อาหารแก้อาการเพลีย


เวลาที่ร่างกายขาดสารอาหารตัวใดตัวหนึ่ง ก็สามารถทำให้เกิดอาการเพลียได้

หลังจากการฉลองเพื่อต้อนรับปีใหม่และท่องเที่ยว กลับมาทำงาน บางคนยังมีอาการอ่อนเพลีย ที่หนักไปหน่อย อีกทั้งงานก็มากมายเหลือเกินยุ่งทั้งวัน บางท่านก็งานไม่หนักแต่ก็มีอาการเพลียไม่สดชื่นเลย

 อาการอ่อนเพลียเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ขาดอาหาร นอนไม่พอ เครียด ทำงานหนักเกินไป ติดเชื้อหรือเจ็บป่วย อาการอ่อนเพลียถือเป็นอาการทางอารมณ์จิตใจและร่างกายที่พบได้เสมอๆ แต่ที่รุนแรงคือ อาการอ่อนเปลี้ยเลียแรงเรื้อรัง จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือที่เรียกว่า โครนิค ฟาทีคซินโดรม(Chronic Fatigue Syndrome)

 อาการอ่อนเพลียเรื้อรังอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยได้ เช่น ปวดเมื่อยเหมือนเป็นไข้หวัด มีไข้อ่อนๆ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองบวม กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อเปรี้ย(โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังออกกำลังกาย) ปวดหัว ปวดตามข้อ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิในการทำงานหรืออ่านหนังสือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ต้องมีอาการเหล่านี้เรื้อรังตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

 เวลาที่ร่างกายขาดสารอาหารตัวใดตัวหนึ่ง ก็สามารถทำให้เกิดอาการเพลียได้ ถ้าร่างกายได้รับพลังงานหรือโปรตีนไม่เพียงพอก็จะเกิดอาการเซื่องซึม เหนื่อยหน่ายเหมือนคนไร้ความรู้สึกจนกระทั่งระบบภูมิต้านทานถูกกระทบไปด้วย ก็จะทำให้มีอาการอ่นเพลียได้เช่นกัน

   สารอาหารที่สามารถช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้เช่น

- วิตามินบี วิตามินที่จำเป็นต่อการผลิตพลังงานจากอาหารคือ วิตามินบี1 บี2 บี6 กรด แพนโทธินิค และไนอะซิน

- วิตามินซี เคยมีรายงานการจิจัยว่า ผู้ที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 100 มิลลิกรัม จะมีอาการอ่อนเพลีย

- ธาตุเหล็ก ช่วยขนส่งออกซิเจนเข้าสู่เลือด ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย

- แมกนีเซี่ยม แร่ธาตุตัวนี้มีหน้าที่สำคัญในการเปลี่ยนอาหารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ให้เป็นพลังงาน

   การจิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาท์แธมป์ตัน(Southampton) ในอังกฤษ รายงานไว้ว่าผู้ที่เป็นโรค Chronic Fatigue Syndrome มีระดับแมกนีเซี่ยมต่ำ การเสริมแมกนีเซี่ยมจะช่วยให้อาการและอารมณ์ดีขึ้น อีกทั้งยังอาจช่วยลดอาการหงุดหงิด วิตกกังวล และนอนไม่หลับด้วย

   ( อ้างอิง ศัลยา คงสมบูรณ์เวช )

 

หมายเลขบันทึก: 326816เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท