สมมุติฐาน


ผมได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับสมมุติฐานมาบ้างแล้วข้างต้น  และนานมาแล้ว  แต่เรื่องของมันมีมาก  แต่เมื่อคิดอะไรได้ใหม่ๆ  มุมมองแปลกๆก็จะบันทึกไว้  และไม่เก็บไว้คนเดียวครับ  แบ่งปัญกันไปเรื่อยๆ  เพื่อว่าใครจะได้คิดต่อ  หรือวิพากษ์  ก็ได้ 

เมื่อไม่กี่วันมานี้มีข่าวจากทีวีสองเรื่องคือ  เรื่องปลาตายในลำคลองสาธารณโดยไม่รู้สาเหตุ  และเรื่องเกิดไฟไหม้บ้านโดยไม่รู้สาเหตุเช่นกัน  แต่วันนี้จะคิดเฉพาะเรื่องหลัง

เรื่องมีว่า  บ้านของสตรีผู้หนึ่ง  ลังเล็กๆ  ปลูกอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่มากต้นหนึง  จากภาพ  คงจะเป็นชนบทในบางแห่งของไทย  บ้านห่างจากต้นไม้ราว  ๗-๑๐ เมตร  ต้นไม้ใหญ่นั้นมีผ้าเหลืองห่มไว้รอบต้นด้วย  เหตุการณ์ก็คือ  อยู่ๆก็มีไฟลุกติดขึ้นในที่ต่างๆ  บ่อยๆ  หลายครั้ง  โดยไม่รู้สาเหตุ  บางครั้งเกิดลุกไหม้ที่เสื้อผ้า  บางครั้งที่ตู้  เตียง  บางครั้งจากผนังซีเมนต์  ดูเจ้าของบ้านกลัวมาก

เหตุการณ์เช่นนี้เป็น "ปัญหา"  เป็นปัญหาเพราะว่า "เราไม่รู้"  เราจึง "อยากรู้" ถ้าเรารู้คำอธิบาย  ปัญหาก็หมดไป

เมื่อมีปัญหา  ก็ต้อง "คิด" หา "คำตอบ"  คราวนี้เป็นบทบาทของนิวโรนในสมอง  สมองเหล่านั้นจะเก็บ "ความรู้ในอดีต" เอาไว้ในบางรูปแบบ  ถ้าสมองนั้น"เก็บความรู้ประเภทภูตผีปีศาจ นิยายเกี่ยวกับสวรรค์นรก" เอาไว้  ก็จะ "คิดตอบปัญหา" นี้เป็นอย่างหนึ่ง  ถ้าสมองก้อนนั้น "เก็บความรู้ประเภทวิทยาศาสตร์" เอาไว้  ก็จะ "คิดตอบคำถาม"อีกอย่างหนึ่ง  เช่น  คนแรกอาจจะ "คิดว่า  เพราะว่าที่ต้นไม้นั้นมีเจ้าที่สิงสถิตย์อยู่ เจ้าของบ้าน ไปรบกวนท่าน  จึงบันดาลให้เกิดไฟไหม้ขึ้นมาเพื่อลงโทษ"  คำอธิบายนี้เป็นประเภท "เหนือธรรมชาติ"   ในขณะที่  สมองก้อนหลัง "คิด  และอธิบายว่า  เป็นเพราะแก๊ซนั่นๆ  ทำปฏิกริยาทางเคมีกับอันนั้นๆ  จึงเกิดการสันดาบขึ้น"

คำอธิบายทั้สองนี้เป็น "ส่วนใหญ่" หรือ "ส่วนรวม"  จาก "ส่วนใหญ่ที่ใหญ่กว่า" ในสมองทั้งสองก้อนนั้น  คำอธิบายเช่นนี้จัดเป็นคำอธิบายประเภท "ทฤษฎี" (โปรดดูบล็อกชื่อ Empirical Theories)  แต่ทำหน้าที่เป็น "คำตอบล่วงหน้า"  เรายังไม่รู้ว่าถูกหรือผิด  จึงต้อง "ทดสอบ"  เมื่อ "มันต้องการการทดสอบ" เราจึงเรียกว่า "สมมุติฐาน" โดยการไปเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์มาวิเคราะห์  จนสุดท้ายได้คำตอบว่า "อันไหนถูก-ผิด"

ด้วยเหตุดังกล่าวมา  คำทฤษฎีและสมมุติฐานจึงเรียกชื่อกับค่อนข้างจะสับสนบ่อยๆ

กระบวนการวิจัยก็เกิดขึ้น  กระบวนการวิจัยเริ่มต้นตั้งแต่ "เราสังเกตุธรรมชาติ, เกิดปัญหา, ตั้งสมมุติฐาน, เก็ลข้อมูล, วิเคราะห์ข้อมูล, สรุปเป็นความรู้" เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ล้วนๆ  เราจึงจัดเป็นการวิจัยประเภท "การวิจัยบริสุทธิ์" (Pure Research) ความรู้ที่ได้ก็เป็น "ความรู้บริสุทธิ์" (Pure Knowledge)  นักวิทยาศาสตร์ก็เรียกว่า "นักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์" (Pure Scientist)

คราวนี้  เราต้องการที่จะ "นำความรู้นี้ไปใช้" โดยเรานำความรู้นี้ไปแนะนำชาวบ้านให้สร้างบ้านอย่างนั้นอย่างนี้  ไม่ควรทำอย่างนั้นอย่างนี้  ฯลฯ  เราเรียกว่า  การวิจัยประยุกต์ หรือ  เทคโนโลยี

อันที่จริงผมจะเขียนเรื่องของสมมุติฐาน  แต่เห็นว่า  เรื่องมันต่อเนื่องกัน  จึงถือว่าเป็นผลพลอยได้เสียก็แล้วกันครับ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #applied science, technology
หมายเลขบันทึก: 319514เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ ดร.ไสว คือผมจะเล่าเรื่องของผมให้ฟังนะครับ ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือมากและก็ชอบศึกษาหาความจริง

ของโลก ผมถือว่าความจริงมีค่าสูงสุด ผมชอบวิชาปรัชญา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ มากที่สุด และก็ชอบอ่านหนังสือทุกศาสตร์ทุกแขนงเลยครับ

อย่าว่าผมเป็นเป็ดเลยนะครับ ผมคิดว่าชีวิตผมมีค่าและเวลาก็มีน้อย ดังนั้นผมจึงศึกษาแต่สิ่งที่ชอบซึ่งก็คือทุกศาสตร์นั่นแหละครับ แต่ผม

เรียนอยู่เอกฟิสิกสครับ ดังนันฟิสิกส์จึงเป็นสเปเชียลลิสของผม ผมเห็นอาจารย์ตอบทุกความเห็นเลยผมเลยอยากให้อาจารย์ตอบของผม

ยิ่งยาวยิ่งดีครับผมอยากอ่าน ตอนนี้ผมมีความสนใจเรื่องสัมปชัญญะ และก็การทำงานของสมอง ผมเลยกูเกิลมาเจอ ดร ไสว ครับ

ผมอยากเรียนต่อจนจบปริญญาเอก และเป็นโปรเฟสเซอร์สอนฟิสิกส์ ผมคงไปทำอย่างอื่นไม่ได้ ให้ผมไปตายดีกว่าถ้าไม่ได้เป็นนักฟิสิกส์

ผมพูดจริงๆครับ และผมก็เชื่อว่าผมมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นนักฟิสิกส์ครับ ชีวิตในอุดมคติของผม คือสอนหนังสือเด็ก เขียนเปเปอร์

เขียนบทความวิชาการ เขียนหนังสือ และก็ทำงานวิชาการครับ และเวลาว่างผมก็จะเลือกอ่านหนังสือที่ผมชอบ ศึกษษสิ่งที่ผมรักครับ

ผมเป็นพวกไอเดียลลิสครับ เป็นพวกชอบคิดอะไรมากกว่าไปลงมือปฏิบัติ อยากให้ ดร A.ให้ข้อแนะนำด้านการเรียน B.การใช้ชีวิตด้านวิชาการ

ข้อมูลต่างๆที่ผมควรรู้ครับ และผมก็มีคำถามอีกสิบเอ็ดข้ออยากฟังความคิดเห็นของดร ครับ

1.ทำไมดนตรีถึงมีอิทธิพลกับวัฒนธรรมมนุษย์มากมายนัก ฟังเพลงซึ้งแล้วอิน ฟังเพลงร็อคแล้วฮึกเหิม

2. ทำไมเรือนร่างของสตรีถึงทำให้เพศชายหลงไหล ชอบมากมายขนาดนี้ มีอิทธิพลสูง ผู้หญิงก็ชอบแต่งตัว ผู้ชายก็ชอบมอง ส่งผลให้ธุรกิจความงามมีมูลค่าสูงมาก

3. จิตใจกับร่างกายเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า จิตใจมีอยู่จริงไหม

4. ทำไมมนุษย์ถึงขี้เกียจ ที่แสงเดินทางเป็นเส้นตรงก็เพราะมันเป็นระยะที่สั้นที่สุด แสงก็ขี้เกียจเหมือนกันใชไหม เวลามนุษย์ขี้เกียจถือเป็นภาวะ ground state ได้ไหม (เวลาใกล้สอบเป็น excited state)

5. สัมปชัญะการรู้ตัวในมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร พืชสัตว์อื่นๆมีสัมปชัญญะด้วยไหม

6.การคิดคือการพูดกับตัวเองในหัว ถ้าเกิดมนุษย์คนนั้นไม่ได้เรียนภาษามาเขาจะคิดได้ไหม

7.i think therefore i am ถ้าฉันไม่คิดแสดงว่าฉันไม่มีอยู่ใช่ไหม นั้นถ้ามีโลกนี้แต่ไม่มีการคิดก็แสดงว่าโลกนี้ไม่มีอยู่จริงใช่ไหม

8.ความรู้ในสายสังคมศาสตร์ถือเป็นวิทยาศาตร์ไหม พวกทฤษฏีต่างๆ หรือว่าต้องมีscientific method เท่านั้นถึงจะเรียกว่าวิทยาศาสตร์

9.วิทยาศาตร์มักจะอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างดี คือมีเหตุการณ์ก่อนถึงไปอธิบาย นั้นถ้ากลับกัน วิทยาศาตร์จะสามารถทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ไหม คือมีคำอธิบายก่อนถึงมีเหตุการณ์ ขอตัวอย่างหน่อย

10.ความบังเอิญมีจริงไหม

11.ตามที่ผมเข้าใจ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีเหตุมีผล everything happens for a reason แล้วมีอะไรไหมในเอกภพนี้ที่ไม่ได้เกิดจากเหตุและผล

จะรอฟังคำตอบอยู่นะครับขอแบบยาวๆเลยครับชอบๆ

ปล อ่านบลอค ของ ดร ได้ความรู้มากมาย ผมจึงอ่านตั้งแต่เรื่องแรกเลยครับว่าจะอ่านให้หมดเลย 555

-----------------------------------

สวัสดีครับ คุณ thales

คุณถามเยอะจัง ดูสงสัยไปทุกเรื่อง สมเป็นนักวิทยาศาสตร์ ผมไม่ได้รู้ไปทุกเรื่อง คงตอบได้ไม่หมด แต่พยายามตอบ

(๑) ประการแรก คนทุกคนมีแหล่งรู้สึกด้านสุขารมณ์บริเวณตอนล่างของสมอง จึงรับฟังเสียงสูงต่ำของดนตรีได้ แต่แปลกที่คนแต่ละกลุ่มรับรู้เพลงต่างกัน

(๒) เรื่องเรือนร่างของสตรีนั้น นักวิทยาศาสตร์ฝ่ายชีววิทยา หรือสรีรวิทยาน่าจะตอบได้ดีกว่าครับ

(๓) จิต แปลว่า ใจ แต่เราพูดซ้ำกันจนเคยชินว่า จิตใจ ตอบสั้นๆก็ดังนี้ ในตัวเรานี้มี "สมอง" กับ" พฤติกรรมของสมอง" พฤติกรรมของสมองได้แก่ "การรู้สึกสัมผัส การรับรู้ การจำ การคิด การตัดสินใจ อารมณ์ และความรู้สึกอื่นๆที่เกี่ยวกับอารมณ์" พฤติกรรมของสมองเหล่านี้คนทั่วไปเรียกว่า "จิต" ฝรั่งเรียกว่า Mind สมองเป็นวัตถุ จิตเป็นอวัตถุ จึงไม่เหมือนกัน นับแต่เริ่มมีมนุษย์มา เราไม่รู้กายวิภาคของคน จึงไม่รู้จักสมอง แต่รู้จักจิตที่กล่าวนั้น และเรียกว่าวิญญาณ ต่อมากลายเป็นจิต ในปัจจุบันนี้นักจิตวิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่า สมองนั่นแหละคือจิต (วัตถุ) จึงศึกษากิจกรรมของกระบวนการเคมีและฟิสิกส์ของก้อนสมองในแง่ของการเรียนรู้ การคิด และอารมณ์ แต่บางกลุ่มศึกษาพฤติกรรมของสมอง ในเมืองไทย แม้เราจะมีคณะจิตวิทยาที่จุฬาฯ แต่ก็ยังไปไม่ถึงไหน ก็คงจะรอคนอั๗ฉริยะที่ขี้สงสัยในเรื่องที่ทึ่งๆไปสมัครเป็นลูกศิษย์กระมังครับ เรื่องนี้ผมได้เขียนไว้มาก ใน Blog Human Mind

(๔) ความขี้เกียจ กับ แสง ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน จึงไม่เหมือนกัน

(๕) สัมปชัญะการรู้ตัว ผมได้เขียนไว้หลายตอนในเรื่องของการรู้สึกตัว และผมได้เสนอเป็นทฤษฎีของผมเองไว้ด้วยครับ ลองอ่านดูนะครับ

(๖) คนหูหนวก ตาบอด และเป็นใบ้ มาแต่กำเนิด อื่นๆสมบูรณ์ แล้วเขาจะคิดเป็นไหม?

(๗) การที่ฉันคิด ทำให้ฉันรู้ว่ามีฉันอยู่ (ถ้าฉันไม่คิดก็จะมีแต่กายเท่านั้นเหมือนก้อนหินก้อนกรวด) ฉัน ในที่นี้คือ "จิต" เป็นการประกาศว่า เขายอมรับว่ามีจิตอยู่จริงในจักรวาลนี้ พวกสุดโด่งจริงๆที่เรียกว่าเอกนิยมนั้น เชื่อว่าจิตเท่านั้นที่มีจริง นอกนั้นหามีไม่ แต่อีกพวกหนึ่งเป็นเอกนิยมเหมือนกันกลับเชื่อว่า วัตถุเท่านั้นที่มีจริง นอกนั้นหามีไม่ ??

คำว่าคิดที่ว่านั้น หมายถึงคิดเหตุผล

(๘) คำว่า "วิทยาศาสตร์"( Science ) นั้น เรานิยามโดยใช้ "กระบวนการ" ของมันมานิยาม ไม่ได้ใช้เนื้อหามานิยาม เพราะถ้าใช้เนื้อหามานิยามแล้วทำให้ได้คำนิยามต่างกัน เช่น เคมีคือวิชาที่ว่าด้วยธาตุ ฟิสิกส์คือวิชาที่ว่าด้วยการเคลื่อนที่ ชีววิทยาคือวิชาที่ว่าด้วยชีวิต ฯลฯ ทั้งๆที่เป็นวิทยาศาสตร์เหมือนกัน ดังนั้นจึงได้นิยามโดยใช้ Processes มานิยาม จะได้ว่า " วิทยาศาสตร์คือกระบวนการที่ประกอบด้วย การสังเกต การเกิดปัญหา การตั้งสมมติฐาน การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผล " ดังนั้นวิชาสาขาใดๆที่ค้นหาความรู้โดยใช้กระบวนการเหล่านี้แล้วก็เรียกว่าวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น วิชาสายสังคมศาสตร์จึงนับเป็นวิทยาศาสตร์สังคม ส่วนเคมี ฟิสิกส์ เป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เรื่องนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องแตกฉาน มิฉะนั้นก็จะจำแนกประเภทของศาสตร์ไม่ได้ เกิดปัญหาในการตั้งสาขาวิชา ภาควิชา คณะวิชา ตั้งมหาวิทยาลัย เป็นต้น

(๙) ได้ทั้งสองอย่าง กรณีเกิดเหตุการณ์ขึ้นก่อนแล้วจึงอธิบายก็เช่น "ลูกแอปเปิลหล่นถูกหัวไอแซกนิวตัน" เป็น "เหตุการณ์" จากนั้นเขาจึง "สร้าง" คำอธิบายขึ้นมาว่า "ภายในโลกทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงดึงดูดวัตถุทุกอย่างลงสู่ใจกลางโลก" ลูกแอปเปิลหล่นลงสู่โลกก็เพราะแรงนี้ คำอธิบายดังกล่าวจัดเป็น "ทฤษฎี"

กรณี "พยากรณ์" ก็เช่น "จากทฤษฎีดีงกล่าว" เราทายว่า "ถ้าเราขว้างก้อนหินขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้วก้อนหินนั้นจะหล่นลงสู่พื้น" ทฤษฎีประเภทนี้บางทีเราคำนวณเอาด้วยหลักวิชาคณิ๖ศาสตร์ล้วนๆก็มี และสามารถพยากรณ์ไปยังเหตุการณ์ในโลกจริงได้

(๑๐) มีจริงและไม่จริงครับ ก็ Probability ไง กรณีมีจริง คือการที่เราโยนเหรียญ แล้วจดบันทึกข้อมูลไว้ และนำมาจุดกราฟ กรณีไม่จริง(ด้วยการสังเกต)คือ เช่น (1/2 + 1/2)n

(๑๑) ต้นกำเหนิดของจักรวาลที่บรรจุไว้ซึ่งกาแล็กซี่ทั้งมวล

เข้ามาเยี่ยมอาจารย์...

อนุโมทนาอย่างยิ่ง สำหรับเอกสารที่ฝากมาให้...

ตั้งแต่เป็นสมภาร รู้สึกว่าจะลืมบล็อกอาจารย์ไปเสียแล้ว เพราะไม่ค่อยได้เข้ามาอ่านเลย ต่อไปจะพยายามแวะเวียนเข้ามา (.............)

อำนวยพรให้อาจารย์มีสุขภาพกายสุขภาพใจแข็งแรง...

เจริญพร

ขอบคณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท