ประชาธิปไตยในยุโรป 1939 – 1989 และยุโรปในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามเย็น


ประชาธิปไตยในยุโรป 1939 – 1989

ประชาธิปไตยในยุโรป 1939 – 1989

  1. ในช่วงสงครามนั้นเป็นช่วงที่รัฐต่างๆ บางส่วนในยุโรปเปลี่ยนแปลงไปในสองรูปแบบคือ

1.1.   รัฐที่มีลักษณะเผด็จการหรืออำนาจนิยม

1.2.   รัฐตามแนวคิดของมาร์กซิสม์

ดังนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่า ชะตากรรมของประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับผลของสงคราม

  1. สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นตัวบ่งชี้อย่างชัดเจนในประเด็นการจัดสรรอำนาจในระดับโลกในรูปแบบใหม่ ในรูปแบบของ 2 ขั้วอำนาจที่นำมาสู่สงครามเย็น
  2. ประชาธิปไตยในช่วงนี้จึงสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ

3.1.   ภายใต้การครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมืองของสหรัฐอเมริกา ประชาธิปไตยระบบเสรีนิยมได้ถูกสถาปนาขึ้นในยุโรปตะวันตก

3.2.   อย่างไรก็ตาม ประเทศในยุโรปทางใต้หลายประเทศก็กลายเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบอำนาจนิยม (Authoritarian Regime)

3.3.   ส่วนยุโรปตะวันออกนั้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้นมา กองทัพแดง (Red Army) ก็กระจายครอบคลุมทั้งยุโรป คาบสมุทรบอลติก ทำให้ประเทศต่างๆ เหล่านั้นมีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสม์

ยุโรปในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามเย็น

  1. สงครามโลกครั้งที่สอง ส่งผลกระทบกับประชาธิปไตยของยุโรปอย่างลึกซึ้ง ประเทศที่มีลักษณะของประชาธิปไตยอย่างมั่นคงเท่านั้นที่จะสามารถรักษาประชาธิปไตยเอาไว้ได้ และการที่ลัทธิฟาสซิสม์ถูกทำลายลงทำให้กลุ่มขวาจัดถูกทำลายลงในทางการเมืองในช่วงนั้นอีกด้วย
  2. พลวัตของสงครามเย็นและภายใต้การชี้นำทางนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกายิ่งทำให้การต่อต้านกลุ่มขวาจัดมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังเกิดขบวนการต่อต้านคอมมิวนิสม์ขึ้นในยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตาม ในยุโรปตะวันออกนั้น นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต และสงครามเย็นทำให้เกิดการต่อต้านกลุ่มที่ต่อต้านคอมมิวนิสม์ขึ้นอย่างกว้างขวาง และเป็นการปิดหนทางการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยของประเทศในยุโรปตะวันออกเหล่านี้
  3. สำหรับ Huntington แล้วในช่วงปี 1943 – 1962 นั้น เป็นช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยในระยะที่สอง โดยที่ปัจจัยหลักที่ทำให้รัฐชาติต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยนั้นคือ ปัจจัยทางด้านการเมืองและการทหาร โดยที่รัฐที่เป็นประชาธิปไตยในช่วงนี้นั้นมี 3 กลุ่มคือ

3.1.   ผู้ชนะสงครามในยุโรปตะวันตกได้สถาปนาประชาธิปไตยในหลายๆ ประเทศ เช่น เยอรมันตะวันตก อิตาลี ญี่ปุ่น ออสเตรีย และเกาหลีใต้

3.2.   ประเทศอื่นๆ ที่ได้เปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เพราะว่าฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้ชนะสงคราม ประเทศเหล่านี้เช่น กรีซ ตุรกี บราซิล อาเจนติน่า เปรู เอกวาดอร์ เวเนซูเอลา และโคลัมเบีย

3.3.   ประเทศต่างๆ ในยุโรปต้องเผชิญกับความอ่อนแออันเนื่องมาจากสงคราม ประกอบกับเกิดกระแสชาตินิยมขึ้นในประเทศอาณานิคม ปัจจัยทั้งสองประการทำให้เหล่าอาณานิคมเริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องอิสรภาพ หรือเอกราช ดังนั้นในช่วงปี 1943 – 1962 เราจึงจะพบว่ามีประเทศจำนวนมากที่หลังจากการปลดแอกแล้วได้สถาปนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นมา อย่างไรก็ตาม มีประเทศจำนวนน้อยมากที่จะสามารถรักษาประชาธิปไตยไว้ได้อย่างต่อเนื่อง

หมายเลขบันทึก: 323984เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2009 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท