JJ story เรื่องนี้ คือ เรื่องเล่า ๒๒ ปี แห่งความหลัง


ปี ๒๕๓๐ ครู JJ คือ อาจารย์หมอทองจันทร์ หงส์ลดารมณ์ และ อาจารย์หมอเมืองทอง นำเรื่อง “เทคนิคการหารือผลการปฏิบัติงาน” หรือ PA Performance Apprisal

JJ story เรื่องนี้ คือ เรื่องเล่า ๒๒ ปี แห่งความหลัง

       ประสบการณ์ JJ ฮาเฮ เรื่อง PM= Performance Management

       เราเริ่มเรื่องราวเหล่านี้ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ ครู JJ คือ อาจารย์หมอทองจันทร์ หงส์ลดารมณ์ และ อาจารย์หมอเมืองทอง นำเรื่อง “เทคนิคการหารือผลการปฏิบัติงาน” หรือ PA Performance Apprisal มาใช้ในการพัฒนาระหว่าง หัวหน้างาน และ ลูกน้องงาน โดยใช้หลัก “Counselling Technique” เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

       จากนั้น รศ.นพ.สุชาติ อารีมิตร ได้เชิญ รศ.นพ.เมืองทอง แขมมณี มาทำ WS เรื่อง PA อีกครั้ง เป้าหมาย เพื่อการจัดภาระงาน โดยแบ่งเป็น “งานหลัก งานรอง และ งานพัฒนา” โดยให้เจ้าหน้าที่บันทึกภาระงานเจ้าของก่อน และ มาร่วมกันคัดกรอง และ กำหนด “เป้าหมาย ตัวชี้วัด”ร่วมกัน มีการนำ “สมรรถนะ เข้ามาใช้ดูช่องว่างในการพัฒนา งานหลัก และ งานรอง”

       ครั้งที่สาม ท่านอาจารย์หมอสุชาติ อารีมิตร เป็นรองอธิการฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำเรื่อง PA มาใช้ระดับมหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง

       ต่อมาท่านรองอธิการบดี รศ.ดร.สุลัดดา ลอยฟ้า ปรับมาเป็น PM หรือ Performance Management จัดทำทีมงานในการพัฒนาทั้งมหาวิทยาลัย มีการกำหนด PD หรือ Position Description และ มีการประเมิน ๓๖๐ องศา และทำความเข้าใจกับ ทุกคณะและ ทุกหน่วยงานใน ม.ข โดยมีทีม ออกไปทำความเข้าใจ ให้ความรู้ และ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน

       เป้าหมายที่ผ่านมาไม่เปลี่ยนแปลง คือ เพืื่อการพัฒนาตน คน และ งาน

       ในส่วนที่รับผิดชอบ

๑.    ฐานะหัวหน้าภาควิชา

  1. มีการกำหนดภาระงานของอาจาีรย์ เรื่อง งานหลัก งานรอง งานวิจัย ทุกภาคการศึกษา โดยมีการประเมิน จากตนเอง และ มีผู้อาวุโสมาสัมภาษณ์ ทำความเข้าใจ ตั้งแต่ หัวหน้าภาคเดี่ยวๆ หัวหน้าภาคกับรองหัวหน้าภาค และ ครั้งที่สาม หัวหน้าภาค รองหัวหน้าภาค อาจารย์อาวุโส จากในภาค preclinic + clinic

  2. สำหรับทุกคนจะมีการประเมิน ๓๖๐ องศา ยกเว้นตัวเจ้าของ ประกาศให้ทราบ เพื่อการปรับปรุงตัวในรอบต่อไป

๒.   ฐานะที่ปรึกษารองคณบดี

  1. เชิญ หัวหน้าภาควิชาและหัวหน้างานมาคุยกันปีละครั้งเพื่อให้เจ้าของประเมินตนเองและทีมบริหารสนับสนุนต่อไป

๓.   ฐานะ ผอ.ศูนย์บริการวิชาการ

  1. มีการกำหนดสมรรถนะ

  2. ทำแผนการปฎิบัติงาน

  3. รายงานการประเมินตนเอง

  4. ประเมิน ๓๖๐ องศา

  5. นั่งปรึกษาหารือ ระหว่าง ผอ รอง ผอ ผช.ผอ และ เจ้าหน้าที่ทุกคน โดยทุกคนมี port folio มาแนบทุกหกเดือน

๔.   ฐานะ รักษาการ ผอ.ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ มมส

  1. กำหนดวิธีการทำงานโดยใช้กระบวนการ “เรียนรู้ร่วมกัน ทุกกิจกรรม”

  2. BAR DAR AAR Passion Plan 

  3. ลงบันทึกการเรียนรู้ใน Blog

 

JJ2009ฅนธรรมดา

หมายเลขบันทึก: 316552เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

โอ้โห...รายงานสดของท่าน  ละเอียดมากเลย

รอเรียนรู้ต่อค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เรียนท่านชาดา JJ เรียบเรียง AAR ก่อนเล่าเรื่องให้กลุ่มฟังครับท่าน

  • 22 ปี ถือว่าประสบการณ์ยาวนาน..
  • เรื่องเล่าวันนี้คงแค่น้ำจิ้มกระมังคะ
  • ถ้าจะลงรายละเอียดเป็นเรื่องๆ คงอีกยาว 555
  • รูปสวย คุ้นๆเนอะ

เรียนท่านพิชชา เรื่องเล่าเร้าพลัง ลิขิตก่อนเล่าเคล้าภาพสวยๆอะท่าน

เรียน...ท่าน  อาจารย์ jj...

มาขอเรียนรู้ด้วยคนค่ะ...

เรียนท่าน ผอ.บุษยมาศ ยินดีครับ ประสบการณ์เล็กๆน้อยๆ

เรียนท่านอาจารย์มณีวรรณ ยินดี ครับ

ตามมาหาความรู้ค่ะ

ดึกแล้วพระอาจารย์

นอนได้แล้ว เดี๋ยวเวียนหัวนะคะท่าน

เรียนคุณน้า ขอบพระคุณครับ ตื่นแล้วครับ

แวะมาเรียนรู้และชื่นชมครับ

เรียนท่านพี่ปานดา Mini_UKM5 จัดที่ มทส ครับ แวะไปด้วยเด้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท