ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

วิทยฐานะ สร้าง หรือทำลายขวัญกำลังใจครู


ข้อคิดสำหรับว่าที่ ครู คศ. 3

 

     

     วิทยฐานะ สร้าง หรือทำลายขวัญกำลังใจครู ?

 

     " เหตุใดการประเมินวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษจึงผ่านน้อย"

  

    จากการประเมินวิทยฐานะ ของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยเฉพาะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ทั้ง 3 เขต  พบว่า ได้รับผลกระทบจากการประเมิน  วิทยฐานะในช่วงเดือน มีนาคม  2551 นี้มากที่สุด คือ กลุ่มครูชำนาญการพิเศษ  เพราะมีผู้ส่งผลงาน เข้ารับการประเมินจำนวมาก แต่มีครูผ่านการประเมินน้อยด้านที่ครูไม่ผ่านการประเมิน เป็นจำนวนมาก คือด้านที่ 3 การประเมินผลการปฏิบัติงาน และประเมินผลงานวิชาการ ซึ่งเป็นหัวใจของการประเมิน มีหลายสาเหตุ เช่น

   . ครูบางคนทำผลงานเองแต่คุณภาพไม่ถึง

   . ครูบางคนทำงานเก่ง  สอนหนังสือเก่ง แต่เขียนผลงานนำเสนอไม่เป็น

   . ครูบางคนไม่ได้เรียนมาทางการวิจัย (ไม่จบปริญญาโท) เลยไม่รู้ว่าจะเริ่มเขียนงานวิจัยอย่างไร

       ซึ่งกรรมการบางท่าน อาจจะยึดติดรูปแบบมากกว่าเนื้อหาสาระ หากครูเขียนรูปแบบผลงานวิชาการไม่ถูกก็จะไม่ผ่านการประเมิน  ทั้งที่จริงแล้วรูปแบบน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการให้คะแนนเท่านั้น

      กรรมการมีจำนวนมาก ยังมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน   เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุ ที่ทำให้ครูไม่ผ่านการประเมิน

     คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลาการทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)  ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินในด้านที่ 3 ไว้ว่า

  .".ให้พิจารณาจากเอกสารรายงานการปฏิบัติงานและผลงานทางวิชาการ  และอาจให้ผู้ขอเลื่อนวิทยฐานะนำเสนอและตอบข้อซักถามด้วยก็ได้ " แต่ในทางปฏิบัติจริง ที่ผ่านมาพบว่า " ไม่มีกรรมการแม้แต่ชุดเดียวที่ให้ครูนำเสนอและตอบข้อซักถามตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว"   นั่นหมายความว่ากรรมการประเมินและตัดสินจากเอกสารเพียงอย่างเดียว โดยที่ครูไม่มีโอกาสชี้แจงหรืออธิบายแนวทางการพัฒนา นวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทการทำงานของตัวเองเลย  นอกจากนี้เกณฑ์การตัดสินที่ต้องผ่านเป็นเอกฉันท์  ก็เป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้ขอประเมิน

    สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งก็ตือ การประเมินในแต่ละครั้ง ต้องใช้กรรมการตรวจผลงานเป็นจำนวนมาก มาตรฐานของกรรมการที่เข้มข้นแตกต่างกันของแต่ละคน  แต่ละกลุ่มสาระ และแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา  ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของผู้ผ่านและผู้ไม่ผ่านการประเมินระหว่างกลุ่มสาระและเขตพื้นที่...

คำสำคัญ (Tags): #ครู
หมายเลขบันทึก: 322657เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2009 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนคุณ ท.ณ.เมืองกาฬ

          เหตุผลที่ท่านบอกไว้มีส่วนจริงมาก  แต่อีกประการหนึ่งที่ผมสังเกต คือ เหตุผลของผู้อ่านผลงาน  จริงอยูเรามีมาตราฐานกำหนดไว้  แต่อย่าลืมนะครับว่า  ทุกคนรู้ว่า 1 ฟุต มี 12 นิ้ว  แต่การนำไปใช้ บางคน 1 ฟุต มีแค่ 10  นิ้ว แต่บางคน กลายเป็นว่า  1 ฟุต มี  15  นิ้ว ก็มี  อย่างนี้เหนื่อยแน่นอน

  • ขอบคุณครับคุณสมนึก โทณผลิน
  • ที่แวะมาเยี่ยม มาทักทาย
  • ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆท่านโชคดี

วิทยฐานะเป็นการพัฒนางานการเรียนการสอนของครู ถ้าทำแล้วทำให้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนพัฒนาขึ้น และเป็นกำลังใจในการทำงานของครูด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท