เรื่องเล่าจากคุณอำนวยในกระทู้ของwww.bantakhospital.com


ตอนนี้ทีมงานของโรงพยาบาลบ้านตาก เริ่มติดต่อสื่อสารและเล่าเรื่องผ่านทางwww.bantakhospital.comมากขึ้น คาดว่าในออนาคตก็จะเริ่มเข้าสู่วงการของwww.gotoknow.org

            เป็นเนื้อหาที่ผมคัดมาจากกระทู้ของเว็บโรงพยาบาลบ้านตาก ซึ่งคุณเกศราภรณ์ ผู้จัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพได้นำมาเล่าไว้

             ขอเชิญคุณเทพทวย มูลวงษ์ หน.หอผู้ป่วยในชาย และ คุณสุภาภัดต์ ต๊ะคำ หน.งานชันสูตร รับรางวัลการทำ KM ในหน่วยงานที่นำเรื่องเล่าจากทีมศึกษาดูงานไปใช้ในงานและก่อประโยชน์ให้ผู้ป่วย รับรางวัลสามารถได้ที่ศูนย.คุณภาพตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผลงานมีดังนี้

             1.งานชันสูตร พบว่าทีมดูงานถามว่า "Blood Bank" มีแนวทางอย่างไรที่เลือดเข้ากันไม่ได้ ซึ่งงานชันสูตรได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นจริงพูดคุยกับทีมดูงาน เขาได้แนะนำให้ขึ้นทะเบียนผู้เคยขอเลือดแล้วทำสถิตไว้ว่าคนไหนเลือดเข้ากันได้,เข้ากันไม่ได้ ทำลักษณะเหมือนลงประวัติผู้ป่วยแพ้ยาเมื่อมีการขอเลือดซ้ำเราจะดูประวัติเดิมได้ ( ซึ่งแต่เดิม รพ.บ้านตากไม่ได้ทำ ) ซึ่งพบว่าจะมีการคัดกรองทุกครั้งที่มีการขอเลือดอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วยมากขึ้น แต่ได้ทำเพิ่มเติม คือ นำสถิติในแต่ละปีมาทบทวนดูความผิดพลาดย้อนหลังเพื่อเพิ่มการระวังสูงขึ้น ............... ผู้เล่า คุณสุภาภัดต์ ต๊ะคำ งานชันสูตร ( ถ้าเรื่องราวในนี้ต้องการเพิ่มเติมขอเชิญคุณสุภาภัดต์ มาต่อเติมได้เลยนะค่ะ เพราะที่เขียนเล่านี้ได้โทร.สัมภาษณ์อาจตกหล่นไปบ้าง
              2. งานผู้ป่วยในชาย จากเดิมการฉีดยาจะใช้ Syring ที่ทิ้งได้เป็นรายๆโดยใส่ซองเดิม แต่ได้แลกเปลี่ยนกับทีมดูงานของ รพ.แห่งหนึ่งพบว่า รพ.แห่งนี้ได้ใช้ผ้าเย็บเป็นผืนใหญ่และข้างในแยกช่องเพื่อใส่ Syring เป็นช่องๆและผ้าผืนนี้เป็นผ้าที่นึ่งปราศจากเชื้อแล้ว เวลาจะฉีดยาหลายๆรายสามารถใช้ผืนเดียวแต่แยกช่องผู้ป่วยเป็นรายๆได้ หลังจากใช้แล้วไม่นำกลับมาใช้อีกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ รพ.เลยคิดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีได้นำเสนอทีม IC ขณะนี้อยู่ในช่วงดำเนินการ ผู้เล่าคือคุณเทพทวย มูลวงษ์
             ประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสร่วมศึกษาดูงานกับทีมพัฒนาคุณภาพระดับจังหวัด ได้ฟังการเล่าเรื่องจาก รพ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งได้จัดให้แพทย์ของ รพ.ทุกคนได้รับผิดชอบผู้ป่วยประจำตำบลคิดว่าเป็นแนวคิดที่แปลกและผู้ป่วยได้รับประโยชน์มากเนื่องจากไดรับการดูแลจากแพทย์ประจำทำให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่อง เมื่อกลับมาที่ รพ.บ้านตากจึงได้เล่าเรื่องนี้ให้กับทีมสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน ( Home Health Care ) ฟัง แต่คิดว่าของเราคงให้แพทย์ทำอย่างนั้นไม่ได้ เนื่องจากมีแพทย์ไม่มากพอ แต่มีอีกทีมคือพยาบาลในทีมนี้คงใช้แนวคิดของ รพ.พนมสารคามได้ จึงได้เสนอไปซึ่งประธานHome Health Care เห็นด้วยจึงมีการแบ่งพยาบาลออกเป็น 4 ทีมรับผิดชอบเป็นตำบล ( ซึ่งแต่เดิมเราจัดตารางเวรออก เวียนกันไป )และแล้วเราคิดไม่ผิดจริงๆเพราะผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากทีมเดิมและเกิดการประสานงานอย่างคล่องตัวทั้งทีมใน รพ. และระหว่างทีมของ รพ.กับสถานีอนามัย ทำให้เกิดความคุ้นเคยของทีมสหสาขาวิชาชีพตลอดทั้งผู้ป่วยและญาติ ...... แนวคิดนี้ยังใช้ตั้งแต่นำเสนอจนถึงปัจจุบันนี้  ผู้เล่า เกศราภรณ์ ภักดีวงศ์ ผู้จัดการศูนย์คุณภาพ รพ.บ้านตาก 055 - 591435-6 ต่อ 174

หมายเลขบันทึก: 31918เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท