สรปงานวิจัยเรื่องที่ 3


สรุปงานวิจัย

1. ชื่อเรื่อง        การศึกษาสุขภาพองค์การของข้าราชการครู โรงเรียนมัธยม

   ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา สหวิทยาเขตพระอภัยมณี  จังหวัดระยอง

2. ผู้วิจัย นุชชารี  สุรกุล

3. ปีที่วิจัย  พฤษภาคม 2546

4. วัตถุประสงค์

            เพื่อศึกษาสุขภาพองค์การของข้าราชการครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา สหวิทยาเขตพระอภัยมณี จังหวัดระยอง โดยมุ่งหาคำตอบดังนี้

            1. เพื่อศึกษาสุขภาพขององค์การโดยรวมและรายด้าน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดกรมสามัญศึกษา สหวิทยาเขตพระอภัยมณี จังหวัดระยอง โดยจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน

            2. เพื่อเปรียบเทียบสุขภาพองค์การของข้าราชการครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา สหวิทยาเขตพระอภัยมณี จังหวัดระยอง โดยจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน

5. วิธีดำเนินการวิจัย

1. ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา สหวิทยาเขตพระอภัยมณี จังหวัดระยอง  จำนวน 312 คน

2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling ) จากประชากรที่เป็นครู  สังกัดกรมสามัญศึกษา สหวิทยาเขตพระอภัยมณี จังหวัดระยอง จำแนกตามขนาดโรงเรียน ได้แก่ครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 169 คน โดยใช้เกณฑ์กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางกลุ่มตัวอย่างของเครชซี และมอร์แกน

6. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวประวัติส่วนตัว จำนวน 2 ข้อ

ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพขององค์กร มีจำนวน 42 ข้อ ผู้วิจัยได้พัฒนามาจากแบบสอบวัดสุขภาพองค์การ (organizational health inventory หรือ OHI) ของฮอย และเฟลด์ และแนวความคิดของมาย์ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวัดสุขภาพองค์กร 7 ด้าน คือ 1. ความสามัคคี 2. อิทธิผลของผู้บริหาร 3. การบริหารแบบมิตรสัมพันธ์ 4. การบริหารแบบกิจสัมพันธ์ 5. การสนับสนุนทางทรัพยากร 6. ขวัญในการปฏิบัติงาน 7. การติดต่อสื่อสาร แบบสอบถามปรับแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยเรียงจากน้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก และมากที่สุด

7. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

             1. การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1.1 นำหนังสือจากภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพาถึงผู้อำนวยการโรงเรียนครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา สหวิทยาเขตพระอภัยมณี จังหวัดระยอง

1.2 จัดส่งแบบสอบถามจำนวน 169 ฉบับ ไปยังครูซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างตามโรงเรียนต่างๆ และให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม และผู้วิจัยไปรับแบบสอบถามคืนด้วยตนเอง

1.3 ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนและเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ จากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด กรมสามัญศึกษา สหวิทยาเขตพระอภัยมณี จังหวัดระยอง จำนวน 154 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 91.12

            2. การจัดกระทำข้อมูล ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

2.1 เมื่อได้รับแบบสอบถามคืนแล้ว ผู้วิจัยต้องทำการคัดเลือกแบบสอบถามที่สมบูรณ์ เท่านั้นมาใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป

2.2 นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์มาลงรหัสให้คะแนนตามน้ำหนักคะแนนแต่ละข้อบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม       SPSS/PC+

2.3 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำผลการคำนวณมาวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายและสมมติฐานของการศึกษาค้นคว้าต่อไป

เกณฑ์การให้คะแนน แบบสอบถามและการแปลความหมายของคะแนนที่กำหนดไว้

            แบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพองค์กรของโรงเรียนมัธยมศึกษา ทั้ง7 มิติ จำนวน 42 ข้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสอบถาม เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) โดยเรียงจากน้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด ตามแนวคิดของ ลิเคิร์ท ดังนี้

5    คะแนน            หมายถึง           มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

4    คะแนน            หมายถึง           มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

3    คะแนน            หมายถึง           มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

2    คะแนน            หมายถึง           มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย

1    คะแนน            หมายถึง           มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด

      การแปลความหมายของคะแนน ผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์สำหรับวัดระดับสุขภาพขององค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยเอาค่าเฉลี่ย (mean) เป็นตัวชี้วัดโดยกำหนดเกณฑ์ดังนี้

ค่าเฉลี่ย      4.15 – 5.00      หมายถึง           องค์การมีสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด

ค่าเฉลี่ย      3.51 - 4.50       หมายถึง           องค์การมีสุขภาพอยู่ในระดับมาก

ค่าเฉลี่ย      2.51 - 3.50       หมายถึง           องค์การมีสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง

ค่าเฉลี่ย      1.51 - 2.50       หมายถึง           องค์การมีสุขภาพอยู่ในระดับน้อย

ค่าเฉลี่ย      1.00 - 1.50       หมายถึง           องค์การมีสุขภาพอยู่ในระดับน้อยที่สุด          

8. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS/PC+ (Statistical Page for the Social Science/Personal Computer Plus) โดยเลือกเฉพาะวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับการทดสอบสมมติฐาน ดังนี้

  1. การหาระดับสุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา  สหวิทยาเขตพระอภัยมณี จังหวัดระยอง สถิติที่ใช้คือ การหาค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  2. การทดสอบสมมติฐาน “ครูปฎิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา สหวิทยาเขตพระอภัยมณี จังหวัดระยอง ที่มีประสบการณ์ต่างกันจะมีการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพ องค์การแต่ละมิติและโดยรวม แตกต่างกัน” ใช้สถิติ t-test
  3. การทดสอบสมมติฐาน “ครูที่ปฎิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดต่างกัน จะมีการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพ องค์การแต่ละมิติและโดยรวม แตกต่างกัน” สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (one – way ANOVA) เมื่อผลการทดสอบ F มีนัยสำคัญทางสถิติทดสอบ รายคู่โดยวิธี นิวแมน – คูลส์ (Newman – Keules test)

9.  ผลการวิจัย

            1. สุขภาพขององค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา  จำแนกตามประสบการณ์น้อยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านอิทธิพลของผู้บริหาร และด้านการบริหารแบบกิจสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก จำแนกตามประสบการณ์ในการทำมาก โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น ด้านการติดต่อสื่อสารอยู่ในระดับมาก และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการสนับสนุนทรัพยากร ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารอยู่ในระดับกลาง โรงเรียนขนาดกลางโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางยกเว้นด้านความสามัคคี ด้านการบริหารงานแบบกิจสัมพันธ์ ขวัญในการปฎิบัติงาน การติดต่อสื่อสารอยู่ในระดับมาก

            2. สุขภาพขององค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา  โดยรวมและรายด้านจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านสามัคคี ด้านบริหารแบบมิตรสัมพันธ์ การสนับสนุนทางทรัพยากร ด้านขวัญในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p < .05) ส่วนอิทธิพลของผู้บริหาร ด้านการบริหารแบบกิจสัมพันธ์ และด้านการติดต่อสื่อสาร แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ (Tags): #สรุปงานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 317307เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2009 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 07:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท