บันทึกคนสานเครือข่าย MS-PCARE ๑๐ : outcome mapping sharing ๖ - เก็บตกกับอาจารย์ประพนธ์


อาจารย์ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการ สคส (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม) ได้กรุณามาเป็นวิทยากรในการสัมมนาครั้งนี้ด้วย แต่ก็ต้องไปๆมาๆกับการประชุมอีกที่หนึ่ง ในวันนี้จึงเป็นช่วงที่อาจารย์ช่วยตอบข้อข้องใจต่างๆ ซึ่งทำให้ทุกคนเห็นภาพของ OM ชัดเจนขึ้นด้วยคำอธิบายง่ายๆ และการยกตัวอย่างที่เห็นจริง

 

สังเกตนะครับ ช่วงแรก อาจารย์นั่งอยู่บนเก้าอี้ แล้วสุดท้ายก็ลงมานั่งกับพื้น แบบคลุกวงใน

 


เสร็จแต่ไม่สำเร็จ

  • หลายครั้งเวลาทำโครงการ โครงการเสร็จคือปิดโครงการได้ แต่ไม่สำเร็จ คือ ไม่ได้ตามความฝัน ขาดความยั่งยืน
  • OM ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกคน ไม่ใช่มาร่วมกัน เพราะ ได้เงินได้งบประมาณมา
  • ถ้าใช้ เกณฑ์มาตรฐานขับเคลื่อน ก็ยั่งยืน แต่ไม่ใช่ลึกๆในใจ

ผู้เกี่ยวข้องทุกคนต้องรู้หลักการ OM หรือไม่

  • แล้วแต่จริตของโครงการ ถ้าเป็นโครงการของบรรดาพวกนักวิชาการ อย่าง อภิมหาแผนงานโรงเรียนแพทย์สร้างเสริมสุขภาพ ผู้เกี่ยวข้องอาจต้องมีความรู้ หรืออยากรู้ว่า OM คืออะไร ทำอะไรอยู่ จึงจะยอมให้ความร่วมมือ 
  • ความจริงแล้ว direct partner รู้ส่วนที่เกี่ยวข้องและสำคัญก็พอ อย่างเช่น เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพคนน่าน

ธุรกิจขายตรง

  • ความสำเร็จของ OM สะท้อนเห็นภาพได้ชัดจากความสำเร็จของธุรกิจขายตรง ซึ่งไม่ว่าเขาจะรู้จัก OM หรือไม่ก็ตาม แต่กระบวนการของธุรกิจทำนองนี้ สอดคล้องกับทุกขั้นตอนของ OM ทั้งความฝันร่วม กลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์รายทาง และการติดตามประเมินผล

Organized VS Organic

  • แผนงาน/โครงการจัดตั้ง ที่มีความเป็นทางการ มีโครงสร้างอย่างหน่วยงานหรือองค์กร (organized) อย่าง อภิมหาแผนงานโรงเรียนแพทย์สร้างเสริมสุขภาพ.อีกแล้วครับท่าน จะขับเคลื่อนได้ลำบากกว่า แผนงานที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามธรรมชาติ เป็นความต้องการของกลุ่มคนที่มีฝันร่วมกัน (organic)

สมองซีกซ้าย/ ซีกขวา

  • OM ใช้ความคิดสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วม เรียนรู้จากการทำงาน สนใจกระบวนการ ชอบชื่นชมดอกไม้ข้างทาง คือ ใช้สมองซีกขวา มากกว่าวัดกันเป็นตัวเลข สร้างเกณฑ์มาตรฐานตายตัว มุ่งผลลัพธ์เป็นใหญ่ คือ พวกใช้สมองซีกซ้าย
  • อูย..อย่างนี้ บรรดาสิงห์อีซ้าย ทั้งหลายที่สมองขวาเด่น ก็เหมาะจะทำงานแบบ OM นะครับ

OP VS RP

  • เพื่อเลี่ยงคำที่มีความหมายถึงองค์กร จึงใช้คำว่า required practice (RP) แทน organization practice (OP)

ประโยคเด็ด

  • OM: พอได้เรียนใช้ค้อน อย่ามองทุกอย่างเป็นตะปู
  • Vision: ฝันใหญ่ มักจะร่วมกัน ถ้าฝันเล็ก มักแตกต่าง
  • SM/RP: เมืองไทยเรายังให้ความสำคัญเรื่อง strategic map (SM) และ required practice (RP) น้อยไป

 


ภาพทั้งหมดในบันทึกชุดนี้ได้จากกล้องของพี่ปุ๋ย..นพ.กอปรชุษณ์ ตยัคคานนท์ กับทีมงาน สคส. (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม)

หมายเลขบันทึก: 315789เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2009 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท