การสร้างสื่ออย่างง่าย


การสร้างภาพ

วิธีการสร้างภาพเพื่อใช้ในงานกราฟิคเพื่อการเรียนการสอน มีวิธีการสร้างภาพ และได้มาหลายวิธี คือ

4.5.1 การใช้ภาพสำเร็จรูป จาก หนังสือ วารสาร สมุดภาพสำเร็จ รูปลอก ปฏิทิน ภาพชุดที่มีจำหน่ายทั่วไป

4.5.2 การลอกภาพ เป็นการคัดลอกจากต้นฉบับที่มาจากสิ่งพิมพ์ โดยใช้กระบวนการต่าง เช่น ใช้กระดาษลอกลาย ใช้กระดาษคาร์บอน หรือการใช้แผ่นฉลุ สร้างแบบ และใช้ฝุ่นสี/ชอล์ค รูปภาพ รอยปรุ เป็นต้น

4.5.3 การวาดภาพ เป็นการใช้ทักษะของผู้ผลิตงาน มากกว่าวิธีอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของภาพวาด เช่น การวาดภาพเหมือนจริง การวาดลักษณะท่าทาง การวาดภาพการ์ตูน การวาดภาพสัตว์ พืช ผัก ผลไม้

4.5.4 การขยายและการย่อภาพ เป็นการสร้างภาพความต้องการและโอกาสการนำไปใช้ ซึ่งมีหลายวิธีการ เช่น 1) การใช้เครื่องฉายภาพ โดยใช้เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 2) การใช้เครื่องอัด-ขยายภาพ โดยใช้กับเนกาตีฟของภาพ แทนการสร้างภาพในห้องมืด (Darkroom) 3) การใช้แพนโตกราฟ ซึ่งเป็นเครื่องมือง่าย ๆ ทำด้วยโลหะ หรือ พลาสติก 4) การใช้วิธีสร้างตารางเป็นวิธีที่ง่ายและถูกที่สุด และใช้ได้ผลดี

4.5.5 การวาดจากรูปถ่าย เป็นการใช้ภาพถ่ายมาสร้างภาพใหม่ เนื่องจากภาพถ่าย อาจไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายทั้งหมด วิธีการทำก็คือ นำภาพถ่ายมาสร้างลายเส้นเฉพาะในสิ่งที่ต้องการโดยใช้ หมึกกันน้ำ เช่น หมึกเขียนแบบ แล้วนำไปแช่น้ำยาไอโอดีนที่เจือจาง เพื่อคัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป แช่น้ำสะอาด น้ำยาคงสภาพ และแช่น้ำสะอาดอีกครั้งตามลำดับ หลังจากนั้นผึ่งให้ภาพแห้งก่อนนำไปใช้ได้ตามต้องการ
วิธีคือ

4.6.1 การผนึกเย็น เป็นวิธีที่ใช้กับภาพขนาดเล็ก เพื่อนำไปใช้เป็นบัตรภาพ จัดป้ายนิเทศ หรือจัดประกอบนิทรรศการ หรือใช้กับภาพ 2 มิติ เช่น ภาพถ่าย รูปภาพ ภาพตัดขอบ แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1) การผนึกแห้ง มีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้ วิธีผนึกด้วยกาวยางน้ำ เป็นการผนึกภาพที่ลงทุนไม่มาก แต่ผนึกได้สะอาดและ ง่าย และสามารถเก็บรักษาภาพได้คงทน กว่าวิธีอื่น ๆ โดยใช้กาวยางน้ำ เป็นการผนึกเย็น มี 2 วิธี คือ วัสดุสำหรับผนึก โดยสามารถหาซื้อได้ หรือผลิตเองโดยตัดยางดิบเป็นชิ้นเล็ก ๆ คนน้ำมันจนยางละลายก็จะได้กาวยางน้ำ การผนึกทำได้ทั้งผนึกแบบชั่วคราวและผนึกแบบถาวร

2) การผนึกเปียก ใช้กับภาพขนาดใหญ่ เช่น แผนที่ แผนภูมิ ภาพถ่ายขนาดใหญ่ - วัสดุที่ใช้ผนึก ขึ้นอยู่กับวัตถุที่มารองผนึก เช่น ถ้าผนึกลงบนผ้าใช้แป้ง เปียกผนึก และถ้านึกลงบนไม้ ใช้กาวลาเทกซ์แบบเจือจางผนึก (กาว+น้ำ ในอัตราส่วน 1:1)

4.6.2 การผนึกร้อน เป็นการผนึกและการเก็บรักษารูปภาพ โดยใช้เครื่องผนึกด้วยความร้อน ซึ่งสามารถทำได้โดย

1) การผนึกด้วยเยื่อกระดาษ เป็นการผนึกแบบถาวร ภาพที่นำมาผนึกต้องทนต่อความร้อน วิธีผนึกใช้เยื่อกระดาษผนึกภาพ (dry-mounttissue) แทนกาว โดยวางระหว่างภาพและกระดาษรองผนึก และใส่ในเครื่องผนึก เมื่อถูกความร้อน เยื่อนี้ก็จะละลายเชื่อมภาพ และกระดาษรองผนึก
.6.3 การเคลือบผิววัตถุ เป็นการเก็บรักษาภาพ และยังช่วยให้ภาพสวยงามเหมาะกับการนำเสนอ วิธีการ เคลือบผิวรูปภาพสามารถทำได้โดย

1) การเคลือบผิวด้วยระบบความเย็น ทำได้ 2 วิธี - การเคลือบด้วยแผ่นสติกเกอร์ใส ใช้สติกเกอร์ใสแปะด้านหน้าของวัตถุ หรือ ภาพที่ต้องการ ใช้วิธีการเหมือนการผนึกภาพ แต่ต้องระวังฟองอากาศภายใน - การเคลือบด้วยเรซิน เป็นเทคนิคการเคลือบผิว โดยใช้น้ำยาเคมี ที่เรียกว่าเรซิน วิธีนี้ต้องอาศัยการผนึกภาพบนแผ่นไม้ และเคลือบผิวหน้าโดยน้ำยาดังกล่าว

2) การเคลือบผิวด้วยระบบความร้อน เป็นการเคลือบรักษาภาพโดยใช้ฟิล์มซิลลามิน ซึ่งทำให้เก็บรักษารูปภาพได้นาน วิธีนี้สามารถผนึกได้ทั้งด้านเดียว หรือทั้งสองด้านก็ได้ โดยอาจนำภาพที่ผนึกโดยวิธีอื่น ๆ ข้างต้น มาเคลือบด้วยฟิล์มภายหลังก็ได้



 
คำสำคัญ (Tags): #การสร้างภาพ
หมายเลขบันทึก: 315032เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2009 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จัดเป็นสื่อการเรียนยุค แรกๆเลยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท