สถานที่ประดิษฐ์ฐาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ภายใน บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เขตพระนคร กรุงเทพฯ พุทธลักษณะ ศิลปลังกา ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ขนาด หน้าตักกว้าง ๖๖ เซนติเมตร สูง ๙๑ เซนติเมตร วัสดุ สำริด บริเวณที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครนั้น เดิมเป็นเขตพระบวรราชวังหรือ "วังหน้า" จะเห็นได้จาก อาคารหลายหลังยังคงเรียกว่า "พระที่นั่ง" ด้วยเคยเป็นที่ ประทับในกรมพระราชวังบวรมาก่อนปัจจุบันอาคารเหล่า นี้ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการจัดแสดงสิ่งของ ควรชมต่างๆ เว้นแต่อาคารหลังหนึ่งที่ยังคงรักษาสภาพทั้ง ภายนอกภายในไว้คงเดิมที่สุดได้แก่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ซึ่งเป็นทีประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญยิ่ง อีกองค์หนึ่ง คือ พระพุทธสิหิงค์ ตามตำนานกล่าวว่าพระพุทธสิงหิงค์เป็นพระพุทธรูป
ที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์องค์หนึ่งของลังกาได้มีการอัญเชิญมายังกรุงสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อกรุง สุโขทัยตกอยู่ใตร้อำนาจกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพระงั่ว) ได้ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐาน ณ กรุงศรีอยุธยา พระพุทธสิหิงค์เป็นพะพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่ผู้ครองเมืองทั้งหลายปรารถนาที่จะได้ไว้เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง จึงปรากฏตามประวัติว่าได้มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ย้ายไปมาระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเมืองเชียงใหม่สุดแต่ สถานการณ์ และอำนาจทางการเมืองเชียงใหม่สุดแต่สถานการณ์และอำนาจทางการเมืองจนกระทั่งในสมัยต้นกรุงรัตน โกสินทร์เมื่อเชียงใหม่เข้ารวมอยู่ในการปกครองของกรุงเทพฯ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงอัญเชิญ พระพุทธสิงหิงค์ ลงมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ใน พระบวรรราชวังเมื่อปี ๒๓๓๘ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธออดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯ ให้ อัญเชิญพระพุทธสิงหิงค์มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระ ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หังทรงอัญเชิญกลับมายังพระบวรราชวังด้วยพะราสชประสงค์จะประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวักบวรสถาน สุทธาวาส ซึ่งเป็นวัดในเขตพระราชฐานที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุง แต่เสด็จกลับสวรรคตเสียก่อนพระพุทธสิหิงค์จึง ประดิษบานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์สืบมาจนปัจจุบัน
ไม่มีความเห็น