วัฒนธรรมองค์การ (ตอนที่ 1)


วัฒนธรรมองค์การ (ตอนที่ 1)

เนื่องจากในยุคปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนทั้งเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับ 20 กว่าปีที่แล้ว ผู้เขียนได้อ่านบทความของ อาจารย์ ดร.สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ และเห็นว่ามีประโยชน์ต่อผู้ที่ได้อ่านและมีความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ กับการบริหารการเปลี่ยนแปลง จึงนำมาเผยแพร่ให้ผู้อ่านได้ทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมรับกับเหตุการณ์ซึ่งตนเองกำลังเผชิญอยู่ โดยผู้เขียนขอแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้...

การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในสังคมจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้อง 4 กลุ่ม ดังนี้

1. ผู้นำการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผู้กำหนดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

2. ผู้ที่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง

3. ผู้ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และ

4. ผู้ที่ไม่สนใจเลยว่ามีอะไรเกิดขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงในองค์การ

ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ

วัฒนธรรมองค์การ คือ ระบบของทัศนคติ ค่านิยม สมมติฐาน ความเชื่อ บรรทัดฐาน รูปแบบของพฤติกรรมที่สร้างความรู้สึกผูกพันของสมาชิก ในองค์การให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมองค์การจะสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองร่วมของคนในองค์การ

พฤติกรรมของคนในองค์การมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพขององค์การนั้น ๆ เช่น เมื่อผู้บริหารต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทิศทาง นโยบาย เป้าหมายหรือวิธีการบริหารภายในองค์การ วัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็งจะแทรกแซงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งการสนับสนุนหรือต่อต้าน

หน้าที่ของวัฒนธรรมองค์การ

1. ให้ความรู้สึกเป็นเอกลักษณ์

2. กระตุ้นความผูกพันร่วมกัน

3. ส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงของระบบสังคมภายในองค์การ

4. มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มในองค์การ

ประเภทของวัฒนธรรมองค์การ

1. วัฒนธรรมแบบอนุรักษ์นิยม เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด มีค่านิยมและความเชื่อร่วมกันเป็นแบบการกระทำตามกัน การอนุรักษ์นิยม การเชื่อฟังต่อกฎ ความเต็มใจทำงานเป็นทีม และความจงรักภักดี ไม่นิยมการเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าเสี่ยง แต่เป็นแบบ กระทำสิ่งที่เราทำอยู่ แต่จงกระทำให้มันดียิ่งขึ้น

2. วัฒนธรรมแบบคล่องตัว เป็นวัฒนธรรมองค์การที่เปิดโอกาสสูงให้กับความหลากหลาย กฎระเบียบ ข้อบังคับมีน้อย เผชิญหน้ากับความขัดแย้งอย่างเปิดเผย เคารพต่อความเป็นเอกบุคคล มีความคล่องตัวที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบ เราพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

วัฒนธรรมแบบอนุรักษ์นิยมมักพบในองค์การของรัฐ องค์การที่มี โครงสร้างขนาดใหญ่ มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีภาพลักษณ์ที่ชัดเจน วัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็ง จะเกื้อหนุนต่อระบบงานและการบริหารงานเพื่อให้เป็นไปตามภารกิจขององค์การ ขณะเดียวกัน หากจะมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนเป้าหมายเทคโนโลยีหรือรูปแบบการบริหารที่ขัดต่อค่านิยม ความเชื่อ รวมวัฒนธรรมแบบอนุรักษ์นิยมก็จะต่อต้านอย่างเข้มแข็งและเป็นปัญหาสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ดังกล่าว

วัฒนธรรมแบบคล่องตัว มักพบใน องค์การขนาดเล็กที่ทันสมัย ที่ต้องแข่งขัน องค์การที่หวังผลกำไร เช่น องค์การธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้กับสิ่งใหม่ ๆ ยอมรับความสามารถส่วนบุคคล ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเมื่อพบว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่า

วัฒนธรรมองค์การกับระบบสังคมในองค์การ

องค์การเป็นระบบสังคม การศึกษาด้านสังคมวิทยา ทำให้เรียนรู้ว่าองค์การเป็นระบบสังคมที่ประกอบด้วยคนจำนวนมาก ทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของทั้งองค์การ และวัตถุประสงค์ส่วนบุคคล การที่คนเข้ามารวมกันจำนวนมากทำให้องค์การเป็นระบบสังคมที่สลับซับซ้อน และ มีปฏิสัมพันธ์หลายรูปแบบ ทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ

นอกจากนี้ ภายในระบบของสังคมคนทำงานดังกล่าว ยังประกอบด้วยระบบย่อย ภายในระบบย่อยต่าง ๆ ก็มีปฏิสัมพันธ์ของบุคคลภายในระบบย่อยเดียวกันและกับภายนอกระบบย่อยเกี่ยวกันกันไปหมด เมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็จะส่งผลกระทบไปได้ทั่วทั้งองค์การ

องค์การ จึงเป็นระบบสังคมที่ประกอบด้วยวัฒนธรรม บทบาทและสถานภาพ

วัฒนธรรม (Culture) เป็นระบบของค่านิยม ความเชื่อ บรรทัดฐานและแบบแผนของพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การที่แสดงตามความคาดหวังของสังคม

บทบาท (role) หมายถึง แบบอย่างของพฤติกรรมที่คาดหวังว่า บุคคลจะแสดงออกในกิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่น บทบาทจะสะท้อนให้เห็นถึงตำแหน่งของบุคคลในองค์การหรือในระบบสังคมนั้น รวมไปถึงหน้าที่ สิทธิ ความรับผิดชอบ และอิทธิพลของแต่ละบุคคลด้วย

สถานภาพ (status) คือ ตำแหน่งหรือฐานะของคนในกลุ่มหรือสังคมนั้น เป็นเครื่องวัดความยกย่อง เกียรติยศและการยอมรับนับถือที่บุคคลในกลุ่มมีให้ต่อกัน

ที่มา : อาจารย์ ดร.สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ ภาควิชาทันตกรรมชุมชน

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หมายเลขบันทึก: 316140เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2009 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • อ่านแล้วเห็นภาพชัดเจนเลยค่ะ
  • แต่อยากอ่านแบบเป็นรูปธรรมน่ะคะ
  • เล่าให้ฟังถึงวัฒนธรรมในองค์กรของท่านให้ฟังบ้างซิคะ
  • อยากอ่านจังค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • มาเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมองค์กรค่ะ
  • งั้นเราก็ทำสิ่งที่มรอยู่เดิมให้ดี และ
  • หร้อมที่จะรับความเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่านะคะ *^__^*

สวัสดีค่ะ...คุณเพ็ญศรี(นก)

แหม !...ใจร้อนจังค่ะ...ครั้งนี้เขียนเพิ่งเป็นตอนแรกค่ะ...ขออุบไว้เฉลยตอนที่ 3 ค่ะ...แต่คืนนี้จะเขียนตอนที่ 2 ให้ก่อนค่ะ...ติดตามอ่านนะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีค่ะ...อาจารย์พิชชา...

ถูกต้องเลยค่ะ สิ่งเดิมที่ดีเราควรรักษาไว้...และถ้าสิ่งที่เราจะเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ดีเราควรเปลี่ยนแปลงค่ะ...แต่วัฒนธรรมองค์กรเดิม (กลัว) เพราะเขาคิดว่าการเปลี่ยนแปลง (ใหม่) จะทำให้พวกเขาลำบาก...แต่ถ้าพวกเขาเข้าใจจริง ๆ แล้ว ไม่ใช่อย่างที่พวกเขาคิดเลยค่ะ...ดังนั้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้นำแล้วค่ะ...จะมีวิธีการชักจูงอย่างไร ให้พวกเขาคล้อยตามและเห็นด้วยค่ะ...

 

อ่านแล้วเห็นภาพพจน์และจะเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงขององค์การต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะ...คุณจิราภรณ์...

  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...

เป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ วัฒนธรรมองค์กร

สวัสดีค่ะ...คุณวันเพ็ญ...Ico48...

  • ใช่เลยค่ะ...ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ...

เข้าใจง่ายครับผม แต่ต้องการอ้างอิงในงานวิจัยครับ(สมาชิกใหม่) ไม่ทราบตรงนั๊ยครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท