นาฬิกาชีวิตรวนทำหัวใจโทรม [EN]


ทีมวิจัยญี่ปุ่น พบนาฬิกาชีวิต (circadian rhythms; circadian = รอบวัน; rhythm = จังหวะ) ตีรวนทำหัวใจเสื่อม โดยผ่านการทำความดันเลือดให้สูงขึ้น [ BBC ]

...

นาฬิกาีร่าง กายหรือนาฬิกาชีวิต (body clock) ที่ทำงานผิดปกติ (malfunction; mal- = เลว ตรงกับบาลีว่า "มาร"; function = การทำงาน) ทำให้สารเคมีในร่างกายเสียสมดุล และนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บ

ศ.ฮิ โรชิ โอกามารุ และคณะ ทำการศึกษาในสัตว์ทดลอง (หนู) พบว่า สัตว์ที่ขาดสารโมเลกุลคู่ที่ชื่อว่า 'cryptochromes (คริพโทโซมส์)' ทำให้นาฬิกาชีวิตตีรวน

...

คนที่เสี่ยงต่อปัญหานาฬิกาชีวิตตีรวนมากหน่อย คือ คนที่ทำงานเป็นกะ (shift workers) เช่น พยาบาล หมอที่อยู่เวร นักบิน-ลูกเรือโดยสารระยะไกล ฯลฯ

คนที่มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น หลับยาก, หลับๆ ตื่นๆ ฯลฯ ก็มีความเสี่ยงทำนองนี้เช่นกัน

...

ศ.ฮิโรชิแนะนำ ว่า คนที่ทำงานเป็นกะ หรือมีปัญหาในการนอนหลับ ควรตรวจวัดความดันเลือดบ่อยหน่อย เนื่องจากนาฬิกาชีวิตที่ตีรวน ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้นได้ในระยะยาว (ถ้านอนหลับ 2-3 วันจะเสี่ยงความดันต่ำ หรือเป็นลมง่่าย)

ความ ดันเลือดสูงมักจะไม่มีอาการอะไรชัดเจน ทว่า... เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ สโตรค (stroke = กลุ่มอาการหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต), ไตเสื่อม ไตวาย และโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ ได้

...

ยีนส์หรือกลุ่มชุดรหัสพันธุกรรม (DNA) ที่แสดงผลทำให้นาฬิกาชีวิตตีรวนได้ พบทั้งในหนูและในคน 

ช่วง เวลาที่ความดันเลือดคนเรามักจะสูงมาก คือ ช่วงเ้ช้า (morning surge; morning = เวลาเช้า; surge = พุ่งพรวด เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว)

...

นี่อาจช่วย อธิบายได้ว่า ทำไมคนถึงเสียชีวิตมากตอนเช้า หรือบางที... คนเราอาจจะทำอะไรกันบางอย่างตอนเช้า เช่น เข้าห้องน้ำแล้วเบ่ง หรือ... (ละไว้ในฐานที่เข้าใจ) ฯลฯ

การศึกษานี้อาจนำไปสู่แนวทางการรักษาความดันเลือดสูงใหม่ๆ ได้ในอนาคต ทว่า... ตอนนี้มีคำแนะนำที่ดีคือ ควรหลีกเลี่ยงการนอนดึกมากเกิน นอนไม่พอ หรือทำงานเป็นกะเท่าที่จะทำได้

...

ถ้าหลีกเลี่ยง ไม่ได้... ควรตรวจเช็คความดันเลือดให้เบาหน่อย เพราะการรักษาความดันเลือดสูงตั้งแต่ระยะแรกๆ ช่วยลดโรคภัยไข้เจ็บได้มากมายทีเดียว

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Body clock link to heart disease' = "นาฬิการ่างกาย (นาฬิกาชีวิต) มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ" 

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

@@ [ circadian ] > [ เซอ - เค้ - เดี่ยน ] > http://www.thefreedictionary.com/circadian > adjective = รอบวัน, 24 ชั่วโมง (circa- = circle = รอบ; -dian = day = วัน) หมายถึงวงจรชีวิตของสิ่งมีีชีวิตที่แปรไปในรอบกลางวัน-กลางคืน

...

@@ [ rhythm ] > [ ริต - ตึ่ม ] > http://www.thefreedictionary.com/rhythm > noun = จังหวะ

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • Thank BBC > Body clock link to heart disease. 13 December 2009. / Source > J Nature Medicine.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 14 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 321305เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2009 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท