ตัวชี้วัด,สมรรถนะ.คุณลักษณะอันพึงประสงค์


ตัวชี้วัดทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้..

ตัวชี้วัด

         ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้  รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น  ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วย

การเรียนรู้  จัดการเรียนการสอน  และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน

  1. ตัวชี้วัดชั้นปี  เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ

        (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 )

  1. ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

        (มัธยมศึกษาปีที่4  - 6 )

 

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

  1. ความสามารถในการสื่อสาร
  2. ความสามารถในการคิด
  3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
  4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
  5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

  1. รักชาติ  ศาสนา  กษัตริย์
  2. ซื่อสัตย์สุจริต
  3. มีวินัย
  4. ใฝ่เรียนรู้
  5. อยู่อย่างพอเพียง
  6. มุ่งมั่นในการทำงาน
  7. รักความเป็นไทย
  8. มีจิตสาธารณะ

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง คุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดไว้ 8 ประการดังกล่าวไว้แล้ว

ผู้สอนสามารถจัดทำเป็นพฤติกรรมบ่งชี้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้แสดงออกทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และอีก 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในแต่ละวิชาต้องประเมินรายภาค รายปี เพื่อสั่งสมพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง และนำผลมาประเมิน มาสรุปผลอีกครั้งหนึ่งเมื่อผู้เรียนจบหลักสูตรคือปีสุดท้ายของการเรียนในแต่ระดับการศึกษา เพื่ออนุมัติจบหลักสูตร

หมายเลขบันทึก: 317012เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2009 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ  น้องรัก

  • มารออ่าน ตัวชี้วัด  ตามหลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551 ค่ะ
  • เชียร์

สวัสดีค่ะ

  • มาเข้าแถว  รอเรียนรู้ ตัวชีวัด สมรรถนะ.คุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

Pพี่ครูอ้อยPพี่ครูคิม..ค่ะในการใช้คุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้นมีข้อกำหนดว่า..ให้สถานศึกษาใช้ได้ทั้ง 8 ข้อ จะมากกว่า 8 ข้อหลักนี้ก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 8 ข้อหลักนี้ค่ะ ส่วนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มและอีก 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้เลือกใช้ได้ใน 8 ข้อนี้ และการประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต้องมีคณะกรรมการระดับสายชั้นประเมินผู้เรียนให้ครบ..แล้วจึงตัดสินการประเมินโดยมีเกณฑ์ 3 ระดับคือ..

1.ดี่เยี่ยม

2.ดี

3.ผ่าน

โดยการประเมินแบ่งออกเป็นระยะๆ และคณะกรรมการจะต้องจัดประประชุมกันว่าเกณฑ์ระดับใดจะดีเยี่ยม ดี และผ่าน ยกตัวอย่างเช่น

80 ขึ้นไป =ดีเยี่ยม

70-79      =ดี

60-69      =ผ่าน

ผมเองปฎิบัติงานในกรมการพัฒนาชุมชน เคยรับผิดชอบการดำเนินงานตามคำรับรองการปฎิบัติราชการซึ่งประเมินผลตามตัวชี้วัดที่ส่วนราชการกำหนดเเละสำนักงาน ก.พ.ร. เห็นชอบใน 4 มิติ ของการประเมิน จึงไม่มีความรู้ตัวชี้วัดการเรียนการสอนมากนัก จะมีก็เพียงงานรับผิดชอบสอนนักศึกษาในระดับปริญญาตรี โท จึงไม่สันทัดตัวชี้วัดในลักษณะนี้เเต่ขอเเลกเปลี่ยนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้วยคนขอรับ

ตัวชี้วัดคืออะไร ? 

 “ข้อมูลเชิงประจักษ์ หรือค่าทางสถิติที่เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือวัด หรือตัวชี้บอกถึงกระบวนการดำเนินงานและผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงไร”

  “เป็นเครื่องมือการบริหารที่มีประสิทธิภาพ  เพราะจะทำให้องค์กร หน่วยงาน และพนักงานทุกระดับ  ทำงานอย่างเต็มที่ เพราะมีการกำหนดผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน”

“การทำงานจะเน้นที่ความสำเร็จของผลการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ   เพราะมีการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายการทำงานพร้อมกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ในการเชื่อมโยงกับการขึ้นเงินเดือน การจ่ายโบนัส และการเลื่อนระดับได้ ” 

ทำใมต้องมีตัวชี้วัด ?     

             การทำงานต้องมี เป้าหมาย มีวัตถุประสงค์ การกำหนดตัวชี้วัด ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะได้ช่วยชี้ว่า  "งานที่เราทำไปนั้น ...มีประสิทธิผลเพียงใด  เป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ ที่เราตั้งเอาไว้หรือไม่  "  

มีตัวชี้วัดเพื่ออะไร ?

1.      เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบว่า ผลผลิต และ ผลลัพธ์ที่หน่วยงาน และผู้ประเมินต้องการคืออะไร

2.      เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบเป้าหมาย และจะทำงานได้อย่างเต็มที่

การสร้างตัวชี้วัดทำอย่างไร ?   

1.  สร้างตัวชี้วัดเพื่อวัดผลผลิต (Output)  

2.  สร้างตัวชี้วัดเพื่อวัดผลลัพธ์ (Outcome)   

ผลผลิต หรือ Output     เป็นผลงานที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมโดยตรง เช่น ผลผลิตของการผลิตสื่อการเรียนการสอน ได้แก่  ตำรา 5 เล่ม, Power point  5  รายวิชา หรือ  E-learning  6  รายวิชา เป็นต้น

ผลลัพธ์ หรือ Outcomes หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นติดตามมา ผลกระทบ หรือเงื่อนไข ที่เกิดจากผลผลิต  เช่น การที่นิสิตมีผลการเรียนที่ดีขึ้น  นิสิตที่ได้คะแนนต่ำกว่า 2.00 มีจำนวนน้อยลงเป็นผลลัพธ์ของการมีสื่อการเรียนการสอน   

ตัวชี้วัดมีกี่ประเภท ?  ทั่วๆ มี 2 ประเภท

1. ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ มีค่าเป็นตัวเลข เช่นจำนวนคน น้ำหนัก งบประมาณ 

2. ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ  จะเป็นเช่นคุณภาพชีวิต ความพึงพอใจของผู้รับบริการ  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ฯลฯ(www.sci.nu.ac.th/tmp)

P..ขอบคุณเพื่อนอาจารย์มากค่ะที่กรุณาอธิบายให้ความรู้เพิ่มเติมเสมอ..ขอบคุณและขอบคุณค่ะ..

 

ขยันจังอ่ะให้เลย.........

เอาภาพสวยให้เป็นกำลังใจนะ

 

 

 

ขอฝากให้อีกภาพตอบเเทนบันทึกที่เป็นประโยชน์...

สวัสดีค่ะ

มาศึกษาสิ่งชี้วัดด้วยค่ะ

(น้องเราต้องหัวฟูอยู่แน่ๆเลย กำลังเรียนริญญาโทนี่นา)

P..หัวฟูและร่วงด้วยค่ะพี่ตุ๊กตา..แต่ไม่เป็นไร..ชีวิตสั้นค่ะ..เวลาเหลือน้อย ต้องรีบทำอะไรให้สำเร็จก่อนค่ะ..แต่ก็มีความสุขที่ได้ทำ..สู้ต่อไป..

P..ขอบคุณเพื่อนอาจารย์..มองภาพแล้วก็โล่งใจดี..พักสายตาดีมากๆจ้า

สวัสดีค่ะ...น้องครู P อ้อยเล็ก

มาเรียนรู้ต่อนะคะ

ขอบคุณค่ะ

P..ขอบคุณเช่นกันค่ะครูพี่อี๊ด...ยินดีมากๆค่ะ...

  • มีจิตสาธารณะ...คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่สำคัญ

P..ขอบคุณค่ะดร.มีอะไรชี้แนะครูอ้อยเล็กบ้างนะคะ..ขอบคุณและขอบคุณเป็นอย่างสูงค่ะ...

เรียน อาจารย์

กระผมขอคำแนะนำนะครับการวัดคนดี คนเก่ง จะวัดด้วยอะไรครับ ถ้าใครมีคำแนะนำช่วยส่ง E-mail มาที่ [email protected] นะครับ จะขอบคุณมาครับ

คนดี คนเก่ง ต้องแยกกันนะคะ คนดีจะดูจากการกระทำ นิสัย การแสดงออกที่

เป้นธรรมชาติของคน ที่ออกมาจากสมองและจิตใจไม่เสแสร้ง ต้องใช้เวลาศึกษาพิสูจน์

คนเก่ง มีมากมาย หลากหลาย ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง มีทั้งเก่งในทางที่ดีและตรงกันข้าม

ถ้าต้องการเป็นคนเก่งในเรื่องใดเราสามารถศึกษาเรียนรู้ฝึกฝนจนชำนาญได้ช้าหรือเร็ว

ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง คนเก่งสรุปไม่ได้ว่าเป็นคนดี แต่สังคม ประเทศต้องการคนดี

เพราะจะทำให้มีความสงบสุขร่มเย็น ในสังคมทุกระดับ การเป็นคนดีต้องได้รับการปลูกฝัง

ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจากพ่อแม่ พันธุกรรม การเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม ปัจจัยต่างๆที่ได้รับทุก

ช่วงชั้นวัยของชีวิต การเป็นคนดีจะเป็นคุณลักษณะที่ติดตัวไปตลอดชีวิตแสดงออกได้

โดยอัตดนมัติไม่ต้องให้ใครสั่งให้ทำ  คนดีจะพยายามหาแนวทาง ทางออกที่ดีให้แก่ชีวิต

ตนเอง ผู้อื่น และสังคม แต่คนดี คนตรง ตนจริงใจ คนซื่อสัตย์สุจริต มักไม่ได้รับการยอม

รับจากผู้บริหาร  ผู้บังคับบัญชา  เพราะคนดีทำงานเพื่อประสิทธิภาพและ ผลงานอย่าง

แท้จริง คนดีจะยอมรับข้อมูลที่ได้รับการตกแต่งไม่ได้ พอดีกว่าเท่านี้ก็รู้สึกว่าตัวเองไม่ดี

                                                                          วารุณี

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท