กระบวนการเรียนรู้แบบ Discovery Learning Process


กระบวนการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้แบบ Discovery Learning Process

              กระบวนการเรียนรู้แบบ Discovery Learning Process เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ครู หรือผู้สอน มีบทบาทเป็นกองหนุนให้ผู้เรียน เป็นผู้ช่วยส่งเสริม ให้โอกาสผู้เรียนแต่ละคน ได้ฝึกฝนทักษะที่มีอยู่ในตัวเอง ในการเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้ตามแบบของตนเอง ประกอบไปด้วย 7 ส

               ส สงสัย    ส สังเกต     ส สัมผัส     ส สำรวจ                                  

               ส สืบค้น    ส สั่งสม    ส สรุปผล

              จัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Discovery Learning Process เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และมีส่วนร่วมในกระบวนการที่ก่อให้เกิดความรู้ ผ่านทางความคิดของผู้เรียน ตลอดจนได้ลงมือปฏิบัติเอง (เรียนรู้โดยการกระทำ) ได้ลองผิดลองถูกเอง สามารถสรุปความคิดรวบยอดได้ ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทางความคิดแบบมีเหตุผล (คิดวิเคราะห์เป็น)แก้ปัญหาได้ ผู้เรียนจะเกิดความภูมิใจ  สุดท้ายผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน  คือ เป็นผู้ใฝ่รู้ และเรียนรู้วิธีที่จะค้นหาคำตอบ นำไปสู่การจดจำสิ่งที่เรียนรู้แล้วได้นาน แบบฝังลึก

             บทบาทของครู หรือผู้สอน จึงเป็นผู้จัดการกระบวนการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียน ได้ใช้ทักษะ 7 ส. ที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนเอง ดังนี้ ชักชวนให้ผู้เรียนเกิดการสงสัย ไม่รีบให้คำตอบ, ให้เวลาผู้เรียนได้สำรวจฝึกการสังเกต ใช้บันทึกช่วยจำ, กระตุ้นให้ผู้เรียนได้สัมผัส ให้ครบทั้ง 5 สัมผัส อย่าใช้ คำว่า "ห้าม" "อย่า" "หยุด" กับผู้เรียน, สนับสนุนให้ผู้เรียนอยากสำรวจสิ่งที่สนใจ, สนับสนุนเสนอแนะแนว ให้ผู้เรียนสืบค้นหาคำตอบต่อจากสิ่งที่ได้สำรวจ, ให้โอกาสให้ผู้เรียนได้เกิดการสั่งสมเพื่อให้ได้นำความรู้ที่ได้กลับมาใช้ได้อย่างอัตโนมัติ, เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สรุปผลได้เองเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดได้ด้วยตนเอง

              ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการสงสัยรู้จักตั้งคำถามกับสิ่งที่พบเห็น ชักจูงให้ผู้เรียนใช้การสังเกต สัมผัส ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่าง ไม่ปิดกั้น และสนับสนุนให้ผู้เรียนต่อยอดความรู้ด้วยการสำรวจ และสืบค้นข้อมูล จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ รอบตัว และมีการสั่งสม ทำซ้ำจนเกิดเป็นความชำนาญ หรือเกิดทักษะในเรื่องนั้น ๆ ตลอดจนได้คำตอบสุดท้าย ครูผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสรุปความรู้อย่างอิสระรวมทั้งเป็นผู้สังเกตการณ์ที่ดี ครูผู้สอนต้องคอยสังเกตผู้เรียนว่ามีการฝึกทักษะ 7 ส.มากน้อยเพียงใด ครูผู้สอนต้องทำหน้าที่นักวางแผน สร้างโจทย์ หรือเงื่อนไขการเรียนรู้ และจัดกระบวนการกิจกรรมรองรับ โดยต้องคำนึงถึงความสอดคล้องเหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน และสถานการณ์นั้น ๆ

             การจะจัดกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ได้ต้องเชื่อมั่นว่าผู้เรียนมี ศักยภาพ ในตนเอง มีความกระหายใคร่รู้  มี ความฝัน และ จินตนาการ  และมี ความปรารถนา เป็น คนดี 

Discovery Learning Process   ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ที่เป็นองค์ประกอบในการดำรงชีวิตของเขาในปัจจุบัน และอนาคต  เพื่อให้มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

         ส สงสัย: ฝึกฝนการเป็นคนช่างคิด ช่างสงสัย รู้จักตั้งคำถาม นำไปสู่การเป็นคนใฝ่รู้ตื่นตัว คิดเป็น

         ส สังเกต: รู้จักเก็บรายละเอียด ไม่รีบร้อน ไม่มองข้าม นำไปสู่การเป็นคนละเอียดรอบคอบ

         ส สัมผัส: ช่วยฝึกฝนให้คนรู้จักการใช้ หู ตา จมูก และลิ้นในการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาสมอง และการใช้ทักษะของร่างกายทั้ง 5

         ส สำรวจ: ให้ผู้เรียนรู้จักมองหาความเชื่อมโยงความสัพันธ์ความเกี่ยวข้อง สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ เป็นพัฒนาไปสู่การมองแบบองค์รวม

         ส สืบค้น: เป็นนำความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ มาศึกษานำไปสู่การเป็นคนใฝ่รู้ รักการอ่าน การค้นคว้า

         ส สั่งสม: ฝึกทำซ้ำ ๆ ให้ผู้เรียนมีหลักคิดทางวิทยาศาสตร์ ทบทวนความถูกต้องแม่นยำ รู้จักฝึกหาทางออกเพื่อแก้ปัญหา พัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญ

         ส สรุปผล: รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประมวลความคิด ลำดับขั้นตอน รู้จักกล้านำเสนอความคิด หรือคำตอบ ในมุมมองที่เหมือน หรือแตกต่าง ด้วยตนเอง

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 323771เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2009 04:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากได้ข้อมูลขอแชร์นะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท