บุคลิกภาพของผู้บริหารในอนาคต


บุคลิกภาพ  

            ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Personality มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ Persona    (Per + Sonare) ซึ่งหมายถึง Mask ที่แปลว่า หน้ากาก      ที่ตัวละครใช้สวมใส่ เป็นการเปรียบเทียบว่ามนุษย์   ทุกคนย่อมมีบทบาทไปตามหน้ากากที่สวมใส่  ในชีวิตประจำวัน

ความสำคัญของบุคลิกภาพผู้บริหาร

จากคำกล่าวที่ว่า “บุคลิกภาพดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” สะท้อนให้เห็นว่า คนที่มีลักษณะดีมีคุณธรรม ย่อมมีโอกาส  ประสบความสำเร็จได้มาก  บุคลิกภาพจึงมีความสำคัญ ดังนี้                                              
                 บุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
                 บุคลิกภาพสร้างเสริมความมั่นใจ สง่างาม กล้าพูดกล้าทำ
                 ลักษณะบุคลิกภาพช่วยสร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
           แน่นอนว่า ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดีย่อมได้รับการนับถือจากผู้บังคับบัญชา และเมื่อทั้งผู้บริหาร และผู้ใต้บังคับบัญชามีความสัมพันธ์อันดีกันแล้ว งานก็จะเดินหน้าได้อย่างราบรื่น เพราะสามารถเอ่ยปากขอความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำได้ง่าย ร่วมมือกันทำงาน และแก้ปัญหา มีทีมเวิร์คที่ดี งานที่ว่ายากๆ ก็ง่ายไปกว่าครึ่ง
แต่ถ้าผู้นำมีลักษณะท่าทางที่โผงผาง พูดจาหยาบคาย ไม่ใส่ใจการประชุม ทำตามใจตนเอง เอาความคิดเห็นตัวเองเป็นใหญ่ ฯลฯ บุคลิกภาพอย่างนี้หาคนยอมรับได้ยาก ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจจะไม่สนใจ งานมีแนวโน้มจะยิ่งพังตามไปด้วย

“บุคลิกภาพของมนุษย์สุดประเสริฐ               เป็นบ่อเกิดแห่งศรัทธามหาศาล

ใครพบพานอยากอยู่ชิดสนิทนาน        อีกบันดาลให้พบสุขและสำเร็จ”       

องค์ประกอบของบุคลิกภาพ

1.บุคลิกภาพทางกาย  แบ่งเป็นองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบ                                                     
 ประการแรก   คือ รูปลักษณ์ภายนอกของผู้บริหาร เพราะนี่เป็นสิ่งแรกที่ปรากฏแก่สายตาผู้คน ดังนั้น ความสะอาดของร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ รองลงมาคือ การแต่งกายที่เรียบร้อย เหมาะสมกับตำแหน่ง วัย และสถานการณ์ ทั้งสองส่วนนี้จะเป็นตัวสื่อสารให้คนภายนอกรู้จักตัวคุณเอง ไม่ว่าจะเป็น ระดับการศึกษา ฐานะ ตำแหน่ง ฯลฯ โดยไม่ต้องใช้คำพูดด้านวิชาการบางท่านเรียกสิ่งนี้ว่า การสื่อสารที่ไร้ศัพท์ ผู้บริหารที่ขาดการใส่การสื่อสารที่ไร้ศัพท์นี้ อาจจะสื่อสารให้ผู้พบเห็นเข้าใจในเรื่องต่างๆ ผิดไปจากความจริงได้            ประการที่สอง คือ บุคลิกภาพภายใน หมายถึงการใช้ภาษา ผู้นำต้องสามารถพูดโต้ตอบได้ฉลาด สามารถเป็นผู้นำกลุ่มได้ และต้องอ่านหนังสืออยู่เสมอ เพื่อก้าวทันสมัย และเป็นข้อมูลในการแสดงความคิดเห็น ให้คำปรึกษา โต้ตอบกับคู่สนทนา นี่คือสิ่งที่จะก่อให้เกิดการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา
2.บุคลิกภาพทางอารมณ์และจิตวิทยา
        อารมณ์เป็นสิ่งที่แสดงให้คนรู้จักเราได้อย่างชัดเจน ผู้นำที่มีบุคลิกภาพดีต้องมีความมั่นคงทางอารมณ์ ทนต่อความกดดันได้ ระงับอารมณ์โกรธได้อย่างรวดเร็ว ไม่หงุดหงิด บ่นว่าตลอดเวลา ต้องกล้าเผชิญอุปสรรคอย่างไม่ย้อท้อ เคารพสิทธิผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และต้องมีจิตวิทยาในการพูด พูดจาชมเชย โน้มน้าวจูงใจให้คนทำงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงานได้ รวมทั้งมรีจิตใจที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย
3. บุคลิกภาพทางสังคม
         ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในการศึกษาหาความรู้ในพิธีการต่างๆ ตามบรรทัดฐาน (Norms) ของสังคม เพื่อจะได้ปฏิบัติตามมารยาทสากลได้อย่างถูกต้อง สามารถเป็นตัวอย่างให้คำแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดทั้งคนรอบข้างได้
4.บุคลิกภาพทางสติปัญญา
        ความรอบรู้และมองการณ์ไกลเป็นสิ่งสำคัญกับผู้ที่อยู่ในสถานะ “ผู้บริหาร” ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพที่ดีจะต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พอที่จะเป็นผู้นำกลุ่มได้ สามารถสร้างสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรได้ อีกทั้งการมีบุคลิกภาพที่ดีทางสติปัญญา จะยิ่งทำให้ลูกน้องเคารพและให้เกียรติมากยิ่งขึ้นด้วย
         บุคลิกภาพทั้ง 4 ด้านนี้  หากเป็นบุคคลธรรมดาๆ จะได้รับความคาดหวังว่าต้องมีในระดับหนึ่ง แต่ยิ่งเป็นที่คาดหวังสูงในบุคคลระดับผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า ผู้จัดการ ผู้บริหาร ฯลฯ เพราะคนรอบข้างจะมองว่า บุคคลข้างต้นจะต้องมีบุคลิกที่ดีเป็นอย่างมาก หากทำอะไรผิดพลาดเพียงนิดเดียวก็อาจถูกตำหนิได้ ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องระวัง และใส่ใจต่อทุกการกระทำ ทุกคำพูด ทุกความคิด ฯลฯ เพราะคนระดับผู้นำทำอะไรแล้ว จะเป็นที่จับตามองของคนอื่นๆ อยู่ตลอดเวลาและที่สำคัญ ผู้นำต้องหมั่นสร้าง และฝึกฝนบุคลิกภาพของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น จนเป็นภาพลักษณ์ประจำตัวเพื่อให้เกิดความนับถือแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา แล้วงานทั้งหลายก็จะเดินไปสู่เส้นชัยได้ด้วยดีค่ะ

 “ภายนอกบอกความงาม   ภายในบอกความดี  

หน้าที่บอกความสามารถ”

 

บุคลิกภาพของผู้บริหารที่พึงประสงค์

  •    ลักษณะผู้นำ
  •    ความเป็นคนใฝ่รู้ ช่างสังเกต ช่างคิด ช่างสืบค้น
  •    ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  •    ความสามารถในการปรับตัวได้ดี
  •    แสดงออกอย่างเหมาะสม มีกาลเทศะ
  •    มนุษยสัมพันธ์ดี
  •    มีความเป็นระเบียบและมีวินัย

 การสู่ความเป็นเลิศบุคลิกภาพพิเศษของนักบริหาร   

  •    รู้จักบริหารตนเอง
  •    ทำงานอย่างมีระบบ
  •    รักในงานที่ทำ
  •    รู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับงาน และรู้จักใช้งาน  ให้เหมาะกับคน
  •    รู้หลักโอนอ่อนผ่อนปรน
  •    แสวงหาความรู้ใส่ตัวเองตลอดเวลา
  •    จิตใจกว้างขวาง
  •    มีสายตายาวไกล
  •    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  •    รู้จักบริหารเวลา
  •    เก็บรับบทเรียนในอดีต
  •    มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
  •    รู้จักรุก รู้จักถอย เรียนรู้จากผู้อื่น
 

บุคลิกภาพของผู้บริหาร ในอนาคต

  
   ยืนหยัด         ไม่ยอมเสียจุดยืน เสียความมั่นใจของตนเอง มีเหตุผลและใช้                                                                        วิจารณญาณของตนเอง                                     
    ยืดหยุ่น        รู้จักผ่อนปรนตามสถานการณ์ เพื่อให้การปฏิบัติการบรรลุผลตาม                                                               เป้าหมาย
    ยินยอม        รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน  ประนีประนอม
    ยิ้มแย้ม        สามารถยิ้มรับสถานการณ์ได้ทุกรูปแบบ แสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม
    ยกย่อง        รู้จักยกย่องผู้อื่นด้วยความจริงใจ
              
               หัว / สมอง                                                                          หู
    ยืดหยุ่น  คิดอย่างมีเหตุผล                                            ฟังเป็น  ฟังด้วย  หู  ตา  ใจ
    เยือกเย็นในการตัดสินใจ                                              ฟังแม้แต่ปัญหาเล็กน้อย
    เชี่ยวชาญเทคนิคของงาน                                            รวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็น
    เก็บความรู้สึกส่วนตัวได้ดี                                             แสวงหาการฟัง
    มีความคิดใหม่ ๆ กว้าง ไกล ลึก                                    ฟังความคิดเห็นของลูกน้อง
  
                                                     ตา
 มองปัญหาทั้งในปัจจุบันและอนาคต
 สอดส่องดูแลแม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยตลอดเวลา
       ดูคนออก  บอกคนได้  ใช้คนเป็น

                  

               หัวใจ                                                                         ปาก
 จิตสำนึกของความรับผิดชอบ                                        ชักจูงเก่ง
 เมตตา  กรุณา  เสียสละ                                                 พูดสนุก
 น้ำใจ  หรือ  สปิริตสูง                                                     พูดด้วยความยิ้มแย้ม
 สงสาร  เห็นใจ  และให้อภัย                                           พูดความจริง
 เยือกเย็น สงบ ไม่ตื่นเต้นง่าย  ใจสู้                                พูดมีเหตุมีผล
 
มือ                                                                    เท้า
      เชี่ยวชาญในงาน                                                    เคลื่อนไหวฉับไวอยู่เสมอ
      ขยัน                                                                      ช่วยในการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร
     ทำงานรวดเร็ว                                                         เดินเยี่ยมชม  ตรวจตรา
     เหมาะกับงาน                                                         Management by walking around
    ใช้มือแสดงออกดีและมีมนุษยสัมพันธ์
 
       นอกจากผู้บริหารจะมีบุคลิกภาพที่ดีทางด้านพฤติกรรมแล้ว  บุคลิกภาพทางด้านสุขภาพจิตก็เป็นสิ่งสำคัญในการบริหารองค์กรไม่แพ้กัน  ดังคำกล่าวที่ว่า

“มาดต้องตา   วาจาต้องใจ    ภายในต้องเยี่ยม”

 

สุขภาพจิตที่ดีของผู้บริหารในอนาคต

  • ให้ความเมตตา  กรุณา และปรารถนาดี
  • รับฟังทรรศนะ  คำวิจารณ์ และข้อมูลย้อนกลับ
  • สงบ  สุขุม
  • สดชื่น  เบิกบาน พร้อมประสานมิตร
  • เอาใจเขาใส่ใจเรา
  • ปล่อยวาง
  • อดทน  หนักแน่น
  • ข่มอารมณ์  เก็บอารมณ์ รักษาอารมณ์
  • ใจเป็นผู้ใหญ่ มีวุฒิภาวะ
  • ต่างคนต่างจิตต่างใจ
       ซึ่งการจะเป็นผู้บริหารที่ดีได้นั้นเราต้องพัฒนาบุคลิกภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป  ถึงแม้จะมีคำกล่าวที่ว่า

                       ทั้งชีวิตราชการ และชีวิตส่วนตัว

                  จะหาคนสมบูรณ์ที่สุดไม่ได้ในโลกนี้

                          “No one is perfect”

         แต่เราควรฝึกฝนทักษะต่าง ๆ และพัฒนาบุคลิกภาพตนเองให้ดีที่สุด  ซึ่งทักษะต่าง ๆ ที่ดิฉันจะมานำเสนอนั้น ประกอบด้วย  4  ทักษะใหญ่ ๆ ที่ผู้บริหารควรนำไปพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง

         

       ทักษะที่ต้องพัฒนาตนเองของผู้บริหาร

 ทักษะที่1 สร้างบุคลิกของผู้บริหารชั้นเยี่ยม

  •   แต่งกายมีรสนิยมดีเหมาะสมฐานะ
  •   ดูแลสุขภาพให้มีรูปลักษณ์ทรวดทรงที่เหมาะสม
  •   ควบคุมอารมณ์ให้เป็นผู้ใหญ่มีเหตุมีผล
  •   มีทักษะและมารยาทที่ห้องประชุม+โต๊ะอาหาร
  •   ติดตามข่าวสาร อ่านหนังสือประเทืองปัญญา
  •   ไปเข้าร่วมสัมมนา+เป็นวิทยากร
  •   รู้จักทักษะการแสดงออกต่อหน้าผู้อื่น เหมาะสมกับบทผู้ช่วยพระเอก 
  •   อย่าเล่นบทนางอิจฉาผู้ร้าย

ทักษะที่2 การสื่อสารของผู้บริหารชั้นเยี่ยม 

  •  เรียกประชุมชี้แจงให้เกิดกำลังใจ ปลุกเร้า
  •  มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังขายความคิด
  •  จัดระเบียบเวลาให้เหมาะสมวิเคราะห์ผู้ฟังก่อนพบ
  • เตรียมคำพูดที่เหมาะกลุ่มเป้าหมาย / พยายามพูดให้ผู้ฟังตอบว่า ใช่เสมอ หรือถ้าขัดแย้งต้องบอกว่า “ครับ/คะ….  แต่ว่า”
  •  สื่อความหมายด้วยภาษากาย เพิ่มจากการพูด
  •  เยือกเย็น สุขุม เคลื่อนไหวอย่างราบรื่น
  • อยู่ในระยะห่างที่เหมาะสม คือเกินมือเอื้อม/ไม่คุกคาม  เป็นผู้ฟังที่ดี  แสดงความสนใจ
  • รู้จักจังหวะรุก-ถอยวางตัวเป็นมืออาชีพ

 ทักษะที่ 3 การพูดของผู้มีอำนาจเมื่อมีเรื่องสำคัญต้องสั่ง

  • ประโยคบอกเล่าที่ชัดเจน  ไม่ซับซ้อน  ใช้คำน้อย ไม่มีคำขยายมาก  เป็นภาษาที่ทรงอำนาจ
  • พูดให้ช้าลง  เสียงระดับต่ำ  หนักแน่น  เยือกเย็น  เข้มงวดและชัดเจน
  • ยืนแบบทหารมั่นคง  ไหล่ผึ่ง  นัยน์ตามองตรงนิ่ง หน้าเรียบศีรษะนิ่งใส่หน้ากากหิน  ควบคุม   อากัปกริยาราบเรียบ
  • การปรากฏตัวให้สำคัญ  นั่งในที่เด่น

ทักษะที่  4  การสร้างภาวะผู้นำขององค์กร

  • ค้นหาผู้บริหารระดับสูงสุด ผู้อาวุโสเพื่อขอคำแนะนำ
  • สร้างเครือข่ายทีมงาน  เพื่อนในสำนักงาน  ผู้บริหารต่างหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์ในการประสานงาน
  • รับฟังข้อมูลทำการข่าวความเคลื่อนไหว  เพื่อรับทราบความเป็นไปของคนในองค์กร  มีสารทุกข์สุกดิบ  คับข้องใจเรื่องใด
  • ค้นหาดาวรุ่งพุ่งแรงที่จะเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด ทำงานให้เขาประทับใจต้องทำงานให้ผู้ บริหารระดับสูงหลายคนไปพร้อมกัน
  • เสนอตนเองต่อที่ชุมชน  ในที่ประชุม  ในงานสังสรรค์
  • ไม่เล่นหรือแข่งขันในสิ่งที่ไม่ถนัด  หลีกความพ่ายแพ้    
           

เมื่อเรามีทักษะต่าง ๆ ที่ดีในการบริหาร

เราก็จะกลายเป็นผู้บริหารมืออาชีพนั่นเอง

 

 

หมายเลขบันทึก: 325538เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2010 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท