ระวัง หรือ ระแวง วัฒนธรรมการให้ทุนขององค์กรธุรกิจไทย


 

มีข้อมูลอยู่ชุดหนึ่งนะครับ มาจากต่างประเทศ ข้อมูลชุดนี้แสดงพลังการขับเคลื่อนสังคมขององค์กรประเภทต่างๆ เฉลี่ยกันทั่วโลก โดยเปรียบเทียบเป็นความเร็ว (กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ข้อมูลชุดนี้แสดงรายละเอียดดังนี้ครับ ภาคธุรกิจ ขับเคลื่อนสังคมด้วยความเร็ว ๑๐๐ กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง 
องค์กรภาคประชาชน (NGO) มีศักยภาพขับเคลื่อนได้ ๙๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง และ สุดท้ายภาครัฐ เฉลี่ยแล้วทั่วโลกสามารถขับเคลื่อนสังคมด้วยความเร็ว ๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง

มีข้อมูลอยู่ชุดหนึ่งนะครับ มาจากต่างประเทศ ข้อมูลชุดนี้แสดงพลังการขับเคลื่อนสังคมขององค์กรประเภทต่างๆ
เฉลี่ยกันทั่วโลก โดยเปรียบเทียบเป็นความเร็ว (กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ข้อมูลชุดนี้แสดงรายละเอียดดังนี้ครับ ภาคธุรกิจ ขับเคลื่อนสังคมด้วยความเร็ว ๑๐๐ กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง 
องค์กรภาคประชาชน (NGO) มีศักยภาพขับเคลื่อนได้ ๙๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
และ สุดท้ายภาครัฐ เฉลี่ยแล้วทั่วโลกสามารถขับเคลื่อนสังคมด้วยความเร็ว ๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ตกใจกับอะไรครับ ความเร็วของ NGO หรือ ความช้าของภาครัฐ ?

...

มองลงไปถึงศักยภาพทางด้านการเงินขององค์กรทั้ง ๓ ประเภท องค์กรภาคธุรกิจมีเม็ดเงินมาจากการค้ากำไร 
การขับเคลื่อนสังคมหลายๆ ครั้ง นอกจาก กิจกรรม CSR [Corporate Social Responsibility]
ส่วนใหญ่ (มาก) ก็จะขับเคลื่อนตามแผนการตลาด (ด้วยเหตุนี้จึงมีพลังมาก)

...

มามองดูภาครัฐ การขับเคลื่อนสังคมเป็นหน้าที่โดยตรงของภาครัฐ ซึ่งดำรงได้ด้วยเงินภาษีประชาชน
หลายๆ คนอาจมองว่าทำไม ข้อมูลจึงเปรียบเทียบความเร็วไว้แค่ ๓ กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง
จริงๆ ผมไม่อยากเปรียบเทียบ แต่อยากให้เห็น ชัดๆ ลองเทียบหน่วยอะไรก็ได้ซักหน่วย กับ ผลงานของกรีนพีช 
ถามง่ายๆ อีกว่าทำไมผู้หญิงที่ถูกทำร้ายต้องไปมูลนิธิปวีณา คิดคำตอบออกไหมครับ 
หรือ นโยบายของหน่วยงานอะไรก็ได้อีกซักหน่วย กับแผนการตลาดที่บริษัทน้ำอัดลม โทรศัพท์มือถือ และอื่นๆ
ลงไปดำเนินงานกับประชาชน ก็จะเห็นชัดๆ ว่าอะไรขับเคลื่อนสังคมได้มากกว่ากัน
ในที่นี้กล่าวถึงแรงการขับเคลื่อน แต่จะขับเคลื่อนไปทางไหน นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง

...

 

Mg8515resize

 

...

 

มาดูองค์กรภาคประชาสังคม หรือ NGO องค์กรประเภทนี้อยู่ได้ด้วยการขอทุนบ้าง จากผู้สนับสนุนบ้าง ไม่ได้ไปค้าขาย
มีหน้าที่โดยตรงกับการขับเคลื่อนประชาสังคมดังนั้นนอกจากงานขับเคลื่อนสังคม อีกงานหนึ่งที่ส่งผลต่อการอยู่รอดก็คือการหาทุน
เมื่อหลายวันก่อนผมได้มีโอกาสสนทนากับคุณชาญชัย พินทุเสน ประธานมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์
ท่านกล่าวว่า การให้ทุนในยุคปัจจุบันตกอยู่ในวัฒนธรรมของการระวังและระแวง
ลองมองเวลาเราไปบริจาคเงินที่วัด เราไม่เคยมีข้อกังขาสำหรับการทำบุญ
หรือกรณีอย่างกิจกรรมที่คุณอานันท์ ปัญญารชุณ คุณหมอประเวศ วะสี หรือ ท่านอื่นๆ มีส่วนร่วม
แน่นอนครับ ด้วยความเป็นสัญลักษณ์ของความดี องค์กรธุรกิจสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วในการให้ทุน
ซึ่งต่อมากลายเป็นความต่อเนื่อง คือให้ทุกปีๆ

 

พอวั นหนึ่งมี NGO หน้าใหม่ไปขอทุนบ้าง เจ้าของทุนกลับระแวงทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ ว่า NGO กลุ่มนี้เป็นใคร
ผมเข้าใจว่า การที่องค์กรธุรกิจไปสนับสนุนท่านทั้งหลายที่เป็นสัญลักษณ์ของความดี ผลนั้นจะช่วยในการสร้างภาพบวกเวลาประชาสัมพันธ์ แต่ผลที่ตามมาจากเหตุการณ์นั้นๆ ก็คือ เงินทุนกระจุกตัว 

 

คุณทราบหรือไม่ หากไม่มีเครือข่ายป่าชุมชนอีสาน ในวันนี้ป่าในภาคอีสานจะกลายไปเป็นสวนยูคาฯ กี่ล้านไร่
แล้วคุณห่วงหรือไม่ ว่าถ้าวันหนึ่งเงินทุน NGO กลุ่มนี้หมด แล้วเครือข่ายนี้เลิกกิจการไป
ใครจะดูแลป่าชุมชนไม่ให้นายทุนมาขอสัมปทานเอาไปปลูกยูคาฯ
แล้วถามตรงๆ กับภาคธุรกิจว่า หากเจ้าหน้าที่เครือข่ายนี้มาขอทุนคุณ 
คุณเจอเค้าปั๊ป ยังไม่ทันตรวจสอบข้อมูลอะไรเลย หน้าตาก็ไม่รู้จัก ระแวงไปก่อนแล้ว สุดท้ายก็ตัดสินใจไม่ให้เงิน
สถานการณ์วันนี้มันเป็นแบบนี้ และหลายๆ มูลนิธิก็กำลังประสบปัญหานี้

 

คุณชาญชัย พินทุเสน กล่าวในการสนทนาครั้งนั้นว่า ผู้ให้ทุนควรเปลี่ยนจากการระแวงมาเป็นการระวัง
มีการตรวจสอบ NGO อย่างรอบคอบก่อนตัดสอนใจอย่าพึ่งมักง่าย จะให้ทุนที ด้วยความรีบร้อน หรือ ความระแวงเข้าครอบงำ
ก็ส่งเงินไปให้ที่ที่เค้ามีเงินอยู่เยอะแล้ว สถานการณ์ปัจจุบัน บางมูลนิธิแม้ไม่มีเงินเข้าก็สามารถดำเนินงานต่อไปได้อีกนับสิบปี
แต่บางมูลนิธิกำลังจะปิดตัวในอีกไม่นาน กลับไม่มีใครสนใจ
แทนที่คุณจะบริจาคเงินให้เค้าไปเก็บไว้ในธนาคาร ลองพิจารณาดีดีครับ สำหรับการจะให้ทุนในแต่ละครั้ง 

...

 

P1010043_resize

...

เพราะสุดท้ายแล้ว หากความเร็วในการขับเคลื่อนสังคมของ NGO ลดลง ผลกระทบนั้น ก็จะตกอยู่ที่ประชาชนนั่นเอง 

.....

เมื่อครั้งผมทำงานสื่อ กลางดึกคืนหนึ่ง ผมติดตาม NGO พร้อมตำรวจกลุ่มหนึ่ง บุกเข้าไปในโรงงานนรก
โรงงานที่กักขังแรงงานไว้ในกรง มีกล้องวงจรปิดคล้ายเรือนจำ มีผู้คุมเข้มงวด
แถมใช้แรงงานเกินเวลาที่กฏหมายกำหนดโดยไม่มีวันหยุด งานเสี่ยงตายนะครับ แล้วเชื่อไหม NGO กลุ่มนี้ได้เงินเดือนเจ็ดพันกว่าบาท
 

.....

เปลี่ยนจากความระแวงมาเป็นความระวังเถิดครับ แค่นี้คนทำงานภาคประชาชนก็เหลือแต่ใจแล้ว 

....

หมายเลขบันทึก: 315856เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2009 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

น่ายกย่องคะ

ไม่ค่อยรู้ข้อมูลของNGoเลย

อยากรู้ว่ากิจกรรมของกลุ่มทำอะไรกันบ้างคะ

สู้ๆๆๆๆๆนะคะ

เงินมางานเดิน เงินเกินงานเร็ว

ทำงานเพื่องาน ทำเงินเพื่อเงิน

ทำงานเพื่อเงิน ทำเงินเพื่องาน

สนับสนุนให้องค์กรธุรกิจจัดกิจกรรม CSR ครับ

ขอบคุณมากครับพี่เต้ย

มาเรียนรู้ NGO เขาทำงานครับ

ลองนึกดูครับว่า ถ้ากิจกรรมทั้งหลายของ NGO ทำไปเพื่อต้านกับกลุ่มทุน ที่ดำเนินกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมกับสังคมและมนุษย์ ด้วยความเร็ว 90 km/h วิ่งสวนกับภาคของธุรกิจที่มีแรงขับเคลื่อนหลักจากกลุ่มทุน 100 km/h ไม่ต้องสัยเลยครับ ทั้งสองส่วนจะวิ่งสัมพัทธ์เข้าใส่กันด้วยความเร็ว 190 km/h ส่วนใครจะชนะและสามารถเดินต่อไปในทิศทางของตนเองได้ นั้นก็ขึ้นกับมวล ใครจะมากกว่า.............หากแม้นว่าวันนึง NGO จะมีความเร็วที่ช้าลง แต่หากว่าได้มวลอันเกิดจากการสนับสนุนของประชาชนมากขึ้น ผมคิดว่าก็ยังสามารถที่จะเอาชนะ ความอยุติธรรมของกลุ่มทุนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวได้ครับ

เป็นกำลังใจให้กับ NGO ที่ดำเนินกิจกรรมดีๆทุกท่านครับ

ขอบคุณ ท่าน ฝนแสนห่า

ตัวอย่างเช่นที่มาบตาพุด NGO ต้องสู้กับ กลุ่มทุน + รัฐ ผมดีใจอย่างหนึ่งที่ยกนี้ NGO และ ประชาชนในพื้นที่สามารถพึ่งพากระบวนการยุติธรรมได้ แม้ใครหลายๆ คนจะบอกว่า การยับยั้งโครงการที่มาบตาพุดจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว แต่ผมก็ยังคิดว่า แค่นักธุรกิจกำไรลดลง เพื่อแลกกับ คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และ ความสมดุลธรรมชาติที่ไม่สามารถดูแลตัวเองจากภัยนี้ได้ มันก็คุ้ม

มีงานวิจัยที่แสดงข้อมูลอย่างชัดเจนว่า ประชาชนในชุมชนรอบๆ มาบตาพุด มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าพื้นที่อื่นหลายสิบเปอร์เซนต์

ก็อยากจะถามกลุ่มทุนเหมือนกันว่า กำไรที่คุณได้จากนิคมอุตสาหกรรม คุณเคยเอามาดูแลประชาชนในพื้นที่ ที่ป่วยเพราะผลกระทบของสารพิษในกระบวนการอุตสาหกรรมบ้างหรือไม่ ถ้าไม่ คุณก็เงียบไป หรือถ้าจะให้ดี คุณย้ายบ้านมาอยู่ข้างๆ โรงงานเลย แล้วคุณจะได้เห็นว่า ทำไมถึงต้องต่อต้าน

(ถ้าคุณจัดการกระบวนการอุตสาหกรรมของคุณให้สะอาด ปราศจากผลกระทบ ก็ไม่มีใครไปต่อต้านหรอกครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท