โรงเรียนทางเลือกกับการประเมินคุณภาพภายนอก(๒)


มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน ๘ มาตรฐาน คือหัวใจของการจัดการศึกษาที่ทุกโรงเรียนจะต้องยึดเป็นเป้าหมายในการสร้างคนที่สมบูรณ์ ไม่ว่าโรงเรียนนั้นจะจัดการศึกษาในแนวทางใดก็ตาม

 

มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน ๘ มาตรฐาน ได้แก่

 

๑.    เป็นคนดี

๒.    มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

๓.    มีทักษะการทำงาน

๔.    คิดเป็น

๕.    มีทักษะการเรียนรู้

๖.    มีทักษะในการแสวงหาความรู้

๗.  มีสุขภาพดี

๘.    มีสุนทรียภาพ

 

ที่ต้องลำดับเรื่องการสร้างคนดี ไว้เป็นเรื่องแรกก็เพื่อให้มั่นใจว่าการศึกษาของชาตินั้น อยู่ในเส้นทางของการสร้างคนดี มีจิตสำนึก มาก่อนการสร้างคนเก่ง ที่มีทักษะในการทำงาน คิดเป็น มีทักษะในการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้  สร้างคนที่มีความสุข ที่มีสุขภาพดี และสุนทรียภาพอยู่ในชีวิต

 

ส่วนแต่ละโรงเรียนจะมีวิธีการสร้างคนดี เก่ง และมีความสุขอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับปรัชญาการศึกษาที่แตกต่างกันออกไป แต่ต้องทำให้เกิดแก่ผู้เรียนให้ครบทุกมาตรฐานที่กำหนดไว้

 

สิ่งที่ผู้ประเมินมีประสงค์อยากจะเห็นก็คือ โรงเรียนแต่ละโรงนั้น

 

  • มีวิธีการในการสร้างเยาวชนให้เป็นคนดี คนเก่ง ที่มีความสุข ได้อย่างไร
  • มีการสะท้อนผลที่เกิดขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างไร

 

โดยทุกกระบวนการที่เกิดขึ้นในโรงเรียนต้องสะท้อนกลับไปสู่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้

 

ทั้งนี้ผู้ประเมินจะพิจารณาว่าการทำงานของแต่ละโรงนั้น อยู่ในสถานภาพใด การพัฒนาในเรื่องนั้นๆ กำลังอยู่ในขั้นใด

 

  • มีความตระหนัก (Awareness) ที่จะทำการพัฒนาเรื่องนั้นๆ
  • มีความพยายาม (Attempt) มีการวางแผนงาน มีการจัดทำกิจกรรม มีภาคี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วม  มีการทำอย่างเป็นระบบ (PDCA) เมื่อได้ข้อมูลแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขงานต่อ
  • มีความสำเร็จ (Achievement) ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ ร้อยละ ๗๕ ขึ้นไป มีการสรุปโครงการ แสดงการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ  รู้ว่าอะไรเป็นปัญหา อุปสรรค และอะไรคือความสำเร็จที่เกิดขึ้น
  • มีความยั่งยืน เป็นต้นแบบได้ (Accredit)

 

 

ในการประเมินคุณภาพรอบแรกนั้น สมศ. จะใช้รูปแบบกัลยาณมิตรประเมินเพื่อยืนยันสภาพจริง ไม่ได้ตัดสินได้ ตก ผ่าน ไม่ผ่าน ซึ่งผลการประเมินจะบอกถึงจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และเป็นการให้แนวทางในการพัฒนาสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างให้ทุกคนในประเทศเห็นว่า “การศึกษาเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของประชาชนทุกคนในประเทศ”

 

มาตรฐานด้านการเรียนการสอน ๒ มาตรฐาน  ได้แก่

 

๑.    ครูมีวุฒิ ความรู้ความสามารถ และเพียงพอ

๒.    ครูสอนเก่งและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

ในระดับของโรงเรียน มีความพยายามในการพัฒนาครูหรือไม่  ผลของการพัฒนาครู และการที่ครูพัฒนาตนเอง ส่งผลต่อการพัฒนาเด็กอย่างไร

 

มาตรฐานด้านคุณภาพครู  ๗ มาตรฐาน  ได้แก่

 

๑.    รู้เป้าหมายหลักสูตร

๒.    รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ครอบครัว อุปนิสัย พื้นฐานความรู้

๓.    รู้จักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย รู้จักความแตกต่างของผู้เรียน ความแตกต่างในการเรียนรู้ รู้จักเนื้อหาที่สอน วิเคราะห์ได้ว่าควรทำอย่างไร

๔.    รู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีที่จำเป็นมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ใช้เทคโนโลยีเป็นทางเลือกหนึ่งของการจัดกิจกรรม

๕.    รู้จักวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละด้าน และนำข้อมูลที่ได้รับไปพัฒนาเด็กได้อย่างเหมาะสม

๖.    รู้จักการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อหาคำตอบว่าเรื่องที่ทำไปได้ผลไหม เกิดผลกับผู้เรียนแต่ละคนอย่างไร

๗.  นำผลที่วัดและประเมินได้ไปปรับปรุงการเรียนการสอนในรอบต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 325220เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2010 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

เป็นเรื่องราวที่ดีและมีประโยชน์มากค่ะ

สำหรับโรงเรียนทางเลือก

ได้อ่านทั้งสองตอนแล้วค่ะ

เขียนต่ออีกนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณครูวิมลศรี ศุษิลวรณ์

  • ผมมาเรียนรู้เรื่องราวดีๆ
  • เป็นข้อมูลที่ให้ประโยชน์มากเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท