วชช. ตาก (16): หลักสูตรระยะสั้น "พนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน"


สุขภาพชายขอบหรือสุขภาพชายแดนมีความสลับซับซ้อนด้วยปัจจัยหลากหลายประการ ทำให้คนไทยกลุ่มหนึ่งกับคนต่างชาติกลุ่มใหญ่เข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขของทั้งรัฐและเอกชน การผลิตพนักงานสุขภาพชุมชายแดนมาช่วยปฏิบัติภารกิจเหล่านี้ช่วยเอื้อให้คนด้อยโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพได้มากขึ้น

       หลักสูตรประกาศนียบัตรระยะสั้น "พนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน" หรือเรียกสั้นๆว่า "พสชช." เป็นหลักสูตรที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยความจำเป็นของพื้นที่ชายแดนที่มีกลุ่มชนหลากหลายทั้งคนไทยมีบัตรประชาชน คนไทยไม่มีบัตรประชาชน ชาวต่างชาติที่เข้าเมืองถูกกฎหมายและผิดกฎหมายและผู้อพยพย้ายถิ่นจากภัยสงครามในพื้นที่จังหวัดตาก ที่อุดมไปด้วยโรคติดต่อชายแดนและภัยสุขภาพนานาชนิดที่ซุกซ่อนและเปิดเผยตัวอยู่ มีเอ็นจีโอที่ชื่อ IRC ได้เข้ามาสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนชายแดน (Health post) เพื่อช่วยจัดบริการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก เนื้อหารายละเอียดหลักสูตร เป็นดังนี้

ปรัชญาของหลักสูตร 

                พนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน(พสชช.)เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทักษะและเจตคติที่ดีต่องานสาธารณสุข สามารถใช้ความรู้ทางด้านสาธารณสุข ในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ โดยเน้นให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ อันจะนำมาซึ่งสุขภาพของประชาชนที่ดี

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการอบรม

  1. จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านสาธารณสุขอย่างน้อย 3 ปี หรือเป็นพนักงาน/อาสาสมัครของหน่วยงานหรือโครงการที่ทำงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่และมีผลงานเป็นที่ยอมรับ
  2. อายุระหว่าง 18 - 40 ปี
  3. เป็นผู้มีความประพฤติดี เป็นที่ยอมรับของชุมชน
  4. มีเจตคติที่ดีต่องานสาธารณสุข

คุณสมบัติของผู้ที่จบเป็นพนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน(พสชช.)  สามารถ

  1. วางแผนและดำเนินการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่โดยเฉพาะการติดตามสอบสวนโรค การทำลายเชื้อ การกำจัดแหล่งเกิดโรค การควบคุมหรือกำจัดพาหะนำโรคในชนบทให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งให้คำแนะนำและให้บริการด้านอนามัยแม่และเด็ก
  2. ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยขั้นพื้นฐาน และปฏิบัติงานร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน องค์กรปกครองท้องถิ่น ภายใต้ขอบเขตบทบาทหน้าที่พนักงานสุขภาพชุมชนได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
  3. เป็นผู้นำในการบริหารจัดการ วางแผน แก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยใช้งบประมาณจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  4. เป็นแกนนำในการดูแลสิทธิประโยชน์ด้านหลักประกันสุขภาพและสาธารณสุขของประชาชน และกระตุ้นชักชวนประชาชนในหมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบนพื้นฐานข้อมูลของชุมชนให้มีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  5. สำรวจข้อมูลและรวบรวมรายงานทางด้านสาธารณสุขที่ถูกต้อง ครบถ้วนและทันเวลา

ระยะเวลาฝึกอบรมตลอดหลักสูตร 6 เดือน ไม่น้อยกว่า 660 ชั่วโมง

โครงสร้างหลักสูตร

ก.       หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

1.  คณิตศาสตร์สำหรับพนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน(พสชช.)                  5   ชั่วโมง

2.  ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน(พสชช.)                            15    ชั่วโมง

ข.      หมวดวิชาเฉพาะ

1.  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ

1.  การรักษาพยาบาลเบื้องต้น                                                                  60           ชั่วโมง  

2.  การส่งเสริมสุขภาพ                                                                              60           ชั่วโมง

3.  อนามัยสิ่งแวดล้อม                                                                               30           ชั่วโมง  

4.  การควบคุมและป้องกันโรค                                                                60           ชั่วโมง  

5.  การฟื้นฟูสภาพ                                                                                     30           ชั่วโมง  

6.  สาธารณสุขและสาธารณสุขมูลฐาน                                                 30           ชั่วโมง  

7.  การบริหารงานสาธารณสุข                                                 15           ชั่วโมง  

8.  จรรยาวิชาชีพ                                                                                         15           ชั่วโมง  

9.  เภสัชกรรมและการคุ้มครองผู้บริโภค                                              30           ชั่วโมง  

     10. สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาทางการแพทย์ในชุมชนชายแดน  10         ชั่วโมง

2.  กลุ่มวิชาชีพ

1.  ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ                                                                       300      3(300 ชม.)

แผนการศึกษาตลอดหลักสูตรพนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน

เนื้อหา

ภาคทฤษฎี

ภาคปฏิบัติ

ประมวลความรู้รวม

รายการ

กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ

การรักษาพยาบาล

สาธารณสุขชุมชน

ภาพรวมการฝึกอบรม

สถานที่

ห้องประชุม IRC แม่สอด

โรงพยาบาลแม่ระมาด/พบพระ

สถานีอนามัย / ชุมชน

สาธารณสุขอำเภอ

ระยะเวลา

15 สัปดาห์

4  สัปดาห์

4  สัปดาห์

1  สัปดาห์

รายละเอียด รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ

1.  การรักษาพยาบาลเบื้องต้น                                          60                          

วัตถุประสงค์

1.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทั่วไปของการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

2.  มีความรู้ความเข้าใจขอบเขต  บทบาท  และหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาลและรักษาพยาบาล เบื้องต้น

3. มีความสามารถในการตรวจวินิจฉัย  เพื่อให้การปฐมพยาบาล และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

4.     มีเจตนคติที่ดีในการปฐมพยาบาลและรักษาพยาบาลเบื้องต้น

คำอธิบายรายวิชา

                        ศึกษาแนวคิดหลักการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น  เพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วย การปฐมพยาบาลในภาวะต่างๆ  การใช้ยาเพื่อการรักษาเบื้องต้น ตามขอบเขตที่กำหนด  การจ่ายยาและเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา  การให้ข้อมูลข่าวสารด้านยารวมถึงศึกษาหลักเวชปฏิบัติทั่วไป  ระบบการส่งต่อผู้ป่วยและการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามผู้ป่วยและใช้ยา  ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนดบนพื้นฐานการดูแลรักษาแบบองค์รวม

2.  การส่งเสริมสุขภาพ                                                      60          

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม
  2. มีความรู้ความเข้าใจในการจัดบริการถึงการดูแลสุขภาพของสมาชิกครอบครัวในแต่ละวัยทั้งในสถานพยาบาลและในชุมชน
  3. มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประเมินปัญหาสุขภาพแบบองค์รวม

คำอธิบายรายวิชา

                        ศึกษาแนวคิด   ทฤษฎี  การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม  แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับครอบครัวการดูแลสุขภาพสมาชิกครอบครัวแต่ละวัย  ก่อนตั้งครรภ์  ขณะตั้งครรภ์ คลอด  หลังคลอด  ทารกแรกคลอด  วัยก่อนเรียน  วัยเรียน  วัยรุ่น  วัยผู้ใหญ่  และวัยผู้สูงอายุ  การประเมินและแก้ไขปัญหาสุขภาพ บุคคล  ครอบครัว ชุมชน  การเสริมสุขภาพช่องปาก  การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข  และโภชนาการชุมชนและนโยบายสุขภาพ

3.  อนามัยสิ่งแวดล้อม                                                       30          

วัตถุประสงค์

  1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและนโยบายด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม
  2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  3. สามารถนำแนวคิดและหลักการไปใช้ในงานสาธารณสุขได้

คำอธิบายรายวิชา

                        ศึกษาแนวคิด  หลักการและนโยบายด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม  การจัดการคุณภาพน้ำ  การจัดการขยะมูลฝอย  การกำจัดสิ่งปฏิกูล  และสุขาภิบาลอาหาร ศึกษาการควบคุมกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค  การสุขาภิบาลที่พักอาศัยและอาคารสถานที่อาชีวอนามัยและความปลอดภัย  การควบคุมมลพิษทางอากาศ  การควบคุมเหตุรำคาญ  การสุขาภิบาลในภาวะฉุกเฉิน  และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

4.  การป้องกันและควบคุมโรค                                        60           ชั่วโมง

วัตถุประสงค์

  1. มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบของการเกิดโรคติดต่อและไม่ติดต่อ
  2. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการป้องกันและควบคุมโรค ตลอดจนการควบคุมโรคระบาด
  3. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการวินิจฉัย  และดูแลรักษา โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อสำคัญ
  4. ตระหนักในความสำคัญและนำไปใช้ในการปฏิบัติงานและชีวิตประจำวัน

คำอธิบายรายวิชา

                        ธรรมชาติของโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ  ปัจจัยและองค์ประกอบสำคัญของการเกิดโรค  ลักษณะชุมชนและสังคมที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ  การระบาดของโรค  ผลกระทบของโรคที่มีต่อสุขภาพกายและจิตใจ  การป้องกันและควบคุมโรค  การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการควบคุมโรคระบาด

5.  การฟื้นฟูสภาพ                                                              30           ชั่วโมง

วัตถุประสงค์

  1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด  และหลักการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วย
  2. สามารถวางแผนการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย ให้เหมาะสมตามสภาวะของการเจ็บป่วยได้
  3. มีความรู้ ความเข้าใจและเห็นคุณค่าของการออกกำลังกาย การเล่นกีฬาและสามารถเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับบุคคลได้
  4. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพได้

คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาแนวคิด  หลักการสำคัญของการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย  การดูแลแบบผสมผสาน  การดูแลแบบองค์รวม  กายภาพบำบัด  กิจกรรมบำบัด  การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย ในสถานพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยที่บ้านและชุมชนรวมทั้งการเลือกวิธีการออกกำลังกายและการกีฬาที่เหมาะสมกับบุคคลได้

6.  สาธารณสุขและสาธารณสุขมูลฐาน                          30           ชั่วโมง

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้มีความรู้เรื่องหลักการและกลวิธีการดำเนินงานสาธารณสุขและสาธารณสุขมูลฐาน
  2. เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย
  3. เพื่อให้มีความรู้เรื่องความสัมพันธ์ของงานสาธารณสุขมูลฐานและระบบบริการสาธารณสุข
  4. เพื่อให้รู้บทบาทของสมุนไพรต่องานสาธารณสุข

คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาประวัติ ความเป็นมา  หลักการ  การดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน  การบริหารงานและการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน  ความสัมพันธ์ของงานสาธารณสุขมูลฐานกับการบริการสาธารณสุขการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน

7.  การบริหารงานสาธารณสุข                                         15                           ชั่วโมง

วัตถุประสงค์

1.   มีความรู้เรื่องการบริหารงานสาธารณสุข

2.   มีทักษะในการบริหารงานด้านสาธารณสุขได้

3.   มีเจตนคติที่ดีในงานการบริหารงานสาธารณสุข

คำอธิบายรายวิชา

                        ศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุข  หลักการบริหารงานสาธารณสุข นโยบายและการวางแผนงานสาธารณสุข  โครงสร้างการบริหารงานสาธารณสุข  การใช้เทคนิคเพื่อการบริหารสาธารณสุขโดยเน้นการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมของชุมชน นวตกรรมด้านการบริหารสาธารณสุข และการประกันคุณภาพการบริหารจัดการ         

8.  จรรยาวิชาชีพ                                 15           ชั่วโมง

วัตถุประสงค์

  1. มีความรู้ความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับจรรยาวิชาชีพ  ขอบเขต  และกลไกลการควบคุมจรรยาวิชาชีพด้านสาธารณสุข
  2. สามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขให้เป็นไปตามจรรยาวิชาชีพและมีคุณธรรม  จริยธรรม ในการดำเนินชีวิต

คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาความหมายและความสำคัญ  องค์ประกอบ ขอบเขต  และกลไกลการควบคุม จรรยาวิชาชีพด้านสาธารณสุข  ศึกษาพัฒนาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม  และพฤติกรรมจริยธรรมวิชาชีพ  ให้เหตุผลเชิงจริยธรรมและพฤติกรรมจริยธรรมวิชาชีพ 

9.  เภสัชกรรมและการคุ้มครองผู้บริโภค                                     30             ชั่วโมง

วัตถุประสงค์

                1.    ให้มีความรู้ความเข้าใจในความหมายและความสำคัญของยาตามพระราชบัญญัติ

                2.    ให้วิธีการที่ร่างกายจัดการกับยา  และวิธีการออกฤทธิ์ของยาในร่างกาย

3.    มีทักษะเกี่ยวกับการใช้ยาหรือการสั่งใช้ยาได้อย่างปลอดภัย

4.    มีความเข้าใจประโยชน์ของการใช้ยา และการใช้ยาเท่าที่จำเป็น

คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาความหมายและความสำคัญของยาตามพระราชบัญญัติ  วัตถุประสงค์ของการใช้ยารูปแบบและวิถีทางการใช้ยา  มีการดูดซึมยา  การกระจายของยา  การเปลี่ยนแปลงยาภายใน ร่างกายและการขับถ่ายยา  การออกฤทธิ์ของยาและให้ผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย (Systemic Pharmacology)

10. สังคมวิทยาและมนุษยวิทยาทางการแพทย์ในชุมชนชายแดน         10  ชั่วโมง

วัตถุประสงค์

             1. มีความรู้ความเข้าใจใน ศาสนา วัฒนธรรม ของชนเผ่าและคนตามแนวชายแดน  และหลักการการอยู่ร่วมกันของมนุษย์

2. มีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์และหลักการสิทธิมนุษยชน

              3. สามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการประกอบการทำงานร่วมกับการดำรงชีวิตของคนที่มีความหลากหลายวัฒนธรรมในชุมชนชายแดน

คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยากับการสาธารณสุข ปัจจัยและสิ่งแวดล้อมทางสังคม และมานุษยวิทยาที่มีผลแบบแผนพฤติกรรมสุขภาพ และการเจ็บป่วย  ความต้องการของสังคมในด้านสาธารณสุข ลักษณะของสถาบันต่าง ๆ ที่ให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน ความสัมพันธ์ระหว่างการแพทย์และสาธารณสุขกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ  สังคม และการเมือง

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ                                     300                         3(300 ชม.)

วัตถุประสงค์ของการฝึกงาน

                1.1  ในโรงพยาบาลชุมชน เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแล้ว ผู้เรียนสามารถ

                1) ให้การปฐมพยาบาล และรักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ ในขอบเขตที่หลักสูตรกำหนด

2)  ส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
3)  ให้สุขศึกษาเป็นรายบุคคล และรายกลุ่มได้ถูกต้อง
4)  ให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพได้ถูกต้อง
5)  ให้การควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง
6)  มีเจตคติ ที่ดี และรับผิดชอบ ต่องานในหน้าที่และสังคม
7)  ประสานงาน และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ต่อผู้ร่วมงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

1.2  ในสถานที่อนามัย สถานบริการสุขภาพชุมชนและชุมชน
                เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานในสถานีอนามัย และชุมชนแล้ว ผู้เรียนสามารถ
             1)  ดำเนินการค้นหาปัญหา วางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุข และปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้องในชุมชนได้
             2)  ให้คำแนะนำ และดำเนินการปรับปรุงงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
             3)   สนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐานได้
             4)  ให้สุขศึกษาเป็นรายบุคคล และรายกลุ่มได้ ถูกต้อง
             5)  ให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพได้

             6)  ให้การควบคุมและป้องกันโรค ได้อย่างถูกต้อง
             7)  มีเจตคติ ที่ดี และรับผิดชอบต่องาน ในหน้าที่และสังคม
             8)  ประสานงานเวลามีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ต่อผู้ร่วมงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

การประเมินผล

  1. ทดสอบภาคทฤษฎี ร้อยละ 40
  2. ทดสอบภาคปฏิบัติ ร้อยละ 60
  3. การสอบประมวลผลรวมหรือComprehensive test

เกณฑ์การตัดสินใจ

  1. ต้องมีเวลาเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด จึงจะมีสิทธิได้รับการประเมินผล
  2. ทดสอบภาคทฤษฎีต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60
  3. ทดสอบภาคปฏิบัติ ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60

 

หมายเลขบันทึก: 327004เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท