Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

๑. การไม่คบคนพาล (อะเสวะนา จะ พาลานัง)


"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง บาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น" ขุ. ธ. ๒๕/๑๕/๒๔

พระผู้มีพระภาคเจ้า   ทรงสดับคำของเทพบุตรนั้น  อย่างนี้แล้ว   จึงตรัสพระคาถาว่า   อเสวนา   จ   พาลาน เป็นต้น. 

ในพระคาถานั้น   บทว่า  อเสวนา  ได้แก่  การไม่คบ  ไม่เข้าไปใกล้.

บทว่า  พาลาน   ความว่า   ชื่อว่าพาล   เพราะเป็นอยู่  หายใจได้  

อธิบายว่า   เป็นอยู่โดยเพียงหายใจเข้าหายใจออก   ไม่เป็นอยู่โดยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา.  ซึ่งพาลเหล่านั้น.

สัตว์ทั้งหลายทุกประเภท   ผู้ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาต  เป็นต้น   ชื่อว่า   พาล   ในจำนวนพาลและบัณฑิตนั้น.   พาลเหล่านั้น    จะรู้ได้ก็ด้วยอาการทั้งสาม   เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้.   พระสูตรว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    พาลลักษณะของพาล ๓ เหล่านี้.   อนึ่ง   ครูทั้ง   ๖   มีปูรณกัสสปเป็นต้น  และสัตว์อื่น ๆ เห็นปานนั้นเหล่านั้น คือ เทวทัต   โกกาลิกะกฏโมทกะ  ติสสขัณฑาเทวีบุตร   สมุทททัตตะ   นางจิญจมาณวิกา  เป็นต้น   และพี่ชายของทีฆวิทะ  ครั้งอดีตพึงทราบว่า  พาล. 

พาลเหล่านั้น   ย่อมยังตนเองและเหล่าคนที่ทำตามคำของตนให้พินาศด้วยทิฏฐิคตะความเห็นที่คนถือไว้ไม่ดี    ดังเรือนที่ถูกไฟไหม้    เหมือนพี่ชายของทีฆวิทะ  ล้มลงนอนหงาย  ด้วยอัตภาพประมาณ  ๖๐ โยชน์   หมกไหม้อยู่ในมหานรก   อยู่ถึงพุทธันดร   และเหมือนตระกูล  ๕๐๐   ตระกูล  ที่ชอบใจทิฏฐิความเห็นของพี่ชายของทีฆวิทะนั้น   เข้าอยู่ร่วมเป็นสหายของพี่ชายของทีฆวิทะนั่นแหละ  หมกไหม้อยู่ในมหานรกฉะนั้น.  สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ไฟลามจากเรือนไม้อ้อหรือเรือนหน้า   ย่อมไหม้แม้เรือนยอด    ซึ่งฉาบไว้ทั้งข้างนอกข้างใน  กันลมได้  ลงกลอนสนิท  ปิดหน้าต่างไว้เปรียบฉันใด  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภัยทุกชนิด   ย่อมเกิดเปรียบฉันนั้นเหมือนกัน  ภัยเหล่านั้น  ทั้งหมดเกิดจากพาล    ไม่เกิดจากบัณฑิต.    อุปัทวะทุกอย่างย่อมเกิด ฯลฯ  อุปสรรคทุกอย่างย่อมเกิด  ฯลฯ ไม่เกิดจากบัณฑิต.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ดังนั้น  แลพาลเป็นภัย บัณฑิตไม่เป็นภัย   พาลอุบาทว์   บัณฑิตไม่อุบาทว์  พาลเป็นอุปสรรค  บัณฑิตไม่เป็นอุปสรรค  ดังนี้.

อนึ่ง  พาลเสมือนปลาเน่า  ผู้คบพาลนั้น    ก็เสมือนห่อด้วยใบไม้ที่ห่อปลาเน่า ย่อมประสบภาวะที่วิญญูชนทอดทิ้ง  และรังเกียจ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ปูติมจฺฉกุสคฺเคน    โย  นโร  อุปนยฺติ  กุสาปิ  ปูตี   วายนฺติ   เอว  พาลูปเสวนา.  

นรชนผู้ใดผูกปลาเน่าด้วยปลายหญ้าคา   แม้หญ้าคาของของนรชนผู้นั้น  ก็มีกลิ่นเน่าฟุ้งไปด้วย  การคบพาลก็เป็นอย่างนั้น.

อนึ่งเล่า  เมื่อท้าวสักกะจอมทวยเทพประทานพร   แก่กิตติบัณฑิต  ก็กล่าวอย่างนี้ว่า

พาลน  ปสฺเส  น  สุเณ น  จ  พาเลน   สวเส  พาเลนลฺลาปสลฺลาปน  กเร  น จ  โรจเย.

ไม่ควรพบพาล ไม่ควรพึง ไม่ควรอยู่ร่วมกับพาล   ไม่พึงทำการเจรจาปราศรัยกับพาล และไม่ควรชอบใจ.

ท้าวสักกะ   ตรัสถามว่า 

กินฺนุ   เต   อกร  พาโล   วท  กสฺสป   การณ  เกน   กสฺสป  พาลสฺส   ทสฺสนนาภิกงฺขสิ.

ท่านกัสสปะ   ทำไมหนอ    พาลจึงไม่เชื่อท่านโปรดบอกเหตุมาสิ เพราะเหตุไร  ท่านจึงไม่อยากเห็น  พาลนะท่านกัสสปะ.

อกัตติบัณฑิตตอบ 

อนย นยติ  ทุมฺเมโธ   อธุราย   นิยุญฺชติ  ทุนฺนโย  เสยฺยโส  โหติ   สมฺมา  วุตฺโต   ปกุปฺปติ  วินย  โส  น  ชานาติ   สาธุ  ตสฺส  อทสฺสน.

คนปัญญาทราม  ย่อมแนะนำข้อที่ไม่ควรแนะนำย่อมประกอบคนไว้ในกิจที่มิใช่ธุระ   การแนะนำเขาก็แสนยาก   เพราะเขาถูกว่ากล่าวโดยดี   ก็โกรธ   พาลนั้นไม่รู้จักวินัย   การไม่เห็นเขาเสียได้ก็เป็นการดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า  เมื่อทรงติเตียนการคบพาลโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้  จึงตรัสว่า

การไม่คบพาลเป็นมงคล 

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170 - 175

*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*

สรุปความว่า  คนพาล  คือ  คนที่ทำชั่วทางกาย ๓  ทางวาจา ๔  ทางใจ ๓  อันได้แก่ ทุจริตกรรม ๑๐ หรืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนั่นเอง  คนพาลที่มีความประพฤติอย่างนี้  พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้คบหาเข้าใกล้ เพราะเมื่อคบหาเข้าใกล้ชิดสนิทสนมด้วย  ก็จะทำให้เรามีใจโน้มเอียงคล้อยตาม  ยินดีชอบใจในการกระทำของเขา  เอาอย่างเขา  อันจะเป็นเหตุให้เรากลายเป็นคนพาลไปด้วย  

คนพาล  จึงเปรียบเหมือนปลาเน่า   ใบไม้นั้นก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วย  เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรคบคนพาล  ไม่ควรฟังคำพูดของคนพาล ไม่ควรอยู่ร่วมกับคนพาล  ไม่ควรเจรจาปราศรัยกับคนพาล  ไม่ควรชอบใจความประพฤติของคนพาล   เพราะคนพาลนำมาแต่ความพินาศเพียงประการเดียว  เหมือนพระเจ้าอชาตศัตรูต้องฆ่าพระราชบิดา  และเสื่อมจากมรรคผลก็เพราะคบหาคนพาล  คือ  พระเทวทัต

หมายเลขบันทึก: 321209เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2009 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขยายความมงคลข้อที่ ๑ การไม่คบคนพาล เป็นอุดมมงคล

พระพุทธเจ้าตรัสลักษณะของคนพาล คือ คนไม่ดี คนโง่ คนชั่ว ไว้ ๓ ประการ คือ ทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่ว

ทำชั่ว คือ การกระทำชั่วทางกาย มีการฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ( คือประพฤติผิดประเวณี ) ๑

พูดชั่ว คือ การกระทำชั่วทางวาจา มีการพูดเท็จ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูด

เพ้อเจ้อ เหลวไหล ไร้สาระ ๑

คิดชั่ว คือ การกระทำชั่วทางใจ มีการคิดอยากได้ของของผู้อื่นมาเป็นของตน ๑ การคิดพยาบาท

ปองร้ายให้ผู้อื่นพินาศ ๑ คิดวิปริตเป็นมิจฉาทิฏฐิ เช่นเห็นว่าการกระทำบุญ การกระทำบาปไม่มีผล เป็นต้น ๑

คนพาลคงจะมีทุกยุคทุกสมัย...ตามที่เราได้ศึกษาย้อนในเหตุการณ์ที่ผ่านมา...แต่ปัจจุบัน...ได้เห็นข่าวในสิ่งที่ดีมีมากมาย....และสิ่งที่คนทำไม่ดีมีมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ มีทุกประเทศ.....จะเป็นด้วยเหตุใดหนอ....แม้นแต่จิตเราบางครั้งยังไหลลงต่ำ ปรุงแต่งในทางที่ต่ำลงก็มี

ได้ความรู้ความคิดจากเวบของอาจารย์แพรภัทร เป็นอย่างยิ่งขอขอบคุณมากครับผม....

เห็นด้วยกับเรื่องของการไม่คบคนพาล แต่ในปัจจุบันยังยังมีคนประเภทนี้อยู่มาก จริงยากที่จะหลีกเลี่ยง ดังนั้น...อยู่ไกลๆ คนแบบนี้เอาไว้น่าจะดีที่สุด หากเลี่ยงไม่ได้จริง ก็ควรจะคุยแบบผิวเผิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท