิกมีความไว้วางใจ มีความคุ้นเคยฉันท์เพื่อน พี่ น้องกัน

6. อนาคตของชีวเกษม (future of Peaceful Institute for life ) ในระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา สถาบันชีวเกษมได้ดำเนินกิจกรรมร้านอาหารเพื่อสุขภาพชื่อว่า "ร้านเบิกม่านเพื่อสุขภาวะ" ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 135/550 หมู่ที่ 6 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมรฑล จังหวัดนครปฐม ด้านหน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จัดกิจกรรมเจริญสติภาวนา "เปิดประตูใจ" เป็นประจำทุกเดือนที่หอฉันพุทธมณฑล ด้านทิศใต้ และปัจจุบันได้ขยายกิจกรรมและแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมให้ครอบคลุมไปถึงครอบครัว กลุ่มนักศึกษา กลุ่มให้บริการสังคม ในรูปของการาจัดการเพื่อพัฒนาควาร่วมมือ โดยเปิดพื้นที่ปฏิบัติการแห่งใหม่ ซึ่งตั้งชื่อตามธรรมพรของ พระเดชพระท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน ในชื่อ "เบิกฟ้าธรรมาศรม" ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านเขาธง ตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสพรรณบุรี ที่ได้ดำเนินการสืบเนื่องมาจากร้านเบิกม่านเพื่อสุขภาวะ ซึ่งปัจจุบันได้ยกระดับเป็น สถาบันชีวเกษม

7. ปัญหาและอุปสรรคสำคัญของสถาบันฯ คือ กัลยาณมิตร (good friends) ที่ไปเยี่ยมและปฏิบัติธรรมเจริญสติภาวนาที่สถาบันถามว่า ชีวเกษม มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมอะไรบ้าง ซึ่งก็พอจะตอบได้ว่า คือ มีปัญหาและอุปสรรคในการบริหารเวลา เนื่องจากสมาชิกที่เป็นกัลยาณมิตรส่วนใหญ่มาจากกลุ่มที่หลากหลาย มาด้วยจิตสาธารณะจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงจัดสรรเวลาพบปะกันได้ยาก จึงมักจะกำหนดทำกิจกรรมกันในช่วงเวลาเย็นๆ หรือไม่ก็เวลากลางคืน หรือวันเสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ เป็นประจำ

          อนึ่ง สถานที่ในการจัดกิจกรรมก็มีไม่เพียงพอ เนื่องจากสถาบันฯ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (non-profit organization) ดำเนินกิจกรรมของสถาบันทุกอย่างที่ผ่านมาแบบให้บริการฟรี ไม่เก็บค่าลงทะเบียน จึงมีทุนไม่เพียงพอในการจัดหาที่ดินหรืออาคารสถานที่เป็นของสถาบันเอง ต้องเช่าบ้านทาวเฮาส์เป็นที่จัดกิจกรรม เรียกชื่อว่า "ร้านเบิกม่านเพื่อสุขภาวะ" ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้าน ศาลายานิเวศน์ หน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ดังกล่าว โดยมีโรงเรียนบ้านพลอยภูมิจ่ายค่าเช่าให้ในอัตราเดือน 7,000 บาท

8. บทเรียน: การสร้างเสริมสุขภาพจิตวิญญาณ ผลลัพธ์ที่กลุ่มกัลยาณมิตรได้เข้าร่วมกิจกรรมของสถาบันชีวเกษม คือ ได้บทเรียนที่เป็นการเรียนรู้และประสบการณ์เป็นสุขภาวะแก่ชีวิต มีความสุขเกษม ซึ่งให้ความสุขทั้งทางร่างกาย จิตใจ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นสุขภาพทางปัญญา แก่ปัจเจกชน ครอบครัว (มีผู้เข้าเจริญสตภาวนาเป็นครอบครัว) โรงเรียน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมสะท้อนว่า เป็นมงคลธรรมสูงสุดในชีวิต (มนุษย์) ของตนเอง ตามมงคลสูตร ที่ว่า "ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ, จิตตัง ยัสสะ นะกัมปะติ, อะโสกัง วิระชัง เขมัง, เอตัมมังคะละมุตตะมัง" ซึ่งแปลว่า ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก เท่าทันโลก ชีวิต (สุข) เกษม หลายๆ คน แม้ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายเช่นนี้ได้ แต่ก็มีความเชื่อมั่นว่า ได้เดินมาถูกทางแล้ว ต่างก็ตั้งใจว่า จะขยายผลไปสู่สาธารณะเท่าที่ความสามารถของตนเองจะได้ทำได้ จึงขอสาธุอนุโมทนาในกุศลเจตนาของทุกท่านจริง ๆ ครับ  

 

การเสวนา จัดการความรู้ เรื่อง "การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน : Reaching out ASEAN Countries" วันจันทร์ ที่ 26 ตุลาคม 2552 ณ ห้องประชุม 2106 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิเศษ ดร.เนตร หงษ์ไกรเลิศ รองผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวเปิดการเสวนา และเชิญคุณฑิพรดา กองตาพันธ์ และ Mr.Fructuoso V.Eclipse จากสำนักงานสนับสนุนการศึกษา (MPHM) นำการเสวนาตามประเด็น และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าเสวนาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

          1. การเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ในฐานะเป็นสถาบันวิชาการแห่งหนึ่ง ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีภารกิจที่ดำเนินการตาม

             1.1 มี วิสัยทัศน์ : จำดำเนินงานเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่ชี้นำการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานและสุขภาพชุมชน ในระดับประเทศและระดับภูมิภาคอาเซียน จึงมีพันธกิจ : ที่จะดำเนินงานวิจัยและสร้างองค์ความรู้ด้าน primary health care : PHC และ community health: CH

            1.2  มี พันธกิจ : ที่จะ 

                  (1) ดำเนินงานการวิจัยและสร้างองค์ความรู้ด้านสาธารณสุขมูลฐานและสุขภาพชุมชน

                  (2) ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้นำด้านการจัดการงานด้านสาธารณสุขมูลฐาน PHC

                 (3) พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เป็นผู้นำทางการพัฒนาสุขภาพชุมชน

                 (4) บริการวิชาการสู่สังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

                 (5) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านสาธารณสุขมูลฐานและสุขภาพชุมชน ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคอาเซียน และมี

           1.3 ยุทธศาสตร์

                 (1) การสร้างเครือข่ายและสร้างงานวิจัยที่ตอบสนองงานด้านสาธารณสุขมูลฐานและงานสุขภาพชุมชน

                 (2) ผลิตบัณฑิตและสร้างเครือข่ายศิษย์เก่าให้เป็นฐานการสร้างความรู้

                 (3) พัฒนาหลักสูตรการอบรมและสร้างเครือข่ายผู้เข้ารับการอบรม ให้เป็นฐานการจัดการความรู้และเผยแพร่

                 (4) พัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารและการเรียนรู้

                 (5) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ และ

                 (6) พัฒนาระบบบริหารจัดการภายใน

                 ดังนั้น สถาบันฯ จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการให้บุคลากรของสถาบันฯ มีการเรียนรู้ ทำความเข้าใจและสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันในกลุ่มเครือข่ายประเทศอาเซียน เน้นการสาธารณสุขมูลและสุขภาพชุมชน ที่สอดคล้องกับบริบททางศิลปวัฒนธรรม

          2. การจัดทำคู่มือวัฒนธรรมชาวต่างชาติ สำนักงานสนับสนุนการศึกษา (MPHM) กำลังจัดทำ "คู่มือวัฒนธรรมสำหรับชาวต่างชาติ" เพื่อให้ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมกลุ่มประเทศอาเซียน ที่นักศึกษาหลักสูตร MPHM และชาวต่างชาติที่เข้าอบรมในหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ ได้รับรู้ตามความจำเป็น ซึ่งจะช่วยให้ชาวต่างชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัฒนธรรมไทยและมีความสอดคล้องกลมกลืนกับวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน อันจะทำให้การเป็นอยู่ที่สถาบันฯ และประเทศไทยของชาวต่างชาติ มีความเป็นปกติสุขมากยิ่งขึ้น ในส่วนของชาวต่างชาติเอง ก็สามารถนำวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศของตนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปของการ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge Exchnge) และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม (cultural sharing) ฯลฯ ได้ด้วย

          3. การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในด้านความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ (cultural sharing on health belief) ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคลากรของสถาบันฯ ได้เรียนรู้ประเทศอื่นๆ ผ่านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ซึ่งอาจเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างปัจเจกกับปัจเจก (individual to individual) ปัจเจกกับกลุ่ม (individual to groups) ต่างๆ โดยใช้เอกสาร หนังสือ คู่มือ การพบปะพูดคุย การประชุม เสวนา การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี เช่น การทำอาหาร เพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร องค์กรกับชาวต่างชาติ ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น การจัดกิจกรรมกีฬา เกมส์ และการละเล่นแบบไทย ระหว่างนักศึกษานานาชาติ หลักสูตร การบริหารสาธารณสุขมูลฐาน MPHM กับบุคลากรของสถาบันฯ ซึ่งส่วนหนึ่งของการจัดงาน International Potluck Party and Sport Day ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจัดร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมิดล และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดให้ขึ้น ณ ห้องโถง (ภาคเช้า) และห้องบุญศิริ (ภาคบ่าย) สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2552 เป็นต้น  

P การเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการความรู้ เรื่อง "วิถีสุขภาพชุมชน: บทเรียนการทำงานของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และเครือข่ายชุมชนอำเภอพุทธมณฑล" โดย คุณเริงวิชญ์ นิลโคตร คุณณัฐพัชร์ ทองคำ คุณกานต์ จันทวงษ์ และทีมงานวิจัยสุขภาพชุมชน สถาบันพัฒนสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันจันทร์ ที่ 30 พศจิกายน 2552 ณ ห้องประชุม 2106

การเสวนาจัดการความรู้ เรื่อง "วิถีสุขภาพชุมชน: บทเรียนการทำงานสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และเครือข่ายชุมชนอำเภอพุทธมณฑล" โดย เริงวิชญ์ นิลโคตร ณัฐพัชร์ ทองคำ กานต์ จันทวงษ์ สนั่น ไชยเสน วันจันทร์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2552 ณ ห้องประชุม 2016 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

          วิถีสุขภาพชุมชน ในบริบทหรือบทเรียนการทำงานของ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายชุมชนอำเภอพุทธมณฑล ได้ดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม สอดคล้องกับนิยามด้านสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่นิยามไว้ว่า สุขภาพ หมายถึง ความพอใจทุกด้านในชีวิตของปัจเจกชนหรือบุคคล ในด้านสุขภาพ คือ การมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (human aesthtic or human esteem) การวัฒนธรรม การศึกษา อารมณ์ สิ่งแวดล้อม จิตใจ ความสัมพันธ์และสติปัญญาที่ดี ผลการดำเนินงาน จึงสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างดี

1. การดำเนินภารกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสุขภาพชุมชน  ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินงานด้านสุขภาพชุมชนบรรลุผลสำเร็จ คือ "ความร่วมมือหรือกระบวนการมีส่วนร่วม" เช่น ตัวอย่าง การมีส่วนร่วมขององค์กรและหน่วยงานในพื้นที่ในการดำเนินงานด้านสุขภาพชุมชน นางหทัยรัตน์ นาคเรืองศรี ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลายาบ้านสาลวัน นางสาวธมลวรรณ สุนย์เจริญ ฝ่ายสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา นายประทุม สวัสดิ์นำ เครือข่ายภาคประชาชน จากชมรมผู้สูงอายุตำบลมหาสวัสดิ์ นางมุกดา ฝ่ายสาธารณสุข เทศบาลตำบลคลองโยง นางดุจเดือน เจริญกิจกำจรชัย ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลศาลายา นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพุทธมณฑล นายกฤตย์ รอดงาม ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอพุทธมณฑล นายไพบูลย์ มนต์คล้ำ สาธารณสุขอำเภอพุทธมณฑล เป็นต้น ได้มีการประสานงานและร่วมดำเนินงานด้านสุขภาพชุมชน ร่วมกับสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการระดมสรรพกำลังในการพัฒนาสุขภาพชุมชน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตำบลสุขภาวะ และอำเภอสุขภาวะ ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเริ่มจากการจัด การพัฒนาองค์กร (organizational development : OD) ร่วมกันของเครือข่ายสาธารณสุขทั้งหมดในอำเภอพุทธมณฑล ทำให้การดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานด้านสาธารณสุขและสุขภาพชุมชนมีแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น และเครือข่ายได้สื่อสารระหว่างกัน ทำให้มีความเข้าใจกันมากขึ้นระหว่างระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการในระดับชุมชน ตำบล และอำเภอ มีการพัฒนาและยกระดับความร่วมมือในงานด้านสาธารณสุขและสุขภาพชุมชนในภาพรวมของอำเภอให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

2. ประเด็นปัญหาสุขภาพ เครือข่ายสาธารณสุขและสุขภาพชุมชนอำเภอพุทธมณฑล ที่เข้าร่วมเสวนาร่วมกัน สะท้อนประเด็นปัญหาด้านสาธารณสุขและสุขภาพชุมชนเพิ่มเติม ดังนี้

     2.1 สภาวะทางสุขภาพที่เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษาสุขภาพของคนในอำเภอพุทธมณฑล ประชาชนในอำเภอพุทธมณฑล มีการเจ็บป่วยในอัตราสูงมาก เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ คือ

          (1) พื้นที่ตำบลศาลายาเป็นพื้นที่ระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดนครปฐม

          (2) มีแรงงานจากนอกพื้นที่และแรงงานจากต่างด้าวเป็นประชากรแฝง เข้ามาทำงานรับจ้าง ทำงานก่อสร้าง และประกอบอาชีพในพื้นที่จำนวนมาก

          (3) มีโรงเรียนที่ต้องให้บริการสุขภาพระดับมัธยมศึกษา 3 แห่ง ระดับประถมศึกษา 8 แห่ง โรงเรียนอนุบาลภาครัฐ 1 แห่ง และภาคเอกชน 2 แห่ง

          (4) มีหน่วยบริการสุขภาพและบุคลากรทางสุขภาพไม่เพียงพอ เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลอำเภอพุทธมณพล จึงต้องทำงานหนัก เนื่องจากมีผู้ป่วยจึงต้องทำงานเชิงรับเป็นส่วนใหญ่

          (5) ขาดการทำงานเชิงรุกและสื่อรณรงค์ ให้ความรู้ในการดูแลและรักษาสุขภาพแก่ประชาชน ซึ่งถ้ามีการทำงานเชิงรุกและใช้สื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น ประชาชนก็จะมีสุขภาพดีขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายภาครัฐลงและประชาชนเองก็จะสามารถประกอบอาชีพได้เต็มศักยภาพ เพราะไม่ต้องเสียเวลาและเสียเงินไปในการรักษาพยาบาลในแต่ปีอย่างมหาศาล

      2.2 การสร้างเสริมสุขภาพ ต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินการได้ เช่น การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะ การบำบัดน้ำเสีย การใช้มาตรการทางกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรค์ หอพัก ห้องเช่า ฯลฯ ต้องดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการและปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด เพราะถ้ามาตรการทางกฏหมายย่อหย่อน ก็จะก่อปัญหาขยะ ปัญหาน้ำเสีย และสิ่งแวดล้อมขึ้นในชุมชนอย่างมหาศาล

          ในภาคการเกษตร ต้องรณรงค์ให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในแปลงเกษตร เนื่องจากมีผลเสียต่อทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและสภาพแวดล้อมด้วย

          ต้องดำเนินการให้ตลาดนัดสะอาดและขายอาหารปลอดภัย มีการรณรงค์ให้เจ้าของตลาดนัดและพ่อค้าแม่ค้าเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง ผู้บริโภค และชุมชนส่วนรวมด้วย

          ภารรวมของสุขภาพชุมชน ต้องดำเนินงานด้านสุขภาพชุมชนอย่างบูรณาการ เช่น การวิจัยบูรณาการของสถาบันฯ ที่ได้บูรณาการองค์ความรู้ในการวิจัยให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ

          (1) การดำเนินงานวิจัยผู้สูงอายุ

          (2) การดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับครอบครัว

          (3) การดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับการบริการสุขภาพ

          (4) การดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพชุมชน

          นายแพทย์ ประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้ในการแสดงปาฐกถาณัฐ ภมรประวัติ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ความว่า "ขอฝากให้ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน (ASEAN Institute for Health Development : AIHD, Mahidol University) ช่วยดูแลงานด้านสุขภาพชุมชนร่วมกับชุมชนและเครือข่ายชุม" ด้วย

3. แนวทางการขับเคลื่อนสุขภาพชุมชน ผู้เข้าร่วมเสวนาได้นำเสนอความคิด ความรู้และประสบการณ์ในการขับเคลื่อนสุขภาพชุมชน ดังนี้

     (1) การสร้างเสริมจิตสาธารณะ   นายประทุม สวัสดิ์นำ เสนอให้มีการพัฒนาให้ประชาชนในอำเภอพุทธมณฑล มีจิตสาธารณะให้มากขึ้น เพราะเนื่องจากปัจจุบันคนในชุมชนมีความเห็นแก่ตัว ไม่ค่อยได้ช่วยกันเอาใจใส่ชุมชนและสังคมส่วนรวมเท่าที่ควร

     (2) การพัฒนาการทำงานอย่างมีส่วนร่วม  นางสาวธมลวรรณ สุนย์เจริญ  เสนอให้มีการสร้างการทำงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ในอำเภอพุทธมณฑลให้มากขึ้น เช่น การประชุมดำเนินการเรื่องต่างๆ ในชุมชนหรือเกี่ยวกับชุมชน ซึ่งชุมชนมีส่วนได้ส่วนเสีย ก็ให้เชิญองค์กร หน่วยงานในพื้นที่และชุมชนเข้าร่วมประชุมด้วยทุกครั้งไป เพื่อจะได้ร่วมกันนำเสนอปัญหา การได้รับรู้ปัญหา และร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาร่วมทุกครั้ง

     (3) สร้างภาคีเครือข่ายการทำงาน นางหทัยรัตน์ นาคเรืองศรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลายาบ้านสาลวัน (รพสต.) สะท้อนประสบการณ์ว่า ในการทำงานขณะนี้ได้ใช้ความพยายามที่จะทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้อยู่แล้ว แต่ก็ยังมีความจำเป็นในการพัฒนาอยู่มากในหลายๆ ด้าน เช่น การพัฒนาคน (บุคลากร) โดยเฉพาะภาคีเครือข่ายของโรงพยาบาลฯ ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วนมาก และต้องขอความช่วยเหลือจากสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เป็นสถาบันวิชาการ มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญในการพัฒนาคนให้โรงพยาบาลด้วย

     (4) การพัฒนาภาวะผู้นำ นายประทุม สวัสดิ์นำ สะท้อนให้มีการพัฒนาภาวะผู้นำของคนในพื้นที่ทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่ายข้าราชการประจำ และประชาชนด้วย เพราะถ้าพัฒนเฉพาะบุคลากรระดับปฏิบัติการ เช่น หมด พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ชาวบ้านและผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่ผู้นำทางการเมืองและผู้นำระดับนโยบาย เช่น นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดเทศบาลและปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้อำนวยการกองต่างๆ ไม่ได้เข้าอบรมหรือพ้ฒนาภาวะผู้นำด้วย ก็จะมีปัญหาในการดำเนินโครงการด้านสาธารณสุขและสุขภาพชุมชนต่างๆ เพราะเมื่อฝ่ายปฏิบัติการเสนอโครงการขึ้นไป โครงการดีๆ หลายๆ โครงการไม่ได้รับอนมุติ เนื่องจากฝ่ายการเมืองไม่เข้าใจโครงการหรือไม่เห็นชอบกับโครงการ จึงน่าเสียดายที่โครงการดีๆ ที่เสนอไปนั้นไม่ได้รับอนุมัติ ประชาชนที่จะได้รับประโยชน์ก็ไม่ได้รับประโยชน์

     (5) การสืบทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายด้านมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน จึงต้องมีการเรียนรู้ การฟื้นฟู การอนุรักษื และการสืบทอดไปสู่รุ่นลูกหลาน เพื่อให้สามารถใช้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว โรงเรียนและชุมชนได้ เช่น ฤาษีดัดตน การนวดเส้น การนวดเท้า การนวดจัดกระดูก การนวดแก้นิ้วเคล็ด การขูดเส้นเอ็น และการต่เส้นเอ็น เป็นต้น ซึ่งภูมิปัญญาเหล่านี้มีอยู่ในชุมชน และใช่รักษาหรือสร้างเสริมสุขภาพได้จริง จึงสมควรแก่การเรียนรู้ และรณรงค์ให้มีการสืบทอดไว้เป็นประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนตลอดไป เป็นต้น

     การเสวนา จัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “การบริหารจัดการภายในเพื่อสนับสนุนให้สถาบันฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้” โดย นางจิตริสา ไชยเสน และคณะ สำนักงานผู้อำนวยการ นำเข้าสู่การเสวนา และเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามลำดับ ดังนี้

1. การบริหารจัดการภายในเพื่อสนับสนุนให้สถาบันฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

1.1 ความหมายขององค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์กร เน้นพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำ (Leadership) ในองค์กร และการเรียนรู้ร่วมกัน (Team learning) ของคนในองค์กร เพื่อก่อให้เกิดการถ่ายทอด-แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ ทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ให้ทันต่อภาวะการเปลี่ยนแปลง และการแข่งขัน องค์กรจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ เมื่อองค์กรได้พยายามทำให้บุคลากร มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เชื่อมโยงรูปแบบการทำงานเป็นทีม (Team working) สร้างกระบวนการเรียนรู้และความเข้าใจเพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และเปิดโอกาสให้ทีมได้ทำงาน พร้อมมอบอำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศในการคิดริเริ่ม (Initiative) สร้างสรรค์ (Creative thinking) และสร้างนวัตกรรม (Innovation) ที่จะทำให้องค์กรมีความเข้มแข็ง มีองค์ความรู้ พร้อมที่จะเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน

1.2 แนวคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ ปีเตอร์ เซงเก้ (Peter Senge) นำเสนอไว้ในหลักการหรือวินัย 5 อย่าง (The Fifth Discipline) เพื่อนำมาใช้ในการให้การปรึกษาและฝึกอบรมพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership) และการสร้างความเป็นเลิศ (Mastery) ให้แก่ชุมชนนักปฏิบัติขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Practitioners’ community of learning organization) ซึ่งจะต้องก้าวเดินไปตามลำดับขั้นจนสามารถนำไปสู่การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Building Shared Vision) เป็นขั้นบันได ดังนี้

     1. เล่าสู่กันฟัง (telling)

     2. เสริมพลังผู้ร่วมงาน (selling)

     3. นำสู่การปฏิบัติ (testing)

     4. ติดขัดรีบปรึกษา (consulting)

     5. งานก้าวหน้าทำร่วมกัน (co-crating)

     ดังนั้น หัวใจของการสร้าง องค์การแห่งการเรียนรู้ ตามหลักการวินัย 5 ประการนี้ ก็เพื่อสนับสนับให้องค์กรนำหลักการทั้ง 5 ประการ ไปใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติกระจายไปทั่วทั้งองค์กร คือ

     1. คิดอย่างเป็นระบบ (System thinking) คือ มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ บุคลากรในองค์กรมี ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่สำคัญต่างๆ ของระบบ โครงสร้างในองค์กร สามารถมองเห็น ภาพองค์กรในภาพรวม และรายละเอียดของส่วนประกอบใหญ่นั้น การคิดอย่างเป็นระบบจะช่วยให้สามารถมองเห็นปัญหาและหาวิธีแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่างๆ ในองค์กรได้ดีขึ้น

     2. มุ่งสู่ความเป็นเลิศและรอบรู้ (Personal Mastery) มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมาย โดยเริ่มจากการสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal vision) มุ่งมั่นสร้างสรรค์ด้วยการลงมือทำ และแรงมุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative intention) มีการใช้ข้อมูล ข้อเท็จจริงมาคิดวิเคราะห์และตัดสินใจบนพื้นฐานของพันธกิจที่เป็นจริง (Commitment to the truth) ที่ทำให้มีระบบการตัดสินใจที่ดี รวมทั้ง รวมถึงพยายามใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using sub-consciousness) เพื่อให้การทำงานดำเนินไปได้อย่างอัตโนมัติ 

     3. มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง (Mental Model) ผลลัพธ์การดำเนินงานจะออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะ คือ เจตคติ ท่าทีหรือความรู้สึกต่อการดำเนินงาน เหตุการณ์ เรื่องราว กรณีหรือการประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ในการดำเนินงาน และ ทัศนคติ ท่าทีหรือการกำหนดแนวความคิดเห็น กระบวนทัศน์ กรอบความคิด แนวปฏิบัติที่ปฏิบัติตามๆ กันไป จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

     4. การสร้างและสานวิสัยทัศน์ (Shared Vision) วิสัยทัศน์ขององค์กรได้รับการสร้างและสานจากความมุ่งหวังของทุกคนในองค์กร ที่จะต้องร่วมบูรณาการให้เกิดเป็นรูปธรรมในอนาคต ลักษณะของวิสัยทัศน์ที่ดี ต้องให้กลุ่มผู้นำเป็นฝ่ายริเริ่ม แล้วนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง เพื่อให้มีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ และต้องเป็นภาพบวกขององค์กร

     5. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) การดำเนินงานขององค์กรต้องมุ่งเน้นให้บุคลากรทุกคนในทีมมีสำนึกและตระหนักร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไร และจะทำอะไรต่อไป จะทำอย่างไร เช่น จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้มาใช้บริการที่สถาบันฯ อย่างไร ซึ่งการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ 1) Intelligence quotient: IQ = ผู้บริหารและวิชาการแสดงบทบาทในฐานะเป็นสติปัญญาขององค์กร และ 2) Emotional quotient: EQ = ผู้ปฏิบัติการแสดงบทบาทเพื่อดำเนินงานประสานกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ยิ่งไปกว่านั้น ต้องเน้นการสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นแก่ผู้นำในองค์กรทุกระดับ

     จึงเห็นได้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ จึงหมายถึง องค์กรที่พยายามพัฒนาขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ (Learning-based development) โดยจัดกระบวนการเพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติการ ดังนี้

     1. กลยุทธ์ชี้นำ (Advisory strategy) ผู้บริหารระดับสูงร่วมรับผิดชอบและให้การสนับสนุน

     2. กลยุทธ์ปลูกฝัง (Cultivate strategy) ให้คณะทำงานในสายงานด้านทรัพยากรบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบ

     3. กลยุทธ์ปฏิรูป (Transform strategy) ให้คณะทำงานพิเศษจากทุกๆ หน่วยงานในองค์กรมาร่วมกันรับผิดชอบและดำเนินการอย่างมีส่วนร่วม

     องค์กรแห่งการเรียนรู้ จึงเป็นองค์กรที่สามารถปรับตัวได้ตลอดเวลา หน่วยงานราชการที่จะเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ เมื่อข้าราชการในองค์กรนั้นเป็น “บุคคลเรียนรู้” จากการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจนำหลักการหรือวินัย 5 ประการ สำหรับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (The Fifth Discipline) ของปีเตอร์ เซงเก้ (Peter Senge) มาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน เพื่อนำองค์กรไปสู่การเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ ก็ได้ หรืออาจจะเลือกใช้ วิถีแห่งการปฏิบัติอันจะนำองค์กรไปสู่การสร้างสรรค์เป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ 10 วิธี ของ นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) คือ

     1. สร้างวัฒนธรรมใหม่

     2. สร้างวิสัยทัศน์ร่วม

     3. สร้างและใช้ความรู้ในการทำงาน

     4. เรียนลัด

     5. สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยยุทธศาสตร์เชิงบวก

     6. จัดพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

     7. พัฒนาคน

     8. จัดระบบให้คุณและให้รางวัล

     9. หาเพื่อนร่วมทาง และ

   10. จัดทำขุมความรู้ (Knowledge assets) ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร

2. ข้อเสนอแนะจากเวทีเสวนาในการบริหารจัดการภายในเพื่อสนับสนุนให้สถาบันฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งผู้ร่วมเวทีเสวนาได้นำเสนอความคิด พอจะสรุปได้ ดังนี้

2.1 พัฒนาระบบการทำงานให้เรียนรู้ได้เต็มที่

2.2 สร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยใช้กระบวนการพัฒนาองค์กร (Organizational development: OD) และเวทีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human resource development: HRD) เป็นเครื่องมือในการพัฒนา แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาบ้างก็ตาม

2.3 ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง องค์กรต้องพยายามฝึกคนเชิงรุก เสนอแนะให้มีการฟื้นฟูเวทีเพื่อสื่อสาร 12 ราศี เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรเป็นผู้นำตามความถนัดของตนเอง (เชี่ยวชาญ) ได้

2.4 สร้างตัวอย่างความสำเร็จ เพื่อเสริมการเรียนรู้ในองค์กรต่อยอดจาก การสอนงาน การปรับปรุง การพัฒนาและการเลื่อนระดับบุคลากรของงานบุคคล การพัฒนางานการเงินและพัสดุที่เตรียมข้อมูลให้ทุกสำนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือรับรู้ข้อมูลได้มากขึ้น เช่น มีการเปิดเผยข้อมูลรายรับรายจ่ายประจำเดือนของสถาบันฯ (ที่ไม่ใช่ความลับ) ดูได้ในเว็บไซต์ financial ของสถาบันฯ

2.5 จัดกระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สนับสนุนให้นำสิ่งที่พูดคุยกันในเวทีเสวนาหรือที่พูดคุยกันในโอกาสอื่นๆ มาพัฒนางาน ต้องจัดให้มีการทบทวนบทเรียน การประเมินหลังจากการทำงาน SAR หรือการจัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2552 เป็นต้น ซึ่งควรนำเอกสารมาเป็นข้อมูลในการศึกษา เพื่อพัฒนา ต่อยอดด้วย

2.6 สร้างบรรยากาศให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขในองค์กร เพื่อเสริมพลัง (Empowerment) การทำงาน ไม่มีใครซ้ำเติมใคร (Nitpicking) เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจสิ่งใดก็สามารถสอบถามหรือปรึกษาหารือกันได้ โดยเฉพาะให้สอบถามหรือปรึกษาผู้ที่รับผิดชอบงานนั้นๆ โดยตรง สนับสนุนการทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การพยายามพัฒนาตัวชี้วัด HRD ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะทำให้ตัวชี้วัดของสถาบันฯ มีความชัดเจนและได้มาตรฐานมหาวิทยาลัยมหิดล

2.7 จัดเวทีการเรียนรู้เสมือนจริง (IT) ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อบุคลากรไปประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ศึกษาต่อ ฯลฯ กลับมาแล้ว จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือสรุปข้อมูลลงเว็บไซต์สถาบันฯ เพื่อให้เพื่อนร่วมงานสามารถเข้าไปร่วมเรียนรู้ได้สะดวกขึ้น เป็นต้น

เชิญฟังการบรรยายธรรมเฉลิมพระเกียรติในหลวง เรื่อง คนสร้างงาน งานสร้างคน : สุขภาวะปัจเจก องค์กร ชุมชน สู่ปัญญาของแผ่นดิน โดย พระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก วัดป่าสุนันทวนาราม จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ครบ 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 และครบปีที่ 29 ของการก่อตั้ง สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ม.มหิดล ในวันศุกร์ ที่ 22 กรกฎาคม 2554 เวลา 13.00 -15.00 น. ณ ห้องประชุมบุญศิริ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ม.มหิดล ศาลายา

สุขภาพดีด้วยวิถีสุขภาพทางปัญญา / Good health with a course of wisdom health

สุขภาพดีด้วยวิถีสุขภาพทางปัญญา

สนั่น ไชยเสน สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

...............................

บทนำ

สุขภาพดี ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ หมายถึงการที่คนเรามี “ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล” และการทำให้สุขภาพดีด้วยวิธีสร้างเสริมสุขภาพทางปัญญานั้น หมายความว่า เราทุกคนที่มีความปรารถนาที่จะมีสุขภาพดีต้องมี “ความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดี ความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่”1 ด้วย จึงจะสามารถสร้างเสริมให้มีสุขภาพด้วยวิธีสร้างเสริมสุขภาพทางปัญญาได้

แนวทางการสร้างสุขภาพดีด้วยวิธีสร้างเสริมสุขภาพทางปัญญา หรือที่ชาวตะวันตกเรียกว่า สุขภาพทางจิตวิญญาณนั้น ต้องเริ่มต้นจากการมีความตั้งใจ (intention) ที่จะทำให้ตนเองมีสุขภาพที่ดีก่อน แล้วต่อด้วยการหาหลักการปฏิบัติหรือปฏิญญาสำหรับใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน อาจกำหนดกรอบการปฏิบัติไว้ในใจหรือเขียนไว้อ่านเพื่อเตือนความจำของตัวเองให้ปฏิบัติตามทุกวัน เช่น

  • 1.ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยแบ่งออกเป็นอย่างน้อย 3 ครั้งๆ ละไม่น้อยกว่า 30 นาที
  • 2.ทำงานต้องไม่เกินวันละ 12 ชั่วโมง และต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • 3.งดสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา ตลอดถึงสิ่งเสพติดและของมึนเมาทุกชนิด
  • 4.คาดเข็มขัดนิรภัยหรือสวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่หรือโดยสารพาหนะ
  • 5.ควบคุมดัชนีมวลกาย (BMI) ให้อยู่ในระดับประมาณ 18.5 – 23 kg/m2 และเส้นรอบเอวผู้ชายต้องไม่เกิน 90 ซม. (35.5 นิ้ว) และผู้หญิงต้องไม่เกิน 80 ซม. (31.5 นิ้ว)
  • 6.หลีกเลี่ยงบริโภคเนื้อสัตว์ดิบ รวมถึงอาหารที่ถนอมด้วยดินประสิว อาทิปลาร้า ไส้กรอก และไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (ทรานส์) อาทิอาหารทอดที่ใช้น้ำมันพืชที่ใช้ซ้ำ ครีมเทียมบางชนิด
  • 7.บริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้มีผักผลไม้ไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน ซึ่งจะได้มีสัดส่วนจากพลังงานทั้งหมดที่ได้รับ คือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (แป้งไม่ขัดขาว ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังธัญพืช (โฮลวีต) เมล็ดพืช ธัญพืช เผือก มัน ฯลฯ) 55 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 15 เปอร์เซ็น ไขมัน 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแบ่งเป็นไขมันอิ่มตัว 7 – 10 เปอร์เซ็นต์ ไขมันไม่อิ่มตัว 13 – 20 เปอร์เซ็นต์ และถ้าหากลดการบริโภคลงได้ 500 – 1000 แคลอรี่ต่อวัน จะลดน้ำหนักได้ ½ - 1 กก. ต่อ สัปดาห์
  • 8.มั่นตรวจดูปัจจัยเสี่ยงที่มีผลเสียต่อสุขภาพและพยายามลดความเสี่ยงที่แก้ไขได้ คือ อ้วน การออกกำลังกายไม่พอ หรือการมีพฤติกรรมทำลายสุขภาพ
  • 9.มุ่งประโยชน์ส่วนรวม ด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติ ฝึกทำให้มีจิตใจที่ร่าเริงเบิกบาน และฝึกเป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอ2

แต่ถ้าปฏิบัติตนได้ตามแนวทางนี้ ก็จะช่วยเสริมให้มีสุขภาพทางด้านร่างกายดีจิตใจมีความสุข และสุขภาพทางสังคมดี ก็จะช่วยเสริมสร้างให้มีสุขภาวะทางปัญญาดีง่ายขึ้นตามไปด้วย

สุขภาพดีด้วยวิถีสุขภาพทางปัญญา : พลังจิตสร้างเสริมสุขภาพ

คนเราเวลานี้ป่วยกันด้วยโรคที่เรียกว่า ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (metabolic syndrome) คือ กลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งพบร่วมกันได้บ่อย ความผิดปกติเกิดขึ้นได้แก่ ความผิดปกติของไขมันในเลือด ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ส่งผลให้ป่วยเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และระดับไขมันในเลือกผิดปกติกันมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อป่วยด้วยโรคเหล่านี้แล้ว ก็ต้องกินยาและต้องควบคุมอาหารตลอดชีวิต ซึ่งเป็นความทุกข์ทรมานของชีวิตมากอย่างหนึ่ง แถมยังจะมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนจากยาที่กินและโรคที่เป็น คือ โรคตาบอดจากเบาหวาน โรคไตวาย โรคหัวใจขาดเลือด และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามมาอีกด้วย

พลังจิตช่วยสร้างเสริมสุขภาพได้มีคนจำนวนมากในปัจจุบันที่ป่วยด้วยโรคนี้ ได้เลือกรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ หรือธรรมชาติบำบัด ที่ไม่ต้องกินยา ทำให้ชีวิตปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อนที่น่ากลัวทุกโรค ด้วยการใช้วิธีการรักษาด้วยพลังจิตตามแนวธรรมชาติบำบัด คือ การดำเนินชีวิตตามวิถีธรรมชาติ ถ้าทำได้สำเร็จจิตใจจะมีอิสระไม่ถูกควบคุมจะมีความสุขทางกายมาก ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปจิตสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต

แต่หลายคนยังคงสงสัยว่า ธรรมชาติบำบัดรักษาโรคได้จริงหรือ สำหรับเรื่องนี้ นายแพทย์บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ ยืนยันไว้ในหนังสือ ปฏิวัติชีวิต ปฏิวัติสุขภาพ3 ว่า จากประสบการณ์การบำบัดรักษาของหมอเอง หมอรักษาด้วยวิถีธรรมชาติ เพราะไม่อยากมีชีวิตอยู่แบบทุกทรมาน เพราะตัวของหมอมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง 294 มก/ดล (ค่าปกติ 70 – 110) มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง 245 มก/ดล (ค่าปกติต้องน้อยกว่า 200) มีความดันโลหิตสูง 170/110 มม.ปรอท (ค่าปกติต้องน้อยกว่า 140/90) เป็นโรคอ้วน มีน้ำหนักตัว 113.5 กก. (ค่าปกติต้องน้อยกว่า 78 กก. จากความสูงของร่างกาย 178 ซม.) มีค่าเปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงในเลือด (Hct) 52-53 เปอร์เซ็นต์มาตลอด (ค่าปกติระหว่าง 35 – 45 เปอร์เซ็นต์) เมื่อมีค่าเม็ดเลือดแดงอย่างนี้ หัวใจทำงานหนักและมีขนาดโตขึ้น อาจเกิดภาวะหัวใจวายได้ และมีค่าเซลล์ตับ (SGPT) ถูกทำลายมากผิดปกติ 172 U/L (ค่าปกติระหว่าง 10 – 40 U/L) ภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาจะเป็นโรคตาบอด ไตวาย หัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์ อัมพาต

เพื่อให้หายจากโรคเหล่านี้ หมอจึงรักษาด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด หรือ รักษาด้วยวิถีสุขภาพทางปัญญา หรือตามกฏธรรมชาติ โดยเริ่มลงมือรักษาตัวเองตั้งแต่ วันที่ 26 สิงหาคม 2553 และมาตรวจร่างกายอีกครั้ง วันที่ 10 กันยายน 2553 หลังจากการใช้วิถีธรรมชาติ 15 วัน ได้เกิดสิ่งที่หมอเรียกว่า “มหัศจรรย์” เกิดขึ้นกับชีวิตของหมอ คือ ได้พบกับแสงสว่างและความหวังที่ยิ่งใหญ่ของชีวิต จากผลการตรวจร่างกาย ที่ค่าผิดปกติลดลงทั้งหมด คือ ระดับไขมันในเลือดดีขึ้นอย่างชัดเจน ระดับความดันโลหิตลดลงเหลือ 130/80 มม.ปรอท น้ำหนักตัวลดลง 2 กก.จึงเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้าขึ้นใช้วิถีธรรมชาติบำบัดต่อ ซึ่งปรากฏผลว่า เมื่อปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตได้ ก็สามารถใช้ชีวิตตามธรรมชาติได้โดยไม่ต้องฝืนใจปฏิบัติ เช่น เลิกรับประทานของอร่อยที่มีผลเสียต่อสุขภาพ เลิกทำสิ่งต่างๆ ที่เคยชอบแต่มีผลเสียต่อสุขภาพ สุขภาพจึงแข็งแรงกว่าก่อนป่วย รู้สึกว่า ชีวิตย้อนวัยได้ 20 ปี

คนไทยปัจจุบัน ป่วยด้วยโรคระดับไขมันในเลือดผิดปกติมากกว่า 20 ล้านคน จึงต้องรีบพัฒนาจิต (mind) หรือภาวะทางปัญญา (wisdom) ให้ดีขึ้น เพื่อให้ส่งผลถึงการพัฒนาทางด้านสมองและเชาว์ปัญญาที่ดีด้วย ซึ่งจะส่งผลไปที่กาย (body) อีกทีหนึ่ง เพราะกายกับจิตแยกจากกันไม่ได้ เนื่องจากการทำงานของกายได้รับคำสั่งมาจากจิต ถ้าขาดจิต กายก็จะหยุดทำงาน คือ จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว กายกับจิตจึงต้องอยู่คู่กันเสมอ เมื่อปฏิรูปจิตเพื่อปรับเปลี่ยนนิสัยเพื่อชีวิตที่ดีกว่าเดิมได้ การมีสุขภาพที่ดีกว่าก็จะเกิดขึ้นได้

การปฏิรูปจิต เพื่อสุขภาพดี 7 ขั้นตอน

แต่การปฏิรูปจิตให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องใช้การเรียนรู้และรับรู้ 7 ขั้นตอน คือ

  • 1.การเรียนรู้ (ใช้จิตสำนึก : conscious)
  • 2.การรับรู้ (ใช้จิตสำนึก)
  • 3.การรู้แจ้งเห็นจริง [insight] (ใช้จิตสำนึก)
  • 4.การเกิดศรัทธา (ใช้จิตสำนึกเป็นตัวนำ และใช้จิตใต้สำนึก [sub- conscious] เป็นตัวสนับสนุน)
  • 5.ลงมือปฏิบัติตามที่ศรัทธา (belief) (ใช้จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกร่วมกัน)
  • 6.ปฏิบัติซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง [continuous re-practice] (ใช้จิตใต้สำนึก เป็นตัวนำ จิตสำนึก เป็นตัวสนับสนุน)
  • 7.เกิดการเปลี่ยนแปลงนิสัย (behavioral change) ตามจิตใต้สำนึก (จิตใต้สำนึกจะรับเป็นนิสัยถาวร)

จากประสบการณ์ การเรียนรู้ เราจะเรียนรู้ได้ดีภายใต้ สภาวะจิตสำนึกที่แจ่มใส มีสมาธิ เป็นกิจกรรมขั้นต้นในการเก็บข้อมูลเข้าสู่จิตสำนึก จึงต้องทำให้ จิตสำนึก มีความพร้อม คือ การมีสมาธิดี

การรับรู้ เป็นขั้นตอนต่อจากการเรียนรู้ แม้มนุษย์ทุกคนจะมีความสามารถในการรับรู้แตกต่างกัน แต่การรับรู้ก็เป็นการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ จิตสำนึก เพื่อแยกแยะและเตรียมจัดเก็บข้อมูล

การรู้แจ้งเห็นจริง จะเกิดเมื่อ จิตสำนึก ได้รับข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ โดยเรียบเรียงกับข้อมูลและประสบการณ์เดิม จนเกิดการประมวลผลใหม่ เกิดการเข้าใจแจ่มแจ้ง เกิดภาพใหม่ เป็นภาพในจินตาการ (imagination) ซึ่งทำงานร่วมกันกับ จิตใต้สำนึก

การเกิดความศรัทธา เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจาก การรู้แจ้งเห็นจริงๆ จะช่วยให้เกิด ภาพจินตนาการ ถ้าข้อมูลนั้น สอดคล้องกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่ใน จิตใต้สำนึก ก็จะเกิดการต่อยอดให้ จิตใต้สำนึก นั้นชัดเจนขึ้น ถ้าไม่ศรัทธา ภาพจินตนาการ จาก จิตสำนึก ก็จะสลายตัวไป การปฏิรูปจิตก็จะไม่สำเร็จ จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับของ จิตใต้สำนึก

ลงมือปฏิบัติตามศรัทธา ใช้โอกาสที่สามารถเรียนรู้ได้ถึงขั้น รู้แจ้งเห็นจริง ก่อนที่ ภาพในจินตนาการ จะเลือนหายไป ถ้าลงมือปฏิบัติ ภาพในจินตนาการ จะแจ่มชัดขึ้น เกิดเป็นความชำนาญ (skills) ถ้าปฏิบัติจนเห็นผลจากการปฏิบัติ ก็จะยิ่งส่งเสริมพลังศรัทธา และภาพในจินตนาการ ก็จะยิ่งแจ่มชัดมากยิ่งขึ้น

ปฏิบัติซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติซ้ำๆ จะทำให้ จิตใต้สำนึก สั่งการ กาย ได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องอาศัย จิตสำนึก ควบคุม บางคนทำซ้ำจนสามารถทำได้โดยไม่รู้สึกตัว เช่น การขับรถ การเคี้ยวอาหาร การถีบจักรยาน การซื้อของตามคำโฆษณาที่เห็นเป็นประจำฯ

การเกิดนิสัยใหม่ เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำเร็จ จากการทำสิ่งใดเป็นจาจิณจะถูกปลูกฝังเป็น นิสัยถาวร ยากที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ถ้าเป็นด้านดีก็จะเป็นนิสัยดี มีประโยชน์ต่อชีวิตและสุขภาพยิ่ง

การที่เราทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี สุขภาพของเราก็จะดีไปด้วย โรคที่เป็นอยู่ก็จะหายไป โรคใหม่ก็จะไม่เกิดขึ้น สุขภาพที่เสื่อมโทรม แก่เกินวัย ก็จะกลับมามีสุขภาพที่ย้อนวัย ได้ความเป็นหนุ่มเป็นสาวคืนกลับมา และมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

สุขภาพทางปัญญาช่วยสร้างเสริมให้มีสุขภาพดีได้อย่างไร

การใช้วิถีธรรมชาติบำบัดในปัจจุบัน หมายถึง การหวนคืนสู่ธรรมชาติ ประเทศที่ได้ชื่อว่า พัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และหลายประเทศในยุโรป ใช้เทคโนโลยีด้านการแพทย์แผนปัจจุบันจนใกล้ถึงทางตันในการรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายมนุษย์แล้ว เพราะยาที่ผลิตขึ้นมาไม่สามารถใช้ซ่อมแซมอวัยวะที่เสื่อมสภาพได้ จึงเกิดการคิดในมุมกลับ คือ เลิกเอาชนะธรรมชาติ กลับมาดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ จนเกิดผลลัพธ์ทำให้โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายหลายโรคหายไป ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ร่างกายของมนุษย์ คือ หมอที่เก่งที่สุด ในการทำหน้าที่รักษาโรคให้กับตัวเอง เพราะธรรมชาติได้สร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาพร้อมกับสร้างการแก้ไขปัญหาให้แก่สิ่งมีชีวิตนั้นในคราวเดียวกันด้วย

ธรรมชาติ สร้างให้สิ่งมีชีวิตมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา คือ เมื่อธรรมชาติสร้างมนุษย์ขึ้นมาโดยผ่านกระบวนการมีพ่อและแม่ และเมื่อมนุษย์ป่วยเป็นโรค เกิดความผิดปกติขึ้นมาในร่างกาย ธรรมชาติก็ได้สร้างวิธีการซ่อมแซมตัวเองไว้ในร่างกายของมนุษย์แล้วด้วย และร่างกายจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้สำเร็จ ถ้าเราไม่ไปขัดขวางกระบวนการซ่อมแซมตัวเองนั้น

การสร้างเสริมสุขภาพตามกฏธรรมชาติ

ธรรมชาติสร้างมนุษย์ขึ้นมาบนโลกใบนี้ ได้กำหนดหน้าที่การทำงานของอวัยวะทุกส่วนไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น ถ้าเราต้องการมีสุขภาพที่แข็งแรง คือ แก่และตายตามธรรมชาติ โดยมีอาการป่วยน้อยหรือไม่ป่วยด้วยโรคใดๆ เลย เราต้องดำเนินชีวิตตามกฏธรรมชาติเท่านั้น โดยให้ถือข้อปฏิบัติ 10 ข้อ โดยแบ่งเป็น ข้อห้ามปฏิบัติ 5 ข้อ และข้อต้องปฏิบัติ 5 ข้อ หมอบุญชัยเชื่อว่า ใครก็ตามที่ปฏิบัติได้จะมีสุขภาพแช็งแรง ปราศจากโรคต่างๆ ได้อย่างแน่น่อน ตามข้อปฏิบัติ คือ

1. ข้อห้ามปฏิบัติ 5 ข้อ ประกอบด้วย

1) ห้ามจินตาการเชิงลบ

2) ห้ามอ้วน

3) ห้ามรับประทานน้ำตาล

4) ห้ามรับประทานไขมันทรานส์ (trans fat) หรือไขมันไม่อิ่มตัว (กลุ่มอาหารฟาสต์ฟู้ด ที่ใช้เป็นน้ำมันทอดไก่มันฝรั่งโดนัท หรือการนำมาใช้ทำเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม และวิปปิ้งครีม เป็นต้น)

5) ห้ามรับประทานเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และต้องปฏิบัติตามดังต่อไปนี้

2. ข้อต้องปฏิบัติ 5 ข้อ ประกอบด้วย

1) ต้องรับประทานพืช ผักและผลไม้สด ที่ไม่หวานจัดก่อนอาหารชนิดอื่น 50 เปอร์เว็นต์ ทุกมื้อ

2) ต้องรับประทานข้าวที่ไม่ขัดขาว และให้ลดจำนวนลงเมื่อมีอายุมากขึ้น

3) ต้องออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที

4) ต้องนอนหลับสนิทอย่างน้อยวันละ 4 ชั่วโมง

5) ต้องจินตนาการเชิงบวก

การงดเว้นข้อห้ามปฏิบัติ 5 ข้อ และการปฏิบัติตามข้อต้องปฏิบัติ 5 ข้อ ช่วยให้มีสุขภาพดีได้จริงหรือไม่

หมอบุญชัย กล่าวว่า ข้อปฏิบัติทั้ง 10 ข้อ เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตที่เราคุ้นเคย แต่เรามองไม่เห็นโทษหรือประโยชน์จากการปฏิบัติ ถ้าเรามองเห็นโทษและประโยชน์จาก ภาพจินตนาการ ที่เข้าสู่จิตใต้สำนึกของเรา ก็จะช่วยให้เราปฏิรูปจิตได้ เมื่อปฏิรูปจิตได้ เราก็จะปฏิบัติตามจนเกิดการปฏิรูปกาย ผลที่จะเกิดจากการปฏิรูปก็คือ เราปฏิรูปการดำเนินชีวิตได้สำเร็จ การดำเนินชีวิตใหม่นั้นได้สำเร็จ จะช่วยบำบัดโรค ป้องกันโรค สุขภาพก็จะย้อนวัย แก่และมีอายุขัยยืนยาวขึ้น คือ ตายตามธรรมชาติตามอายุขัย 120 ปี3

_________________

เอกสารอ้างอิง

  • 1.พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ หน้า 1
  • 2.คู่มือบันทึกสุขภาพดี เพื่อการมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หน้า 5
  • 3.นายแพทย์บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ . ปฏิวัติชีวิต...ปฏิวัติสุขภาพ . สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี . กรุงเทพฯ . 2555
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท