ลุ่มน้ำโขง : ศักยภาพทางเศรษฐกิจ คมนาคมและการท่องเที่ยว


ที่ราบสูงทิเบตสู่ตนเลสาบ

ลุ่มน้ำโขง : ศักยภาพทางเศรษฐกิจ คมนาคมและการท่องเที่ยว

  ดร.สุรศักดิ์ ราษี

วิทยาลัยเทคนิคเลย

           แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหลักแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงทิเบต จากนั้นก็ไหลผ่านประเทศจีน เมียนมาร์ ลาว ไทย กัมพูชา และไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ ที่ประเทศเวียดนาม คิดเป็นระยะทางยาวกว่า 4,909 กิโลเมตร มีพื้นที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำโขงครอบคลุมอาณาเขต 810,000 ตารางกิโลเมตร (เกือบ 2 เท่าของประเทศไทย) และยาวที่สุดในอุษาคเนย์ นับเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ 10 ของโลก

          นอกจากนั้นแม่น้ำโขงแบ่งออกเป็น  2  ส่วน คือ แม่น้ำโขงตอนล่างกับแม่น้ำโขงตอนบน โดยแม่น้ำโขงตอนบน เริ่มจากต้นน้ำลงมาจนถึงเขตรอยต่อระหว่างประเทศจีนและลาว  ที่เรียกกันว่า สามเหลี่ยมมิตรภาพส่วนแม่น้ำโขงตอนล่างนับจากจุดที่แม่น้ำโขงเริ่มเป็นพรมแดนธรรมชาติที่กั้นระหว่างประเทศลาว และเมียนมาร์ ในแต่ละปีกระแสน้ำจากแม่น้ำโขงจะไหลทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ลงสู่ทะเลจีนใต้เป็นปริมาณมหาศาล คือ มากถึง 475,000 ลูกบาศก์เมตร

          แต่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาน้ำในแม่น้ำโขงยังไม่ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่  แม้ว่าองค์การสหประชาชาติ  จะได้มองเห็นถึงความสำคัญของน้ำในแม่น้ำโขงและเส้นทางคมนาคมในอนุภูมิภาคแห่งนี้จนกระทั่งได้ริเริ่มโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงมาตั้งแต่ปี  พ.ศ.2498  เพื่อสำรวจและพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงให้การใช้น้ำจากแม่น้ำโขง และเส้นทางคมนาคมเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพอันจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อทุกประเทศที่ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำสายนี้

          เป็นที่ทราบกันดีว่า กระแสน้ำในลำน้ำโขงและเส้นทางคมนาคม มีศักยภาพ (Potential) เพียงพอที่จะนำมาใช้ในเชิงเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกทั้ง  6  หากประสานความร่วมมือกันอย่างจริงจัง

ด้านเศรษฐกิจ 

          แม่น้ำโขง มีศักยภาพมากพอ ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจได้นี้เองจึงทำให้เกิด  โครงการที่จะนำน้ำไปใช้ มากมายหลายโครงการตลอดทั้งโครงการพัฒนาต่าง ๆ เช่น โครงการผันน้ำเพื่อการเกษตรและการประมงโครงการด้านพลังงานไฟฟ้า  โครงการพัฒนาโขง ชี มูล และโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาว  เป็นต้น

ด้านการขนส่งและคมนาคม 

          การเดินเรือตามลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน เขตนี้จะครอบคลุมพื้นที่ประเทศลาว กัมพูชา   เวียดนาม  เมียนมาร์ มณฑลยูนนานของจีน และบางส่วนของไทย  ฉะนั้นแนวความคิดที่จะสร้างระบบการเดินเรือและขนส่งตามลำน้ำตลอดทั้งแควสาขาของแม่น้ำโขงนี้จะเอื้ออำนวยประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การค้าให้แก่พื้นที่ตั้งแต่เมืองจิ้งฮงในยูนนานเรื่อยลงมาจนถึง แขวงหลวงพระบางในประเทศลาว มีระยะทางทั้งสิ้นประมาณ  700  กิโลเมตร

          จากเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้นนั้นเอง  ทำให้คณะกรรมการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงมองเห็นว่า การค้า ตามลำน้ำระหว่างชายแดนประเทศไทย  ลาว จีน และเมียนมาร์จะเพิ่มขึ้นจากเดิมคือ ประมาณ 20,000  ตัน  มาเป็นจำนวนมากกว่า  250,000  ตัน โดยจำนวน  210,000  ตัน  จากจำนวนนี้คาดกันว่าจะมาจากการใช้เส้นทางตามลำน้ำโขงเป็นทางขนส่งสินค้า ส่วนที่เหลือคาดว่ามาจากการใช้เส้นทางตามแควสาขาต่าง ๆ นอกจากนี้ก็ยังมีโครงการที่จะปรับปรุงร่องน้ำของแม่น้ำโขงระหว่างมณฑลยูนนานของประเทศจีนกับเมียนมาร์ และลาว  เพื่ออำนวยความสะดวกต่อเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่อีกด้วย

           การเดินเรือตามลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เขตนี้จะครอบคลุมพื้นที่ตามลำน้ำโขงในประเทศกัมพูชา และบางส่วนทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม ซึ่งรวมถึงบริเวณสามเหลี่ยมปากน้ำโขงหรือสามเหลี่ยมปากนกแก้ว โครงการนี้มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงพัฒนาเส้นทางขนส่งทางน้ำให้กับประชาชนและการขนถ่ายสินค้าเป็นหลัก

           โครงการเดินเรือ ตามลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจที่เน้นภาคเกษตรกรรมของประเทศกัมพูชา ตามแผนงานของโครงการนี้ ได้มีการเสนอให้เร่งซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ  เช่น ท่าเรือ และสะพาน ที่ได้รับความเสียหายจากความขัดแย้งภายในประเทศ รวมทั้งขุดลอกลำน้ำในส่วนที่ตื้นเขินอีกด้วย

ด้านการท่องเที่ยว

            ความงามของลำน้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนช่วงบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ (Golden Triangle) ของประเทศไทยและริมตะเข็บชายแดนเมียนมาร์  ลาว เรื่อยไปจนถึงแคว้นสิบสองปันนาในจีน  สองฟากฝั่งยังคงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่า และพื้นที่ ที่ทำการเกษตรมีทิวเขาสลับซับซ้อนลดหลั่นไปกับไร่ชาอันเก่าแก่ของจีน

           ความงามตามธรรมชาติในเขตแม่น้ำโขงตอนบน ได้สร้างความประทับใจแก่  นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศตลอดจนผู้คนในภูมิภาคต่าง ๆ เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยมีความปรารถนามากที่จะได้เดินทางไปท่องเที่ยวยังดินแดนประวัติศาสตร์สิบสองปันนา ซึ่งได้รับการกล่าวขานกันว่าเป็นแหล่งวัฒนธรรมชาวไตลื้อ

           ถึงแม้ว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยว จะมีความสำคัญสูงต่อจีนตอนใต้ และกลุ่มประเทศ อินโดจีน 3 ประเทศ  คือ เวียดนาม  ลาว และกัมพูชา  รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยด้วย เพื่อจะได้ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน  ตลอดจนเป็นแหล่งรายได้ใน รูปของเงินตราต่างประเทศที่สำคัญก็ตามแต่จะต้องมีการลงทุนปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก   ต่าง ๆ มากมาย เช่น ระบบการขนส่งทางอากาศ  ระบบสาธารณูปโภค  ถนนเชื่อมโยงต่อระหว่างแหล่งท่องเที่ยวกับท่าเทียบเรือ

           นอกจากปรับปรุงสิ่งแวดล้อมแล้ว จะต้องปรับปรุงร่องน้ำสำหรับการเดินเรือในแม่น้ำโขง เพื่อให้เรือที่มีน้ำหนักมากผ่านได้  การก่อสร้างท่าเรือ  การแก้ไขปัญหาการผ่านแดน  การฝึกภาษาอังกฤษแก่มัคคุเทศก์   การพัฒนาบุคลากรในธุรกิจท่องเที่ยว   การบริการทางการท่องเที่ยวในด้านอื่นๆ ตลอดจนเรื่องของความปลอดภัยให้มีมาตรฐาน และมีความพร้อมที่จะรองรับการขยายตัวอย่างสูงของจำนวนนักท่องเที่ยวในอนาคตได้

           ฉะนั้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่าหากอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบตามโครงการ และเป้าหมายหรือแนวทางที่ตั้งเอาไว้ให้เกิดเป็นจริงทุกประการแล้วผลประโยชน์ที่เป็นทรัพยากรน้ำและการขนส่งและคมนาคม  การท่องเที่ยว เช่นที่กล่าวมาแล้วนั้นจะ ตกอยู่กับ 6 ประเทศสมาชิกมากกว่าประเทศอื่นใดทั้งหมด

           จากข้อมูลของโครงการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงทั้งทางน้ำและทางบกตลอดทั้งทางอากาศจะเห็นได้ว่า น้ำในแม่น้ำโขงมีศักยภาพในการนำไปใช้ในด้านพลังงานไฟฟ้าของแต่ละประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคทั้ง  6  ได้อย่างเพียงพอ ในขณะเดียวกันการคมนาคมทางบกและทางอากาศ ในอนุภูมิภาคก็สามารถเป็นไปได้ทั้งทางเครื่องบิน ทางรถไฟ และทางรถบรรทุก โดยมีเส้นทางเชื่อมโยงแต่ละประเทศสมาชิกปรากฏอยู่ในโครงการพัฒนา (EWEC) อย่างชัดเจนแล้ว

            ทั้ง  6  ประเทศสมาชิกคงจะได้ตระหนักว่าในปัจจุบันนี้สงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้วเวียดนามเองก็บอบช้ำจากสงครามมานาน จีนก็มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น เมียนมาร์ก็ปิดประเทศมาเป็นเวลานานหลายปี ลาวก็ขาดแคลนเงินตราต่างประเทศและไทยเองก็ต้องการพลังงานไฟฟ้า กัมพูชาก็ระอุไปด้วยการสู้รบกันเองจนประเทศล้าหลังในการพัฒนา  ฉะนั้นเมื่อย้อนดูถึง    ภูมิหลังของแต่ละประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแล้วล้วนแต่เผชิญหน้ากับปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำด้วยกันทั้งนั้น และคาดว่าสิ่งหนึ่งที่ทุกประเทศต้องการเหมือนกันก็คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคต เพราะนั้นหมายถึงการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิกให้สูงขึ้นด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 321516เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
นายวินัย พรมพิมพ์ ปวส1/1 ก่อสร้าง

อาจารย์ทำมั้ยเทห์จังเลย OK ดีมาก

นายคมกริช เนาว์สน

อาจารย์ดีมากๆๆเลย ครับ

นายคมกริช เนาว์สน ปวส.1/1 โยธา

บทความของอาจารย์ดีมาก..เลยครับ

ได้รู้จักแม่น้ำโขงมากยิ่งขึ้น

ยอดเยี่ยม มากเลยคับ

ปิยะพงษ์ พิชัยคำ

ได้ความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านมากเลยคับขอบคุณมากคับ

เยี่ยมมากคราฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟ

สุดยอดไปเลยดด

สุดยอดครับ

สอนดีมากครับ

ดีมากครับ

ไอเดียดีมากครับ

นายอภิสิทธิ์ ต่อศักดิ์

สุดยอดคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท