เล่าเรื่องการประชุมเตรียมการ IQA และ EQA 2/49 : รูปแบบสภากาแฟ ครั้งที่1


เป็นช่วงเวลาที่ดิฉันคิดว่าช่างมีคุณค่ากับงาน QA ของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างสูงที่มีทุกท่านผู้มากด้วยประสบการณ์ทั้งด้านการเป็นผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประเมิน และผู้รับการประเมิน ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “คนคอเดียวกัน” มาร่วม ลปรร. ร่วมกันแบบเพื่อนช่วยเพื่อนด้วยใจจริง

     ตามที่ดิฉันได้เคยเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมประชุมเตรียมการ IQA และ EQA ครั้งที่ 2/49  ไว้ในบันทึกก่อนหน้านี้ <Click> วันนี้ดิฉันขอถือโอกาสเล่าบรรยากาศของงานผ่านการเล่าเรื่องนะคะ  ซึ่งสำหรับภาพถ่ายบรรยากาศงานคุณโอ (รัตน์ทวี) จะได้นำมาลงให้ชมในโอกาสต่อไปค่ะ

     ในการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมมากเกินคาดเนื่องจากทาง QAU จัดโครงการนี้ให้กับผู้เข้าร่วมโดยไม่จำกัดจำนวน  เพียงแต่มีผู้เข้าร่วมที่กำหนดเป็นแกนหลักที่ควรจะเข้าร่วมเพื่อรับทราบความคืบหน้า 2 กลุ่ม คือ รองคณบดีและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ QA ในระดับคณะวิชา  และนอกเหนือจากนี้หากผู้ใดสนใจก็สามารถมาเข้าร่วมกับเราได้เลยเพียงแต่ขอให้แจ้งให้กับเราได้ทราบล่วงหน้าเพื่อจัดเตรียมเอกสารและด้านอื่นๆ 

     ทาง QAU ได้เตรียมที่นั่งเผื่อไว้สำหรับผู้ที่ไม่ได้ส่งรายชื่อมาล่วงหน้าพอสมควร (เนื่องจากเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจทั่วไป)  จึงทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องที่นั่งเพราะที่นั่งเต็มพอดีจึงทำให้บรรยากาศค่อนข้างอบอุ่น  แต่สำหรับบางท่านที่ไม่ได้รับเอกสารทาง QAU ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และได้ขอความกรุณาผู้เข้าร่วมที่มาด้วยกันหรือนั่งใกล้กันใช้เอกสารร่วมกันค่ะ 

     ในการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 98  ท่าน  โดยมีท่านคณบดีที่สนใจและเข้าร่วมด้วยตนเอง 6 ท่าน  ได้แก่


1. รศ.ดร.สมบัติ   นพรัก              คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ 
2. รศ.ดร.วิสาขะ  ลิ่มวงศ์             คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์
3. รศ.ดร.นุวัตร   วิศวรุ่งโรจน์       คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ 
4. รศ.มาลินี        ธนารุณ            คณบดีคณะสหเวชศาสตร์
5. ผศ.วิมาลา      ชโยดม            รักษาการคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์
6. คุณจตุพล       หวังสู่วัฒนา      คณบดีคณะนิติศาสตร์
 
    
     การจัดประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราได้ใช้รูปแบบสภากาแฟในการจัดประชุม  ก่อนที่จะถึงวันที่เรากำหนดที่จะจัด สภากาแฟวิจัย และสภากาแฟการเรียนการสอน ครั้งที่ 1 ในวันพฤหัสบดีที่ 1 มิ.ย. นี้ค่ะ ฉะนั้นทั้งผู้จัดและผู้เข้าร่วมอาจจะต้องปรับตัวกันบ้างเล็กน้อยค่ะ  ซึ่งทางหน่วยประกันคุณภาพการศึกษาก็ได้มีเอกสารประกอบเพื่อทำความเข้าใจในเบื้องต้นเพื่อเป็นการปูพื้นเล็กน้อยค่ะ
     
     การประชุมเตรียมการฯ เริ่มขึ้นเวลา 13.30 น.  โดยท่านอาจารย์วิบูลย์ได้เริ่มต้นด้วยการแนะนำเอกสารที่มีทั้งหมด 5 เอกสาร  ได้แก่

     1.  สภากาแฟ Knowledge Café

     2.  ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา Common Sense but  not Common Practice
          จากหนังสือองค์การแห่งการตื่นรู้ : Awakening Organization :  ดร.เกศรา  รักชาติ (กุมภาพันธ์ 2549) 

     
3.  บนเส้นทาง KM ใน ม.นเรศวร
          จากจดหมายข่าวถักทอสายใยแห่งความรู้ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ฉบับที่ 17 เดือนมีนาคม – เมษายน 2549
     เพื่อเป็นการปูพื้นกิจกรรมตามที่ดิฉันได้แจ้งไว้ในตอนแรกว่ากิจกรรมครั้งนี้เราใช้การรูปแบบสภากาแฟเป็นครั้งแรก แต่บางท่านที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม KM กับเราก็อาจจะเลิกแปลกใจกับการจัดห้องประชุม  และการจัดกิจกรรมในรูปแบบที่ไม่ใช่การเข้าประชุมและนั่งฟังวิทยากรบรรยายของ QAU เนื่องจากเริ่มชินกับกิจกรรมในรูปแบบนี้บ้างแล้วนะคะ

     4.   คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา (ใช้สำหรับประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ประเมินภายนอกระดับอุดมศึกษา)
           การประชุมเตรียมการในครั้งนี้สืบเนื่องจากท่านอาจารย์วิบูลย์ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ประเมินภายนอก  ระดับอุดมศึกษา ตามหนังสือเชิญของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เมื่อวันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2549  และได้รับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับเกณฑ์การตัดสินในการประเมิน  จึงได้นำข้อมูลดังกล่าวมาบอกต่อให้กับคน QA ใน มน. เนื่องจากท่านเห็นว่าข้อมูลมีความสำคัญอย่างมากกับ IQA รอบที่ 6 และ EQA รอบที่ 2 ของทุกคณะวิชาในมหาวิทยาลัย  (การประชุมเตรียมการในครั้งนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติมจากครั้งที่ 1 เมื่อวันที่  25 เม.ย. ที่ผ่านมาค่อนข้างมาก)

     โดยท่านอาจารย์วิบูลย์ได้แจ้งให้ทราบถึงรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาและน้ำหนักในแต่ละมาตรฐาน  จำแนกตามกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา  , เกณฑ์การประเมินระดับตัวบ่งชี้  ,  เกณฑ์ในการรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ.  อย่างคร่าว ๆ   เพราะต่อจากที่ท่านอาจารย์วิบูลย์ได้สรุปให้ทุกท่านได้รับทราบ  ก็ได้แบ่งงานกันในกลุ่มซึ่งเราจัดไว้ทั้งสิ้น 10 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 10 คน  ได้แก่ กลุ่มคณบดี 1 กลุ่ม  กลุ่มคณะวิชาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ 4 กลุ่ม  และกลุ่มคณะวิชาอื่นๆ อีก 5 กลุ่ม เพื่อช่วยกันตีความและทำความเข้าใจเกณฑ์การตัดสินเป็นรายมาตรฐานร่วมกันในกลุ่ม กลุ่มละ 1 มาตรฐาน  เพื่อนำข้อมูลที่ได้ ลปรร. กันในกลุ่มไปนำเสนอให้กับกลุ่มอื่นๆ ได้ทราบ   และร่วมกันให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมที่สำคัญนอกจากเกณฑ์แล้ว  เรายังได้ ลปรร. กันถึงวิธีการที่จะทำให้ดำเนินการตามเกณฑ์กำหนดไว้ได้ด้วยเทคนิคต่างๆ จากคณะที่มีประสบการณ์ในแต่ละหัวข้ออีกด้วย   
    
    
5.  SAR/CAR/YAR  Form 2
          โดยทาง QAU ได้จัดทำ SAR/CAR/YAR  Form 2 ประจำปีการศึกษา 2548 มอบให้กับทุกคณะวิชา และสามารถดาวน์โหลดได้ที่ QAU Web Site เพื่อนำไปใช้เป็นแบบฟอร์มในการประเมินคุณภาพภาย (IQA) ในระดับคณะวิชา  ที่กำลังจะมีขึ้นในระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม  ที่กำลังจะถึงนี้ค่ะ
    
     การประชุมจบลงที่เวลา 17.00 น. นับเป็นเวลา 3 ชั่วโมงครึ่งที่ผ่านไปค่อนข้างเร็ว ซึ่งช่วงเวลาเหล่านี้เป็นช่วงเวลาที่ดิฉันคิดว่าช่างมีคุณค่ากับงาน QA ของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างสูง  เพราะมีทุกท่านผู้มากด้วยประสบการณ์ทั้งด้านการเป็นผู้บริหาร  ผู้ปฏิบัติงาน  ผู้ประเมิน  และผู้รับการประเมิน  หรืออาจเรียกว่า  “คนคอเดียวกัน” มาร่วม ลปรร. ร่วมกันแบบ "เพื่อนช่วยเพื่อนด้วยใจจริง" และ
บรรยายกาศโดยรวมผู้เข้าร่วมประชุมก็ดูจะสบายๆ อบอุ่น และเป็นกันเองต่อกัน ซึ่งหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นยังมีในบางหัวข้อที่เราไม่สามารถหาข้อสรุปได้ทาง QAU จึงขอรับคำถามเหล่านั้นเพื่อนำไปปรึกษากับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพื่อหาข้อสรุป  และจะได้แจ้งทุกท่านในการอบรมผู้ประเมินฯ ในวันที่ 30 พ.ค. ต่อไป  แล้วพบกันใน <โครงการอบรมผู้ประเมินในวันพรุ่งนี้ (อังคารที่ 30 พ.ค. 49)  นะคะ
 

หมายเลขบันทึก: 31638เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2006 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนคุณตูน เนื่องจาก อ.วิสาขะ ได้เลื่อนตำแหน่งทางวิชาการใหม่ ดังนี้ ครับ

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ทันตแพทย์หญิง ดร.วิสาขะ ลิ่มวงศ์

     ขอบพระคุณ  คุณ Tom_Nu (อาจารย์ต้อม แห่งคณะทันตแพทยศาสตร์) เป็นอย่างสูงนะคะ ที่กรุณาเข้ามาแก้ไขข้อผิดพลาดให้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท