มลพิษทางน้ำ


มลพิษทางน้ำ

มลพิษทางน้ำ 

น้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งที่มีชีวิตอื่นๆ  ในขณะเดียวกันน้ำก็เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน  เช่น การชลประทาน  การประมง  การสาธารณูปโภค  การอุตสาหกรรมและพลังงาน   การคมนาคม  ตลอดจนการระบายของเสียจากชุมชนและโรงงาอุตสาหกรรม  และด้วยเหตุนี้น้ำสามารถใช้ประโยชน์ส่วนรวมได้หลายอย่าง  จึงก่อให้เกิดปัญหาเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อมของน้ำ  เพราะทรัพยากรน้ำเมื่อผ่านขบวนการใช้หนึ่งๆย่อมมีระดับคุณภาพเปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับที่จะนำไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆอีก  ความรุนแรงของความเสื่อมโทรมคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำนั้นส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลจากการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว  การขยายตัวด้านอุตสาหกรรมและการเกษตร  การใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ  การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้โดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายจากอิทธิพลดังกล่าว

ในปัจจุบัน  หน่วยงานของรัฐบาลหลายหน่วยงานได้ตระหนักถึงปัญหาความเสื่อมโทรม และได้ดำเนินการแก้ไขอย่างเอกเทศหรืออาจจะร่วมมือกับหน่วยราชการอื่นๆ  แต่ก็ยังมีปัญหาในเรื่องการขาดการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  นอกจากนั้นการดำเนินงานยังขาดการสนับสนุนทางด้านงบประมาณ  เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำบรรลุเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

 

 

แหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ 

1. แหล่งชุมชน 

น้ำทิ้งจากแหล่งชุมชนนับว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ เป็นบริเวณที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำเสียมาก น้ำเสียจากชุมชนเกิดจากการใช้น้ำในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำทิ้งที่มาจากห้องน้ำ น้ำซักผ้า ซักล้าง ปรุงอาหาร ขับถ่าย การชำระร่างกาย จากที่อยู่อาศัยทุกประเภท อาคารบ้านเรือน อาคารชุด ตลาดสด ร้านค้า ร้านอาหาร ภัตตาคาร หอพัก โรงพยาบาล สถานพยาบาล โรงแรม สถานบริการซ่อมรถยนต์ น้ำทิ้งจะถูกปล่อยมาจากท่อน้ำโสโครกซึ่งส่วนใหญ่จะไหลลงสู่แม่น้ำโดยไม่มีการบำบัดก่อน นอกจากน้ำทิ้งจากท่อระบายน้ำแล้งน้ำทิ้งจากชุมชนปริมาณมากที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำในลักษณะที่มีตำแหน่งไม่ชัดเจน เช่น น้ำที่เกิดจากการล้างพื้นผิวตามอาคารบ้านเรือน น้ำล้นผิวถนน น้ำที่ชะล้างตะกอนดินทรายจากบริเวณที่มรการก่อสร้างถนนและบ้านเรือน

        แหล่งชุมชนและบ้านเรือนที่อยู่อาศัย นับเป็นบริเวณที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียมากที่สุดในสภาพปัจจุบัน จากการรายงานของการประปานครหลวง ได้ทำการประเมินน้ำประปาที่ใช้แต่ละวันที่ปล่อยทิ้งและกลายสภาพเป็นน้ำทิ้ง ประมาร 85 เปอเซ็นต์ได้นำสิ่งปฏิกูลเพิ่มเติมลงสู่แหล่งน้ำอีกด้วย น้ำทิ้งเหล่านี้ล้วนประกอบไปด้วนสิ่งขับถ่ายที่ออกมาจากร่างกาย ขยะมูลฝอย ฝุ่นละออง และเศษวัสดุชนิดอื่นๆปะปนผสมรวมมาด้วย และทำให้เกิดความเน่าเสียได้ ดังปรากฏให้เห็นอยู่แล้วภายในบริเวณพื้นที่ของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามปริมารน้ำทิ้งที่ทำให้เกิดการศึกษาแล้วในพื้นที่หลายแห่งดังเช่นเทศบาลเมืองสมุทรสาคร ประมาณ 5,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน จึงอาจกล่าวได้ว่าขนาดของชุมชนนั้น นับเป็นปัจจัยประการสำคัญในการปลดปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ และเท่าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในประเทศก็คือ ชุมชนเกือบทุกแห่งตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำ จึงมีโอกาสทำให้น้ำเสียแพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำได้โดยตรง ผลที่ติดตามมาในระยะยาวก็คือ พบว่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายได้กลับลดปริมาณลงต่ำลงเป็นอย่างมาก โดยบางแห่งมีค่าเหลือน้อยกว่า 1 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นต้น

        จะเห็นได้ว่ามีสารมลพิษมากมายหลายประเภทปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียชุมชน เช่น สารอินทรีย์ต่างๆ เชื้อโรค ตะกอนดินทราย สารพิษพวกยาฆ่าแมลง ตะกั่ว ผงซักฟอก น้ำมัน จากยานพาหนะ สารพิษที่อออกมาจากยานพาหนะ เศษอาหาร สบู่ อุจจาระ ปัสสาวะ รวมทั้ง การทิ้งเศษวัสดุ และขยะต่างๆลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง ส่วนใหญ่ลักษณะน้ำทิ้งของชุมชนมีค่า BOD ประมาณ 150-250 มิลลิกรัม/ลิตร ค่าความเป็นกรด-ด่างประมาณ 6 ถึง 8 คือไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป สารแขวงลอยในน้ำทิ้งประมาร 20-100 มิลลิกรัม/ลิตร ถึงแม้เป็นน้ำทิ้งที่มีสารมลพิษที่ไม่มาก แต่เนื่องจากมีปริมาณมาก และมีแหล่งกำเนิดมากมายหลายแห่งอยู่อย่างกระจัดกระจาย ทำให้ลักษณะการเน่าเสียของแหล่งน้ำธรรมชาติที่เกิดจากน้ำทิ้งจากชุมชน มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และยากต่อการควบคุมแก้ไข

 

 

2.โรงงานอุตสาหกรรม

สารมลพิษ สารปนเปื้อนในน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมีลักษณะแตกต่างกันตามประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานกระดาษ โรงงานทำอาหารกระป๋อง โรงานน้ำตาล โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง โรงงานผลิตเครื่องดื่ม จะปล่อยน้ำทิ้งที่มีสารอินทรีย์จำนวนมาก ทำให้ค่า BOD ของน้ำทิ้งโรงงานประเภทนี้มีค่าสูงมาก คือ มีค่า BOD ตั้งแต่ 700 ถึง 70,000 มิลลิกรัม/ลิตร

        โรงงานอุตสาหกรรมเคมี โรงงานผลิตสารกำจัดสัตรูพืช โรงงานถลุงเหล็ก โรงงานย้อมผ้า โรงงานฟอกหนัง จะปล่อยน้ำทิ้งที่มีสารเจือปนอยู่มาก

        โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โรงงานถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมน้ำมันจะปล่อยน้ำทิ้งที่มีอุณหภูมิสูงถึง 60 องศา อาจมีกัมมันตภาพรังสี และน้ำมันปนเปื้อนได้ การทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่มีน้ำทิ้งที่มีตะกอนดินทรายมาก

 

        น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำทางท่อน้ำทิ้งจึงสะดวกถ้าต้องการควบคุมและนำไปบำบัดก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำ ลักษณะของน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมจะมีค่า BOD สูงมาก มีค่าความเป็นกรและด่างสูง มีสารแขวงลอยมมาก ดังนั้นถ้าน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมไม่ได้รับการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ จะมีผลต่อคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำอย่างรุนแรง แต่ถ้ามีการควบคุมดูแล และปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็ไม่ยากต่อการป้องกันมลพิษทางน้ำที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมได้ เวลานี้โรงงานอุตสาหกรรมมักลักลอบปล่อยน้ำทิ้งที่ผ่านการใช้จากโรงงานซึ้งเป็นน้ำเสียที่ยังไม่ได้รับการขจัดความสกปรกตามมาตรฐานน้ำทิ้ง

        รวมแล้วโรงงานอุตสาหกรรมทั้งมวลใช้น้ำในปริมาณร้อยละ 3 ของการใช้น้ำทั้งหมดแต่น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมีส่วนทำให้น้ำเน่าเสียถึงร้อยละ 30 ของน้ำเสียทั้งหมดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมมีความเข้มข้นของสารพิษสูง ถ้าปล่อยลงสู่แหล่งน้ำทันทีโดยไม่มีการกำจัดน้ำเสียก่อน จะมีอิทธิพลทำให้น้ำในแหล่งน้ำนั้นมีสภาพที่เน่าเสียได้อย่างรุนแรงและรวดเร็ว ได้แก่ โรงงานน้ำตาล เบียร์ สุรา เครื่องดื่ม กระดาษ และโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป ฯลฯ สารมลพิษที่ปล่อยออกมาจะเป็นกลุ่มของสารอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ในน้ำ จึงเป็นเหตุให้ก๊าซออกซิเจนในน้ำลดลงจนหมดได้อย่างรวดเร็ว โรงงานที่มีฟอกหนัง ชุบโลหะ ฟอกย้อม ฯลฯ ทำให้น้ำทิ้งมีสารพิษ และโลหะหนักเจือปนอยู่มากเป็นอันตรายต่อ  สิ่งมีชีวิตในน้ำ บางชนิดยังสามารถสะสมและถ่ายทอดผ่านทางห่วงโซ่อาหารได้ด้วย 

        จากรายงานการวิเคราะห์ของสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

พบว่าโรงงานต่างๆปล่อยน้ำทิ้งไม่เท่ากัน  ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของโรงงาน  เช่น  โรงงานแป้งเอสอาร์ จังหวัดชลบุรี  ต้องการน้ำใช้ในขบวนการต่างๆ ตกประมาณ 1,785,000ลูกบาศก์เมตรต่อปี โรงงานกลั่นน้ำมันที่จังหวัดชลบุรีต้องการทิ้งน้ำทั้งสิ้นในจำนวน 2,600,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี เพราะฉะนั้น ถ้าคูณด้วย 0.85 ก็จะได้ประมาณน้ำทิ้งออกมาโดยเฉลี่ยซึ่งนับ เป็นปริมาณที่สูงมาก น้ำทิ้งเหล่านี้จะไหลแพร่กระจายตัวลงสู่อ่าวไทย และสร้างความสกปรกเป็นอย่างมาก 

        นอกจากนี้มีรายจากกระทรวงอุตสาหกรรม  เกี่ยวกับปริมาณน้ำทิ้งเกือบ ทุกโรงงานล้วนมีค่าอยู่ระหว่าง  10,000-40,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และในแต่ละประเภทจะมี ของเสียปรากฏอยู่ทั้งโลหะหนัก วัตถุมีพิษ กัมมันตภาพรังสี  จุลินทรีย์  ของแข็ง  และเศษวัสดุปะปนมาอยู่ด้วยเสมอ

3.เกษตรกรรม

                ได้แก่ สวน ไร่ นา ฟาร์ม น้ำที่ระบายออกจากบริเวณที่มีการเกษตร ส่วนใหญ่จะมีสารประกอบทางเคมีที่ชะล้างมาจากผิวดิน ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์และวัตถุที่มีพิษที่ใช้ในการเกษตรกรรม ขบวนการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก อาจมีการไถพรวนดินเศษพืชบางส่วนอาจถูกพัดพาไปโดยอิทธิพลของน้ำและปัจจัยอื่นๆ ให้ตกลงสู่แหล่งน้ำ และก่อให้เกิดตะกอน หรือของเน่าเสีย ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดน้ำเน่าเสียขึ้นอีกเช่นเดียวกัน สำหรับขบวนการเพาะปลูกอาจต้องมีการใช้ปุ๋ยหรือสารวัตถุมีพิษ เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตของพืชที่ปลูกเพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ย่อมมีโอกาสที่จะถูกพัดพาลงสู่แหล่งน้ำได้ โดยขบวนการชะล้างของฝนหรือน้ำชลประทาน ส่วนขบวนการเก็บเกี่ยวก็อาจเริ่มต้นจากมีบางส่วนของพืชผล ถูกเคลื่อนย้ายลงสู่แหล่งน้ำโดยความตั้งใจ เช่น การทำความสะอาดพืชผลในเบื้องแรก การแช่ล้างเพื่อขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการบางอย่างให้หลุดออกไปจากพืชผล สารพิษ รวมถึงสิ่งปฏิกูลต่างๆ จะหลุดลอยลงสู่แหล่งน้ำได้ หรืออาจจะโยนเศษวัสดุเหลือใช้ลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง เพราะไม่ต้องการสิ่งเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นความมักง่ายของผู้กระทำ ดังจากรายการผลการวิเคราะห์ของกองวัตถุมีพิษในตาราง อีกประเด็นหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในขบวนการผลิตโดยตรง เช่น การเพาะปลูกพืชน้ำ ได้แก่ ผักกระเฉด ผักบุ้ง เป็นต้น จำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องแพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำ อีกทั้งอาจเกิดขึ้นจากการชำระล้างเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรซึ่งจะพบมีสิ่งสกปรกและสารพิษลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสีย รวมไปถึงการถ่ายเทมูลสัตว์ การชำระล้างร่างกายสัตว์ เช่น วัว ควาย ฯลฯ ก็ทำให้น้ำสะอาดเกิดการเสื่อมคุณภาพได้อีกเช่นกัน

ปริมาณDDT ที่มีผลตกค้างอยู่ภายในแหล่งน้ำต่างๆ ในประเทศไทย

ลำดับ 

แม่น้ำ

จังหวัด

ปริมาณ DDT (ppb)

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

 

นครชัยศรี

ท่าจีน

แม่กลอง

คลองดำเนินสะดวก

แม่น้ำน้อย

แม่สาย

แม่ปิง

ระยอง

แม่มูล

ชุมพร

บางประกง

นครปฐม

สุพรรณบุรี

ราชปุรี

ราชบุรี

อ่างทอง

เชียงราย

เชียงใหม่

ระยอง

อุบลราชธานี

ชุมพร

ปราจีนบุรี

0.4

3.1

1.7

3.4

0.1

0.5

2.1

0.5

0.8

0.1

1.3

 

การเกษตรเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการเกษตร ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

4.การป่าไม้

    งานทางด้านป่าไม้มีผลทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมมีหลายประการ  ดังนี้

     ก.  การทำไม้  ปัจจุบันมีการใช้เครื่องจักรกลต่าง ๆ เพื่อทุ่นแรงในการตัดชักลากไม้  

ซึ่งใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง  บางครั้งอาจมีน้ำรั่วออกมา สำหรับไม้ที่ตัดแล้วรอการชักลาก  เมื่อฝนตกมาก็ชะล้างน้ำมันที่หกและสารพวก  tannin,resin  จากเนื้อไม้ลงสู่แหล่งน้ำ

     ข.  การตัดถนนป่าไม้  เพื่อนำรถยนต์เข้าไปชักลากไม้ออกมา  เป็นสาเหตุให้ดิน

พังทลายได้ง่าย  เนื่องจากต้องตัดไม้ออก  และทำการปรับพื้นที่  ทำให้น้ำในลำธารมีปริมาณตะกอนเพิ่มขึ้น

       ค.การทำลายป่า  นับเป็นปัจจัยที่ชัดยิ่งประการหนึ่งในการทำให้น้ำมีคุณภาพที่

เสื่อมโทรม  กล่าวคือ  ก่อให้เกิดการชะล้างขึ้นที่บริเวณผิวหน้าดิน  และทำการพัดพาสิ่งปฏิกูลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้คุณภาพของน้ำทางกายภาพ  สารเคมีและชีววิทยาสูญเสียไป  ซึ่งมีรายงานมากมาย  เกี่ยวกับเรื่องนี้   ปรากฏอยู่ทั่วโลกและในแทบทุกประเทศ   สิ่งที่เกิดขึ้นอีกประการหนึ่งก็คือ ตะกอน  ซากพืชและสัตว์  สารเคมี  จุลินทรีย์  ล้วนทำให้น้ำมีคุณสมบัติไม่น่าใช้แทบทั้งสิ้น

                นอกจากนี้ยังทำให้คุณสมบัติดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไปทั้งทางกายภาพเคมี  หรือชีววิทยา  หรือในทุก ๆ กรณีรวมกันก็ได้  การทำลายป่าจะมีส่วนส่งเสริมทำให้น้ำมีคุณภาพไม่น่าใช้  และสัตว์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้โดยตรง

                         ง.  การปลูกและบำรุงรักษาป่า  เนื่องจากป่าธรรมชาติถูกทำลายไปมาก  จึงต้อง

มีการปลูกทดแทน  โดยปลูกป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ  เป็นไม้โตเร็ว  จึงมีการใส่ปุ๋ยและใส่

ยาฆ่าแมลง  ซึ่งอาจจะมีบางส่วนตกค้างหลงเหลืออยู่  เมื่อฝนตกลงมาก็ชะเอาสารเคมีเหล่านี้

ลงสู่แม่น้ำด้วย

5.การทำเหมืองแร่

                        เหมืองฉีดเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำขุ่น  และมีตะกอนในแม่น้ำลำธาร  กองเศษหินและแร่

อาจถูกชะล้างไหลลงสู่ลำธาร  นอกจากนี้ถนนที่ตัดเข้าไปในเหมืองเพื่อสะดวกในการขนส่ง

ลำเลียงแร่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ดินพังทลายได้และพวกโรงงานถลุงแร่ที่อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำ

ก็อาจทำให้น้ำสกปรกได้  โดยการทิ้งขยะมูลฝอยหรือ แร่ลงในลำน้ำ  ทำให้คุณภาพเสื่อม

                       ส่วนเหมืองขุดทำให้ดินตามชายฝั่งพังทลายลงเกิดตะกอน  ทำให้ลำธาร

ตื้นเขิน การทำเหมืองนอกจากจะทำความเสียหายแก่แหล่งน้ำแล้ว  ยังทำให้พื้นที่ในบริเวณนั้น

เสียหายไปด้วย  เนื่องจากต้องโค่นต้นไม้ในบริเวณนั้นออกหมด  กิจกรรมเหมืองแร่มีความ

ขุ่นข้นและมีความเป็นกรด  เป็นด่าง  จนอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและร่างกายมนุษย์

 6.การก่อสร้างต่างๆ          

                            การตัดถนน สร้างบ้าน  สร้างเขื่อน  ต้องปรับดินให้เรียบโดยใช้รถไถและบดให้

เรียบหรือใช้รถตักดินส่วนหน้าออก  เหล่านี้เป็นตัวการทำให้ดินถูกรบกวนง่ายต่อการพังทลาย

ทำให้เกิดตะกอนในลำธารมากขึ้น

 

7.การสาธารณสุข

                        สถานที่บำบัดรักษาทางด้านสาธารณสุข  เช่น  โรงพยาบาล  สถานพยาบาล  หรือ

คลินิก  อาจปล่อยน้ำเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อโรคประเภทต่าง ๆ เข้าสู่แหล่งน้ำเสอม ถึงแม้ว่า

จะได้มีการควบคุมและทำความสะอาดน้ำทำการบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งก็ตาม แต่ก็ยังมีรายงานทั้งในและต่างประเทศพบว่า มีเชื้อโรคปะปนมากับน้ำเสีย เช่น บิด อหิวาต์  ไทฟอยด์ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีสารพิษชนิดต่างๆ ทั้งของแข็งและของเหลว ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันทางกายภาพและเคมีปะปนผสมร่วมมาด้วย เช่นกัน

8.ฟาร์มปศุสัตว์

ได้แก่การเลี้ยง หมู ไก่ โค กระบือ บ่อปลา เศษอาหารที่เหลือ และมูลสัตว์ที่ระบายลงสู่แหล่งน้ำ การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่มักจัดพื้นที่ให้อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ เพราะสะดวกต่อสัตว์ที่จะดื่มน้ำได้ง่าย แต่ผลเสียที่เกิดขึ้นมีอยู่ด้วยกันสามประการคือ ประการแรกสัตว์จะถ่ายของเสียลงสู่แหล่งน้ำทำให้เกิดการเน่าเสียได้ โดยเฉพาะถ้ามีสัตว์เป็นจำนวนมากแล้วก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายมากยิ่งขึ้นตามลำดับ ประการที่สองสัตว์อาจแทะเล็มกินหญ้า จนทำให้ความสามารถในการคลุมดินของหญ้าลดลง การพังทลายของดินก็อาจเกิดขึ้นได้ด้วยอิทธิพลของกระบวนการชะล้าง ทั้งอนุภาคดินและของเสียทั้งหลาย จะเคลื่อนย้ายตัวลงสู่แหล่งน้ำได้โดยตรง ในประการสุดท้ายนั้น การมีสัตว์เข้าไปเลี้ยงในพื้นที่ใดๆ อาจจะมีผลส่งเสริมทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ เพราะสาเหตุของโรคบางชนิดเกิดจากสัตว์เป็นแหล่งแพร่เชื้อ ( host ) เมื่อสัตว์ถ่ายมูลอาจนำเชื้อโรคเข้าสู่แหล่งน้ำ หรือคนรับประทานเนื้อสัตว์ก็จะได้รับเชื้อโรคติดต่อกันไปอีกต่อหนึ่ง

บริเวณที่เลี้ยงสัตว์ สัตว์จะเข้าไปเหยียบย่ำดินทำให้ง่ายต่อการพังทลาย เมื่อสัตว์ถ่ายมูลก็จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย เมื่อน้ำชะลงแหล่งน้ำก็จะเสื่อมคุณภาพ พวกเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ก็ถ่ายน้ำเสียไปในแม่น้ำลำคลอง

สำหรับมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ เช่น ฟาร์มเลี้ยงสุกร  ส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์จากมูลสัตว์

การระบายน้ำทิ้งจาก บ่อเลี้ยงปลา จาก นากุ้ง ทำให้น้ำเน่าเสีย แหล่งน้ำตื้นเขินและเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคอีกด้วย การเลี้ยงวัว จำนวนมากในทุ่งหญ้าทำให้หน้าดินไม่มีพืชปกคลุม เกิดการชะล้างพัดพาหน้าดินลงสู่แหล่งน้ำ การเลี้ยงเป็ด ไก่ ของเสียจากการเลี้ยงสัตว์ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ( anaerobic bacteria) ที่จะทำให้น้ำเสีย

 

9. การพักผ่อนหย่อนใจ

                ความสกปรกของน้ำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น การโยนเศษวัตถุ เศษสิ่งของลงสู่แม่น้ำลำคลอง การลอยกระทงแล้วทิ้งให้ลอยเกะกะอยู่ในน้ำหรือการถ่ายเทของเสียออกไปจากสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนสัตว์ สถานเริงรมย์ สนามเด็กเล่น สนามกอล์ฟ ล้วนทำให้น้ำสกปรกแทบทั้งสิ้น นับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อแหล่งน้ำ

10. น้ำเสียจากที่กำจัดขยะมูลฝอย

                เทศบาลมักนำขยะไปกองทิ้งไว้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรับผิดชอบ จึงเป็นแหล่งน้ำเสียที่สำคัญ เป็นที่รวมของเศษอาหาร ของเน่าเสีย เชื้อโรค สารพิษ เมื่อฝนตกก็ชะไหลลงสู่แหล่งน้ำ ซึมสู่ใต้ดิน

11. น้ำเสียจากแหล่งอื่นๆ

                จากการล้างถนน แพปลา ท่าเรือประมง การบริการ การก่อสร้าง การรื้อถอน การคมนาคมทางน้ำ พวกเรือติดเครื่องยนต์อาจมีน้ำมันรั่วออกมา อาจทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมได้ พวกที่ใช้เรือ แพ เป็นที่อยู่อาศัย มักถ่ายอุจจาระ ทิ้งขยะ เศษสิ่งของต่างๆ ลงน้ำ

 

ผลกระทบของมลพิษทางน้ำ
1. การประมง น้ำเสียทําให้สัตว์น้ำลดปริมาณลง น้ำเสียที่เกิดจากสารพิษอาจทําให้ปลาตายทัน ที ส่วนน้ำเสียที่เกิดจากการลดต่ำของออกซิเจนละลายในน้ำถึงแม้จะไม่ทําให้ปลาตายทันที แต่อาจทำลายพืชและสัตวน้ำเล็ก ๆ ที่เป็นอาหารของปลาและตัวอ่อน ทําให้ปลาขาดอาหาร ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการประมงและเศรษฐกิจ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำถ้าหารลด จํานวนลงมาก ๆ ในทันทีก็อาจทําให้ปลาตายได้นอกจากนี้น้ำเสียยังทําลายแหล่งเพาะวางไข่ ของปลาเนื่องจากการตกตะกอนของสารแขวนลอยในน้ำเสียปกคลุมพื้นที่วางไข่ของปลา ซึ่งเป็นการหยุดยั้งการแพร่พันธุ์ ทําให้ปลาสูญพันธุ์ได้
2. การสาธารณสุข น้ำเสียเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ทําให้เกิดโรคระบาด เช่น โรคอหิวาตกโรค ไทฟอยด์ บิด เป็นแหล่งเพาะเชื้อยุงซึ่งเป็นพาหะของโรคบางชนิด เช่น มาเลเรีย ไข้เลือดออก และสารมลพิษที่ปะปนในแหล่งน้ำ ถ้าเราบริโภคทําให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรค มินามาตะ เกิดจากการรับประทานปลาที่มีสารปรอทสูง โรคอิไต-อิไต เกิดจากการได้รับสาร แคดเมียม
3. การผลิตน้ำแพื่อบริโภคและอุปโภค น้ำเสียกระทบกระเทือนต่อการผลิตน้ำดื่ม น้ำใช้อย่าง ยิ่ง แหล่งน้ำสําหรับผลิตประปาได้จากแม่น้ำ ลําคลอง เมื่อแหล่งน้ำเน่าเสียเป็นผลให้ คุณภาพน้ำ ลดลง ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตเพื่อให้น้ำมีคุณภาพเข้าเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มจะเพิ่มขึ้น
4. การเกษตร น้ำเสียมีผลต่อการเพาะปลูก และสัตว์น้ำ น้ำเสียที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ การเกษตร ส่วนใหญ่เป็นน้ำเสียที่มีความเป็นกรดเป็นด่างสูง น้ำที่มีปริมาณเกลืออนินทรีย์ หรือ สารพิษสูง ฯลฯ ซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียและเกิดจากผลของการทํา เกษตรกรรมนั่นเอง เช่น การชลประทาน สร้างเขื่อนกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติน้ำในธรรมชาติประกอบด้วยเกลืออนินทรีย์เจือปนอยู่โดยเฉพาะ เกลือคลอไรด์ ขณะที่ใช้น้ำเพื่อการเกษตร น้ำจะระเหยเป็นไอโดยธรรมชาติ ปริมาณเกลือ อนินทรีย์ซึ่งได้ระเหยจะตกค้างในดิน เมื่อมีการสะสมมากเข้า ปริมาณเกลือในดินสูงขึ้น ทําให้ดินเค็มไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ปริมาณเกลืออนินทรีย์ที่ตกค้างอาจถูกชะล้าง ภายหลังฝนตก หรือโดยระบายน้ำจากการชลประทาน เกลืออนินทรีย์จะถูกถ่ายทอดลงสู่ แม่น้ำในที่สุด
5. ความสวยงามและการพักผ่อนหย่อนใจ แม่น้ำ ลําธาร แหล่งน้ำอื่น ๆ ที่สะอาดเป็นความ สวยงามตามธรรมชาติ ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ใช้เล่นเรือ ตกปลา ว่ายน้ำ เป็นต้น ถ้าหากแหล่งน้ำเหล่านี้สกปรก  ความสวยงามย่อมหมดไป  แหล่งน้ำไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสถานพักผ่อนหย่อนใจเพราะเป็นที่น่ารังเกียจเนื่องจากสีสันสิ่งสกปรก  และกลิ่น  นอกจากนี้ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตและอนามัยของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำเน่าด้วย[1]

การป้องกันและแก้ไขมลพิษทางน้ำ                   
                1. การควบคุมการปล่อยน้ำทิ้งลงในแหล่งน้ำ น้ำทิ้งจากแหล่งต่าง ๆ ควรจัดการให้มีระบบ บําบัดน้ำเสีย ตัวอย่างเช่น ระบบบําบัดน้ำเสียของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด ใน พระบรมราชูปถัมภ์ เป็นการกําจัดการเน่าเสียระบบบําบัดทางชีวภาพแบบ ใช้อากาศหรือแบบบ่อเปิด

2. การกําจัดความเน่าเสียโดยธรรมชาติ โดยปกติปฏิกูลที่ทิ้งลงในน้ำจะถูกจุลินทรีย์กําจัดอยู่ แล้วโดยธรรมชาติ น้ำในแม่น้ำลําคลองที่มีปริมาณสารอินทรีย์มากเกินไปจะทําให้เกิดสภาวะ ที่ไม่เหมาะตอการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ ธรรมชาติมีกระบวนการกําจัดเพื่อช่วยลด สารอินทรีย์ให้มีจํานวนคงที่และเหมาะแก่สิ่งมีชีวิต ในกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ ์โดยใช้ออกซิเจนช่วยนี้ จุลินทรีย์ที่มีอยู่มากมายในน้ำจะทําการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ให้กลายเป็นแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำมนุษย์และสัตว์หายใจออกมาก็มีแก๊สนี้ปะปนอยู่ พืชสีเขียวสามารถนําไปใช้สังเคราะห์แสงได้ผลจากปฏิกิริยาการสังเคราะห์แสงทําให้ ได้พลังงานซึ่งจุลินทรีย์จะนําไปใช้ในการดํารงชีวิตต่อไป วิธีแก้ไขหรือป้องกันมิให้น้ำเสีย วิธีหนึ่งก็คือ ควบคุมจํานวนจุลินทรีย์ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปจนเกิดการ ขาดแคลนออกซิ เจน หรือไม่น้อยเกินไปจนย่อยสลายไม่ทัน รวมทั้งต้องควบคุมปริมาณ ออกซิเจนในน้ำให้มีพื้นที่ผิวน้ำมากพอที่จะทําให้ ออกซิเจนแทรกลงไปในน้ำได้สะดวก ซึ่ง อาจช่วยได้ด้วยการทําให้อากาศในน้ำเกิดการหมุนเวียนตลอดเวลานอกจากนี้อาจจะใช้วิธีการ เลี้ยงปลา เช่นที่สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด ใน พระบรมราชูปถัมภ์ใช้วิธี การเลี้ยง ปลานิลในบ่อน้ำทิ้งที่ใช้ในการล้างทําความสะอาดอุปกรณ์ และเครื่องจักรที่ปนเปื้อนนม ปลานิลจะกําจัดน้ำเสียโดยกินเศษนมที่ปนอยู่ในน้ำ เป็นต้น
                3. การทําให้เจือจาง หมายถึงการทําให้ของเสียเจือจางลงด้วยน้ำจํานวนมากเพียงพอ เพื่อลด ปริมาณความสกปรก เช่น การระบายน้ำเสียลงในแม่น้ำลําคลอง ในการระบายนั้นจําเป็น ต้องคํานึงถึงปริมาณความสกปรกที่แหล่งน้ำนั้นจะสามารถรับได้ด้วย ปริมาณความสกปรก ของน้ำ ที่แหล่งน้ำจะรับได้ขึ้นอยู่กับปริมาตรน้ำที่ใช้ในการเจือจาง หรือขึ้นอยู่กับอัตราการ ไหลของน้ำในแหล่งน้ำ วิธีนี้จําเป็นต้องใช้เนื้อที่กว้าง หรือปริมาตรมากจึงจะพอเพียงต่อ การเจือจางความสกปรก โดยสากลถือว่าน้ำสะอาดควรมีค่า บีโอดี 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าค่า บีโอดี มากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ถือว่าน้ำนั้นมีโอกาสเน่าเสียได้ น้ำทิ้งควรมีค่าสาร แขวนลอย 30 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่า บีโอดี 20 มิลิกรัมต่อลิตรซึ่งเมื่อถูกเจือจาง ด้วยน้ำสะอาดจากแม่น้ำ 8 เท่าแล้ว จะมีค่า บีโอดี ไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตรน้ำใน ลักษณะดังกล่าวถือว่าไม่มีความเน่าเสียแล้ว
                4. การทําให้กลับคืนสู่สภาพเดิมและการนํากลับมาใช้อีก เป็นวิธีทําให้น้ำทิ้งกลับคืนมาเป็นผล พลอยได้และนํามาใช้ประโยชน์ได้อีก หลักการนี้มีผลดีต่อโรงงานอุตสาหกรรมโดยตรง ในการลดปริมาณของเสียที่ปล่อยจากโรงงาน โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกําจัดของเสีย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตเนื่องจากนําสิ่งที่ใช้แล้วมาใช้ได้อีก การนําเอาน้ำที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ในกิจการอื่นอีก ไม่จําเป็นต้องใช้น้ำที่มีความสะอาดมากนัก ดังนั้นในปัจจุบัน วิธีการนี้จึงเป็นที่นิยมกันมาก
                5. ในกรณีที่น้ำเน่าเสียแล้ว ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแหล่งน้ำอีก ทั้งนี้เพื่อให้เวลากับแหล่งน้ำ กลับคืนสู่สภาพปกติตามธรรมชาติ แต่ถ้าการกลับคืนสู่สภาพเดิมช้าเกินไป สามารถเร่งได้ด้วยการเพิ่มออกซิเจนเพื่อให้แบคทีเรียทํางานได้ดีขึ้น โดยกระทําดังนี้
                - ทําให้ลอยตัว โดยใช์โฟลตติง แอเรเตอร์ (Flaoting aerator) หลาย ๆ ตัวเติมออกซิเจน เป็นระยะ ๆ ตลอดลําน้ำที่เน่าเสีย วิธีนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง จึงนิยมใช้กับปากแม่น้ำที่ติด ทะเล ซึ่งมีการเน่าเสียร้ายแรงกว่าบริเวณอื่น ๆ
                - ใช้เรือแล่น เพื่อให้เกิดฝอยน้ำและคลื่นเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่ลําน้ำบริเวณที่เสีย
                - เพิ่มปริมาณน้ำ และอัตราการไหลของน้ำให้ไหลพัดพาน้ำส่วนที่เน่าเสียลงในทะเล ให้หมดโดยใช้ฝนเทียมช่วย
                6. การกักเก็บของเสียไว้ระยะหนึ่งก่อนปล่อย หรือกักเก็บไว้เพื่อปล่อยออกทีละน้อยโดย สม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้เวลาของเสียเปลี่ยนแปลงสลายตัวไปเองตามธรรมชาติ
                7. การถ่ายเทของเสียจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง เพื่อเปลี่ยนแปลงแหล่งรับของเสียใหม่ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการทิ้งของเสียจํานวนมากเกินไปลงสู่แหล่งรับของเสียเดิมจนทําให้เกิด ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสียอีก[2]

ข้อเสนอแนะ : ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน,ประชาชน  ช่วยกันปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

ภาครัฐ

 1.กำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ

2.ตักเตือน ควบคุม ดูแล

3.จัดทำระบบน้ำเสียรวม

4.หมั่นตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง

ภาคเอกชน,ประชาชน

1.ประชาชน โรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการ ต้องให้ความร่วมมือ

2.ทุกคนเคร่งครัดต่อการรักษาน้ำ

3.การจัดระบบระบายน้ำเสีย

 


 


[1] ณรงค์  ณ  เชียงใหม่. “มลพิษสิ่งแวดล้อม”, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ ,2525)หน้า  27 -  70.

[2]  www.rmuti.ac.th

หมายเลขบันทึก: 326975เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ความจริงที่ไม่น่าเชื่อ

เมื่อพูดถึงมลพิษทางน้ำ คนไทยส่วนใหญ่ก็จะชี้นิ้วไปยังโรงงาน แล้วกล่าวหาว่า โรงงานเป็นต้นตอของปัญหามลพิษทางน้ำของไทย ดังเช่นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เรือน้ำตาลล่มในจังหวัดอ่างทอง ทำให้ปลาในกระชังของชาวบ้านตาย โรงงานก็ตกเป็นจำเลยอีกเช่นเคย

แต่ข้อมูลล่าสุดที่กรมควบคุมมลพิษทำอย่างละเอียดในลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นแม่น้ำที่มีมลพิษมากที่สุดแม่น้ำหนึ่งชี้ให้เห็นชัดว่า ตัวการสร้างมลพิษในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไป

เช่น ถ้าเราแบ่งแม่น้ำท่าจีนเป็น 3 ส่วนคือ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ พบว่ามลพิษทางน้ำในเขตต้นน้ำผู้ก่อมลพิษเป็นพวกหาตัวการยาก เพราะมาจากบ้านเรือนชุมชน ฟาร์ม ถึงร้อยละ 83

มลพิษในที่นี้วัดจากค่าความสกปรก (BOD) ในน้ำ

แต่พอมาเป็นปลายน้ำ กลายเป็นว่าตัวการกลับเป็นแหล่งกำนิดมลพิษที่สามารถหาตัวการได้ (point source) เช่น โรงงานและสนามกอล์ฟ

ถ้าลองดูข้อมูลให้ลึกลงไปก็จะพบว่าแม้แต่ในเขตปลายน้ำของแม่น้ำท่า จีนที่มีอุตสาหกรรมอยู่มาก อุตสาหกรรมเป็นที่มาของมลพิษทางน้ำ (ที่วัดได้จากค่าความสกปรก) เพียงร้อยละ 22 เท่านั้น ในเขตปลายน้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นที่มาของความสกปรกในน้ำมากกว่าโรงงานกว่า 2 เท่า เพราะปลาในกระชังเป็นแสนเป็นล้านตัว ต่างก็ต้องกินต้องถ่ายปล่อยมลพิษออกมา และแย่งอากาศกันหายใจ

ข้อมูลระดับภาคของธนาคารโลกในปี พ.ศ.2542 ก็ให้ข้อมูลในทำนองเดียวกันว่า อุตสาหกรรมเป็นที่มาของมลพิษทางน้ำ คิดเป็นสัดส่วนประมาณแค่ร้อยละ 2 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 11 ในภาคใต้ ร้อยละ 24 ในภาคกลาง และร้อยละ 33 ในภาคตะวันออก

สรุปได้ว่าโรงงานมิใช่ต้นเหตุหลักของมลพิษทางน้ำที่เป็นความสกปรก

ปัญหา ใหญ่คือ ชุมชนต่าง ๆ ในเมืองต่างไม่มีการบำบัดน้ำเสียเต็มรูปแบบ แม้แต่เมืองท่องเที่ยวสำคัญ ๆ เช่น สมุย เขาหลักและกระบี่ ก็ยังไม่มีการบำบัดน้ำเสีย สำหรับเมืองที่มีการบำบัด เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ และพัทยา ก็ยังไม่เต็มรูปแบบคงต้องรอให้นักท่องเที่ยวคันคะเยอ ๆ หอบผ้าหอบผ่อนกลับบ้านแล้วจึงค่อยจะมาล้อมคอก เพราะรัฐมักจะเห็นว่านักท่องเที่ยวสำคัญกว่าคนท้องถิ่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท