เรียนรู้จากการตายของพ่อลองภาค1


บางที คนตายสอนอะไรเรามากกว่า คนเป็นเสียอีก

 

เรียนรู้จากความตายของตาลองภาค 1

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม

 

ผมเองเป็นเภสัชกรคนหนึ่ง  ที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชนในหมู่บ้าน   ไม่แตกต่างจากหมออนามัยคนอื่นๆ         หมอแต่ละ คน จะดูแลหมู่บ้าน คนละ 1-2 หมู่บ้าน  โดยที่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 1 คน จะดูแล 1 หมู่บ้าน  ส่วนหมออนามัย 1 คนจะดูแลมากถึง 2 หมู่บ้าน             โครงการนี้ จะอยู่ในโครงการใกล้บ้านใกล้ใจของนายแพทย์อภิสิทธิ ธำรงวรางกูร  ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศนั่นเอง   เภสัชกรอย่างผมเลยต้องทำหน้าที่สารพัดอย่าง   ไม่แตกต่างจากหมออนามัย  ซึ่งได้แก่   การสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน   การเยี่ยมผู้ป่วย   การป้องกันโรคไข้เลือกออก     การเยี่ยมหญิงหลังคลอด  การล้างแผลผู้ป่วย การคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ฯลฯ

 

ตาลองก่อนเสียชีวิต 1 เดือน

ตาลองเป็นผู้สูงอายุ   ที่ขยันอย่างหาตัวจับยาก  แกจะตื่นมาทำงาน  ตั้งแต่ตี 4 และทำงานไม่หยุดนิ่ง  จนถึง 3 ทุ่มแล้ว จึงเข้านอน   ตาลองแกมีลูกมากมาย หลายคน   โดยแกมีลูกถึง 12 คน  ภรรยาของตาลอง มีชื่อว่า ยายปุ่น   ปีนี้ ตาลองบ่นปวดแน่นท้องตลอดเวลา   บางครั้งก็บ่นว่าปวดแสบลำไส้    เป็นมาหลายปี  ไม่หายสักที  ในปี พ.ศ.2552 ตาลองก็มีอายุครับ 81 ปีพอดี  ตาลองแก เป็นคนมีรูปร่างสูงผอมเหมือนไม้เสียบผี    ปกติตาลองมักไม่อยู่บ้าน   เนื่องจากแกจะไปทำงานในที่นาของแก     หากมีเวลาว่างตาลอง  แกจะไปหาปลา  ยิงนก  ยิงหนู ตามเรื่อง  หรือถ้าตาลองแกอยู่บ้าน   แกก็จะไม่อยู่เฉยๆ     แกจะทำงานสานข้อง  สานตระกร้าไปเรื่อยครับ

 

สำหรับครอบครัวตาลองนั้น  ผมได้มีโอกาสมาข้องเกี่ยว     เนื่องจากผมมาเยี่ยมเด็กเกิดใหม่      ซึ่งก็คือหลานสาวตาลองนั่นเอง    หลานสาวตาลองเมื่อเกิดมา  พบว่ามีปัญหา  เนื่องจากแม่คลอดลูกบนรถกระบะ   ระหว่างเดินทางไปโรงพยาบาลการคลอดลูกบนรถ    ทำให้ไม่มีใครตัดสายสะดือให้       ทำให้เลือดจากแม่ไหลลงไปหาทารก       ทำให้ทารก  มีระดับ Hct สูงถึงร้อยละ 80 ทางโรงพยาบาลจำเป็นต้องส่งต่อทารก   ไปที่ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นเพื่อรักษาตัวนานกว่า 5 วันจึงสามารถกลับบ้านได้

 

นอกจากนั้น พ่อของทารก(น้องนัท)   ที่ชื่อสิน  แกชอบดื่มสุราจนเมามายอยู่บ่อยๆ  ทำให้บางครั้ง  หลายคน  ถึงกับเอือมระอา  กับคอสุรานายสินคนนี้ มาก   แต่เมื่อนายสินได้ลูกสาว    ผมจึงได้คุยกับนายสินว่า   ควรจะเลิกดื่มสุราเพื่ออนาคตของลูกสาว   ซึ่งนายสินก็ตบปากรับคำเป็นอย่างดี   นอกจากนี้ ภรรยาตาลอง  ที่มีชื่อว่ายายปุ่น ก็มักมีอาการปวดหัว  เวียนหัวบ่อยพอ  วัดความดันโลหิต  ความดันที่วัดได้ก็มักจะสูง     แต่พอยายปุ่นนอนพักไม่นาน    ความดันโลหิตก็จะลดลงสู่ภาวะปกติเสมอ

 

ยายปุ่นภรรยาตาลอง

ในช่วงแรกตาลองมักจะบ่นกับผมเสมอว่า มักปวดแน่นท้องบ่อยๆ ไม่หายเสียที  ผมก็เอายา ขับลมให้ตาลองกินอาการก็พอทุเลาแต่ก็ไม่หายเสียที      ผมชักสงสัยอยู่ในใจแล้ว ว่าตาลองแกจะเป็นโรคมะ...       เพราะตาลองนั้นชอบกินปลาดิบและดื่มสุราอยู่บ่อยๆ  มานานแล้ว  ลูกหลานตาลองก็ได้พาตาลองไปตรวจกับหมอคลินิกหลายครั้ง   แต่หมอไม่ได้บอกตาลองเสียทีว่า  ตาลองป่วยเป็นอะไรกันแน่ แต่อย่างไรก็ตามผมคาดว่า  ตาลองแกคงเป็นมะเร็งตับหรือท่อน้ำดีแน่นอน   ตาลองแกทนกับความสงสัยไม่ไหว    เลยไปคลินิกอีกครั้ง   เค้นถามกับแพทย์จนได้   ว่าตาลองแกเป็นมะเร็งตับ   หมอบอกว่าเป็นเยอะแล้ว อยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือนหรอก  ตาลองพอแกรู้ว่าตนเองเป้นมะเร็งตับ  แกก็ตกใจพอสมควร    แต่แกก็รับได้พยายามไป  ดูแลตนเองตามที่ผมแนะนำได้แก่   ดื่มน้ำใบหญ้านาง   งดหรือลดเนื้อสัตว์     ออกไปนั่งตาดแดดยามเช้า    โดยใช้ใบตองกล้วยห่มผิวหนังไว้    นอกจากนี้  ให้ตาลองไปเดินเล่นเท้าเปล่า   ที่สนามหญ้าในโรงเรียนศรีสุขทุกวัน     ได้ผลครับ   เมื่อตาลองทำตามคำแนะนำ   อาการปวดท้องก็ลดลงมาก   ทานข้าวดี  นอนหลับสนิทและหลับลึกมากขึ้น

 

   สำหรับอาการของผู้ป่วยมะเร็งตับนั้นมักมี  อาการปวดแน่นท้องนาน  ไม่หายเสียที   ผู้ป่วยมักจะเบื่ออาหาร บางรายมีอาการดีซ่านและท้องมานเกิดร่วมด้วย ในการรักษาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่เน้น  การวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด  หรือรักษาความผิดปกติของโรคโดยต้องค้นหาสาเหตุของการเกิดโรคอย่างเป็นขั้นเป็นตอน        แต่สำหรับการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย  เราจะเน้นการรักษาตามอาการเพื่อให้คนไข้ทุกทรมานน้อยที่สุด

 

ในกรณีของพ่อลองมีอาการปวดแน่นท้อง   และนอนไม่หลับ  ยาที่ได้ก็จะเป็นยา Simethicone แก้แน่นท้อง  Amitriptylline  ช่วยให้นอนหลับและแก้ภาวะทางเดินอาหารผิดปกติด้วย       ในช่วงที่ตาลองปวดมากๆ จากมะเร็งผมได้สอนตาลองหายใจแบบทำสมาธิ  ในรูปแบบยุบหนอพองหนอ    สำหรับอาการปวดจะให้ตาลองกินยา พาราเซตามอลทุก 6 ชั่วโมง  สลับกับการกินยา ทรามาดอล 50 มิลลิกรัมทุก 8 ชั่วโมง   การให้ยาแบบนี้  ไม่จำเป็นต้องรอให้คนไข้ปวดมากๆ แล้วมาขอมอร์ฟีนแก้ปวด     แต่เป็นการให้ยาตามช่วงเวลา  เพื่อข่มอาการปวดไว้ตลอด  ทำให้ตาลองไม่ปวดทรมานมาก     โดยตั้งแต่ตาลองป่วยจนเสียชีวิตไม่เคยใช้ยามอร์ฟีนแม้แต่หลอดเดียวเลย      ซึ่งต่างจากการให้ยาแก้ปวดแบบเดิม    คือเมื่อคนไข้บ่นปวดมากๆ   พยาบาลจึงค่อยรายงานแพทย์เพื่อให้มอร์ฟีนต่อไป   

 

การให้ยาแบบนี้ ทำให้คนไข้ต้องทุกข์ทรมานมาก  ในช่วงสุดท้ายของตาลอง  นั้น  ตาลองได้นอนพักอยู่บ้าน   ที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นของลูกหลานและญาติพี่น้อง       ตาลองแกเองก็ไม่ค่อยอยากจะไปโรงพยาบาลอยู่แล้ว  ปกติผมเองจะเข้าไปเยี่ยมตาลอง  สัปดาห์ละ 3 ครั้ง    เพื่อดูแลเรื่องการใช้ยา   อาหาร  และสอนการนวดมือ นวดเท้าให้ตาลอง โดยสอนให้ลูกสาวตาลองชื่อป้าบัว  นวดจนตาลองรู้สึกสบายจนนอนหลับไปได้   โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยานอนหลับทุกวันเหมือนเช่นเดิม   นอกจากนี้  ผมยังให้ตาลองท่องคาถาหัวใจธรรมะที่ว่า  สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น       เกิด แก่ เจ็บ ตาย  ล้วนเป็นเรื่องธรรมดา  ไม่มีใครหนีพ้น  การท่องบทธรรมแบบนี้  ทำให้ตาลองจิตใจสงบลงมากทีเดียว

ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายผู้ที่รับงานหนักก็คือลูกสาวป้าบัวและภรรยาตาลองชื่อแม่ปุ่น  มาคอยดูแลตาลองช่วยกันตลอดวัน  ตลอดคืน  โดยปกติแม่ปุ่นจะมีปัญหาความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว     เมื่อตาลองป่วยหนักยายปุ่นคงเครียดและไม่ค่อยได้นอนเต็มอิ่ม  ทำให้ความดันโลหิตขึ้นสูงบ่อยๆ    บางครั้งความดันขึ้นถึง 200 มม. ปรอทเลยทีเดียวครับ  พอความดันสูงขนาดนี้  ผมก็ได้ให้ อสม.พายายปุ่นไปตรวจกับแพทย์เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงอย่างเป้นเรื่องเป็นราวทันทีครับ

ป้าบัวลูกสาวตาลอง

หมายเลขบันทึก: 315773เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2009 17:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีครับท่านศุภรักษ์ การเยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้ายดีที่สุดคือดูแลใจให้สงบ ชอบใจที่ท่านได้แนะนำ

"ผมยังให้ตาลองท่องคาถาหัวใจธรรมะที่ว่า สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครหนีพ้น การท่องบทธรรมแบบนี้ ทำให้ตาลองจิตใจสงบลงมากทีเดียว"

งานของพวกเราชาวสาธารณสุขทุกอย่างคือบุญ กุศลแน่แท้ครับท่าน

พี่อภิสิทธิ ธำรงวรางกูร กล่อมเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลอย่างไรครับถึงได้มีความสุขกับการออกชุมชน

ขอบคุณท่าน

P

วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

มากครับ ที่มาเยี่ยมชม

 

เป็นเกาต์ อย่าลืมตรวจสุขภาพทุกปีครับ โดยเฉพาะตรวจไต..

เรียน

 

P

หมอสีอิฐ

คุณ หมออภิสิทธิ เป็นคนสุภาพ ใจเย็น และให้เกียตริผู้อื่นมากๆครับ

เห็นการดูแลผู้ป่วยอย่างนี้ รู้สึกดี และขอชื่นชม

เป็นการดูแลด้วยใจจริงๆ

ได้ความรู้ใหม่

"ออกไปนั่งตากแดดยามเช้า โดยใช้ใบตองกล้วยห่มผิวหนังไว้"

นอกจากไม่ร้อนผิวแล้วมีผลดีอะไรอีกคะ

เป็นแนวคิด ของแพทย์ทางเลือกครับ

การอาบแดด จะเพิ่มพลังชีวิตและความอบอุ่นให้คนไข้

การใช้สีเขียวกรองแสงจะทำให้คนไข้ ได้รับแสงในคลื่นที่มีประโยชน์สูง

มาเยี่ยมเป็นกำลังใจครับ สนับสนุนการดูแลผู้ป่วยด้วยใจครับ

 

ขอบคุณ อาจารย์

P

ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์

 

มากครับ ที่ให้กำลังใจ

 

อนาคต ถ้า ผม โชคดี อาจได้ทำงาน สอนคน เหมือนอาจารย์ ก็เป็นได้ครับ

 

 

งดงามครบทุกมิติครับ....เป็นกำลังใจให้นะครับ

รพ.อุบลรัตน์โชคดีเหลือเกินที่มีบุคคลากรที่ทุ่มเทเสียสละอย่างนี้

ผมไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยรายนี้ปวดท้องมากจากอะไร บางครั้งถามดี ๆ อาการที่เป็นส่วนหนึ่งอาจเป็น pressure symptom จาก ascites บังเอิญไม่เห็น case เอง แต่ดีใจนะครับที่เห็นเรื่องราวนี้

อยากเห็นตัวจริงจังเลยครับ

ตัวจริงหมายถึงตัวพี่นะครับ

เรียนคุณ หมอ โรจน์ ไม่รู้ว่า

 

P

โรจน์

จนท.ที่ รพ.อุบลรัตน์จะคิดว่า โชคดีหรือโชคร้าย น่ะครับ 555

แต่ถ้าเป้น คนไข้ หรือชาวบ้าน มักชอบ ผมกันทั้งนั้น เรียกว่า popular

โดยเฉพาะคนไข้ สูงอายุทั้งหลาย 555

ผมเอง ก็ เป็น เภสัชกรอ้วนๆ คนนึงคน

เป็นเภสัชชายขอบ ที่อาภัพ ดีๆ นี่เองครับ และกวนโอ๊ยด้วย

ดูรูปพี่ก็พอจะนึกออก :) ผมเชื่อว่าสิ่งที่พี่ทำมาจากใจไม่ต้องให้ใครสั่ง

ผมพูดในทางตรงกันข้า ถ้าเขาห้ามพี่เยี่ยมบ้าน...พี่จะเชื่อเขาไหม....ถ้าพี่ไม่พอใจเขา...ย้ายมาอยู่กับผมได้นะครับ....ดูดกันเห็นๆ

ปล.ผมพูดจริง

แต่จะกลายเป็นย้ายจากขอบประเทศหนึ่งไปอีกขอบหนึ่งหรือเปล่า (ติดพม่าเลยนะเนี้ย)

เรียน

คุณหมอ

P

โรจน์

อยู่ที่อุบลรัตน์ลำบากมากครับ บรรยากาศแบบว่า...


หากไม่มีหัวหน้าเป็น คนดี จ้างให้ผมก็ไม่อยู่ หัวหน้าบางคน


บอกทำเภสัชกร ต้องไปวุ่นวายเรื่องเบาหวานด้วย อ้าว


ก็ จ.ขอนแก่น มีอัตราการตาย โรคเบาหวานสูงสุด ในไทย


คุณไม่รู้เหรอ และที่สำคัญ


อยู่ มา 10 ปี ไม่มีใครทำอะไร ผมจึงทำ all in project


สงสารคนไข้จริงๆครับ

 

ปล.หากเป็นเมื่อก่อน สมัยโสด ๆ ผมคงไปแม่สอดแล้วครับ

 

ปัจจุบันกำลังรักษาโรคทรัพย์จาง


ด้วยการสร้างเวบไซด์และปลูกมะนาวครับ


ความจริงโครงการใกล้บบ้านใกล้ผมเป็นคนคิด

ส่งของบ สปสช. ไปที่ คณะพยาบาล มข.แต่ไม่ได้

ได้งบแต่พยาบาล 555

ชื่อโครงการเดิม 1 หมอ 1หมู่บ้าน ผอ.เอามาปัดฝุ่น ทำทั้งอำเภอ

ขอ สปสช.ผ่าน สสจ. คราวนี้ งบผ่าน

ปล.โครงการแบบนี้ รพ.น้ำพองทำมานานแล้วครับ เพียงแต่ผม ออกเยี่ยมบ้าน

ตั้งแต่ ปี 2539 โน่นแล้วก็เลย เชี่ยว... แต่แรกๆ ไป ก็ช่วยอะไรชาวบ้านไม่ได้หรอกครับ

แค่ไปเยี่ยม พอปี 2547. จึงเริ่มคิดออกว่า

ทำอย่างไร 1 คนไข้จะรอดชีวิต

2 คนไข้จะมีคุรภาพชีวิตที่ดี

คำถามสำคัญกว่าคำตอบครับ

เพราะถ้าคำถามห่วย คำตอบก็หมดความหมาย

ให้กำลังใจคนทำงาน...ผมก็ลำบากเช่นกัน แต่ผมถือว่าทำงานแทนคุณแผ่นดิน...ประเทศไทยจะอยู่ได้ต้องมีคนเสียสละ...ถ้าจะไปหวังพึ่งคนในกระทรวง ผมเชื่อว่าชาติหน้าประเทศไทยก็ยังอยู่แค่นี้...และถ้าคนดีท้อ...เราจะเห็นกันในชาตินี้ว่าประเทศไทยคงล่มสลาย

ยินดีที่รู้จักครับ ปล. ผมก็ ป๋าหมาก เหมือนกัน

ครับ เห็นด้วยกะหมอโรจน์ คนดีต้องไม่ท้อครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท