วชช. ตาก (15): หลักสูตรระยะสั้น "พนักงานมาลาเรียชุมชน"


จังหวัดตากมีผู้ป่วยมาลาเรียมากที่สุดในประเทศไทย ในขณะที่อุปสรรคการเข้าถึงบริการมีมากมาย การพัฒนาคนในชุมชนให้สามารถตรวจดูแลรักษามาลาเรียเบื้องต้นได้จึงช่วยลดอัตราตายด้วยโรคมาลาเรียลงอย่างมหัศจรรย์

    จากปัญหาความรุนแรงของโรคมาลาเรียในพื้นที่ชายแดนจังหวัดตากที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน ทาง สสจ.ตากได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนโลกด้านมาลาเรียมาจัดระบบริการในชุมชนโดยจัดตั้งศูนยืมาลาเรียชุมชน (Malaria post) ซึ่งคัดคนในชุมชนมาฝึกหัดให้เป็นหมออาสามาลาเรีย ตามแนวคิดHome-based treatment หรือการรักษาตามบ้านขององค์การอนามัยโลก

            เพื่อสนับสนุนให้สามารถพัฒนาศักยภาพของบุคลากรท้องถิ่นกลุ่มนี้ได้มากขึ้น จึงได้เกิหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นของวิทยาลัยชุมชนตากขึ้นมาในชื่อ หลักสูตรประกาศนียบัตรระยะสั้นพนักงานมาลาเรียชุมชน (Malaria Post Worker) ขึ้นโดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

            จุดมุ่งหมายของหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ มีทักษะและเจตคติที่ดีในการให้บริการ โดยมีวัตถุประสงค์

            1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะในการตรวจรักษาผู้ป่วยมาลาเรียที่มีอาการไม่รุนแรง

            2.เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมในการทำงาน

            3.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านสาธารณสุขทั่วไป

            4.สามารถปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรทางสาขาอื่นๆ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

           ระยะเวลาศึกษาตลอดหลักสูตร 3 เดือน(ไม่น้อยกว่า 420 ชั่วโมง) ทฤษฏี 120 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 300 ชั่วโมง

           โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย

ก.       หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

  1. ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับพนักงานมาลาเรียชุมชน            15 ชั่วโมง

ข.       หมวดวิชาเฉพาะ

  1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ

            1.1  ระบบบริการสาธารณสุขไทย                              15 ชั่วโมง

            1.2  การสุขศึกษา                                                 15 ชั่วโมง

            1.3  ระบาดวิทยาสำหรับพนักงานมาลาเรียชุมชน            15 ชั่วโมง

  1. กลุ่มวิชาชีพ

2.1 การดูแลรักษาผู้ป่วยเบื้องต้น                                             30 ชั่วโมง

2.2 การดูแลรักษาผู้ป่วยมาลาเรีย                                            30 ชั่วโมง

ค.      หมวดวิชาฝึกงาน

การฝึกปฏิบัติงาน                                                            300 ชั่วโมง

รายละเอียดการฝึกปฏิบัติงาน

ฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาล                                                 20 ชั่วโมง

ฝึกปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ                             20 ชั่วโมง

ฝึกปฏิบัติงานในสถานีอนามัย                                                50 ชั่วโมง

ฝึกปฏิบัติงานในหน่วยควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลง                 30 ชั่วโมง

ฝึกปฏิบัติงานในศูนย์มาลาเรียชุมชน (Malaria Post)                  180 ชั่วโมง

คำอธิบายรายวิชา

1. ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับพนักงานสุขภาพชุมชน              15 ชั่วโมง

ศึกษาและปฏิบัติการใช้ภาษาในการสื่อสารเพื่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานมาลาเรียชุมชน รู้จักใช้ภาษาที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ทั้งภาษาไทยและภาษาชนเผ่า และสามารถเข้าใจคำศัพท์เทคนิคทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

2.  ระบบบริการสาธารณสุขไทย                                           15 ชั่วโมง

ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ ระบบสุขภาพของประเทศไทย ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ ระบบบริการสาธารณสุขในพื้นที่และการจัดระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ

3.  การสุขศึกษา                                                              15 ชั่วโมง

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการให้สุขศึกษา การถ่ายทอดความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ประชาชนโดยเน้นการให้สุขศึกษาและกระบวนการถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนที่เหมาะสมกับโรคและบริบทของท้องถิ่น

4. ระบาดวิทยาสำหรับพนักงานมาลาเรียชุมชน                       15 ชั่วโมง

ศึกษาหลักการสำคัญทางระบาดวิทยา การเกิดโรค การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ระบบรายงานโรค การควบคุมป้องกันโรคเมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่

5. การดูแลรักษาผู้ป่วยเบื้องต้น                                             30 ชั่วโมง

ศึกษาหลักการในการดูแลรักษาผู้ป่วยเบื้องต้น การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การวินิจฉัยแยกโรค  กลุ่มอาการที่สำคัญของโรคประจำถิ่น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ความรู้เบื้องต้นเรื่องยาและการใช้ยา การป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ พฤติกรรมบริการ คุณธรรม จริยธรรมและสิทธิผู้ป่วย

6. การดูแลรักษาผู้ป่วยมาลาเรีย                                            30 ชั่วโมง

ศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคมาลาเรีย ธรรมชาติการเกิดโรค ชนิดของมาลาเรีย พาหะนำโรค การตรวจและค้นหาผู้ป่วย การรักษาและการส่งต่อผู้ป่วย การป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย การใช้มุ้งและการบำรุงดูแลรักษา

7. การฝึกปฏิบัติงาน                                                            300 ชั่วโมง

ฝึกปฏิบัติในการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรียและการให้การรักษาเบื้องต้น การคัดกรองผู้ป่วยมาลาเรีย ระบบรายงานผู้ป่วย การตรวจจับการระบาดในพื้นที่ ระบบการส่งต่อผู้ป่วยในสถานพยาบาลระดับต่างๆโดยฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงและหน่วยมาลาเรียชุมชนในพื้นที่

         การประเมินผล ต้องมีคะแนนในแต่ละส่วนไม่น้อยกว่า 50 % และคะแนนรวมทั้ง 4 ส่วน ไม่น้อยกว่า 50 %

การมีส่วนร่วม พฤติกรรมและการเข้าห้องเรียน 20 %

การสอบภาคทฤษฎี                     20 %

การสอบภาคปฏิบัติ                     20 %

การฝึกงาน                               40 %

และมีการสอบประมวลผลรวมตลอดหลักสูตร (Comprehensive test)

หมายเลขบันทึก: 326995เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ หนูได้รับมอบหมายดูแลเรื่องผู้ป่วยมาลาเรีย อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับ การคัดกรองผู้ป่วยโรคมาลาเรียตั้งแต่แรกรับไว้นอนโรงพยาบาล โดยมีเกี่ยวกับการประเมิน การตรวจวินิจฉัย และ eyword สำคัญอ่ะ ขอบคุณนะคะ หนูจะรออ่านค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ หนูพยายามหาแล้ว หายากมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท