ระบบนิเวศ และความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ


ระบบนิเวศ และความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ และความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ คือ อะไร ก่อนอื่นนักเรียนต้องทำความรู้จัก คำสำคัญต่างๆดังต่อไปนี้ คือ

- สิ่งมีชีวิต (Organization) คือ สิ่งที่สามารถ แพร่พันธุ์ และขยายพันธุ์เพื่อ เพิ่มลูกหลานรุ่นต่อๆไปได้

- ประชากร (Population) คือ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันมาอยู่รวมกัน ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน

- กลุ่มสิ่งมีชีวิต(Community) คือ สิ่งมีชีวิตหลายชนิดมาอยู่รวมกันในบริเวณ เดียวกัน

ระบบนิเวศ คือ บริเวณที่ประกอบด้วยปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ กลุ่มสิ่งมีชีวิต และปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ แสงสว่าง สภาพภูมิอากาศ ฯลฯ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์ กัน ระหว่าง ปัจจัยทางชีวภาพ กับ ปัจจัยทางชีวภาพด้วยกัน และ มีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางกายภาพ กับ ปัจจัยทางชีวภาพ มีการถ่ายทอดพลังงาน และมีการหมุนเวียนสารในระบบ ดังนั้นระบบนิเวศ จึงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ประการดังนี้ 1. ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่สิ่งมีชีวิต กลุ่มสิ่งมีชีวิต

2. ปัจจัยทางกายภาพ คือสิ่งที่ไม่มีชีวิต แต่เอื้อต่อการดำรงชีวิต เช่น ดิน น้ำ อากาศ แสง อุณหภูมิ เสียง ความเป็นกรดเป็นเบส

3. ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับ สิ่งมีชีวิต และ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต กับ ปัจจัยทางกายภาพ

4. มีการถ่ายทอดพลังงาน

5. มีการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ ไบโอม (Biomes) หรือ ชีวนิเวศ คือระบบนิเวศใดๆ ก็ตามที่มีองค์ประกอบของปัจจัยทางกายภาพเช่นอุณหภูมิ ความชื้น และปัจจัยทางชีวภาพ เช่น พืชและสัตว์ ที่คล้ายคลึงกันกระจายอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ต่างๆ ประเภทของไบโอม แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. ไบโอมบนบก

2. ไบโอมในน้ำ

ไบโอมบนบก แบ่งเป็น 7 ชนิด คือ

1. ไบโอมป่าดิบชื้น

2.ไบโอมสะวันนา

3 ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น

4.ไบโอมทะเลทราย

5.ไบโอมป่าสน

6.ไบโอมทุนดรา

7.ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น

ไบโอมในน้ำ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. ไบโอมน้ำจืด

2. ไบโอมน้ำเค็ม ความหลากหลายในระบบนิเวศ บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ แบ่งได้ 3 บทบาทดังนี้

1. ผู้ผลิต (Producer) คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้ โดยอาศัยกระบวนการ สังเคราะห์แสง ได้แก่ พืช สาหร่าย แพงตรอนพืช

2. ผู้บริโภค (Consumer) คือสิ่งมีชีวิต ที่ไม่สามารถ สร้างอาหารเองได้ ต้องหาอาหารกิน ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ โดยผู้บริโภค แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ผู้บริโภคพืช (Herbivore) ได้แก่ วัว ควาย ม้า แกะ แพะ ฯลฯ ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) ได้แก่ เสือ สิงโต ไฮยีน่า หมาป่า ผู้บริโภคทั้งพืช และสัตว์ (Omivore) คน สุนัข ไก่ เป็ด ห่าน

3. ผู้ย่อยสลาย เป็นสิ่งมีชีวิตที่ปล่อยเอนไซม์ออกมานอก ร่างกายแล้วย่อยอินทรีย์สารต่างๆ ที่อยู่รอบนอก แล้วจึงดูดซึมนำไปใช้ ได้แก่ เห็ด รา ประเภทของระบบนิเวศ แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. ระบบนิเวศ ในน้ำ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ระบบนิเวศน้ำจืด แบ่งเป็น  ระบบนิเวศน้ำจืดแบบน้ำนิ่ง แบ่งบริเวณในการศึกษาได้ 3 บริเวณ คือ บริเวณชายฝั่ง บริเวณผิวน้ำ และบริเวณใต้ผิวน้ำ  ระบบนิเวศน้ำจืดแบบน้ำไหล แบ่งบริเวณในการศึกษาได้ 2 บริเวณ คือ บริเวณแอ่งน้ำ และบริเวณน้ำไหลเชี่ยว ระบบนิเวศน้ำกร่อย คือบริเวณที่น้ำจืด กับ น้ำเค็มมาบรรจบ กัน ป่าไม้บริเวณนี้เรียกป่าโกงกาง ระบบนิเวณน้ำเค็ม แบ่งบริเวณศึกษาออกเป็น 2 บริเวณ คือ  บริเวณชายฝั่ง  บริเวณทะเลเปิด แบ่งเป็น 3 บริเวณ คือ บริเวณแสงส่องถึง บริเวณแสงส่องถึงน้อย บริเวณแสงส่องไม่ถึง

2. ระบบนิเวศบนบก ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ ป่าไม้ในประเทศไทย แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen forest) ได้แก่ ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา ป่าพรุ ป่าชายเลน ป่าผลัดใบ (Deciduous forest) ได้แก่ป่าเบญจพรรณ และ ป่าเต็งป่ารัง หรือป่าแดง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต กับ สิ่งไม่มีชีวิต(ปัจจัยทางกายภาพ) สิ่งมีชีวิตจะดำรงอยู่ได้ต้องมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ แสง อากาศ ความเป็นกรดเป็นเบส เสียง ดิน น้ำ ฯลฯ

2. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต สามารถแบ่งได้ความสัมพันธ์ได้ 4 ลักษณะ คือ

- ความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ (+/+)

- ความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝ่ายไม่ได้ไม่เสียประโยชน์ (+/0)

- ความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝ่ายเสียประโยชน์ (+/-) ซึ่งความสัมพันธ์มีดังนี้ รูปแบบความสัมพันธ์ สัญลักษณ์ ตัวอย่างความสัมพันธ์

1. ภาวะพึ่งพาอาศัย (mutualism) +,+ ต้นไทรกับต่อไทร โพรโทซัวในลำไส้ปลวกกับปลวก ไลเคน ไรโซเบียมในปมรากถั่ว ราไมคอร์ไรซาในรากสนหรือรากปรง ฯลฯ

2. การได้ประโยชน์ร่วมกัน (protocooperation) +,+ ดอกไม้กับแมลง นกเอี้ยงกับควาย มดดำกับเพลี้ย ซีแอนีโมนีกับปูเสฉวน ฯลฯ

3. ภาวะเกื้อกูล (commensalism) +,0 เฟินบนต้นไม้ใหญ่ เหาฉลามกับปลาฉลาม นกทำรังบนต้นไม้ เพรียงหินบนกระดองเต่า

4. การล่าเหยื่อ (predation) +,- นกกินหนอน เสือล่ากวาง เหยี่ยวล่ากระต่าย งูกินกบ 5. ภาวะเป็นปรสิต (parasitism) +,- กาฝากบนต้นไม้ พยาธิใบไม้ในตับสัตว์ เหาบนศีรษะคน เห็บหรือหมัดบนผิวลำตัวสุนัข พยาธิตัวตืดในกล้ามเนื้อหมู

6. ภาวะแก่งแย่งแข่งขัน (competition) -,- การแย่งธาตุอาหารและแสงสว่างของพืช เช่น ผักตบชวาในบึง บัวในสระ การแย่งเป็นจ่าฝูงในสัตว์บางชนิด เช่น สิงโต เสือ ปลาในบ่อเลี้ยงที่แย่งอาหารกัน เช่น ปลาสวาย ปลาดุก การแย่งกันครอบครองอาณาเขต เช่น ฝูงลิง เสือ สิงโต ฯลฯ

การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ ภายในระบบนิเวศจะมีการถ่ายทอดพลังงานโดย การกินอาหารเป็นทอดๆเรียกการกินอาหารเป็นทอดๆว่า (ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) เช่น พืช หนอน นก คน จากแผนภาพ พืชมีบทบาทเป็นผู้ผลิต หนอนเป็นผู้บริโภคลำดับที่1 นกเป็นผู้บริโภคลำดับที่2 คนเป็นผู้บริโภคลำดับที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้ายในห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ในระบบนิเวศพบว่าสิ่งมีชีวิตจะมีการกินอาหารได้หลายลักษณะ เช่นนกนอกจากกินหนอน อาจกินแมลงด้วย หรือ คนนอกจากกินนกอาจกินพืชด้วย ดังนั้น ในระบบนิเวศจึงไม่ได้มี แค่ห่วงโซ่อาหาร แค่สายเดียวแต่จะมีหลายๆห่วงโซ่อาหารที่สัมพันธ์กัน เรียกห่วงโซ่อาหารหลายห่วงโซ่ที่สัมพันธ์กันนี้ว่าสายใยอาหาร (Food web)

หมายเลขบันทึก: 314473เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2009 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะอาจารย์ อาจารย์ที่สอนให้มาหาพอดีเลยค่ะ^^

จาก นักเรียน โรงเรียนสันติราษฎ์วิทยาลัย

ขอบคุณมากคะ

ชอบคุณครับอาจารครูวิทยาศาสตร์สอนผมพอดีเลยครับขอบคุณมากครับ ที่โรงเรียนวัดบึงทองหลางครับ บ่ายครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท