แปะก๊วยไม่ช่วยลดสมองเสื่อม


การศึกษาใหม่พบ ใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba) ไม่ช่วยลดสมองเสื่อมในคนสูงอายุที่มีสุขภาพดี และที่มีสมองเสื่อมเล็กน้อย [ Reuters ]

... 

การศึกษา ทำในกลุ่มตัวอย่างอายุ 72 ปีึ้ขึ้นไป 3,069 คนในสหรัฐฯ ติดตามไป 6 ปี สุ่มแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้ยาหลอก (placebo) กับกลุ่มที่ได้สารสกัดใบแปะก๊วย (ginkgo tree leaves) 120 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

อ.ดร.สตีเฟน ดีคอสกี และคณะจากวิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาัลัยเวอร์จิเนีย US กล่าวว่า ผลการศึกษานี้พบใบแปะก๊วยไม่ช่วยอะไรเลย สารที่ใช้ในการศึกษานี้ทำในบริษัทจากเยอรมนี (Schwabe Pharmaceuticals)

...

การศึกษา ก่อนหน้านี้พบขมิ้นในแกงกะหรี่ การออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่-ไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป ไม่ดื่ม(แอลกอฮอล์)หนัก มีส่วนช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม และอัลไซเมอร์ได้

การระวังป้องกันอุบัติเหตุส่วนหัว-คอ เช่น เมาไม่ขับ-ง่วงไม่ขับ สวมหมวกกันน็อค คาดเข็มขัดนิรภัย ฯลฯ และการป้องกันโรคสโตรค (กลุ่มหลอดเลือดสมองเสื่อม-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต) เช่น ตรวจเช็ค-รักษาความดันเลือดสูง ระัวังน้ำหนักเกิน-อ้วน เพื่อป้องกันเบาหวาน ระวังไขมันในเลือดสูง ฯลฯ มีส่วนช่วยป้องกันสมองเสื่อมได้

...

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ และขอส่งความสุข-สวัสดีปีใหม่ 2553 ครับ

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • Thank Reuters > Ginkgo extract doesn't slow cognitive decline. December 29, 2009. / Source > JAMA.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 30 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 326651เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2010 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท