TQM


TQM

ที่มาของแนวคิดเรื่อง  TQM

แนวคิด TQM ถูกคิดค้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย W.Edwards Deming เพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าและบริการ แต่ชาวอเมริกายังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง

จนกระทั่งปี ค.ศ. 1950 ประเทศญี่ปุ่นซึ่งในขณะนั้นกำลังประสบปัญหาอย่างมากในเรื่องคุณภาพของสินค้า ซึ่งไม่ได้มาตรฐาน จึงได้นำแนวคิด TQM มาใช้ปรับปรุงและพัฒนา ทำให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดีขึ้น จากสินค้าที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นนั้นจะถือเป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ กลายเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดจนกลายเป็นสินค้าชั้นหนึ่ง จากนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของ TQM และเริ่มกลับมาสนใจในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องอีกครั้งหนึ่งในปี 1980 ส่วนในประเทศไทยเองนั้นเริ่มมีการพูดถึงหลักการดังกล่าวตั้งแต่ราวๆ ปี 1985  (Mehrotra,  2007)

วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM

  •  เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าภายใน/ภายนอก
  •  เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน
  •  เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้สภาวะ

   การแข่งขันที่รุนแรง

  •  เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน
  •  เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
  •  เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  

วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของ TQM

            คือ การพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยการมีส่วนร่วมใน การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ อันจะทำให้คุณภาพชีวิต ของพนักงานทุกคนดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success factor : KSF  ของระบบ TQM )

1. ความยึดมั่นผูกพันอย่างจริงจังจากผู้บริหารทุกระดับ

2. การให้การศึกษาและการฝึกอบรมให้พนักงานทุกคนได้เรียนรู้

3. โครงสร้างขององค์กรที่สนับสุนนวิธีคิดและวิธีทำงานอย่างเป็นกระบวนการ

4. การติดต่อสื่อสารจะต้องทั่วถึงทั้งแนวดิ่งตามสายงาน และแนวราบของการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ

5.การให้รางวัลและการยอมรับทีมงาน สมควรได้รับจากผลงานที่ปรากฎการส่งเสริม

6. การวัดผลงานอย่างเหมาะสม

7. การทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางและขั้นตอนในการนำ TQM  ไปปฏิบัติในการปรับปรุงการบริการภาครัฐ

            1. การสำรวจหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชน

            2. การค้นหาจุดบกพร่องที่ควรแก้ไข

            3. การวางแผนการปรับปรุงการปฏิบัติงาน

            4. การสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นในวัฒนธรรมองค์การ

            5. การนำ TQM  ไปปฏิบัติในหน่วยงานบริการภาครัฐ

            6. การติดตามและประเมินผล

คำสำคัญ (Tags): #tqm
หมายเลขบันทึก: 326649เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2010 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท