WBI


WBI

WBI

 WBI   เป็นระบบการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ ไวด์ เว็บ และคุณสมบัติของสื่อหลายมิติ (Hyper media) ในการจัดการสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน ในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียนโดยอาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้

 การเรียนการสอนผ่านเว็บ  ( WBI : Web - based  Instruction )

 การใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอน เป็นการนำเอาระบบอินเทอร์เน็ตมาออกแบบเพื่อใช้ในการศึกษา

 การเรียนการสอนผ่านเว็บ ความหมายโดยรวมจึงหมายถึง  การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ตมาออกแบบเป็นเว็บเพื่อการเรียนการสอน  สนับสนุน  และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย  เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา   ซึ่งทำให้มีชื่อเรียกหลายลักษณะ  ได้แก่

 

  • การเรียนการสอนผ่านเว็บ   ( Web - Based  Instruction )

 

  • เว็บฝึกอบรม   ( Web - Based  Training )

 

  • อินเทอร์เน็ตฝึกอบรม   ( Internet - Based  Training )

 

  • อินเทอร์เน็ตช่วยสอน   ( Internet - Based  Instruction )

 

  • การฝึกอบรมผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ   ( WWW - Based  Training )

 

  • การเรียนการสอนผ่านเวิล์ด  ไวด์  เว็บ   ( WWW - Based  Instruction )

 ลักษณะของการเรียนการสอนผ่านเว็บ  เรียกย่อว่า  WBI  ( Web - based  Instruction )   ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในการใช้อธิบายคุณลักษณะของการใช้เว็บในระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนมากที่สุด

 การเรียนการสอนผ่านเว็บได้แสดงให้เห็นว่าเป็นสื่อที่ทรงพลัง ที่จะเข้ามาพัฒนาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งกระทำได้ทั้งภายในและภายนอกสถานที่  ทุกแห่งหน  ทุกสถานที่จะเป็นแหล่งที่ใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอนได้  เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้ในทุกที่ของหน่วยงานที่มีระบบอินเทอร์เน็ตติดตั้งอยู่  การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นมิตรกับผู้ใช้  เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายตลอด 24 ชั่วโมง   เรียนรู้ในเวลาใดก็ได้ มีประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับราคา   ไม่ต้องกล่าวถึงความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน   สามารถเรียนได้ด้วยตนเอง  เป็นมิติใหม่ของเครื่องมือและกระบวนการในการเรียนการสอน  ซึ่งเราสามารถแสดงให้เห็นประโยชน์ของการใช้การเรียนการสอนผ่านเว็บ   ได้แก่

 1. การเรียนการสอนเข้าถึงทุกหน่วยงานที่มีอินเทอร์เน็ตติดตั้งอยู่

 2. การเรียนการสอนกระทำได้โดยผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องทิ้งงานประจำ เพื่อมาอบรม

 3. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน  เช่น  ค่าที่พัก  ค่าอาหาร      ของว่าง   ฯลฯ

 4. การเรียนการสอนกระทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 5. การจัดฝึกอบรมมีลักษณะที่ผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลาง  การเรียนรู้เกิดขึ้นกับตัวผู้เข้าอบรมเองโดยตรง  ( Self – directed )

 6.      การเรียนรู้เป็นไปตามความก้าวหน้าของผู้เข้ารับการเรียนการสอนเอง     ( Self – pacing )

 7. สามารถทบทวนบทเรียนและเนื้อหาได้ตลอดเวลา

 8.สามารถซักถาม  เสนอแนะ  หรือถามคำถามได้ด้วยเครื่องมือบนเว็บ

 9. สามารถแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมได้โดยเครื่องมือสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  ( e – mail )  หรือห้องสนทนา  ( Chat  Room )   ฯลฯ

 10.  ไม่มีพิธีการ

 การสร้างเว็บไซต์สำหรับการเรียนการสอนจึงไม่ใช่เพียงการสร้างโฮมเพจ หรือ เว็บเพจโดยใส่เนื้อหาเท่านั้น  แต่มีกระบวนการขั้นตอนที่เป็นระบบ และมีเงื่อนไขที่ควรดำเนินการให้ครบถ้วน  เพื่อความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนการสอน

 การเปรียบเทียบข้อดี และข้อเสียของการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์

 ข้อดีของการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์

 1.  การติดต่อสื่อสาร การเรียนการสอนเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่จำกัดเวลา และสถานที่  รวมทั้งบุคคล  สามารถส่งงานผ่านทาง  E – mail ได้

2.  ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียน และสอนในเวลาเดียวกัน  สามารถจัดทำเป็นบทเรียน  CAI  ซึ่งสามารถค้นคว้าผ่านเว็บไซต์ได้

3.  ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องพบกันในห้องเรียน อาจจะมีการนัดคุยกันทาง Hi 5  ,  MSN  หรือ  Face – book  ได้   เป็นต้น

4.  ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้สอนที่ไม่พร้อมทางด้านเวลา และระยะทาง  เช่น  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  หรือ  Video Conference

5.  ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม  ตั้งคำถาม  ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน  มีความกล้ามากกว่าเดิม   เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้น   โดยอาศัยเครื่องมือ  เช่น  E – mail  ,  Web board  ,  Chat Newsgroup  แสดงความคิดได้อย่างเป็นอิสระ

 ข้อเสียของการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์

 1.  หากผู้เรียนและผู้สอนไม่มีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต รวมทั้งอุปกรณ์ และทักษะการใช้งาน  การติดต่อสื่อสารอาจไม่ประสบผลสำเร็จ

2.  ผู้เรียนบางคนไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  ผู้เรียนไม่สามารถควบคุมสิ่งที่จะเกิดขึ้นในการเรียนการสอนตามความต้องการของตนเอง

  1. ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน  ขาดการปฏิสัมพันธ์
  2. ไม่สามารถสื่ออารมณ์ ความรู้สึกในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะในวิชาวรรณกรรม

ข้อ 3    มนุษย์เน็ตรุ่นใหม่ ๆ ใน Net generation  2  3  4  ( 2G  3G  4G )  มีลักษณะอย่างไร ให้ท่านอธิบายลักษณะของผู้เรียนและผู้สอน และเทคโนโลยีรุ่น สอง  สาม  สี่  ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร อภิปรายพร้อมเปรียบเทียบกับรุ่นหนึ่งและปัจจุบัน ทั้งด้านบวกและลบ

 2G หรือเทคโนโลยีรุ่นสอง  เรียกว่า  เทคโนโลยีบอร์ดแบรน (BROADBAND)  ไร้สาย   อาจแบ่งได้เป็น  4  ยุกต์   นิยมใช้  คือ  ยุกต์ 2G  และ  3G 

 สำหรับโครงข่าย  2G  ( 2G  NETWORK )  เป็นโครงข่ายดิจิตอลยุคแรกที่มีการพัฒนาขึ้นมาใช้งานแทนโครงข่ายยุกต์แรก ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นานนัก  ถึงแม้ว่าโครงข่าย  2G  อาจมีไม่กี่รูปแบบ  เช่น  EDGE  EVOLUTION  แต่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง  เช่น  การส่งข่าว  สืบค้น

  เทคโนโลยีที่นำมาใช้กับการศึกษาในยุกต์  2G  นั้น  เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน  เพราะว่าคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลงมาก  ความรู้ในการทำบทเรียนสำหรับใช้สอนทางคอมพิวเตอร์มีมาก  สามารถให้เสียง  ให้สีสันโดยใช้ภาพกราฟิกให้ดูสวยสดงดงาม มีชีวิตชีวา   ทำให้ความนิยมที่จากไม่สามารถทำบทเรียนให้น่าสนใจในยุคแรก  เป็นครูกลับมาพัฒนาการทำบทเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนขึ้นมาใหม่  ทำให้บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน  ทั้งผู้สอนและผู้เรียน   สามารถค้นคว้าบทเรียนได้หลายครั้ง  หรือนำกลับไปศึกษานอกห้องเรียนได้

 2.5G  หลังจากนั้น  ก็เป็นยุคก้ำกึ่งระหว่าง 2G และ 3G ... ซึ่งก็คือ 2.5G ซึ่ง 2.5G นี้ เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง ซึ่งตามหลักการแล้ว ... เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps เลยทีเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ ความเร็วของ GPRS จะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น

 2.75G  ก่อนที่จะมาถึงยุค 3G  เราก็ยังมี 2.75G ด้วย ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution)นั่นเอง   EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูกเรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75 G (อย่างไม่เป็นทางการ) ลักษณะการทำงานของ EDGE นั้นจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ  GPRS ให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้น  แต่ว่า ยุค 2.75G ของ EDGE นั้น ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการ เพียงแค่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบช่วงคาบเกี่ยวระหว่างยุค 2.5G และ 3G เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 3G  หรือ Third Generation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 จุดเด่นที่สุดของ 3G นั้นเป็นเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ - ส่งข้อมูล  โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่าง ๆ รวดเร็วมากขึ้น  พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ-ส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ , การใช้บริการ Video/Call Conference , Download เพลง ,  ดู TV Streaming ต่าง ๆ   ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเยอะเลย คุณสมบัติหลักที่เด่น ๆ อีกอย่างหนึ่งของระบบ 3G ก็คือ  Always On   คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดโทรศัพท์ด้วยเทคโนโลยีในยุกต์ที่ 3  หรือ  3G  NETWORK  นั้น  ได้รับการพัฒนาให้เป็นเทคโนโลยีไร้สาย  สมรรถนะสูงสุดในขณะนี้ และกำลังพัฒนาต่อไป     เหมาะมากที่จะใช้งานได้ในทุก ๆ ประเภท

 

  • ด้านมัลติมีเดีย   เช่น   การดาวโหลดดูหนังฟังเพลง   รับ - ส่งข้อมูลขนาดใหญ่

 

  • ด้านการศึกษา   ถือว่าได้ใช้ประโยชน์สูงสุด  เป็นยุกต์ของเทคโนโลยีสื่อประสม  ( MULTIMEDIA )  ก้าวหน้าไปมากมาย  ทำให้ครู  อาจารย์ทั้งหลายหันมาใช้คอมพิวเตอร์ทำบทเรียนกันเป็นการใหญ่  รวมทั้งบันทึกข้อมูลคะแนน   รวมคะแนน   จัดลำดับ   จัดทำโปรแกรมเสนอคำบรรยายในชั้นเรียน   หรือบรรยายสรุปให้ผู้บริหารทราบถึงความก้าวหน้าของโรงเรียน   โดยเฉพาะโปรแกรมจัดทำบทเรียน                         ( AUTHORING  TOOL )   ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและตรวจแบบฝึกหัด   เรียกย่อ ๆ  ว่า  CAI  เรียนทางจอภาพคอมพิวเตอร์  ได้พัฒนาเวลานี้ถึงขั้นเสียงและภาพเคลื่อนไหวไปพร้อมกัน

 ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนในรุ่น  3G   สามารถศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจบทเรียนอย่างกว้างขวาง  ทั้งที่เป็นนามธรรม และทักษะวิชาชีพ   แสดงให้เห็นตัวอย่างอย่างชัดเจน   เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เรียนผู้สอนในยุกต์  1G  จะเห็นได้ว่ายุกต์  1G  ผู้เรียนนั้นต้องอาศัยผู้สอนและประสบการณ์ผู้สอนอย่างมาก  ในการที่จะเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ  ทั้งในและนอกสถานที่  บทเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็แห้งแล้ง ไม่มีชีวิตชีวา  แตกต่างจากรุ่น  3G  อย่างตรงกันข้าม

 เมื่อเปรียบเทียบรุ่น  1G   กับรุ่น  3G   ทั้งทางด้านบวกและลบนั้น  ทางด้านเทคโนโลยี  1G   นั้นความสามารถยังไม่มาก  เพียงแต่เป็นเครื่องมือให้มนุษย์ทำงานง่ายขึ้น  ด้วยการเก็บข้อมูลต่าง ๆ  ถือเป็นด้านบวก   ส่วนด้านลบนั้นก็คือยังมีราคาแพง และยังไม่ได้ใช้ในการรับ - ส่งสื่อสาร  และยังมีข้อมูลน้อย  ไม่มากพอที่จะช่วยในการตัดสินใจ

 ส่วนข้อดีของเทคโนโลยี  3G   ด้านบวกก็มีดังที่กล่าวมาแล้วนั้น   แต่ผลเสียทางด้านลบจากงานวิจัยของหลายสำนักสรุปตรงกันว่า   กิจกรรมสามอันดับแรกของเด็กและวัยรุ่น  อายุต่ำกว่า 20 ปี  ที่ทำบนอินเตอร์เน็ต  คือ  ค้นคว้าข้อมูล   รับ - ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์   และเล่นเกม   สำหรับเด็กที่ออนไลน์มากกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์   กิจกรรมที่ทำบนอินเตอร์เน็ตมากที่สุด เป็นกิจกรรมที่เน้นไปในทางบันเทิง  ได้แก่  เล่นเกม   สนทนา  ( Chat / ICQ / MSN )  แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเด็กและวัยรุ่น ใช้สื่ออินเตอร์เน็ตไปในทางกิจกรรมบันเทิงมากกว่าการแสวงหาความรู้ หรือข่าวสารใหม่ ๆ

  จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีนั้นสามารถจะให้ทั้งคุณและโทษได้  หากไม่รู้จักควบคุมตัวเองให้อยู่ภายใต้ทฤษฎีเชิงหน้าที่  ( Function  Perspective )  เพราะมนุษย์สามารถเสาะแสวงหาความสามารถตามความต้องการของตนเองได้  ภายใต้นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ   ในขณะที่บางโรงเรียนหลังคายังไม่ได้ซ่อมแซม และยังขาดเครื่องมือสื่อสารด้านคอมพิวเตอร์สารสนเทศ  แม้จะแก้ไขด้วยการมีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม แต่โอกาสที่จะเกิดปัญหาในรุ่นเทคโนโลยี  3G  นั่นคือ ความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี  3G  ที่ไม่ได้กระจายไปในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีอยู่ทั่วประเทศอย่างเท่าเทียมกัน  อันเนื่องมาจากการขาดสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน

 4G  คือยุคของ IP Phone โดยผ่าน wi-max  ที่ทำความเร็วได้ขั้นต่ำ 11Mbs (Max 150Mbs ในปัจจุบัน) ทำให้ส่งข้อมูลได้เร็วกว่า 3G มาก ๆ การโทรข้ามประเทศมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า เพราะเป็น IP วิ่งผ่าน Internet ที่มีอยู่ได้ทันที โดยใช้ VOIP ซึ่งยุค 4G นี้ operator จะลงทุนต่ำกว่าในยุคก่อน ๆ มาก และ 4G ก็มียักษ์จากวงการ network และ computer หนุนหลังอยู่ 3G จึงอาจตายไวกว่าที่คิด

 ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 4G ได้มีการพัฒนาโดยเน้นเรื่องการรักษาความปลอดภัย โดยการนำไบโอแมทริกซ์มาผสมผสาน ทำให้สามารถซื้อขายกันได้โดยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ Mobile Internet และยังสามารถหักบัญชีเงินในธนาคาร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าหรือบริการได้ทันที ระบบไบโอแมทริกซ์ จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจ ซึ่งจะเห็นอย่างชัดเจนในยุคโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G คือในธุรกิจ Mobile Commerceโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 4G จะมีความสามารถและสมรรถนะสูงมาก ในระดับที่สามารถชมภาพวิดีโอกันแบบสด ๆ ได้ พร้อมคุณภาพระดับ DVD

 ลักษณะของผู้เรียนของผู้สอน

 ผู้เรียน  จะชอบเรียน สามารถใช้ระบบมัลติมีเดียได้ สามารถให้บริการระบบเสียง และแอปพลิเคชั่นรูปแบบใหม่  เช่น  จอแสดงภาพสี , เครื่องเล่น mp3 , เครื่องเล่นวิดีโอ , การดาวน์โหลดเกม , แสดงกราฟฟิก  และการแสดงแผนที่ที่ตั้งต่าง ๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเทอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และสมจริงมากขึ้น เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้น

 ผู้สอน  จะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้ดี  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ  สื่อต่าง ๆ  และสามารถใช้สื่อมัลติมีเดีย มีระบบเสียง เห็นภาพ สื่อสาร 2 ทางได้ สามารถสัมผัสได้ว่าผู้เรียนพอใจหรือไม่พอใจ เข้าใจหรือไม่เข้าใจได้

ข้อ 6    Social Network  ดังต่อไปนี้มีความสามารถในการใช้ต่างกัน หรือเหมือนกันอย่างไร และนำมาใช้เพื่อการศึกษามวลชน โดยเชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาได้อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างจริงมาให้เห็น

 Social network แต่ละสังคมแตกต่างและมีความสามารถในการใช้งานหลากหลาย บางสังคมของ network เพียงแต่รับส่งฝากข้อความเช่น MSN,  My space ทั้งสองสังคมนี้จะคล้ายกันคือเป็นโปรแกรมส่งข้อความข้ามระบบเครือข่ายแบบทันทีทันใด โดยสามารถใช้ได้ร่วมกันระบบปฏิบัติการวินโดส์ ทั้ง XP, Vista, Server 2003, บางสังคมของ rou network สามารถมองเห็นภาพ และพูดคุยติดต่อกันได้ทันทีเช่น Camfrog, Twitten, You Tube บางสังคมสามารถส่งข้อความ ส่ง Multimedia เช่น Hi5, Facbook, Tagged ในสังคม network สิ่งที่คล้ายๆกันคือ การมีปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสาร ส่งข้อความ ข้อแตกต่างการเชื่อมต่อสื่อสารทางสังคม ไม่เห็นภาพ ไม่มีเสียง บางสังคมเห็นภาพ เห็นเสียง มีภาพเคลื่อนไหว

 ในสังคม network เราสามารถนำมาใช้เพื่อการศึกษามวลชนได้อย่างมากจะเห็นว่าปัจจุบันไม่ว่าเป็นเรื่องข้อมูลข่าวสาร หรือสังคมเศรษฐกิจ ปัจจุบันนี้เกือบร้อยเปอร์เซ็นส่วนใหญ่จะมีการเชื่อมโยงบนอินเตอร์เน็ต เพราะสังคมอินเตอร์เน็ตเป็นสังคมที่เป็นสากล คือทั่วโลกสามารถเชื่อมโยงโดยไม่มีข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรมแดน สัญชาติ ภาษา คือพูดง่ายๆสังคม network เป็นสังคมไร้พรมแดน จะเห็นว่า network ได้เข้าไปมีบทบาทในสังคมมนุษย์หลายส่วนๆ และก็ไม่เว้นด้านการศึกษา ดังตัวอย่างที่มีเกิดขึ้น เช่น ตัวอย่างการจัดการการศึกษาทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น E-learning, E-book, E-classroom ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันสังคม network  ได้เข้ามามีส่วนในการจัดการศึกษามวลชนอย่างมาก และเป็นการศึกษาที่เปิดกว้างให้กับมวลชนในการเข้าถึงการศึกษา ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาในสังคม network  ได้ทุกที่ได้ทุกเวลา

 ประโยชน์ของ   Social  Networking   คือ

 1.      Social  Networking     ช่วยให้เรามีเพื่อนฝูง

 2.      Social  Networking     ช่วยให้เราเจอเพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ

 3.      Social  Networking     ช่วยให้เราประหยัดเงินค่าโทรศัพท์

 4.      Social  Networking     ช่วยฝึกภาษาอังกฤษ

 5.      Social  Networking     ช่วยให้เรามีเว็บไซต์ส่วนตัว

 6.      Social  Networking     ช่วยให้เราไม่ลืมวันเกิดเพื่อน

 7.   Social  Networking      สามารถใช้เว็บเหล่านี้เป็นเครื่องมือเพื่อการศึกษา              ( Educational  Blog )  ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักจะใช้บล็อกเป็นสื่อในการสอน หรือแลกเปลี่ยนความคิดกัน

 8.      Social  Networking     ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญทางการเมือง

 9.   Social  Networking      ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญทางการตลาดของทั้งอดีตนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีปัจจุบัน

 10. Social  Networking     สามารถใช้เว็บเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อความต่าง ๆ ไม่ว่าของตนเองหรือขององค์กร  ออกไปยังคนกลุ่มหนึ่ง  โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางด้านการตลาดแต่อย่างใด   บางคนก็เรียกเป็นกลยุทธ์ปากต่อปาก  หรือ  Viral  Marketing  ที่เมื่อเราโพสต์ข้อความบางประการลงไปในเว็บสังคมออนไลน์เหล่านี้  คนจำนวนมากที่เป็น  “ เพื่อน ”  ของเรา  หรือติดตามเราอยู่ก็จะได้รับข้อมูลเหล่านั้น และถ้าข้อความดังกล่าวมีความน่าสนใจ ข้อความดังกล่าวก็จะถูกสื่อสารต่อออกไปเรื่อย ๆ   อย่างเช่น  Twitter  ของนายกฯ  และอดีตนายกฯ ที่ต่างก็พยายามใช้สื่อนี้ในการทำ  Viral  Marketing   อย่างเช่นกรณีของอดีตนายกฯ นั้น  ก็เขียนไว้ใน  Twitter  ของตนเองว่า “ เมื่อวานนี้ได้รับสิทธิทำลอตเตอรี่ในอูกานดา เพื่อนำรายได้มาคัดเด็กเก่ง ๆ ส่งไปเรียนต่างประเทศ  บางคนก็จะส่งมาเรียนในไทย  รวมทั้งส่งเสริมฟุตบอลด้วย ”    ในขณะที่  Twitter ของนายกฯ ปัจจุบัน  ก็เขียนไว้ว่า  “ เปิดตัวเว็บไซต์ประจำตัวนายกรัฐมนตรีไทย  และเพิ่มช่องทางสื่อสารใหม่ของประชาชนผ่านทาง  http://www.pm.go.th ”   ซึ่งเชื่อว่านักข่าวก็ติดตาม  Twitter  ของบุคคลทั้งสอง เพื่อที่จะได้เผยแพร่นำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชนอีกต่อไป

 11. Social  Networking     สามารถใช้เว็บสังคมออนไลน์เป็นที่ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับองค์กรที่เราทำงาน เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่เราใช้ หรือเกี่ยวกับการเมือง  เช่น  เมื่อทดลองพิมพ์ค้นหาคำว่า  Abhisit ลงไปใน  Twitter  ก็จะเจอความเห็นใน  Twitter  ของประชาชนทั่ว ๆ ไป  ทั้งในเชิงบวกและลบ เกี่ยวกับนโยบายและกิจกรรมของนายกฯ   หรือพิมพ์คำว่า   McDonald  ลงไปใน  Twitter  ก็จะเจอความเห็นเกี่ยวกับสินค้าของ  McDonald   อยู่เต็มไปหมด   ดังนั้น ถ้าใช้ให้ดีแล้ว สังคมออนไลน์เหล่านี้ จะกลายเป็นช่องทางในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่าง ๆ  ซึ่งในไม่ช้า องค์กรต่าง ๆ ก็คงต้องหาคนมาคอยเฝ้าเว็บสังคมออนไลน์เหล่านี้ เพื่อคอยสืบและติดตามข่าวเกี่ยวกับองค์กรตนเอง

 12. Social  Networking     สามารถใช้เมื่อองค์กรของตนเองมีข่าวหรือกิจกรรมอะไรที่น่าสนใจ ก็สามารถใช้เว็บเหล่านี้เป็นกลไกในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารดี ๆ เกี่ยวกับองค์กรของตนเองไปยังบุคคลต่าง ๆ  รอบ ๆ  ตัวเรา

 13. Social  Networking     สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตอบคำถาม หรือข้อข้องใจของลูกค้า  เกี่ยวกับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่าง ๆ โดยจะมีพนักงานคนหนึ่งทำหน้าที่ในการติดตามข่าวสารหรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ ที่ปรากฏใน  FB  และ  Twitter  และทำหน้าที่ในการชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริงต่าง ๆ  รวมทั้งตอบคำถามที่ปรากฏอยู่ในเว็บสังคมออนไลน์เหล่านี้  ในความเป็นจริงแล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ติดตามข้อมูลข่าวสารบนเว็บสังคมออนไลน์เท่านั้น แต่อาจจะเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนเลยก็ว่าได้ ว่าถ้าเจอข้อวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ปรากฏขึ้นเมื่อไร ก็จะต้องทำหน้าที่ในการตอบและชี้แจงทันทีไม่ต้องรอให้คนที่รับผิดชอบเป็นคนคอยมาตอบและดูแลเท่านั้น

 เว็บทางสังคม (Social web) จัดเป็นเครื่องมือทันสมัยที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้อย่างแพร่หลาย จึงนับเป็นเรื่องสำคัญที่บรรณารักษ์ หรือนักสารสนเทศจะต้องสร้างบทบาทในเชิงรุกในการเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายทางสังคม (Social   networks )  เพื่อการแบ่งปันความรู้ ส่งเสริมการเข้าถึงความรู้ในกลุ่มผู้ใช้และประชาชนไทยโดยรวม การบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศกับเครื่องมือการจัดการความรู้  จึงเป็นพื้นฐานอันสำคัญยิ่งในการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

ข้อ 7    โทรทัศน์ ร้อยช่อง  จะนำมาใช้เดื่อการศึกษา จะทำได้อย่างไร แตกต่างจากโทรทัศน์แบบเดิม ๆ อย่างไร  ควรมีช่องที่สำคัญเสนอการศึกษาด้านใดบ้าง ให้นักศึกษาเขียนโครงการสมมุติและวิเคราะห์ให้เห็นว่าครูและนักเรียน สามัญชนสามารถจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาได้อย่างไร อธิบาย

 โครงการใช้โทรทัศน์วงจรปิดเพื่อการสอน

 หลักการและเหตุผล

 ในปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า ความเจริญก้าวหน้าของสังคมส่วน ใหญ่มักจะเกิดความเจริญก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การที่เรานำเอา วิธีการ และผลของวิทยาศาสตร์มาใช้ในการทำงานด้านต่าง ๆ ของสังคมอย่างเหมาะ สม ย่อมส่งผลถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่สังคมได้มากและรวดเร็ว และโดย เฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยเรากำลังถือได้ว่าเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ในแง่ของการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาทางการศึกษาที่สำคัญ ปัญหาหนึ่ง คือ ปัญหานักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่จำนวนครูที่เพิ่มขึ้นไม่ได้สัด ส่วนสัมพันธ์กัน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ยังผลให้มีปัญหาทางด้านคุณภาพของการศึกษาตามมา เพราะการที่นักเรียนมากแต่มีครูน้อยนั้นทำให้ครูแต่ละคนต้องสอนนักเรียนเป็น จำนวนมาก และครูคนเดียวต้องสอนทุกวิชา ซึ่งบางวิชาอาจจะไม่ถนัด อันจะทำให้ การสอนไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ปัญหาการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้แม้แต่ในประเทศที่เจริญ ทางการศึกษา ก็ประสบปัญหานี้มาก่อนเช่นกัน นักการศึกษาของเขาได้แก้ปัญหาโดย การนำเอาโทรทัศน์เข้ามาใช้ประโยชน์ในด้านการเรียนการสอน  ดังนั้นจึงได้คิดโครงการใช้โทรทัศน์วงจรปิดเพื่อการสอน นี้ขึ้นมา

 วัตถุประสงค์

 1.      ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน โดยจัดทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูป แล้วนำมาฉายให้นักศึกษาชม ทำหน้าที่แทนครู

 

2.      ใช้เสริมการสอนของครู โดยนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอน ซึ่งผู้สอนจะต้องวางแผนเตรียมการล่วงหน้า

 3.      ใช้เสริมการเรียน

 ประโยชน์ของโทรทัศน์ 100 ช่อง  เพื่อการศึกษา

 1.      สามารถเลือกรับชมรายการสดจากช่องสถานีพื้นฐานได้

 2.      สามารถเลือกรับชมเนื้อหาที่สอนย้อนหลังได้

 3.      สามารถเลือกรับชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 4.      สามารถเลือกรับชมได้ทุกสถานที่ ที่สามารถเชื่อมโยงกับอินเตอร์เน็ต

 5.      ไม่จำกัดประเภทผู้เข้ามาชม

 6.      มีค่าใช้จ่ายต่ำทั้งผู้สร้างสื่อและผู้เข้าชม

 ข้อเสียของโทรทัศน์ 100 ช่อง  เพื่อการศึกษา

 1.   นักเรียนอาจไม่ให้ความสำคัญกับการเรียนในห้องเรียน  เนื่องจากสามารถชมการเรียนย้อนหลังผ่านสื่อที่จัดไว้ให้

 2.      นักเรียนต้องมีเครื่องมือเฉพาะส่วนตัวจึงจะจัดหาข้อมูลได้

 3.      ต้นทุนในการจัดหาข้อมูลเพื่อการศึกษาสูง

 4.      นักเรียนส่วนมากไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เนื่องจากอยู่ห่างไกล  รัฐบาลให้บริการไม่ทั่วถึง

 5.      ข้อมูลที่มีอยู่ขาดการประชาสัมพันธ์สู่ผู้เรียน

 รายการโทรทัศน์ช่องออกรายการควรมีสาระสำคัญเสนอเนื้อหาการศึกษาด้านต่าง ๆ ดังนี้

 1.      รายการด้านการเมือง  วิทยาศาสตร์  ดนตรี  ศิลปะ  และวรรณคดีจากโทรทัศน์

 2.      รายการโทรทัศน์ของอเมริกา เช่น "เซซามิ สตรีท" และ "อิเลคทริค คอมพานี" เป็นตัวอย่างรายกาโทรทัศน์ที่ดีซึ่งเป็นสื่อกลางให้กับการเรียนการสอนเกี่ยวกับทักษะการอ่านในโรงเรียน

 3.      รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  วิถีประชาหน้าแฟลต   สุดขั้วทั่วไทย

 4.      สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ(ETV)  เช่น  รายการคนแปลกหน้า พบความสนุกสนาน แฝงด้วยแง่คิดดี ๆ กับนิทานหุ่นมือ , รายการลม ฟ้า อากาศ พบกับพี่อะตอม และพี่แอม กับความรู้ในเรื่องลม ฟ้า อากาศ  เรื่องราวของธรรมชาติ พบการทดลองสนุก ๆ ในช่วงนักวิทยาศาสตร์รุ่นจิ๋ว

 5.      รายการ  กลาง O-NET เป็นรายการติวเข้มเตรียมสอบ O-NET ได้ทุกวัน ในเวลา 21.00 - 22.00 น. ในแต่ละวิชา

 6.      รายการสอนภาษาเยอรมัน พบกับ ศ.ดร.พรสรรค์  วัฒนางกูร และอาจารย์จากเยอรมันมาฝึกสอนภาษา ให้ท่านผู้ชมโดยเฉพาะ สัมผัสศิลปวัฒนธรรม และการใช้ชีวิตของคนเยอรมัน พร้อมกับฝึกทักษะความเข้าใจ การฟัง และวิธีการออกเสียงที่ถูกต้อง

 7.      DISTANCE   LEARNING  (รายการเพื่อการศึกษาทางไกล)ได้แก่ รายวิชาสถิติทั่วไป รายการการบริหารเงินทุนและการจัดทำบัญชีเบื้องต้น  รายการการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลโรงงาน

 8.      รายการการตลาดเบื้องต้น

 9.      รายการการเพนท์เซรามิกส์และเสื้อผ้า

 10.  รายการการจัดสวนถาดและสวนโหลแก้ว  

 

คำสำคัญ (Tags): #wbi
หมายเลขบันทึก: 320128เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2009 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นความรู้ที่เหมาะกับครูยุคนี้จริงๆครับ

ข้อมูล เยี่ยมมากค่ะ

  • Social  Networking     ช่วยให้เราเจอเพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ
  • ข้อนี้...ผมสนใจ

Social Networking ช่วยให้เรามีเพื่อนฝูง น่าสนใจเช่นกันค่ะ

ได้รับความรู้มากๆเลยค่ะ เป็นกำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท