สนามหลวงโมเดล(2) : ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต(บ้านปั้นปูน)


หลังจากที่นำเสนอรูปแบบและแนวคิดการดำเนินงานในกลุ่มผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะไปแล้วเมื่อไม่นานานี้ ซึ่งในครั้งแรก เป็นเพียง กรอบแนวคิดการปรับทัศนคติและปูพื้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานให้บริการแก่ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เท่านั้น ในครั้งนี้ จะขอเน้นการนำเสนอรูปแบบการให้บริการ เชิงรุก และ รับ เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอย่างเป็นระบบตามแนวคิดของอิสรชนเป็นหลัก

สนามหลวงโมดล(2) : ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต(บ้านปั้นปูน)

เกริ่นนำ             

หลังจากที่นำเสนอรูปแบบและแนวคิดการดำเนินงานในกลุ่มผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะไปแล้วเมื่อไม่นานานี้ ซึ่งในครั้งแรก เป็นเพียง กรอบแนวคิดการปรับทัศนคติและปูพื้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานให้บริการแก่ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เท่านั้น ในครั้งนี้ จะขอเน้นการนำเสนอรูปแบบการให้บริการ เชิงรุก และ รับ เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอย่างเป็นระบบตามแนวคิดของอิสรชนเป็นหลัก

การทำงานเชิงรุก

                รูปแบบการทำงานเชิงรุกของการให้บริการแก่ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ตามแนวคิดของอิสรชน นั้น จะเน้นการออกมาพบปะกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตเมือง เพื่อสร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจ ตลอดจนการให้บริการขั้นพื้นที่ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตในพื้นที่สาธารณะ ได้แก่ บริการด้านสาธารณสุขเบื้องต้น การให้คำปรึกษา การแนะนำแหล่งทรัพยากรที่ให้บริการด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ การติดต่อขอทำบัตรประชาน เป็นต้น

                และพร้อมกันนนั้น เจ้าหน้าที่ภาคสนามก็ยังจะสามารถแนะนำชักชวนให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่มีความต้องการจะยุติชีวิตในที่สาธารณะ และ มีความประสงค์จะขอรับการพัฒนาฟื้นฟู เพื่อเตรียมตัวคืนกลับสู่ ครอบครัว ชุมชน และสังคม เข้าสู่ระบบการให้บริการของศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต (บ้านปั้นปูน) ที่ ดูแลและดำเนินงานโดย อิสรชนร่วมกับภาคีเครือข่าที่ทำงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน

การทำงานเชิงรับ

                รูปแบบการทำงานเชิงรับของอิสรชน ภายใต้ชื่อ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต(บ้านปั้นปูน) เป็นรูปแบบการทำงาน สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์และบ้านเปิด ผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยเน้นการให้บริการแบบสมัครใจ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่มีความประสงค์จะเข้ามาขอรับบริการ สามารถเข้ามาได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งเข้ามาขอใช้บริการด้วยตัวเอง หรือ จะติดตามเจ้าหน้าที่ภาคสนามเข้ามาขอรับบริการ หรือ จะเป็นการส่งตัวต่อมาจากหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรพัฒนาเอกชนอื่น

กรอบการให้บริการ แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะได้แก่

  1. แรกรับ ทกลองอยู่ ในรูปแบบนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะทดลองเข้ามาอยู่ เพื่อสร้างความคุ้นเคย โดยไม่มีเงื่อนไขการเข้าออก แต่ สามาถอยู่อย่างต่อเนื่องติดต่อกันได้ไม่เกินครั้งละ 10 วัน และ อนุญาตให้เข้าออกได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ใน 1 ปี
  2. หลักสูตรระยะสั้น เป็นการสมัครใจเข้ารับการพัฒนาและฟื้นฟูระยะสั้น โดยมีหลักสูตรที่ต้องสมัครใจ เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 30 วัน และเมื่อผ่านหลักสูตรนี้ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อาจจะขอรับการอบรมในหลักสูตรที่สูงขึ้นได้ หรือ จะขอรับการช่วยเหลือ ทั้งการเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือ หางานทำ
  3. หลักสูตรระยะกลาง เป็นการให้การอบรมที่ใช้ระยะเวลาเพิ่มมากขึ้นกว่า ในหลักสูตรแรก โดยที่จะใช้เวลาอบรมอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 45 วัน และไม่จำเป็นต้องผ่านการอบรมในหลักสูตรระยะสั้นก็ได้ เมื่อผ่านหลักสูตรนี้ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อาจจะขอรับการอบรมในหลักสูตรที่สูงขึ้นได้ หรือ จะขอรับการช่วยเหลือ ทั้งการเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือ หางานทำ
  4. หลักสูตรระยะยาว เป็นการให้การอบรมที่ใช้เวลาในการอบรมอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการอบรมในหลักสูตรระยะสั้นหรือระยะกลางก็ได้ ผ่านหลักสูตรนี้ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะจะขอรับการช่วยเหลือ ทั้งการเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือ หางานทำ
  5. การขอรับบริการระยะสั้น เพื่อขอพักพิงเพื่อรองการส่งต่อ หรือ กลับภูมิลำเนา โดยผู้ใช้บริการในรูปแบบนี้ อาจจะเป็นผู้รับบริการของหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน ที่รอการประสานงานเพื่อให้บริการตามที่ผู้รับบริการรองขอ หรือออาจจะเป็นผู้รับบริการของอิสรชนเอง ที่มีความประสงค์จะเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือ ไปทำงาน โดยสามารถอยู่ในศูนย์ฯได้มีระยะเวลาติดต่อกัน ไม่เกิน 5 วันทำงาน

รูปแบบการทำงานที่อิสรชนออกแบบในเบื้องต้น นี้ จะเป็นการพัฒนารูปแบบการให้บริการแก่ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่สามารถเข้ามาขอรับบริการได้ทั้งมาคนเดียว หรือมาเป็นครอบครัว แต่ต้องเกิดจากความสมัครใจเป็นสำคัญ

 

การทำงานเชิงประสานงาน

เน้นการทำงานประสานงานข้อมูลสถานะบุคคล การมีสิทธิ์ในรัฐสวัสดิการด้านต่าง ๆการพัฒนาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและฝึกอาชีพตามความสมัครใจ รวมถึงการส่งกลับภูมิลำเนาโดยสมัครใจ โดยเน้นการทำงานร่วมทั้งในหน่วยงานของภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัครในการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ

 

 

หมายเลขบันทึก: 318379เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2009 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท