Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

๒. การคบบัณฑิต (ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา)


"แท้จริง บุคคลผู้มีปกติเที่ยวสมคบคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน เพราะการอยู่ร่วมกับคนพาล เป็นเหตุนำทุกข์มาให้ในกาลทุกเมื่อ เหมือนการอยู่ร่วมกับศัตรู ส่วนบัณฑิตมีการอยู่ร่วมเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งหมู่ญาติ เพราะเหตุนั้นแล นรชนพึงคบบัณฑิต ผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต เอาการเอางาน มีศีล มีวัตร ไกลจากกิเลส และเป็นสัตบุรุษ เปรียบดังพระจันทร์คบอากาศอันเป็นทางโคจรแห่งดวงดาวฉะนั้น" ขุ. ธ. ๒๕/๒๕/๔๒-๔๓

บทว่า  ปณฺฑิตาน  ความว่า ชื่อว่าบัณฑิต  เพราะดำเนินไป  อธิบายว่า  ดำเนินไปด้วยคติ  คือความรู้ในประโยชน์ที่เป็นปัจจุบันและภายภาคหน้าซึ่งบัณฑิตเหล่านั้น.

บทว่า  เสวนา   ได้แก่  การคบ   การเข้าใกล้   ความมีบัณฑิตนั้นเป็นสหาย  มีบัณฑิตนั้น  เป็นเพื่อน  ความพรักพร้อมด้วยบัณฑิตนั้น.

บัดนี้เมื่อทรงสรรเสริญการคบบัณฑิต จึงตรัสว่า  การคบบัณฑิตเป็นมงคล.

สัตว์ทุกประเภท   ผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ  ๑๐  มีเจตนางดเว้นปาณาติบาตเป็นต้น  ชื่อว่า  บัณฑิต   ในจำพวกพาลและบัณฑิตนั้น.

บัณฑิตเหล่านั้น  จะพึงรู้ได้ก็ด้วยอาการทั้ง ๓  เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้    พระสูตรว่า   

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    บัณฑิตลักษณะของบัณฑิต    เหล่านั้น.  อนึ่ง  พระพุทธเจ้า    พระปัจเจกพุทธเจ้า   พระอสีติมหาสาวก พระสาวกอื่นของพระตถาคต  และบัณฑิตมีสุเนตตศาสดา  มหาโควินทศาสดา   พระวิธูรบัณฑิต    สรภังคดาบส    พระมโหสธ     สุตโสมบัณฑิต  พระเจ้านิมิราช  อโยฆรกุมาร และ อกิตติบัณฑิต เป็นต้น   พึงทราบว่าบัณฑิต.

บัณฑิตเหล่านั้น   เป็นผู้สามารถกำจัดภัยอุปัทวะและอุปสรรคได้ทุกอย่าง  แก่พวกที่ทำตามคำของตน  ประหนึ่งป้องกันได้ในเวลามีภัย  ประหนึ่ง ดวงประทีปในเวลามืด  ประหนึ่งได้ข้าวน้ำเป็นต้น    ในเวลาถูกทุกข์มีหิวกระหาย  เป็นต้นครอบงำ. จริงอย่างนั้น    อาศัยพระตถาคต    พวกเทวดาและมนุษย์นับไม่ถ้วน  ประมาณไม่ได้พากันบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ  ดำรงอยู่ในพรหม.  โลก  ดำรงอยู่ในเทวโลก    เกิดในสุคติโลก    ตระกูลแปดหมื่นตระกูล    ทำจิต ให้เลื่อมใสในพระสารีบุตรเถระ  และบำรุงพระเถระด้วยปัจจัย  ก็บังเกิดในสวรรค์.  ตระกูลทั้งหลายทำจิตให้เลื่อมใส   ในพระมหาสาวกทั้งปวง  นับตั้งแต่พระมหาโมคคัลลานะ  พระมหากัสสปเป็นต้นไป  ก็อย่างนั้นเหมือนกัน   สาวกทั้งหลายของสุเนตตศาสดา    บางพวกก็เกิดในพรหมโลก   บางพวก   ก็เข้าเป็นสหายของเหล่าเทพชน  ปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ     บางพวกก็เข้าเป็นสหายของ คฤหบดีมหาศาล.   

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า   

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ไม่มีภัยแต่บัณฑิต  ไม่มีอุปัททวะแต่บัณฑิต  ไม่มีอุปสรรคแต่บัณฑิต.  อนึ่ง  บัณฑิตเสมือนของหอมมีกฤษณา  และดอกไม้เป็นต้น   คนผ้คบบัณฑิตก็เสมือนห่อด้วยใบไม้ที่ห่อของหอมมีกฤษณาและดอกไม้เป็นต้น  ยังประสบภาวะที่วิญญูชนชมเชยและพอใจ.  

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า

ตครญฺจ   ปลาเสน       โย   นโร   อุปนยฺหติ

ปตฺตาปิ  สุรภี   วายนฺติ   เอว    ธีรูปเสวนา.

นรชนผู้ใดห่อกฤษณาไว้ด้วยใบไม้แม้ใบไม้ของนรชนผู้นั้นก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง การคบบัณฑิต ก็เหมือนอย่างนั้น.

อนึ่งเล่า   เมื่อท้าวสักกะจอมทวยเทพประทานพรแก่   อกิตติบัณฑิตก็กล่าวว่า

 ธีร  ปสฺเส  สุเณ   ธีร     ธีเรน    สห   สวเร

ธีเรนลฺลาปสลฺลาป   ตี  กเร   ตญฺจ   โรจเย.

ควรพลบัณฑิต   ควรฟังบัณฑิต   ควรอยู่ร่วมกับ   บัณฑิต  ควรทำการเสทนาปราศรัยกับบัณฑิต     และควรชอบใจบัณฑิตนั้น.

 

ท้าวสักกะจอมทวยเทพตรัสถามว่า

กินฺนุ  เต  อกร  ธีโร         วท   กสฺสป  การณ 

เกน  กสฺสป  ธีรสฺส   ทสฺสน    อภิกงฺขสิ.

ท่านกัสสปะ   ทำไมหนอ    บัณฑิตจึงไม่ทำต่อท่าน  โปรดบอกเหตุมาสิ  เพราะเหตุไรหนอ   ท่านจึงอยากพบบัณฑิต   นะท่านกัสสปะ.

 

อกิตติบัณฑิตตอบว่า

นย  นยติ  เมธาวี     อธุราย    น  ยุญชติ

สุนโย   เสยฺยโส   โหติ    สมฺมา   วุตฺโต  น  กุปฺปติ

วินย   โส   ปชานาติ     สาธุ   เตน   สมาคโม.

บัณฑิตย่อมแนะนำเรื่องที่ควรแนะนำ   ไม่จูงคนไปในกิจมิใช่ธุระ  แนะนำเขาก็ง่ายดี  เพราะเขาถูกว่ากล่าวโดยดี   ก็ไม่โกรธ  บัณฑิตนั้นรู้วินัย  สมาคมกับบัณฑิตนั้นได้   เป็นการดี.

 

พระผู้มีพระภาคเจ้า   เมื่อทรงสรรเสริญการคบบัณฑิต  โดยธรรมทั้งปวงอย่างนี้   จึงตรัสว่า  การคบบัณฑิตเป็นมงคล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 175 - 177

*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*

สรุปความว่าบัณฑิต   คือ คนที่ทำดีทางกาย  ๓  ทางวาจา  ๔  ทางใจ  ๓  อันเป็นสุจริตกรรม ๑๐  หรือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนั่นเอง 

บัณฑิตที่มีความประพฤติดังกล่าวนี้  พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คบหาเข้าใกล้สนิทสนมด้วย  เพราะจะทำให้เรามีใจโน้มน้อม  คล้อยตาม   ยินดีชื่นชมในความประพฤติของเขา   เอาเยี่ยงอย่างเขา  อันจะทำให้เราเป็นบัณฑิตไปด้วย  เนื่องด้วยบัณฑิตย่อมชักนำให้เราทำแต่สิ่งดีมีประโยชน์เหมือนท่าน 
บัณฑิตจึงเปรียบเหมือนของหอม  มีไม้จันทน์หอม  เป็นต้น  เมื่อเอาผ้าไปห่อไม้จันทน์หอม  ผ้าที่ห่อก็พลอยหอมไปด้วย

พระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระองค์ทรงเป็นบัณฑิต  ผู้ที่ได้คบหาเข้าใกล้พระองค์  และสาวกของพระองค์จึงได้รับประโยชน์สุขอันยิ่งใหญ่  เพราะพระองค์ทรงสอน ให้ทำ ให้พูด ให้คิด  แต่สิ่งดีมีสาระประโยชน์ 
พระองค์และสาวกของพระองค์จึงเป็นที่ชื่นชมยกย่องสรรเสริญของคนทั่วไป  ใครๆ  ก็อยากเข้าใกล้   คบหาสมาคมด้วย

นอกจากพระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระองค์จะได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตแล้ว  แม้พระปัจเจกพุทธเจ้า ตลอดจนผู้ที่มีลักษณะของบัณฑิต ๓ ประการดังกล่าวแล้ว  ล้วนได้ชื่อว่าบัณฑิตทั้งสิ้น

บัณฑิตเหล่านั้น  เป็นผู้สามารถกำจัดอุปัทวะภัยและอุปสรรคทั้งปวงให้แก่ผู้ที่ทำตามคำของบัณฑิตได้  บุคคลที่อาศัยบัณฑิตแล้ว  ย่อมสามารถเข้าถึงสรณคมน์  เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  เข้าถึงมรรคผลนิพพานได้

 

หมายเลขบันทึก: 321235เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2009 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขยายความมงคลข้อที่ ๒ การคบบัณฑิตเป็นอุดมมงคล

พระพุทธเจ้าตรัสลักษณะของบัณฑิต คือ นักปราชญ์ ผู้รู้ ผู้ฉลาด ไว้ ๓ ประการ

คือ ทำดี พูดดี คิดดี อันเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคนพาลโดยแท้

ทำดี คือ การกระทำดีทางกาย ๓ มีการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑

พูดดี คือ การกระทำดีทางวาจา ๔ มีการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหลไร้สาระ ๑

คิดดี คือ การกระทำดีทางใจ ๓ มีการไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ๑ การไม่คิดพยาบาทปองร้ายให้ผู้อื่นพินาศ ๑ มีความคิดไม่วิปริตเป็นสัมมาทิฏฐิ เช่นเห็นว่า การกระทำบุญ การกระทำบาปมีผล เป็นต้น ๑

หากไม่มีคำสอนที่ดี โลกนี้ยังจะมีคนทำดีหรือไม่หนอ ?

กัณญภัทร มีความหมายว่าอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท